click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

ปัจจุบัน อินเทอร์เน็ต เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะการสื่อสารและการทำงาน เป็นสื่อหลักที่ช่วยให้ธุรกิจการค้าต่าง ๆ สามารถลุล่วงไปได้ด้วยดี แถมยังเป็นอีกช่องทางสำหรับธุรกิจออนไลน์ด้วยเช่นกัน แต่เมื่อใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ จึงไม่แปลกใจเลยที่ในโลกอินเทอร์เน็ตจะเต็มไปด้วยแฮกเกอร์ ที่สามารถเข้ามาตามช่องโหว่ต่าง ๆ เพื่อทำการแฮกเอาข้อมูลของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไป ดังนั้น SSL และ SSL Certificate จึงเป็นอีกหนึ่งความสำคัญที่จะช่วยปกป้องข้อมูลของคุณไว้ได้นั่นเอง

 

SSL คืออะไร?

SSL (Secure Socket Layer) คือเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสารและส่งข้อมูลถึงกันบนโลกอินเทอร์เน็ต ระหว่าง Server และ Web Browser ที่กำลังใช้งานอยู่ ซึ่งข้อมูลของคุณนั้นจะปลอดภัยอย่างแน่นอนถ้ามี SSL ซึ่งการเรียกใช้ SSL นั้นจะทำผ่าน Protocol HTTPS หรือ Protocol ความปลอดภัยแล้วแต่ที่ต้องการใช้งาน

 

SSL สำคัญอย่างไร?

1. ด้านความปลอดภัย

อย่างที่บอกไปด้านต้นว่า SSL นั้น จะช่วยป้องกันข้อมูลของคุณไม่ให้ถูกโจรกรรมจากแฮกเกอร์ ซึ่งจะทำให้คุณปลอดภัยมากขึ้นในการใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่การทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ตเช่นกัน

2. เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร

หลายองค์กรมีเว็บไซต์ที่เป็นหน้าตาขององค์กรตัวเอง ซึ่งแต่ละองค์กรก็มีความตระหนักถึงความปลอดภัยทางด้านข้อมูลเช่นกัน ดังนั้น ถ้าเกิดว่าเข้าเว็บไซต์ไหน แล้วเว็บไซต์นั้นใช้งาน HTTPS มั่นใจได้เลยว่าเว็บไซต์นั้นจะปลอดภัยจากการโดนแฮกข้อมูลแน่นอน

3. เป็นมิตรกับ SEO

อัลกอริทึมของ Google ปัจจุบัน มีการตรวจสอบถึงความปลอดภัยของเว็บไซต์แต่ละเว็บ และจะช่วยดันเว็บไซต์ที่มีการใช้งาน SSL มากกว่าเว็บไซต์ที่ไม่ได้ใช้งาน เพราะก่อนที่ช่วยดันอันดับ SEO ก็ต้องมีการตรวจสอบก่อนว่าเว็บไซต์นั้น มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานไหม ถ้าเว็บไซต์ไหนใช้งาน SSL Google จะยิ่งดันอันดับ SEO ให้สูงขึ้นได้แน่นอน

4. Browser จะแจ้งเตือนความปลอดภัยทันที

ปัจจุบัน Web Browser ส่วนใหญ่มีการแสดงข้อความหรือขึ้นเตือนทันที หากเว็บไซต์ไหนไม่มีการใช้งาน HTTPS หรือ ไม่มี SSL โดยจะแจ้งเตือนให้รู้ว่าเว็บไซต์นี้ไม่ปลอดภัย ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้ผู้ที่เข้ามาใช้งานปิดเว็บไซต์ไปอย่างรวดเร็ว แนะนำว่าควรใช้งาน SSL ได้แล้ว

 

หลักการทำงานของ SSL

หลักการทำงานของ SSL นั้นไม่ยุ่งยากเลย เพียงแค่ SSL จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลที่มีการถ่ายโอนระหว่างผู้ใช้งานและเว็บไซต์ และใช้การเข้ารหัสเพื่อเก็บข้อมูลของกันและกันระหว่างที่ส่ง เพื่อป้องกันแฮกเกอร์ที่อาจจะกำลังแฮกข้อมูลในระหว่างที่ทำการส่งกันอยู่ โดยปกป้องไปถึงข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนมาก ๆ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน หมายเลขบัตรเครดิต เป็นต้น โดยกระบวนการทำงานจะเป็นดังนี้

  1. Server พยายามเชื่อมต่อกับ Website ที่มีการใช้งาน SSL
  2. Server ร้องขอให้ Web Server ช่วยระบุตัวตนของตัวเอง
  3. Web Server ส่งสำเนาใบรับรองไปให้ Server ตอบกลับ
  4. Server ตรวจสอบว่าเป็นใบรับรอง SSL ที่เชื่อถือได้หรือไม่ หากเชื่อถือได้ ก็จะส่งข้อมูลกลับไปยัง Web Server
  5. Web Server ส่งกลับการตอบรับแบบเซ็นชื่อดิจิทัล และเริ่ม Session ในการเข้ารหัส SSL
  6. ข้อมูลที่เข้ารหัสจะถูกแชร์ระหว่างกันของ Server และ Web Server

 

TLS คืออะไร?

TLS (Transport Layer Security) เป็น Protocol รักษาความปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน มักถูกใช้ในการเพิ่มความปลอดภัยและรักษาความเป็นส่วนตัวให้กับข้อมูลได้เป็นอย่างดี โดย TLS จะใช้ เพื่อเข้ารหัสการสื่อสารระหว่าง Web Package และ Server ทั้งเรื่องของการดาวน์โหลดข้อมูล เพื่อนำมาแสดงผลหน้าเว็บไซต์ หรืออื่นๆ อีกมากมาย ซึ่ง TLS จะถูกยกระดับให้มีความปลอดภัยมากกว่า SSL และถูกนำมาใช้แทน SSL ในปัจจุบัน แต่สำหรับนักพัฒนา ก็ยังจะเรียก TLS ว่า SSL กันเหมือนเดิม

 

ความแตกต่างของ SSL กับ TLS

ความแตกต่างระหว่าง SSL กับ TLS นั้นไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่ แต่ในเชิงเทคนิคแล้ว มีการทำงานที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่

  • การเข้ารหัสลับ

SSL รองรับ Fortezza cipher suite ในขณะที่ TLS ไม่รองรับ และใช้มาตรฐานในการเข้ารหัสที่ดีกว่า

  • ข้อความแจ้งเตือน

SSL จะแจ้งเตือนทันที ว่า No Certificate แต่ TLS จะตัดการแจ้งเตือนออกไป

  • บันทึก Protocol

SSL จะใช้ Message Authentication Code (MAC) หลังการเข้ารหัสทุก ๆ ข้อความ แต่ TLS จะใช้ Hash-based Message Authentication Code (HMAC) ในการเข้ารหัสข้อความแทน

  • ขั้นตอนการทำ Handshake

SSL จะทำการคำนวณหาค่า Hash โดยใช้ Master secret และ Pad ส่วน TLS ค่า Hash จะคำนวณผ่านข้อความ Handshake

  • การรับรองความถูกต้องของข้อความ

SSL จะรับรองความถูกต้องของข้อความรวมกับข้อมูลกุญแจ และแอปพลิเคชัน แต่ TLS จะรับรองความถูกต้องแบบ HMAC

 

ประโยชน์ของ TLS

ประโยชน์ของ TLS ถ้าเทียบกับ SSL แล้วมีความปลอดภัยที่คล้ายกัน แต่ TLS จะมีการเข้าถึงรหัสที่ปลอดภัย เข้ารหัสดีกว่า และทันสมัยมากกว่า ช่วยปกป้องไปยังข้อมูลที่ละเอียดอ่อนมาก ๆ อย่างข้อมูลส่วนตัวได้เป็นอย่างดี

 

SSL Certificate คืออะไร?

SSL Certificate คือใบรับรองดิจิทัลที่รับรองความถูกต้องของข้อมูลเว็บไซต์ และเปิดใช้งานการเชื่อมต่อที่เข้ารหัส SSL ซึ่งเป็น Protocol ที่มีความปลอดภัย หลายองค์กรจำเป็นต้องมีการเพิ่มใบรับรอง SSL ลงไว้ในเว็บไซต์ เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเว็บไซต์ รวมถึงการทำธุรกรรมออนไลน์ เพื่อรักษาข้อมูลลูกค้าให้มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น

 

ประเภทของ SSL Certificate

1. Domain Validation SSL Certificate (DV)

รูปแบบของ SSL Certificate ที่ง่ายและไวที่สุด เพียงแค่ผู้ให้บริการ SSL จะทำการตรวจสอบแค่ว่า ใครเป็นเจ้าของโดเมนนี้ ไม่ตรวจสอบเชิงลึก ใช้เวลาทำเพียงไม่กี่นาที ซึ่งถ้าเกิดว่าเว็บไซต์ไหน ที่มีใบรับรอง Domain Validation บน Browser จะแสดงกุญแจสีเขียวและเขียนว่า Secure นั่นเอง

2. Organization Validation SSL Certificate (OV)

รูปแบบของ SSL Certificate ในระดับองค์กร จะมีการตรวจสอบเชิงลึกมากขึ้น ทั้งตัวเจ้าของโดเมนและองค์กรว่ามีอยู่จริงหรือเปล่า อาจต้องมีการยื่นเอกสารรับรองต่าง ๆ ให้ฝั่งผู้บริการ SSL เพื่อยืนยันตัวตนและธุรกิจนั้น ๆ ซึ่งจะใช้เวลาในการตรวจสอบนานพอสมควร 

3. Extended Validation SSL Certificate (EV)

รูปแบบของ SSL Certificate ที่มีการตรวจสอบที่เข้มงวดที่สุด เพราะนอกจากจะตรวจสอบเหมือนของ Organization Validation แล้ว ยังตรวจสอบไปถึงเชิงลึกของบริษัท ซึ่งตรวจสอบหนึ่งครั้ง ใช้เวลายาวเกือบเดือนได้เลย ซึ่งถ้าผ่านการตรวจสอบแล้ว ในช่องบน Browser URL จะขึ้นทั้งกุญแจสีเขียวและชื่อบริษัทให้ทันที

 

วิธีติดตั้ง SSL บนเว็บไซต์

วิธีการติดตั้ง SSL บนเว็บไซต์ วิธีนี้ จะเป็นการติดตั้งบน Microsoft IIS 10 จำเป็นต้องใช้ไฟล์ที่มีนามสกุล .p7b หรือ .cer ซึ่งวิธีในการติดตั้งมีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1

กดปุ่ม Win + R พร้อมกัน จากนั้นพิมพ์คำว่า “inetmgr” จากนั้นกดปุ่ม OK 

ขั้นตอนที่ 2

วินโดว์จะเด้ง IIS Manager ขึ้นมา ให้คลิกเลือก Server Certificates

ขั้นตอนที่ 3

แถบ Action ด้านขวา จะเห็น Complete Certificate Request ให้คลิกเลือกที่ตัวนั้น

ขั้นตอนที่ 4

ต่อมา Specify Certificate Authority Response จำเป็นต้องใส่ข้อมูลดังนี้

  • File name containing the certification authority’s response:
    ให้ใส่ไฟล์ที่มีนามสกุล certificate .p7b หรือ .cer
  • Friendly name: ให้ใส่ชื่อไฟล์ที่ระบุว่าเป็น certificate หรือชื่อโดเมนที่ต้องการใช้ SSL
  • Select a certificate store for the new certificate:
    ไม่ต้องเปลี่ยนข้อมูล ให้ใช้ตามที่ระบบตั้งมาให้เลย 

หลังจากที่กรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อย ให้คลิก ok

ขั้นตอนที่ 5

ที่หน้า Server Certificate จะแสดงชื่อของ certificate ที่ทำการสร้างไป จากนั้นไปที่แถบ Connection ด้านซ้าย เลือก Sites > Default Web Site และไปที่แถบ Action ด้านขวา เลือก Edit Site และเลือก Bindings…

ขั้นตอนที่ 6

ระบบจะแสดงหน้าต่าง Site Binding ขึ้นมา จากนั้นให้คลิก Add เพื่อทำการ Add Site Binding และกรอกรายละเอียดดังนี้

  • Type: เลือกเป็น https
  • IP Address: ใส่ IP Address เว็บไซต์ หรือ All Unassigned
  • Port: ใส่ 443
  • SSL Certificate: เลือก Friendly Name ที่สร้างไว้

หลังจากนั้นให้คลิก ok ระบบจะแสดง https ที่สร้างขึ้นมาให้เห็นว่าดำเนินการสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว

 

วิธีเช็ค SSL บนเว็บไซต์

หลังจากที่ดำเนินการติดตั้ง SSL เรียบร้อย จำเป็นต้องรอการตรวจสอบตามระยะเวลาและรูปแบบของ SSL Certificate ซึ่งหากต้องการตรวจสอบสถานะของการติดตั้ง SSL ว่าเรียบร้อยแล้วรึยัง สามารถไปตรวจสอบได้ที่นี่ https://decoder.link/sslchecker 

 

สรุป

สรุปแล้ว การติดตั้ง SSL มีความสำคัญต่อเว็บไซต์เป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการปกป้องข้อมูลต่าง ๆ บนเว็บไซต์ รวมถึงข้อมูลธุรกรรม ที่อาจจะเกิดขึ้นบนเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน และอีกหนึ่งอย่าง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์อีกด้วย เห็นความสำคัญของ SSL ขนาดนี้แล้ว อย่าลืมไปติดตั้ง SSL กันนะ


หากคุณต้องการที่ปรึกษาการรับทำเว็บไซต์ WordPress หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


 

โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic

Line: @cotactic

——————————————————————–

บทความที่เกี่ยวข้อง

Image9

10 แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ฟรี สวยสำเร็จรูปในไม่กี่ขั้นตอน | Cotactic

ภาพปกบทความ Redirect คือ

Redirect คืออะไร? พร้อมประเภท Redirect ที่ต้องทำบ่อย ๆ

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้