click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลก้าวหน้าขึ้น ไม่ว่าจะระบบการจัดการข้อมูล Big Data และ Marketing Automation ต่าง ๆ รวมถึงการมาถึงของ Generative AI, Metaverse, Web3 ทำให้ภูมิทัศน์ดิจิทัลเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง

ทว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลหรือ Digital Transformation ไม่ใช่เพียงแค่นำเข้าเทคโนโลยีล้ำสมัยมาใช้ในองค์กรเท่านั้น ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างครอบคลุม ทั้งการจัดหาผู้เชี่ยวชาญ การพัฒนาทักษะของพนักงาน การแสวงหาวิธีการทำงานรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อสร้างกระบวนการเปี่ยมประสิทธิภาพในทุก ๆ แผนกขององค์กรเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ และสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ที่สอดคล้องกันขึ้นมาทดแทน

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ และเตรียมความพร้อมให้องค์กรสามารถปรับตัวรับมือกับความไม่แน่นอนของโลกอนาคตที่ผกผันอยู่ตลอดเวลาได้

Digital Transformation คือ

กระบวนการเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่ยุคดิจิทัล เป็นสะพานเชื่อมระหว่างธุรกิจในปัจจุบันกับธุรกิจในอนาคต ซึ่งจะต้องดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หมั่นเรียนรู้  ต่อยอดอย่างไม่มีวันสิ้นสุด เนื่องจากเทคโนโลยีที่รุดหน้าขึ้นในทุกวัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการและนักการตลาดต้องรับมือกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

หากแบรนด์ไหนยังไม่รู้ใจกลุ่มเป้าหมายของตนเองดีพอ หรือไม่สามารถตอบสนองพวกเขาได้ทันความต้องการ ก็อาจเสียโอกาสขายผลิตภัณฑ์และบริการ เพราะลูกค้าพร้อมจะเปลี่ยนใจไปหาแบรนด์คู่แข่งที่ทำได้ดีกว่าเสมอ

องค์ประกอบของ Digital Transformation

องค์ประกอบของ Digital Transformation

1. Digitalization การเปลี่ยนโมเดลธุรกิจเพื่อก้าวสู่ยุคดิจิทัล

Digitalization เป็นการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีที่ใช้ดำเนินธุรกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการหารายได้ในอนาคตในรูปแบบดิจิทัล

2. Process Digitalization การเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นระบบดิจิทัล

เริ่มตั้งแต่ทำการ Digitization แปลงข้อมูลเป็นดิจิทัล เปลี่ยนจากการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบกระดาษ หรือที่เรียกว่า ข้อมูลอนาล็อก (Analog Data) มาจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล (Digital Data) ลงบนระบบคลาวน์ (Cloud Computing)  หรือระบบจัดการข้อมูล อย่างเช่น ระบบ CRM (Customer Relationship Management) ที่ใช้จัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้า

ซึ่งในส่วนนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เพียงแต่ช่วยให้การจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพ ค้นหาข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ช่วยให้ทำรายงานและบทวิเคราะห์ได้อย่างมีข้อมูลอ้างอิง

รวมไปถึงการติดตามกระบวนการทำงานของบุคลากรในองค์กร ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมกับรูปแบบงานของแต่ละแผนก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน

3. Digital Marketing การตลาดดิจิทัล

การทำการสื่อสารการตลาดในรูปแบบดิจิทัล สร้างภาพจำของแบรนด์ เพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์และบริการผ่านช่องทางแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ อย่างเช่น เว็บไซต์ อีเมล และโซเชียลมีเดีย

9 ขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างนักกลยุทธ์

1. ปรับปรุงวิสัยทัศน์

ทบทวนวัตถุประสงค์และพันธกิจขององค์กรใหม่ ปรับปรุงวิสัยทัศน์ตามแรงบันดาลใจที่ผลักดันให้อยากมุ่งทะยานไกลสู่อนาคต และตอบคำถามให้ได้ว่าเราจะทำสิ่งนั้นได้อย่างไร

2. ตรวจสอบกลยุทธ์

ตรวจสอบกลยุทธ์ธุรกิจในปัจจุบันว่าสอดคล้องกับเป้าหมายใหม่ในอนาคตหรือไม่

3. สำรวจผลิตภัณฑ์และบริการ

ทบทวนคุณค่าที่จะนำเสนอแก่ลูกค้าและพันธมิตรของคุณใหม่ หาวิธีการเพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรมที่ตอบโจทย์โลกอนาคต

4. กำหนดขอบเขตงาน

กำหนดขอบเขตของงานและลำดับความสำคัญโครงการเชิงกลยุทธ์ต่าง ๆ  โดยมุ่งเน้นโครงการทดลองระยะสั้น ที่ใช้ทรัพยากรน้อย แต่เข้าใกล้เป้าหมายที่ตั้งไว้มากที่สุดก่อน เพื่อจะเริ่มต้นด้วยชัยชนะเล็ก ๆ และมีความเสี่ยงต่ำ ค่อย ๆ ทำให้ทีมได้เรียนรู้ และสร้างความมั่นใจมากขึ้นกว่าเดิม

กำหนดขอบเขตงาน

5. ประเมินสิ่งที่ขาด

ประเมินช่องว่างที่ยังขาด เช่น คนยังขาดทักษะอนาคต ก็อาจต้องจ้าง Talent คนใหม่ที่มีศักยภาพสูงและมีความพร้อมเข้ามาทำงานในส่วนนี้ ควบคู่ไปกับการสร้างแผนพัฒนาทักษะบุคลากรดั้งเดิมให้สอดคล้องกับโจทย์ใหม่ขององค์กร เพื่อให้พวกเขามีคุณสมบัติเพียงพอจะก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน

6. มองหาพันธมิตร

มองหาคู่ค้าและพันธมิตรที่จะแลกเปลี่ยนความร่วมมือ เพื่อช่วยกันกรุยทางเส้นใหม่ หรือเข้าซื้อกิจการที่จะมาสนับสนุนงานในอนาคตขององค์กร

7. กำหนดเกณฑ์วัดผล

ตัวชี้วัดความสำเร็จในแต่ละเป้าหมายหลักเป้าหมายรอง เพื่อที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน และตั้งข้อสังเกตเพื่อปรับปรุงพัฒนาขึ้นได้อย่างตรงจุด

8. วางกรอบจริยธรรม

คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน และสิทธิส่วนบุคคล สร้างระบบตรวจสอบที่รัดกุมในการใช้งานเทคโนโลยี ทั้งเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือเรื่องล้ำสมัยที่อาจยังไม่มีกฎหมายรองรับ แต่จำเป็นต้องคอยกำกับดูแล เพื่อไม่ให้เกิดเหตุที่อาจก่อความเสียหายแก่องค์กร หรือต่อส่วนรวม

9. เลือกลงทุน

จากนั้นค่อยเลือกลงทุนในเทคโนโลยีเป็นลำดับสุดท้าย เพื่อช่วยเสริมจุดแข็งให้องค์กรคุณรุดหน้ากว่าคู่แข่ง และประเมินได้ว่าจะเพิ่มผลตอบแทนกลับคืนมาภายในระยะเวลาเท่าไร

เป้าหมายสำคัญของ Digital Transformation

4 เป้าหมายสำคัญที่ใช้เป็นแนวทางการวางแผนกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล มีดังต่อไปนี้

1. พัฒนา CX เพิ่มประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience)

  • ซื้อใจลูกค้าประจำ (Brand Loyalty)
  • เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ (Productivity)
  • กระตุ้นยอดซื้อซ้ำด้วยข้อแลกเปลี่ยนสุดคุ้ม (Cross-selling/Up-selling)

2. เชื่อมข้อมูลถึงกันทั้งระบบและลดความซับซ้อน (Streamline Business Processes)

  • ลดต้นทุนการผลิตและทรัพยากรมนุษย์
  • ปรับปรุงกระบวนการทำงานในองค์กรแบบไร้รอยต่อ
  • ยกระดับการทำงานระหว่างคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ
Streamline Business Processes

3. ปรับปรุงการจัดการระบบหลังบ้านและหน้าบ้าน (Optimized Infrastructure and Operations)

  • จัดการงานราบรื่นไม่มีสะดุดเป็นคอขวด
  • ลดความซับซ้อนในการใช้งาน
  • คาดการณ์ปัญหา ป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า เพื่อแก้ให้ทันก่อนเกิดปัญหา หรือมีแนวทางรับมือที่ชัดเจน

4. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ (Data-driven Decision-making)

  • ทุก ๆ การตัดสินใจจะมีข้อมูลรองรับชัดเจน
  • ติดตามข้อมูลและวัดผลได้
  • ทุกคนในองค์กรมีเป้าหมายไปยังทิศทางเดียวกัน ทำงานได้สอดคล้องไปทั้งแผนก และพร้อมจะให้ความร่วมมือระหว่างแผนก

Digital Transformation ส่งผลดีต่อนักการตลาดอย่างไร

สำหรับนักการตลาดที่จะต้องคอยมองหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในระหว่างทางคุณจะค้นพบขุมพลังใหม่ที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า โดยมี 3 หัวใจสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนงานการตลาดดิจิทัลของคุณ

Digital Transformation ส่งผลดีต่อนักการตลาดอย่างไร

1. ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centricity)

1.1 เข้าใจลูกค้า

นักการตลาดจะรู้จักลูกค้าดีขึ้น เข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง และแยกกลุ่มลูกค้าได้ละเอียดอ่อนขึ้น

1.2 สร้างประสบการณ์ที่ดี

นำเสนอประสบการณ์ที่ราบรื่น ไร้รอยต่อ ทำให้ลูกค้าประทับใจ และกลับมาซื้อซ้ำได้

1.3 สร้างประสบการณ์ที่ดี

รู้ใจลูกค้าเป็นอย่างดี สามารถกำหนดทิศทางการสื่อสารการตลาดกับลูกค้าแต่ละกลุ่มได้แบบเฉพาะเจาะจง (Personalized Marketing) ได้ตรงใจ

2. รู้ใจลูกค้าเชิงลึก (Customer Insight)

2.1 จัดเก็บ 1st Party Data

จัดเก็บ 1st Party Data ที่ได้รับความยินยอมจากลูกค้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อนำข้อมูล อย่างเช่น พฤติกรรมการซื้อและการใช้งาน มาใช้ตัดสินใจทางการตลาด

2.2 จัดเก็บ 3rd Party Data

จัดเก็บ 3rd Party Data มาวิเคราะห์หาแนวโน้มของตลาดที่น่าสนใจ สำรวจความคิดเห็นและความสนใจของลูกค้าบนโลกออนไลน์เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมาย

2.3 เก็บข้อมูลเพื่อพัฒนา

นำข้อมูลมาพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น

3. ทุ่นแรงด้วยเครื่องมือการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Technology)

3.1 ช่องทางใหม่ๆ

เข้าถึงลูกค้าในช่องทางใหม่ ๆ ตอบสนองความต้องการได้ทันใจ

3.2 เจาะกลุ่มลูกค้า

ใช้เครื่องมือโฆษณาออนไลน์เจาะกลุ่มลูกค้าได้แม่นยำ

3.3 เครื่องมือดิจิทัล

ใช้เครื่องมือดิจิทัลช่วยติดตาม วิเคราะห์ผล วัดประสิทธิภาพการทำงานการตลาดออนไลน์ได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว

3.4 เพิ่มช่องทาง

เพิ่มช่องทางแสดงภาพลักษณ์ของแบรนด์ ให้เป็นที่รู้จักและน่าจดจำ

3.5 กระชับความสัมพันธ์

เพิ่มช่องทางกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้า

3.6 เพิ่มโอกาส

เพิ่มโอกาสเสนอขายผลิตภัณฑ์และบริการกับลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ

กรณีศึกษาอุตสาหกรรมที่ทำ Digital Transformation ได้สำเร็จ

1. ธุรกิจความบันเทิง

1.1 Netflix

เน็ตฟลิกซ์เปลี่ยนผ่านจากธุรกิจร้านให้เช่าแผ่น DVD ภาพยนตร์ มาให้บริการ Online Streaming ในระบบปิดเฉพาะสมาชิกรายปีและรายเดือน (Subscription) ซึ่งมีเทคโนโลยีที่โดดเด่นทั้งความเสถียรของคุณภาพการรับชม และพัฒนาระบบแนะนำเนื้อหา (Recommendation System) ให้ตรงใจผู้ชม ใช้การสื่อสารนอกบ้าน (Out of Home Advertising) และสื่อดั้งเดิม (Traditional Marketing) เข้ามาช่วยสร้างความแปลกใหม่ ให้เกิดเป็นกระแสพูดถึงไปทั่วโลก ส่วนวัฒนธรรมองค์กรของ Netflix เน้นทำงานเป็นทีมเหมือนนักกีฬา

ธุรกิจความบันเทิง

1.2 Tiktok

มุ่งเน้นนำเสนอวิดีโอสั้นที่มอบประสบการณ์ด้วยฟีลเตอร์เพิ่มความสนุก เปลี่ยนใบหน้าผู้ใช้ให้น่าทึ่ง และพัฒนาระบบ AI คอยปรับปรุงนำเสนอเนื้อหาที่ตรงความสนใจของผู้ใช้ รวมถึงมีฟีเจอร์ที่ช่วยเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้ด้วยกัน มีระบบแบ่งปันรายได้ให้แก่ครีเอเตอร์ (Creator Economy) เพื่อสนับสนุน UGC (User Gennerate Content) ไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดาแค่ไหนก็โด่งดังขึ้นมาได้

2. ธุรกิจธนาคาร

2.1 ธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชัน

เบิกจ่ายเงินดิจิทัล ผ่านระบบแอปพลิเคชันบนมือถือ (Mobile-Banking) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้จ่ายซื้อของออนไลน์ หรือสแกนคิวอาร์โค้ดที่ร้านได้ง่ายดายโดยไม่ต้องพกเงินสดหรือบัตรเครดิต

ธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชัน

2.2 ความปลอดภัย

คุ้มครองความปลอดภัยทางการเงินบนโลกไซเบอร์ ด้วยระบบสแกนลายนิ้วมือและรหัสผ่านสองชั้น

2.3 AI อัจฉริยะ

บริการแนะนำการลงทุนด้วยผู้ช่วย AI อัจฉริยะ วิเคราะห์ตลาดหุ้น ติดตามแนวโน้มสินทรัพย์น่าลงทุน พร้อมทำการซื้อขายได้ด้วยตนเองในระบบ

3. ธุรกิจค้าปลีก

3.1 Lazada

พัฒนาระบบไลฟ์สด (Live Streaming) กระตุ้นการขายสินค้าภายในแพลตฟอร์ม คอยกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วยโปรแกรมสะสมแต้ม (Loyalty Program) ในรูปแบบเกม (Gamification) เพื่อให้ลูกค้าติดใจอยากกลับมามีส่วมร่วม (Engagement) แลกสิทธิพิเศษเพิ่มความรู้สึกคุ้มค่า

ธุรกิจค้าปลีก

3.2 The 1

ลงทุนระบบ DMP (Data Management Platform) เพื่อรวมศูนย์ถังข้อมูลลูกค้าสมาชิกในเครือห้างสรรพสินค้าและร้านค้าทั่วประเทศกว่า 16 ล้านคน เพื่อรวบรวมพฤติกรรมผู้ซื้อในทุกประเภท จนสามารถสื่อสารการตลาดแบบเจาะจง (Personalized Marketing) โดยเริ่มใช้ AI ปรับปรุงภาพและข้อความสื่อสารถึงลูกค้า โดยจัดส่งการสื่อสารการตลาดรายบุคคลด้วยระบบทำการตลาดอัตโนมัติ (Marketing Automation) นำส่งข้อเสนอสิทธิพิเศษแก่ลูกค้าสมาชิกผ่านทาง Website, Email, SMS, และ Social Media เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ รวมถึงยังให้บริการสนับสนุนข้อมูลการตลาด (Data Provider) วิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มลูกค้าให้แก่คู่ค้าและพันธมิตรทางการตลาด เพื่อเพิ่มความเข้าใจความต้องการของตลาดในแต่ละพื้นที่ และนำกลับไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ก่อนการลงทุน

สรุป

สิ่งสำคัญขององค์กรที่ประสบความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ต่างมีเหมือนกันก็คือ พวกเขาตั้งเป้าหมายและกำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจน เข้ากับบริบท สถานการณ์ในอุตสาหกรรมของตนเอง และสภาวะตลาด

จริงจังในการเปลี่ยนแปลงทุกภาคส่วนขององค์กร หมั่นวิเคราะห์ ติดตามผล ใช้งานเทคโนโลยีอย่างเต็มประสิทธิภาพ ระบุปัญหา หาทางแก้ไขอย่างฉับไว ไม่ปล่อยให้ลูกค้าของพวกเขาต้องผิดหวัง คอยรับฟังลูกค้าและปรับปรุงอย่างรวดเร็ว เพิ่มรายการความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง พัฒนาการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรอย่างสร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรพัฒนาทักษะ เพื่อสร้างบรรทัดฐานใหม่ จนสามารถขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างมั่นคงและแข่งขันได้ไม่น้อยหน้าใคร และมั่นใจได้ว่าจะรับมือกับทุกเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ในอนาคต

สนใจปรึกษา Cotactic

Digital Marketing Agency ประสบการณ์กว่า 8 ปี ที่พร้อมจะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ร่วมวางแผนงานการตลาดดิจิทัลให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและเป้าหมาย Digital Transformation ของแบรนด์คุณ

ปลดล็อกศักยภาพแบรนด์ของคุณอย่างเข้าใจวัตถุประสงค์เบื้องลึก ช่วยคุณบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจขึ้นไปอีกขั้นด้วยเทคโนโลยีการตลาดดิจิทัลและกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่ใช่ พร้อมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่จะคอยสนับสนุนงานสื่อสารการตลาดออนไลน์ ให้คุณประหยัดเวลาและทรัพยากรภายในของคุณ เพิ่มผลลัพธ์ที่คุ้มค่าต่อทุกการลงทุนในโฆษณาออนไลน์

ติดต่อขอรับคำปรึกษาฟรีจาก Cotactic ได้ก่อนตัดสินใจรับบริการ เพียงกรอกข้อมูลเพื่อให้เรารู้โจทย์ที่ท้าทายของคุณในเบื้องต้น คลิกที่นี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 065 095 9544

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

——————————————————————–

ขอบคุณข้อมูลจาก

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไม Evergreen Content ถึงดีต่อเว็บไซต์

ทำไม Evergreen Content ถึงดีต่อเว็บไซต์

Personalized Marketing

Personalized Marketing ทำการตลาดแบบรู้ใจลูกค้า

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้