click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

ทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของมนุษย์แทบทุกคน ราวกับอวัยวะที่ 33 ของร่างกาย ขณะเดียวกันเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็มีทั้งประโยชน์เเละโทษได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ ดังนั้นการมีเพียงความรู้พื้นฐานในการใช้งานเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะอีกหนึ่งในทักษะที่ทุกคนจำเป็นต้องมีในยุคปัจจุบันนี้นั้นคือ “Digital Literacy” หรือ ความรู้เท่าทันดิจิทัล ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่การใช้เทคโนโลยีได้ แต่รวมไปถึงความสามารถในการเข้าใจ วิเคราะห์ ประเมิน และสร้างสรรค์ข้อมูลดิจิทัลอย่างมีวิจารณญาณ โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลหลั่งไหลมาอย่างรวดเร็ว และภัยไซเบอร์อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด การใช้งานแบบมีสติ ปัญญานั้นจึงสำคัญเป็นอย่างมาก 

ในบทความนี้ Cotactic Media จะพาทุกคนไปรู้จักกับความหมายของ Digital Literacy องค์ประกอบสำคัญ ทักษะที่ควรมี และวิธีนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เราทุกคนสามารถอยู่รอดและเติบโต พร้อมปรับตัวให้ทันในโลกดิจิทัล

Digital Literacy คืออะไร?

Digital Literacy คืออะไร?

Digital Literacy คือ ทักษะ ความรู้ และความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ไม่ใช่แค่การพิมพ์หรือคลิกเป็น แต่รวมถึงการคิดวิเคราะห์ข้อมูลออนไลน์ รู้เท่าทันข่าวปลอม เข้าใจเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ และสามารถสื่อสารหรือสร้างเนื้อหาบนโลกออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม 

เปรียบเหมือน “เครื่องมือเอาตัวรอด” ในยุคดิจิทัล เพราะใครที่มีทักษะเหล่านี้จะสามารถปรับตัว เข้าถึงข้อมูล และใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในชีวิตส่วนตัว การทำงาน และการเรียนรู้ ซึ่งองค์ประกอบสำคัญมีดังนี้

1.ใช้ (Use)

ไม่ว่าการรู้จักใช้อุปกรณ์ดิจิทัล เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว คือพื้นฐานของ Digital Literacy แต่ไม่ใช่แค่ “ใช้งานเป็น” เท่านั้น ยังรวมถึงความสามารถในการเรียนรู้ฟีเจอร์ใหม่ ๆ การตั้งค่าเบื้องต้น การแก้ปัญหาเบื้องต้น เช่น การติดตั้งโปรแกรม การใช้ระบบ Cloud หรือแม้แต่การทำงานร่วมกับเครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ ตัวอย่างทักษะในข้อนี้

  • ใช้ Google Docs, Zoom หรือ Canva ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การส่งอีเมลได้อย่างเป็นทางการ
  • ใช้มือถือสั่งของ โอนเงิน หรือทำธุรกรรมได้อย่างปลอดภัย

2.เข้าใจ (Understand)

เมื่อเราเสพข้อมูลจำนวนมากทุกวัน การเข้าใจ หมายถึง การคิดวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ แยกแยะ ข่าวจริง ข่าวปลอมได้ และเข้าใจบริบทของเนื้อหาในโลกออนไลน์ รวมถึงเข้าใจว่าการแชร์หรือแสดงความคิดเห็นออนไลน์มีผลกระทบอย่างไรบ้าง ตัวอย่างทักษะในข้อนี้

  • วิเคราะห์แหล่งข่าวว่าเชื่อถือได้หรือไม่
  • เข้าใจว่าข้อมูลที่แชร์อาจละเมิดสิทธิของผู้อื่น
  • รู้จักตั้งคำถามกับคอนเทนต์ที่เราเห็น เช่น ใครเป็นคนโพสต์, มีหลักฐานประกอบไหม

3.สร้าง (Create)

ในยุคที่ทุกคนสามารถเป็นผู้ผลิตเนื้อหาได้ ไม่ว่าจะเป็นโพสต์ รูปภาพ คลิปวิดีโอ หรือบทความ การสร้างสรรค์เนื้อหา อย่างมีจริยธรรม เป็นอีกทักษะที่สำคัญ ไม่ใช่แค่โพสต์ให้สวย แต่ต้องคำนึงถึงความถูกต้อง เคารพสิทธิผู้อื่น และไม่ทำร้ายใครโดยไม่รู้ตัว เช่น การโพสต์ภาพผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการใช้คำพูดที่เป็นการบูลลี่ ตัวอย่างทักษะในข้อนี้

  • ทำคลิปรีวิวสินค้าที่เป็นกลาง
  • เขียนโพสต์เพื่อแบ่งปันความรู้โดยอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง
  • ออกแบบกราฟิกหรืออินโฟกราฟิกให้สื่อสารชัดเจนและเข้าถึงง่าย

4.เข้าใจ (Access)

ทักษะนอกจากการเข้าถึงข้อมูลและเครื่องมือดิจิทัลได้แล้ว ยังรวมถึงการรู้จักปกป้องตัวเองจากภัยไซเบอร์ เช่น ไวรัส ฟิชชิง การหลอกลวง หรือการถูกแฮกข้อมูล เข้าใจเรื่องความเป็นส่วนตัว การตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัย และการควบคุมข้อมูลของตนเอง ตัวอย่างทักษะในข้อนี้

  • ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในโซเชียลมีเดียอย่างเหมาะสม
  • ไม่คลิกลิงก์น่าสงสัยจากอีเมลหรือแชต
  • ใช้แอปจัดการรหัสผ่านและยืนยันตัวตนสองขั้นตอน (2FA)

องค์ประกอบสำคัญของ Digital Literacy

องค์ประกอบสำคัญของ Digital Literacy

ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราอย่างรวดเร็ว การมีความรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy) ไม่ใช่แค่ทักษะเสริม แต่เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานเหมือนกับการอ่านออกเขียนได้ การจะอยู่รอดและเติบโตในโลกดิจิทัลอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงต้องเข้าใจองค์ประกอบหลักของทักษะนี้อย่างถ่องแท้ ไม่ใช่แค่ “ใช้เทคโนโลยีได้” เท่านั้น แต่ยังต้องคิดเป็น วิเคราะห์ได้ และปกป้องตัวเอง บนโลกออนไลน์ได้ด้วย ลองมาดูกันว่าองค์ประกอบสำคัญของ Digital Literacy มีอะไรบ้าง

1.ใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว

ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน แอปพลิเคชัน หรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ผู้มี Digital Literacy ควรสามารถใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว และอัปเดตตัวเองอยู่เสมอ

2.คิดเชิงวิเคราะห์กับข้อมูลออนไลน์

ท่ามกลางข่าวปลอมและข้อมูลลวง การรู้เท่าทันและวิเคราะห์แหล่งที่มาของข้อมูลอย่างรอบคอบเป็นสิ่งจำเป็น

3.มีมารยาทและจริยธรรมบนโลกออนไลน์

โลกออนไลน์ไม่ใช่พื้นที่ไร้ขอบเขต ผู้ใช้ควรรู้จักกาลเทศะ ไม่บูลลี่ และเคารพสิทธิผู้อื่น

4.รู้เท่าทันภัยไซเบอร์

ทักษะในการป้องกันตนเองจากไวรัส ฟิชชิง หรือการโดนแฮกคือหัวใจสำคัญที่ปกป้องทรัพย์สินและข้อมูลส่วนตัว

5.ปกป้องข้อมูลส่วนตัว

เข้าใจการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว การใช้รหัสผ่านอย่างปลอดภัย และไม่เปิดเผยข้อมูลที่เสี่ยงต่อการถูกขโมยตัวตน 

ทำไม Digital Literacy ถึงสำคัญ?

ทำไม Digital Literacy ถึงสำคัญ?

ในยุคที่อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีแทรกซึมอยู่ในทุกช่วงชีวิต ตั้งแต่การเรียน การทำงาน การติดต่อสื่อสาร ไปจนถึงการใช้บริการต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ การมีเพียงแค่ “เครื่องมือ” อย่างมือถือหรือคอมพิวเตอร์อาจไม่เพียงพออีกต่อไป สิ่งที่จำเป็นจริง ๆ คือความสามารถในการเข้าใจและใช้งานเทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน หรือที่เราเรียกว่า Digital Literacy เพราะถ้าขาดทักษะนี้ ก็อาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ ใช้เครื่องมือไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือพลาดโอกาสสำคัญในชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย แล้วเราจะเห็นชัดขึ้นว่า Digital Literacy สำคัญอย่างไร จากเหตุผลเหล่านี้

1.ป้องกันการถูกหลอกหรือโดนแฮก

คนที่มี Digital Literacy จะสามารถระวังภัยออนไลน์ เช่น อีเมลปลอม ลิงก์อันตราย หรือเว็บไซต์หลอกลวงได้

2.ทำงานได้ดีขึ้นในยุคที่เทคโนโลยีคือทุกอย่าง

ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานฟรีแลนซ์ เจ้าของธุรกิจ หรือพนักงานประจำ การรู้วิธีใช้เทคโนโลยีจะทำให้คุณทำงานได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3.สร้างโอกาสใหม่ ๆ ในชีวิตและการเรียนรู้

นอกจากการเรียนออนไลน์ ยังสามารถทำธุรกิจแบบดิจิทัลออนไลน์ได้ทุกที่ พร้อมการเข้าถึงแหล่งความรู้ที่ไม่มีในตำราเรียนอย่างไร้ขีดจำกัด

4.เข้าใจสิทธิของตัวเองในโลกออนไลน์

เช่น สิทธิความเป็นส่วนตัว สิทธิในข้อมูล หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี

ทักษะสำคัญใน Digital Literacy

ทักษะสำคัญใน Digital Literacy

การมี Digital Literacy ไม่ได้หมายถึงแค่การ “ใช้เทคโนโลยีได้” เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงความเข้าใจ การวิเคราะห์ การตัดสินใจ และการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้เราใช้ชีวิตและทำงานได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ต่อไปนี้คือ 7 ทักษะหลักที่สำคัญสำหรับทุกคน

1.การใช้เครื่องมือดิจิทัล

ในส่วนนี้หมายถึงความสามารถในการใช้งานเครื่องมือพื้นฐานได้ เช่น 

  • Microsoft Office (Word, Excel, PowerPoint) สำหรับการจัดการเอกสาร
  • Google Workspace (Docs, Sheets, Drive) การทำงานร่วมกันได้แบบเรียลไทม์
  • แอปจัดการงาน อย่าง Trello, Notion หรือ Todoist สำหรับติดตามงาน
  • แพลตฟอร์มสื่อสาร เช่น Zoom, Microsoft Teams, LINE หรือ Slack สำหรับการติดต่อสื่อสาร

การใช้เครื่องมือเหล่านี้อย่างคล่องแคล่วทำให้คุณทำงานได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้สะดวกอีกด้วย

2.การค้นหาและประเมินข้อมูล

ไม่ใช่แค่การพิมพ์คำค้นใน Google แล้วคลิกลิงก์แรกที่เจอ แต่ควรรู้จักเลือกคำค้นให้แม่นยำ ใช้ฟีเจอร์ค้นหาแบบขั้นสูง รวมถึงประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล แยกแยะข่าวปลอมหรือข้อมูลบิดเบือน เพื่อให้สามารถเข้าถึงความรู้ที่ถูกต้องและใช้ข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ

3.การสื่อสารและการทำงานร่วมกันในโลกดิจิทัล

คือทักษะในการใช้ช่องทางต่าง ๆ เช่น แชต อีเมล หรือวิดีโอคอลอย่างมืออาชีพ การแบ่งปันไฟล์ ทำงานร่วมกันผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และมีมารยาทในการประชุม เช่น ปิดไมค์เมื่อไม่พูด หรือระบุตัวตนให้ชัดเจน

4.ความปลอดภัยไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

ความสามารถในการป้องกันตนเองจากภัยออนไลน์ เช่น การตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัยและไม่ซ้ำ เปิดใช้การยืนยันตัวตนสองชั้น ไม่กดลิงก์ต้องสงสัย และตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในโซเชียลมีเดียเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกละเมิดข้อมูล

5.การสร้างและแบ่งปันเนื้อหา

การผลิตคอนเทนต์ที่มีประโยชน์และเคารพลิขสิทธิ์ผู้อื่น เช่น การใช้ภาพ เสียง หรือวิดีโอที่ได้รับอนุญาต รวมถึงเลือกช่องทางเผยแพร่ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และเขียนอย่างมีจริยธรรม ไม่ปลุกปั่นหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง

6.การแก้ปัญหาและคิดวิเคราะห์

เป็นทักษะที่ช่วยให้สามารถรับมือกับปัญหาด้านเทคโนโลยี เช่น อินเทอร์เน็ตมีปัญหา แอปค้าง หรือเครื่องรวน ด้วยการค้นหาวิธีแก้ไขจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ไม่ตื่นตระหนก และรู้จักขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น

7.การเรียนรู้และปรับตัว

การเปิดใจรับสิ่งใหม่ ทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ หมั่นเรียนรู้ผ่านคอร์สออนไลน์หรือคลิปวิดีโอ ตลอดจนติดตามเทรนด์ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานหรือชีวิต เพื่อให้ไม่ตกยุคและพร้อมปรับตัวในทุกสถานการณ์ดิจิทัล

การนำ Digital Literacy ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

การนำ Digital Literacy ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน หรือการใช้ชีวิตส่วนตัว ทักษะด้าน Digital Literacy ไม่ได้เป็นเพียง “ความรู้” แต่คือ “ความสามารถที่นำไปใช้ได้จริง” คนที่มีทักษะนี้จะสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเกิดประโยชน์กับทั้งตัวเองและผู้อื่น แล้วเราจะใช้ Digital Literacy ยังไงในชีวิตประจำวัน ลองมาดูกัน

1.การเรียนออนไลน์

ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระบบ หรือเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์สออนไลน์ต่าง ๆ ผู้มี Digital Literacy จะสามารถใช้แพลตฟอร์มอย่าง Google Classroom, Zoom, Microsoft Teams หรือ Coursera ได้อย่างคล่องแคล่ว พร้อมทั้งจัดการไฟล์ ส่งงาน หรือสื่อสารกับครูและเพื่อนได้อย่างเป็นระบบและมืออาชีพ

2.การทำงานแบบ Remote หรือ Hybrid

การทำงานจากที่บ้านหรือแบบผสมผสาน (Hybrid) กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว คนที่มีทักษะดิจิทัลจะสามารถใช้แอปจัดการโปรเจกต์ เช่น Trello, Notion, Slack หรือ Microsoft Teams เพื่อสื่อสาร ประสานงาน และติดตามความคืบหน้าของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.การบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว

ในยุคที่ข้อมูลส่วนตัวสามารถถูกขโมยได้เพียงแค่คลิกลิงก์ผิด การรู้จักเก็บไฟล์ในระบบ Cloud อย่างปลอดภัย ตั้งรหัสผ่านที่รัดกุม และระวังการโพสต์ข้อมูลส่วนตัวลงโซเชียลมีเดีย คือการปกป้องตัวเองจากภัยไซเบอร์ที่มองไม่เห็น

4.การซื้อขายและทำธุรกรรมออนไลน์อย่างปลอดภัย

เราทุกคนล้วนต้องซื้อของหรือโอนเงินออนไลน์ในชีวิตประจำวัน ทักษะ Digital Literacy จะช่วยให้เราเลือกใช้เว็บไซต์หรือแอปที่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบ URL ว่าปลอดภัยหรือไม่ และหลีกเลี่ยงการกดลิงก์ที่ไม่รู้จัก เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

5.การสื่อสารและเชื่อมต่อกับคนอื่น

ทุกวันนี้ผู้คนส่วนใหญ่ติดต่อกันมักเกิดผ่านแชต อีเมล หรือโซเชียลมีเดีย หากคุณมีทักษะ Digital Literacy จะรู้จักส่งข้อความอย่างมีสติ มารยาทที่ดี พิมพ์สื่อสารตรงประเด็น ใช้ Emoji หรือภาษาพูดอย่างเหมาะสมกับบริบท ไม่ทำให้เข้าใจผิดหรือนำไปสู่ความขัดแย้ง

6.การจัดการเวลาและงานด้วยเทคโนโลยี

เทคโนโลยีสามารถช่วยให้เราบริหารเวลาได้ดีขึ้น เช่น การใช้ Google Calendar ในการนัดหมาย การวางแผนงานด้วย To-do list apps หรือใช้แอปติดตามเวลาอย่าง Toggl หรือ Forest เพื่อรักษาวินัยและเพิ่มโฟกัสในการทำงาน

7.การสร้างและแบ่งปันเนื้อหาดิจิทัล

ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอสั้น รีวิวหนังสือ แชร์ความรู้ หรือโพสต์แรงบันดาลใจ Digital Literacy ช่วยให้เราสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ เคารพสิทธิของผู้อื่น และเลือกใช้แพลตฟอร์มในการเผยแพร่เนื้อหาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

สรุป

Digital Literacy คือ “ทักษะที่จำเป็น” ไม่ต่างจากการอ่านออกเขียนได้ในอดีต หากคุณต้องการอยู่รอดและก้าวหน้าในยุคดิจิทัล จำเป็นต้องพัฒนาทักษะนี้อย่างจริงจัง เพราะไม่ใช่แค่การ “ใช้งาน” เทคโนโลยี แต่คือการ “เข้าใจ” “ประเมิน” และ “สร้างคุณค่า” ด้วยเทคโนโลยี ในโลกที่เทคโนโลยีเป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย คนที่มี Digital Literacy จะสามารถเลือกเส้นทางที่ปลอดภัย สร้างสรรค์ และประสบความสำเร็จในโลกอนาคตได้อย่างมั่นคง

Cotactic ซึ่งเป็นบริษัท Digital Marketing Agency เชี่ยวชาญในการพัฒนาและดำเนินการกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่ครบวงจร พร้อมช่วยธุรกิจของคุณสร้างผลลัพธ์ที่ชัดเจน โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ Cotactic จะออกแบบแผนการตลาดที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการใช้โฆษณา การจัดการคอนเทนต์ หรือการเลือกใช้ช่องทางต่างๆ ให้เหมาะสมที่สุด เราพร้อมที่จะช่วยเพิ่มการรับรู้แบรนด์ กระตุ้นยอดขาย และสร้างการเชื่อมโยงที่มีประสิทธิภาพกับกลุ่มลูกค้าของคุณ 

Source

https://www.linkedin.com/pulse/what-does-mean-digitally-literate-melvin-goh/

https://dinisguarda.medium.com/digital-literacy-abc-6fa542ba189a

https://abclifeliteracy.ca/literacy/digital-literacy/

https://www.rasmussen.edu/student-experience/college-life/what-is-digital-literacy/

https://thinkschools.net/why-digital-literacy-is-key-for-21st-century-student-success

บทความที่เกี่ยวข้อง

Image2

Google Lens คืออะไร? วิธีใช้งานและประโยชน์ที่หลายคนยังไม่รู้!

Churn Rate คืออะไร? วิธีคำนวณและลดอัตราการยกเลิกบริการ

ต้องการหาทีม DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการหาทีม
DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?