click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard) คืออะไร?

การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard) คือ การนำเรื่องราวมาถ่ายทอดออกมาในรูปแบบภาพ โดยใช้ภาพวาด ภาพถ่าย หรือภาพกราฟิก เรียงต่อกันเป็นลำดับเพื่อบอกเล่าเรื่องราว มักใช้ในการผลิตภาพยนตร์ แอนิเมชั่น โฆษณา และวิดีโออื่นๆ สตอรี่บอร์ดช่วยให้ผู้สร้างสื่อสามารถวางแผนและสื่อสารเรื่องราวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เห็นภาพรวมของเรื่องราว ลำดับเหตุการณ์ มุมกล้อง และองค์ประกอบอื่นๆ ของสื่อได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้สร้างสื่อสามารถทดสอบไอเดียใหม่ๆ และปรับปรุงเรื่องราวได้ก่อนที่จะนำไปผลิตจริง

RECOMMENDED E-Book
วิธีจัดการงบกว่า 1 ล้านบาท กับ KPI ที่สูงขึ้น!
จ้างเอเจนซี่แต่ละที มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
สูตรลับบรีฟงาน AGENCY ให้ได้งานตามแผน!

วิธีการทำ Storyboard ที่สร้างสรรค์ และทรงพลัง!

การเขียน Storyboard คือการเรียงลำดับภาพในความคิดออกมา ก่อนที่จะถ่ายจริง ซึ่งเขียนออกมาเป็นฉากเรียงลำดับ 1,2,3,…. ซึ่งทำให้เห็นภาพของเรื่องราวที่จะเล่า ปัญหาส่วนใหญ่ของคนที่จะเริ่มทำคือ ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนมีองค์ประกอบอะไรที่ต้องใส่เข้าไปบ้าง ซึ่งวันนี้ Cotactic Media บริษัทรับทำเว็บไซต์ WordPress เอเจนซี่การตลาดโฆษณา ได้มีเทคนิคการทำ Storyboard แบบพื้นฐานที่ทุกคนสามารถทำได้ และยังเหมือนมือโปรอีกด้วย

*Note: ดาวน์โหลดฟรี!! Storyboard Template ท้ายบทความ


5 เทคนิค วิธีการทำ Storyboard ฉบับมือโปร

1. เทคนิคหา Key Message ให้โดนใจคนดู

  • ทำ Research กับกลุ่มคนดู

ว่าเขาเป็นใคร อายุเท่าไหร่ มีความชอบหรือสนใจ ซึ่ง Insight การทำ Storyboard เหล่านี้จะเป็นจุดที่คอยดึงคนเข้ามาดู Video ของเรามากขึ้น

เช่น โฆษณาของ K PLUS ชื่อ FACE OFF นั้นหยิบ Insight ที่ว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่คุ้นเคย ซึ่ง แอป KPLUS ในตอนนั้นกำลังจะ Update ครั้งใหญ่ โฆษณา FACE OFF จึงสื่อสารว่าถึงหน้าตาจะเปลี่ยนไปแต่คุณภาพในการใช้งานยังเหมือนเดิม

  • ปัญหา” ของคนดู

บางคนอาจจะไม่รู้ตัวว่ากำลังประสบปัญหาเรื่องเล็กน้อยในชีวิต เราต้องสังเกตพฤติกรรม เพื่อนำจุดนั้นมาทำ Key Message และตอบ Pain Point ของคนดูได้

เช่น โฆษณา AirPay ที่ได้จับ Pain Point “คนข้างหน้าเรื่องเยอะเสมอ” ทั้งๆที่เราอยากจะแค่จองตั๋วหนัง แต่ต้องมารอคนจ่ายบิลค่าน้ำค่าไฟ ซึ่งเป็น Pain Point ที่เจอได้ทุกวัน และ AirPay ก็นำเสนอตัวเองเป็น Solution ในการแก้ปัญหานี้

  • ความแตกต่าง

การบอกว่าเราแตกต่าง แปลกใหม่กว่าคนอื่นอย่างไร ก็เป็นอีกหนึ่ง Key Message ที่ใช้กันเยอะ เพราะถ้ายิ่งทำออกมาได้ชัดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างความน่าสนใจได้มากขึ้นเท่านั้น

เช่น โฆษณาของ Sunsilk ชื่อ The Hair Talk ที่บอกเล่าเรื่องผ่าน LGBT กับครอบครัว ซึ่ง Sunsilk ใช้ความแตกต่างในเรื่องของยาสระผมที่คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นแบรนด์สำหรับผู้หญิงเท่านั้น


2. Storytelling

  • เล่าตามเหตุการณ์ปกติ

เป็นการเล่าเรื่อง จาก 1 ไป 2 ไป 3 ปกติ ซึ่งการเล่าเรื่องแบบนี้มีข้อดีคือ ทำให้คนเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย การทำ Storyboard ไม่ต้องคิดเยอะ แต่ถ้าเนื้อหาของเรานั้นไม่ได้มีความน่าสนใจพอ ก็จะทำให้คนดูอาจจะเบื่อ ดูไม่จบ แต่เทคนิคนี้ถือว่าเป็นพื้นฐานที่ดี คือการเล่าเรื่องให้คนเข้าใจ

ตัวอย่างโฆษณาของ Kleenex Thailand ชื่อ Tiny Doll ที่ใช้เทคนิคการเล่าตามเหตุการณ์ปกติ แต่เพิ่มความน่าสนใน Video ด้วยการถ่ายแบบ Long Take 

  • การเรียงลำดับเรื่องใหม่

การเล่าเรื่องแบบนี้ สามารถกระโดดข้ามไปมาได้ จะเอาตอนท้ายเรื่องมาไว้ต้นเรื่อง หรือ ต้นเรื่องไปไว้กลางเรื่องก็ได้ เทคนิคนี้จะมีความยืดหยุ่นในการเล่าเรื่อง เพราะมีความอิสระในการตีความใหม่ทั้งหมด แต่จะมีข้อเสียคือถ้าลำดับเรื่องไม่ดี ก็จะทำให้คนดูไม่เข้าใจเนื้อหาที่อยากจะสื่อไป

โฆษณา My Beautiful Woman ของ Wacoal ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบตัดสลับกันในตอนท้าย โดนที่ผู้กำกับตั้งใจที่จะให้คนดูเกิดความเข้าใจผิด เพื่อที่จะเฉลยในตอนท้ายแล้วเกิดความประทับใจในเรื่องนี้


3. Mood and Tone 

  • Mood

Mood คือ อารมรณ์ของ Video เช่น สนุกสนาน เศร้า ร่าเริง ความสงบ ประหลาดใจ โกรธ

  • Tone

Tone คือ สีที่ใช้ในวีดีโอ โดยสีจะบอกความรู้สึกที่เรารู้กัน สีโทนเย็นหรือสีโทนร้อน ซึ่งขึ้นกับว่าต้องการจะสื่อออกมาในทิศทางไหน เช่น ถ้าอยากให้ภาพใน Video ดูสนุก สดใส อาจจะต้องใช้สีโทนร้อนเพื่อทำให้คนดูรู้สึกถึงความีชีวิตชีวา ไม่หยุดนิ่ง แต่กลับกันเราอยากจะให้ Video รู้สึกน่ากลัว ลึกลับ อาจจะต้องใช้สีโทนเย็นเพื่อให้รู้สึกสุขุมขึ้น นิ่งขึ้น

ตัวอย่างงานกำกับจาก เอก Suneta ชื่อ “สบู่ยี่ห้อนึง” ที่ทำให้เข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้นว่า Mood&Tone มีความสำคัญต่อความรู้สึกในงาน Video มากแค่ไหน


4. Shot References

  • เทคนิคการหา Shot References

เทคนิคการหา Reference Shot นั้นคือการเลือกภาพที่สื่อความหมายที่เราอยากสื่อมากที่สุด เพราะต่อให้เป็นท่าทางเดียวกัน แต่มุมกล้องต่างกันบริบทไม่เหมือนกัน ก็ทำให้อารมณ์ของภาพเปลี่ยนไป ซึ่งในส่วนนี้รวมถึงแสงเงาของภาพเข้าไปด้วย

จากตัวอย่างจะเป็นฉากการเขียนสมุดบันทึก ซึ่งเป็นท่าทางเดียวกัน แต่ด้วยมุมกล้องและแสง ทำให้มีอารมณ์ที่ต่างกันสิ้นเชิง

 มุมกล้องเห็นครึ่งตัว ท่าทางกำลังจดบันทึกและแสงในภาพให้ความตอนเช้า ทำให้รู้สึกเป็นกิจวัตรประจำวันทั่วไป

มุมนี้ทำให้เห็นว่าอยู่ในห้องที่ดูอึดอัดด้วยแสงไฟ บวกกับท่าทางการเขียนที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่าย

มุมแทนสายตานี้ให้ความรู้สึกเหมือนคนดูกำลังเขียนเองอยู่ บวกกับแสงในภาพค่อนข้างสว่าง ยิ่งทำให้เห็นว่าสิ่งที่เขียนอยู่เป็น Code ที่ดูไม่มีความลับอะไร

  • งานที่ควรนำมาเป็น References

การหา Shot Reference นั้นควรหาจากงาน โฆษณา / Music Video / หนัง / Filmmaker เพราะงานประเภททาง Production จะมีการคิดเรื่องแสง เงา ท่าทาง เพื่อให้ฉากสวยงามอยู่แล้ว เหมาะแก่การนำมาเป็น Reference ได้เลยโดยไม่ต้องไปคิดเอาเอง 

Website สำหรับหา Video References

www.vimeo.com

www.adsoftheworld.com

www.youtube.com

Website สำหรับหา Shot References

www.everysingleframe.com

www.shutterstock.com

www.pinterest.com

dribble.com

behance.net


5. Transition ที่ใช้เพิ่มสีสันในงาน Video

  • Cut

คือการเปลี่ยนจากภาพหนึ่งไปยังอีกภาพหนึ่งแบบทันทีทันใด โดยไม่ใช้เทคนิคใดๆ ในการเชื่อมต่อภาพ ลักษณะที่ปรากฏออกมาจึงเป็นภาพที่ต่อด้วยภาพ จะถ่ายทอดความรู้สึกฉับไว นอกจากนี้เรายังรับรู้สิ่งต่างๆ อย่างตรงไปตรงมา

  • Fade

คือการเปลี่ยนภาพ โดยภาพจะแทนที่ด้วยฉาก โดยการ Fade นี้ สามารถแบ่งออกเป็น Fade In และ Fade Out

Fade In ใช้สำหรับการเริ่มต้นของเรื่องราว หรือเหตุการณ์

Fade Out คือภาพหลักจะค่อยๆ จางลงกลายเป็นภาพสีดำ 

  • Dissolve

Dissolve คือการเปลี่ยนภาพ โดยภาพแรกค่อยๆจางไปสู่อีกภาพ โดยที่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะไม่ได้เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดเหมือนการ Cut เทคนิคจะช่วยสร้างความรู้สึกที่ราบรื่น และนุ่มนวล โดยจะใช้เพื่อเชื่อมโยงเรื่องราว

  • Wipe

การปาด คือหน้าจอจะมีลักษณะของการปาดภาพที่ต้องการจะเปลี่ยน ทับลงบนภาพที่ปรากฎอยู่ 

การใช้ Wipe อาจสร้างความรู้สึกไม่สมจริงของเรื่องราว ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกใช้เพื่อแบ่งเรื่องราวทั้งหมดออกเป็นส่วนๆ อย่างชัดเจน

  • Digital Effect

เป็นเทคนิค Transition แบบใหม่ ที่นำมาใช้กับงานที่เน้นความน่าสนใจของภาพ เช่น งานโฆษณา  หรือ Motion Graphics เทคนิคช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับงาน หากเป็นงานประเภทที่ต้องการดึงดูดความสนใจสูง

และนี่ก็คือเทคนิคทั้ง 5 สำหรับการเขียน Storyboard ที่ระดับมือโปรมักจะทำกัน แต่ถ้าคุณเป็นมือใหม่ยังเริ่มต้นไม่ถูก คุณสามารถดาว์โหลด Template Storyboard จากพวกเรา Cotactic ได้เลย


Download Storyboard Template by Cotactic Media


 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Image6

Revenue คืออะไร เข้าใจการเงินพื้นฐานที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้ | Cotactic

Image6

Retention Rate คืออะไร วางกลยุทธ์อย่างไรให้กลับมาซื้อซ้ำ | Cotactic

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้