Reading Time: 4 Mins
4 Mins
Oct 20, 2023

รวม 10 WordPress Plugin ฟรีและดี! ที่ควรมีติดเว็บไซต์ (2023)

WordPress Plugin

ต้องการที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญในการรับทำเว็บไซต์ WordPress คลิกที่นี่

การจะสร้างเว็บไซต์ WordPress ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น เราจำเป็นต้องมีปลั๊กอิน (Plugin) หรือส่วนเสริมที่จะช่วยปรับปรุงและตกแต่งเว็บไซต์ให้พร้อมใช้งานมากยิ่งขึ้น แต่ในปัจจุบันมี WordPress Plugin ให้เลือกใช้งานเป็นจำนวนมาก มือใหม่หัดสร้างเว็บหลายคนก็อาจไม่รู้ว่าควรเลือกใช้ปลั๊กอินตัวไหนดี จะโหลดมาทดลองใช้ทั้งหมดก็เสียเวลา และเสี่ยงที่เว็บไซต์ของเราจะเกิดความผิดพลาดจากปลั๊กอินที่ไม่มีคุณภาพ ในบทความนี้เราจึงได้รวบรวม 10 WordPress Plugin ถูกและดี (และบางตัวก็ฟรี!) ที่ควรมีติดเว็บไซต์เอาไว้มาฝากทุกคนกัน

 

WordPress Plugin คืออะไร?

WordPress Plugin คือส่วนเสริมของ WordPress ในรูปแบบสคริปต์ ซึ่งช่วยเพิ่มฟังก์ชันให้เว็บไซต์มีความยืดหยุ่นและใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

  • WordPress Plugin ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วใน WordPress ให้ดียิ่งขึ้น จำพวกปลั๊กอินสำหรับจัดการหน้าเว็บไซต์เช่น Elementor และ Duplicator หรือปลั๊กอินสำหรับการแชร์เว็บไซต์ไปยังโซเชียลมีเดีย เช่น Social Warfare เป็นต้น
  • WordPress Plugin ที่เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ ให้กับเว็บไซต์ อาทิ ปลั๊กอินสำหรับการทำ E-commerce อย่าง Woocommerce หรือปลั๊กอินด้านความปลอดภัยอย่าง iThemes Security เป็นต้น

 

WordPress Plugin ดีอย่างไร?

WordPress Plugin มีหลากหลายข้อดีที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้พัฒนาเว็บไซต์และเจ้าของธุรกิจ อาทิ

1. ช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณการทำเว็บไซต์

ในปัจจุบันมี WordPress Plugin ให้เลือกใช้งานมากกว่า 60,000 รายการ ครอบคลุมตั้งแต่การปรับแต่งเล็กน้อยไปจนถึงการเปลี่ยนเว็บไซต์ให้รองรับกับระบบต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเพิ่มหรือปรับแต่งฟังก์ชันที่ต้องการได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดเองหรือจ้างนักพัฒนาเว็บไซต์

2. ใช้งานง่าย ช่วยให้คุณสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ได้อย่างอิสระ

WordPress Plugin สามารถปรับแต่งได้หลากหลาย ตั้งแต่การตั้งค่าพื้นฐาน เช่น เปิด-ปิด ไปจนถึงการปรับแต่งรายละเอียด เช่น ตัวอักษร สี และขนาด โดยยังคงรักษา WordPress Theme ของเว็บไซต์ไว้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถดาวน์โหลดและถอนการติดตั้งได้ง่ายโดยไม่ส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์อีกด้วย

3. มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ

WordPress Plugin ส่วนใหญ่มาจากผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือ มีการอัปเดตและปรับปรุงสม่ำเสมอ จึงปลอดภัยและดีต่อการใช้งานในระยะยาว โดยมีให้เลือกทั้งแบบฟรีสำหรับใช้งานพื้นฐาน และแบบชำระเงินสำหรับการใช้งานเต็มรูปแบบ

 

เคล็ด(ไม่)ลับ เลือก WordPress Plugin ให้ได้ของดี มีคุณภาพ

การเลือก WordPress Plugin นั้น นอกจากความสามารถและฟีเจอร์แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาด้วย ดังนี้

Ratings (ความคิดเห็นของผู้ใช้งาน)

จำนวนดาวหรือรีวิวจากผู้ใช้งานจริงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ควรพิจารณาก่อนติดตั้ง WordPress Plugin เพราะหากปลั๊กอินได้รับคะแนนน้อยหรือมีคำวิจารณ์ในแง่ลบจำนวนมาก ก็แสดงว่า Plugin นั้น ๆ อาจใช้งานได้ไม่ดีหรือไม่ตอบโจทย์การใช้งานจริง

Last updated (วันที่อัปเดตล่าสุด)

ควรตรวจสอบความถี่ในการอัปเดตปลั๊กอิน โดยดูจากวันที่อัปเดตล่าสุด หากปลั๊กอินไม่มีการอัปเดตเลยหรือทิ้งช่วงในการอัปเดตนานเกินไป เมื่อติดตั้งอาจทำให้เกิดปัญหากับเว็บไซต์ได้

Active installations (จำนวนผู้ใช้ที่ติดตั้งและเปิดใช้งาน)

จำนวนผู้ใช้ที่ติดตั้งและเปิดใช้งาน WordPress Plugin เป็นตัวชี้วัดความนิยมและน่าเชื่อถือของปลั๊กอิน เพราะปลั๊กอินที่มีคนใช้งานจริงจำนวนมาก มักจะได้รับการอัปเดตบ่อยและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ปลั๊กอินมีความเสถียรและปลอดภัย

Support (การให้ความช่วยเหลือจากผู้พัฒนา)

เราสามารถแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นของ WordPress Plugin ที่เราใช้งานผ่าน Support Forum ได้ เพื่อตรวจสอบว่าปลั๊กอินตัวนี้มีปัญหาบ่อยแค่ไหน และมีการแก้ไขปัญหาจากผู้พัฒนามากน้อยเพียงใด ยิ่งปลั๊กอินตัวนั้นมีปัญหาน้อย และได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว ยิ่งแสดงถึงความใส่ใจของผู้พัฒนาในการพัฒนาปลั๊กอินในระยะยาว

นอกจากปัจจัยหลักแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณา เช่น

  • ความเข้ากันได้ของปลั๊กอินกับรุ่น WordPress ที่คุณใช้งาน
  • ค่าใช้จ่ายของ WordPress Plugin ว่าเป็นแบบฟรีหรือเสียเงิน เป็นต้น

 

10 WordPress Plugin แนะนำที่ควรมีติดเว็บไซต์

รวม 10 สุดยอด WordPress Plugin ที่ควรมีไว้!

  1. Yoast SEO
  2. Akismet
  3. WP Rocket
  4. Imagify
  5. Redirection
  6. Elementor
  7. TablePress
  8. iTheme Security
  9. Duplicator
  10. WooCommerce

 

WordPress Plugin

1. Yoast SEO

WordPress Plugin ยอดนิยมสำหรับสาย SEO ที่ช่วยแนะนำและปรับแต่งโครงสร้างเว็บไซต์ให้ถูกต้องตามหลัก SEO โดยเมื่อสร้างหน้าเพจหรือเขียนบทความบน WordPress แล้ว Yoast SEO จะวิเคราะห์และแสดงสัญลักษณ์สีเขียว ส้ม และแดง เพื่อระบุส่วนที่ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข

  • จำนวนผู้ติดตั้ง: 5 ล้าน+
  • ค่าบริการ: มีทั้งแบบฟรีและพรีเมียม ราคา 99 USD/ปี

 

WordPress Plugin

2. Akismet

Akismet เป็นปลั๊กอินพื้นฐานที่ติดตั้งมาพร้อมกับ WordPress ซึ่งจะช่วยในการกรองและตรวจจับคอมเมนต์สแปมหรือคอมเมนต์ที่ไม่เหมาะสม มีจุดเด่นคือมีความแม่นยำสูง ใช้งานง่าย ไม่หน่วงเว็บไซต์ รองรับได้ถึง 73 ภาษา ลดการทำงานที่ไม่จำเป็นของแอดมิน และทำให้เว็บไซต์มีคุณภาพมากขึ้นอีกด้วย

  • จำนวนผู้ติดตั้ง: 5 ล้าน+
  • ค่าบริการ: มีทั้งแบบฟรีและมีค่าบริการสำหรับเชิงพาณิชย์ (เริ่มต้น 3,275.40 – 16,415.40 บาท/ปี)

 

WordPress Plugin

3. WP Rocket

อีกหนึ่ง WordPress Plugin ที่ช่วยเพิ่มความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การบีบอัดเว็บไซต์ การโหลดรูปภาพ การลดโค้ด HTML และการเพิ่มประสิทธิภาพฐานข้อมูล ส่งผลให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลด Bounce Rate ของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังโดดเด่นด้วย User Interface ที่ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ผู้ใช้งานทั่วไปที่ไม่มีความรู้เฉพาะทาง

  • จำนวนผู้ติดตั้ง: 1.5 ล้าน+
  • ค่าบริการ: เริ่มต้นที่ 59 – 299 USD/ปี

 

WordPress Plugin

4. Imagify

ปลั๊กอินลดขนาดรูปภาพบนเว็บไซต์ รองรับไฟล์หลากหลายนามสกุลทั้ง WebP, PDF, GIF, JPG และ PNG ใช้งานง่าย ช่วยให้บีบอัดรูปภาพได้โดยไม่สูญเสียคุณภาพ ลดเวลาโหลดหน้าเว็บ เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ใช้งานและการทำ SEO อีกทั้งยังมีแพ็กเกจแบบฟรีให้เลือกใช้งาน (บีบอัดได้สูงสุด 200 ภาพ/เดือน)

  • จำนวนผู้ติดตั้ง: 8 แสน+
  • ค่าบริการ: มีทั้งแบบฟรีและพรีเมียม เริ่มต้นที่ 4.99 – 9.99 USD/เดือน

 

WordPress Plugin

5. Redirection

เว็บไซต์ที่จำเป็นต้องเปลี่ยน URL สามารถใช้บริการ WordPress Plugin อย่าง Redirection เพื่อย้าย URL และทำ Redirect 301 โดยระบุ URL ต้นทางและ URL ปลายทางที่ต้องการแก้ไข แล้วกดยืนยัน ซึ่งนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาลิงก์เสียได้แล้ว ยังช่วยรักษาอันดับ SEO ให้กับเว็บไซต์ของคุณได้อีกด้วย

  • จำนวนผู้ติดตั้ง: 2 ล้าน+
  • ค่าบริการ: ฟรี

 

WordPress Plugin

6. Elementor

หนึ่งในปลั๊กอินตระกูล Page Builder ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ช่วยให้คุณสร้างเว็บไซต์ ปรับแต่ง Layout และองค์ประกอบอื่น ๆ ในหน้าเว็บได้ง่าย ๆ เพียงลากและวางเท่านั้น ตัวปลั๊กอินยังมีหลากหลาย Widget หรือองค์ประกอบสำเร็จรูปให้เลือกทั้งแบบฟรีและแบบเสียเงิน โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเองให้ยุ่งยาก

  • จำนวนผู้ติดตั้ง: 5 ล้าน+
  • ค่าบริการ: มีทั้งแบบฟรีและแพ็กเกจ Elementor Pro เริ่มต้น 59 USD/ปี

 

WordPress Plugin

7. TablePress

TablePress เป็น WordPress Plugin คุณภาพสูงที่ได้รับการรีวิวด้วยคะแนนเต็ม 5 ดาวจากผู้ใช้จำนวนมาก ช่วยให้คุณสามารถสร้างและจัดการตารางที่ซับซ้อนบนหน้าเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย รองรับการใส่ข้อมูลทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ ลิงก์ หรือสูตรคณิตศาสตร์

  • จำนวนผู้ติดตั้ง: 8 แสน+
  • ค่าบริการ: มีทั้งแบบฟรีและพรีเมียม เริ่มต้นที่ 79 – 189 USD/ปี

 

WordPress Plugin

8. iThemes Security

ปลั๊กอินความปลอดภัย WordPress ตัวนี้จะช่วยป้องกันเว็บไซต์ของคุณจาก Hackers, Bots และ Malware โดยบล็อกการเข้าถึงจากที่อยู่ IP และ Users ที่ไม่รู้จัก อีกทั้งยังช่วยปกป้องเว็บไซต์จากการถูก Brute Force หรือการคาดเดารหัสผ่าน รวมถึงฟีเจอร์อื่น ๆ เช่น การสำรองข้อมูล การยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน การแบนผู้ใช้งาน เป็นต้น

  • จำนวนผู้ติดตั้ง: 9 แสน+
  • ค่าบริการ: มีทั้งแบบฟรีและพรีเมียม เริ่มต้นที่ 99 – 299 USD/ปี

 

WordPress Plugin

9. Duplicator

Duplicator เป็นปลั๊กอินสำหรับคัดลอกหรือย้ายหน้าเว็บไซต์จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ซึ่งช่วยประหยัดเวลาในการย้ายข้อมูลด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังสามารถสำรองข้อมูลบนเว็บไซต์เพื่อป้องกันในกรณีที่ Server เกิดมีปัญหา หรือมีการอัปเดตธีม/ปลั๊กอินแล้วเกิดข้อผิดพลาดขึ้นจนไม่สามารถเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ได้

  • จำนวนผู้ติดตั้ง: 1 ล้าน+
  • ค่าบริการ: มีทั้งแบบฟรีและพรีเมียม เริ่มต้นที่ 49.50 – 299.50 USD/ปี

 

WordPress Plugin

10. WooCommerce

WordPress Plugin ที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซและร้านค้าต่าง ๆ ควรต้องมี ด้วยฟีเจอร์สำหรับร้านค้าออนไลน์แบบครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่ระบบซื้อ-ขาย การจัดการคลังสินค้า ระบบชำระเงิน ไปจนถึงการสร้างโฆษณาเพื่อโปรโมทร้านค้าของเรา ที่สำคัญคือใช้งานง่ายและฟรี เหมาะกับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ร้านค้าด้วยตัวเอง

  • จำนวนผู้ติดตั้ง: 5 ล้าน+
  • ค่าบริการ: มีทั้งแบบฟรีและพรีเมียม เริ่มต้นที่ 39 – 70 USD/เดือน

 

ควรติดตั้ง WordPress Plugin กี่ตัวบนเว็บไซต์?

การติดตั้ง WordPress Plugin มากเกินความจำเป็นอาจทำให้เว็บไซต์ทำงานช้าลง หรือเกิดข้อผิดพลาดได้ ในขณะที่การติดตั้งปลั๊กอินน้อยเกินไปอาจทำให้เว็บไซต์ขาดประสิทธิภาพ ดังนั้น ควรพิจารณาความต้องการใช้งานของเว็บไซต์เป็นหลัก และตรวจสอบความปลอดภัยของปลั๊กอินก่อนการติดตั้ง

 

สรุป

WordPress Plugin ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยให้คุณสร้างเว็บไซต์ที่ต้องการได้ง่ายยิ่งขึ้น และนอกจาก 10 ปลั๊กอินที่เราแนะนำในบทความนี้แล้ว WordPress ยังมีปลั๊กอินอื่น ๆ อีกกว่า 60,000 ตัว ดังนั้น ควรศึกษาข้อมูลและระมัดระวังก่อนเลือกใช้งานทุกครั้งเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อเว็บไซต์ภายหลัง

 

หากคุณต้องการที่ปรึกษาด้าน Website Service มาช่วยวางแผนและจัดการเว็บไซต์ของคุณให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้!

[wpdevart_facebook_comment curent_url="https://www.cotactic.com/" order_type="social" title_text="Facebook Comment" title_text_color="#000000" title_text_font_size="22" title_text_font_famely="Montserrat" title_text_position="left" width="100%" bg_color="#d4d4d4" animation_effect="random" count_of_comments="3" ]

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง รวมเทคนิคที่มือใหม่ควรรู้! (2023)

เว็บไซต์ เป็นอีกหนึ่งช่องทางการตลาดออนไลน์ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจในปัจจุบัน เพราะเว็บไซต์จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินค้าและบริการ เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจ ซึ่งการออกแบบและสร้างเว็บไซต์ที่ดีนั้น เราจำเป็นต้องคำนึงถึงหลากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน้าตาเว็บไซต์ การใช้งาน และความปลอดภัย ในบทความนี้ เรารวบรวมเทคนิคการออกแบบและสร้างเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพทั้งในด้านการใช้งานและ SEO เหมาะสำหรับธุรกิจหรือผู้ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง รับรองว่าไม่ยากอย่างที่คิด สารบัญ วิธีการสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง สร้างด้วยบริการเว็บไซต์สำเร็จรูป สร้างด้วยซอฟต์แวร์ CMS สร้างด้วยการเขียนโค้ดด้วยตัวเอง สิ่งสำคัญของการสร้างเว็บไซต์ มีเป้าหมายและงบประมาณที่ชัดเจน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีความสม่ำเสมอ เนื้อหาในเว็บไซต์ที่ดีและมีคุณภาพ ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อนจนเกินไป รองรับการใช้งานบนแพลตฟอร์ม ปัจจัยที่ต้องระวังในการสร้างเว็บไซต์ การต่ออายุโดเมนเนม การเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้ง การใช้ฟีเจอร์บนเว็บไซต์ การสะกดคำผิด ความปลอดภัยของเว็บไซต์   วิธีการสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง การสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเองนั้นสามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่ สร้างด้วยบริการเว็บไซต์สำเร็จรูป หนึ่งในวิธีสร้างเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ “บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป” อย่าง Wix, Godaddy, Google Sites, WordPress.com เป็นต้น ซึ่งมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบฟรีและแบบพรีเมียม มีข้อดีคือช่วยให้เราสามารถสร้างเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และมีเทมเพลตให้เลือกใช้โดยไม่ต้องเสียเวลาออกแบบเอง แต่อาจมีข้อจำกัดเรื่องหน้าตาและฟีเจอร์ของเว็บไซต์ที่มีความยืดหยุ่นน้อยกว่าเว็บไซต์ที่สร้างด้วยวิธีอื่น […]

วิธีใช้ WordPress 2023 ฉบับรวบรัด สอนเข้าใจง่าย ใช้ได้จริง!

ต้องการที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญในการรับทำเว็บไซต์ WordPress คลิกที่นี่ สำหรับใครที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง WordPress น่าจะเป็นตัวเลือกที่หลายคนคุ้นเคย ด้วยความนิยมที่แพร่หลายไปทั่วโลก อีกทั้งยังมีปลั๊กอินและธีมให้เลือกใช้งานเป็นจำนวนมาก ทำให้เว็บไซต์มีความยืดหยุ่น และตอบโจทย์การใช้งานสำหรับผู้เริ่มต้น แต่หลายคนอาจมีคำถามว่า “WordPress ใช้ยากไหม?” หรือ “ต้องมีความรู้ด้านไอทีหรือเปล่า?” ในบทความนี้ เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักวิธีใช้ WordPress ตั้งแต่ส่วนประกอบต่าง ๆ ภายใน WordPress การใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ รวมไปถึงเทคนิคในการดูแลเว็บไซต์ของคุณให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วิธีใช้ WordPress เบื้องต้น ฉบับรวบรัด ดาวน์โหลดและติดตั้ง WordPress ตั้งค่าเว็บไซต์ WordPress ที่จำเป็น ปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ด้วย WordPress Theme ปรับแต่งส่วนประกอบต่าง ๆ ในเว็บไซต์ด้วย WordPress Plugin สร้างเนื้อหา – เขียนบทความเพื่อลงในเว็บไซต์ สร้างและจัดการเมนู (Menu) เพื่อเชื่อมโยงไปยังหน้าอื่น ๆ จัดการผู้ใช้งาน (Users) ภายในเว็บไซต์   ทำความรู้จักกับ […]