click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

เคยได้ยินคอนเซปต์ The Fifth Wave of Computing ไหมครับ? คอนเซปต์นี้จะกล่าวถึงการผนวกควบรวมของนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ 3 อย่างเข้าไว้ด้วยกันคือ AI, IoT และ 5G สาเหตุที่ผมหยิบยกคอนเซปต์นี้มาให้ฟังก็เพราะว่า เทคโนโลยีเหล่านี้คือสิ่งที่สามารถสร้างตัวตนได้เองโดยธรรมชาติ กล่าวคือมันวิวัฒนาการตัวเองได้ และแต่ละเทคโนโลยีก็มีฟังก์ชันการใช้งานและความสามารถที่แตกต่างกัน ซึ่งหากนำคอนเซปต์นี้มาเปรียบเทียบกับ Metaverse แล้วจะเข้าใจได้ดังนี้ครับ

 

  1. AI จะช่วยสร้าง Machine Learning เรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้งาน เข้าใจ Insights เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกได้ ซึ่ง Metaverse ก็ใช้ประโยชน์จาก AI ช่วยสร้างตัวละครหรือสภาวะแวดล้อมในโลกเสมือนขึ้นมา ผ่านอุปกรณ์เสริมหรือชุดคำสั่งได้ ดั่งที่พบได้ในตัวอย่างของ Promethean AI ตามนี้ครับ
  2. IoT (Internet of Things) บ้านสมัยใหม่หลายหลังเริ่มปรับตัวให้เป็น Smart Home มากขึ้น เพียงแค่มีมือถือเครื่องเดียวก็สั่งงานได้ทั้งบ้าน เมื่อนำมาปรับใช้กับ Metaverse ระบบนี้จะเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอย่างแว่น VR และ Controller Stick พาคุณเข้าไปยังโลกเสมือน เชื่อมต่อตัวเราเข้ากับแพลตฟอร์มและผู้ใช้งานคนอื่น ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต
  3. 5G หลังการประกาศปรับโครงสร้าง Facebook ให้รองรับระบบ Meta มากขึ้น การใช้งานอินเทอร์เน็ตจึงจำเป็นต้องเร็วตาม เพราะการสื่อสารจะไม่ได้หยุดแค่การโทรหรือวิดีโอคอลอย่างเดียว แต่จะได้เห็นบุคคลเสมือนแบบเป็น ๆ โผล่มาทั้งตัวเลย ฉะนั้นเครือข่าย 5G จะกลายเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

 

ตอนนี้เราพอจะเข้าใจเทคโนโลยีอื่นที่เข้ามาใช้ร่วมกันกับ Metaverse แล้ว ต่อจากนี้จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพหรือเทคโนโลยีใดบ้างที่เริ่มมีการนำ Metaverse มาใช้บ้างแล้ว ที่ธุรกิจหลายเจ้าควรเริ่มปรับตัวเพื่อหาลูกค้าใหม่ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกจังหวะของชีวิต


ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


 

Metaverse เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอะไรบ้าง

 

1. AR, VR, MR และ XR

 

  • AR หรือ Augmented Reality มีชื่อไทยว่า ความเป็นจริงเสริม คือการนำโลกเสมือนเข้ามาผนวกกับโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งสามารถใช้งานได้บนอุปกรณ์ทั่วไปอย่าง มือถือ ไอแพด หรือแท็บเล็ต ในมุมมองของผู้ใช้งานจะเห็นเป็นภาพสามมิติที่ลอยอยู่เหนือวัตถุหรือสภาพแวดล้อมในโลกจริง ในวงการธุรกิจเริ่มมีการใช้ AR เข้ามาผสานกับการขายสินค้ากันบ้าง เปรียบเทียบให้เห็นชัด ๆ ว่าสินค้าที่เลือกจะดูเป็นอย่างไรเมื่อมาอยู่ในมือเราจริง ๆ แบบที่ไม่ต้องไปเดินเลือกดูถึงหน้าร้าน

 

  • VR หรือ Virtual Reality ความเป็นจริงเสมือน เป็นการนำจำลองสภาพแวดล้อมขึ้นมาใหม่ทั้งหมดในโลกเสมือน และเปิดให้เรารับรู้ได้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 4 (รูป เสียง กลิ่น รู้สึก) ซึ่งจะแยกความรับรู้ของเราออกจากโลกความจริง (ไม่ใช่การโอนถ่ายจิตเหมือนที่เห็นกันในหนังนะครับ เพียงแค่เราให้ความสนใจต่อ VR มากจนตัดการรับรู้ออกจากโลกจริงไปช่วงเวลาที่ใส่ VR เท่านั้น) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเทคโนโลยี VR ยังไม่ได้เผยแพร่กันไปอย่างกว้างขวางเท่าที่ควร เนื่องจากยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ อุปกรณ์หลักและเสริมมีหลายชิ้น ราคารวม ๆ แล้วค่อนข้างแพง จึงยังไม่มีใครนิยมซื้อมาไว้ติดบ้านเท่าไหร่ ยกเว้นคุณเป็นสายเกมเมอร์ ยูทูบเบอร์อยู่แล้ว หากทว่าถ้าเห็นความสำคัญของ VR แล้วล่ะก็ การมีเทคโนโลยีแบบนี้ติดบริษัทไว้ก็พัฒนาองค์กรได้ดีขึ้นได้ครับ

 

  • MR หรือ Mixed Reality เป็นการนำ VR และ AR มาผสมโรงเข้าด้วยกัน เป็นอีกก้าวหนึ่งที่ก้าวหน้ายิ่งกว่า วัตถุที่มองเห็นจะมีมิติที่สมบูรณ์มากขึ้นไม่ลอยไปลอยมาเหมือน AR สามารถตอบสนองต่อการกระทำของเราได้ เช่น ถ้าผลักลูกบอลโดนกำแพง ก็จะเด้งกลับมาเหมือนในโลกจริง ตัว MR พึ่งพาเพียงแค่อุปกรณ์ตัวเดียวคือแว่น MR ไม่ต้องใช้ถุงมือหรือ Controller Stick ในการควบคุมโลกเสมือน ตัวแว่นจะทำงานซ้อนภาพเสมือนทับกับภาพในโลกจริง เพียงแค่ขยับมือภาพเหล่านั้นก็จะเคลื่อนไหวไปตามท่าทางของคุณ ซึ่งเทคโนโลยี MR ที่เตรียมวางจำหน่ายก็มี อาทิ Magic Leap One, Microsoft HoloLens และ Apple MR headset (2022)

 

  • XR หรือ Extended Reality เป็นส่วนขยายความเป็นจริง เป็นขั้นที่ยิ่งกว่า AR, VR และ MR เพราะเป็นการนำทั้งสามอย่างมาผสมรวมกัน สามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับเครือข่ายและมีปฏิสัมพันธ์กับคนจริง ๆ ในโลกเสมือนกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ซึ่งสามารถควบคุมการใช้งานได้ผ่านคำสั่งท่าทาง (Gesture) หรือผ่านอุปกรณ์ควบคุม (Controller) ด้วยความพิเศษของเทคโนโลยีนี้ที่ไปไกลกว่าตัวอื่น ๆ ทำให้ในตอนนี้เทคโนโลยี XR ยังถูกจำกัดอยู่เฉพาะกิจกรรมของงานอุตสาหกรรม ในด้านการฝึกทักษะแรงงาน การซ่อมบำรุง การออกแบบและการตรวจสอบวิเคราะห์ประสิทธิภาพเท่านั้น
XR

ที่มา : The Medium

Virtual World

ที่มา : Mobile App Daily

 

ตอนนี้ หากคุณอยากทดลองใช้เทคโนโลยี AR แบบที่ไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์คุณก็สามารถเข้าใช้งานได้ง่าย ๆ สบาย ๆ ครับคลิกที่ลิงก์นี้ app.spatial.io โปรแกรมนี้คือโปรแกรม Meeting ประชุมกันครับ คล้าย ๆ Zoom หรือ Google Meet แต่จะเพิ่มลูกเล่นตรงที่เราสามารถสร้าง Avatar เป็นโมเดลสามมิติ เลือกชุด เลือกสีผิวได้เอง และยังเลือกห้องประชุมได้หลากหลายทั้งแบบ Outdoor, Auditorium เป็นต้น ฟังก์ชันการใช้งานมีทั้งแชร์หน้าจอ วางรูป วางคลิป แปะโน้ต ฯลฯ ลองไปเล่นกันดูได้ครับ

metaverse meeting program

App.spatial.io ช่วยให้ชีวิตการประชุมงานออนไลน์ของคุณเป็น Metaverse มากขึ้น

 

2. คอนเสิร์ตโฮโลแกรม

บทความ Metaverse ฉบับเดือนที่แล้วผมเคยเขียนถึงวง K/DA นักร้องวงป็อปที่เพิ่งเดบิวต์ไปเมื่อปี 2018 ที่นักร้องเป็นตัวละครแอนิเมชันทั้งหมดจากเกม League of Legends ที่มีนักร้องตัวจริงมาพากย์เสียงให้ แต่หัวข้อนี้เราจะก้าวข้ามสูงขึ้นไปอีก เพราะไม่ใช่การร้องเพลงผ่านตัวการ์ตูนบนแอปฟังเพลงสตรีมมิ่งอีกแล้ว แต่ต่อจากนี้จะเป็นการจัดคอนเสิร์ตด้วยโฮโลแกรม! จะมีตัวละครหรือใครที่จัดคอนเสิร์ตโฮโลแกรมมาแล้วบ้าง ตามอ่านกันข้างล่างได้เลยครับ

 

ตัวอย่างคอนเสิร์ตโฮโลแกรม

 

  • Hatsune Miku

คือตัวละครหญิง Vocaloid (Vocal + Android) สาวน้อยแอนดรอยด์จากโปรแกรมเสียงสังเคราะห์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ๆ ในโลก ปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2007 พัฒนาโดย คริปตันฟิวเจอร์มีเดียและนักพากย์ชาวญี่ปุ่น ซากิ ฟูจิตะ มาร่วมให้เสียง ซึ่งเธอได้ออกทั่วคอนเสิร์ตทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ และใช้เทคโนโลยีโฮโลแกรมในการจัดแสดง ทั้งยังมีเปิดให้รับชมผ่าน Live Streaming อีกด้วย

hatsune miku

ที่มา : nbcnwes.com

ตัวอย่างงานคอนเสิร์ตของ Miku

 

  • Michael Jackson

ตำนานราชาเพลงป็อปผู้ล่วงลับไปนานนับทศวรรษ ได้ถูกปลุกขึ้นมาจัดงานคอนเสิร์ตที่งาน Billboard Music Awards 2014 ทางทีมงานได้เลือกเพลง Slave to the Rhythm ซิงเกิลเพลงในอัลบั้ม Xspace ซึ่งเป็นเพลงบางส่วนที่ไมเคิลยังทำไม่เสร็จก่อนปล่อยเพลง และนำมาดัดแปลงเพิ่มเติมให้สมบูรณ์

michael jackson hologram concert

ที่มา : Billboard.com

รับชมคลิปการแสดงครั้งสุดท้ายของราชาเพลงป็อปผู้ล่วงลับที่นี่

  • D2B

ใครว่าฝั่งไทยจะไม่มีอะไรแบบนี้ จริง ๆ มีครับ เพราะเป็นเรื่องราวของสามหนุ่มวง D2B วง Tpop ในตำนานที่ยังมีแฟนคลับคนไทยหวนคิดถึงกันอยู่ บิ๊กปรากฏตัวครั้งแรกในงานคอนเสิร์ต D2B Live Concert 2014 (ปีเดียวกับของไมเคิล แจ็กสัน) ที่ออกมาเพียงแค่ 1 นาที แต่ก็สร้างเสียงฮือฮาให้ผู้ชมมากมายในเพลง ซ่าส์ ซึ่งใช้เทคโนโลยี AI Face Tracking แบบเดียวกับที่ใช้ในภาพยนตร์ต่างประเทศ และทำการตัดต่อเข้ากับนักแสดงที่มีหน้าคล้ายบิ๊กก่อนจะพามาขึ้นคอนเสิร์ตอีกครั้งกับ D2B Infinity Concert 2019

D2B infinity concert

เครดิตในภาพ

รับชมการปรากฏตัวของบิ๊กได้ที่นี่


ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


 


3. Motion Capture

เรียกสั้น ๆ ว่า Mocap เป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่มีการศึกษาและพัฒนามาตั้งแต่ช่วงปี 1970 โดยครั้งแรกถูกนำมาเพื่อพัฒนาทางการทหาร ภายหลังจึงถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาสื่อบันเทิงตั้งแต่ปี 1980 เป็นต้นมา เทคโนโลยีชนิดนี้ใช้บันทึกการเคลื่อนไหวของบุคคลหรือวัตถุ และโอนถ่ายข้อมูลการตอบสนองเหล่านั้นมาสู่การสร้างตัวละครเสมือนจริงสำหรับภาพยนตร์หรือตัวละครเกม แต่ในความจริงเทคโนโลยีนี้ถูกใช้กันหลากหลายมากทั้งการบันทึกการเคลื่อนไหวเพื่อใช้ในการออกแบบอุปกรณ์กีฬา การเกษตร และระบบการดูแลสุขภาพ

ประเภทของ Motion Capture จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน

 

1. ประเภทเชิงกล (Mechanical)

นักแสดงจะใส่ชุดที่ประกอบจากโลหะเป็นส่วน ๆ โดยมีเซนเซอร์ติดอยู่บนชิ้นส่วนแต่ละชิ้น เพื่อตรวจจับความเคลื่อนไหวของร่างกาย ข้อดีคือจะไม่ถูกรบกวนจากแสงหรือสนามแม่เหล็ก แต่ข้อเสียคือไม่สามารถตรวจจับระยะที่อยู่สูงจากพื้นเช่น การกระโดดได้ และอุปกรณ์เสริมจำเป็นต้องถูกปรับแต่งบ่อยครั้ง ไม่สามารถระบุตำแหน่งของเซนเซอร์ได้แม่นยำ

 

2. ประเภทเชิงแสง (Optical)

นักแสดงจะใส่ชุดที่มีจุดสะท้อนแสง และมีกล้องจับภาพอยู่รอบ ๆ จุดสะท้อนแสงจะใช้เพื่อวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของนักแสดง ข้อดีคือนักแสดงจะสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ เพราะไม่มีสายมาโยงกับอุปกรณ์สามารถใช้กับวัตถุขนาดใหญ่หรือวัตถุหลายชิ้นได้ และยังได้ข้อมูลที่มีความละเอียดอีกด้วย ข้อเสียคืออาจเกิด

การรบกวนของแสงจากภายนอก จุดสะท้อนแสงอาจแตกหักเนื่องจากปัจจัยจากการแสดง ทำให้สูญเสียข้อมูลบางส่วน และการประมวลผลแต่ละครั้งใช้เวลานาน

 

3. ประเภทเชิงแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic)

นักแสดงจะใส่ชุดที่มีแถวตัวรับสนามแม่เหล็กที่กำหนดตำแหน่งเทียบตัวส่งสัญญาณ ข้อดีคือสามารถตรวจจับตำแหน่งได้ชัดเจน วัดรอบการหมุนของวัตถุได้ ทำงานแบบเรียลไทม์ ราคาถูกกว่าแบบเชิงแสง ข้อเสียคือหากตัวรับ-ส่งสัญญาณอยู่ไกลกันมากขึ้น สนามแม่เหล็กที่ส่งผ่านข้อมูลอาจบิดเบือนจากพื้นซีเมนต์ (โครงสร้างตึกทั่วไปมีเหล็กเส้นเป็นแกนค้ำ) ทำให้ความเร็วในการรับข้อมูลต่ำ ไม่สามารถนำมาใช้ในทางกีฬาได้

ตัวอย่างภาพยนตร์และเกมที่ใช้ Motion Capture อาทิ Avatar, Pirates of the Caribbean, Apex Legends, League of Legends เป็นต้น

motion graphic

ที่มา : Pinterest.com

เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถสร้างตัวละครจากโลกคนจริง ไปออกแบบในโลกเสมือนได้แล้ว เป็นอีกหนึ่งวิธีการผลิต Metaverse เลยล่ะ

 

4. NFTs

ตัวนี้โด่งดังพอ ๆ กับกระแสคริปโตฯ เลยก็ว่าได้ NFT ย่อมาจาก Non-Fungible Token จัดว่าเป็นคริปโตฯ ประเภทหนึ่งที่ผู้เป็นเจ้าของสามารถแสดง “ความเป็นเจ้าของ” ต่อสินทรัพย์ดิจิทัลได้ มีเพียงชิ้นเดียวบนโลก ไม่สามารถทำซ้ำ คัดลอก หรือลบออกได้ ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูง เช่น ผลงานศิลปะ ภาพถ่าย เพลงเสียงสังเคราะห์ ของสะสมในเกมที่หายากมาก ๆ หรือสินค้าแฟชั่น ซึ่งผลงานเหล่านี้สามารถอัปขึ้นออนไลน์ไปขายต่อ โอนกรรมสิทธิ์ได้โดยไม่ผ่านคนกลาง เพราะทำผ่านระบบ Blockchain และยังสามารถตรวจสอบการซื้อ-ขายย้อนหลังได้อีกด้วย

นอกจากนี้หากไอเทมบางอย่างที่นำมาเสนอขายยิ่งมีความโดดเด่นมาก หาได้ยาก และเป็นที่ต้องการสูง ก็จะเกิดการประมูลกันเกิดขึ้นเพื่อให้ได้ไอเทมชิ้นนั้นมาครอง

รู้สึกคุ้น ๆ คอนเซปต์นี้ไหมครับ ความจริงแล้วคอนเซปต์นี้เราเคยเห็นมาแล้วในภาพยนตร์ Ready Player One ที่เหล่าตัวละครใน Metaverse ต่างออกตามหาไอเทมชิ้นสำคัญ (NFT) ในเกมเพื่อไขปริศนานั่นแหละครับ ในความเป็นจริง NFT และ Metaverse มีความเกี่ยวข้องกันชนิดที่เรียกว่าถ้อยทีถ้อยอาศัยกันเสียมากกว่า เราสร้าง Metaverse ขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลางในโลกเสมือนเชื่อมต่อทุกคนจากทางไกล ส่วน NFT ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสิ่งชักจูงให้ผู้คนอยากเข้ามาในโลกเสมือนกันมากขึ้นคล้าย ๆ เกมแนว Play to Earn ที่ให้เข้ามาเล่นเพื่อสร้าง NFT และคริปโตในเกมและนำมาขายต่อแลกเป็นเงิน Fiat นั่นแหละครับ

NFTs

ที่มา : theverge.com

5. Virtual Museum

ย้ายประวัติศาสตร์ทั้งมวลมาไว้ในโลกดิจิทัลกับพิพิธภัณฑ์เสมือน ที่เป็นแหล่งเก็บรวบรวมรูปภาพ ไฟล์เสียง เอกสารงานเขียน และข้อมูลทางประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมอื่น ๆ แต่ว่าพิพิธภัณฑ์เสมือนไม่ใช่เจ้าของของสิ่งที่นำมาจัดแสดงจริง ๆ ฉะนั้นจึงอาจขาดความคงทนถาวรของวัตถุโบราณในพิพิธภัณฑ์ เนื่องจากในโลกจริงพิพิธภัณฑ์เสมือนจะขึ้นตรงต่อเว็บไซต์หรือโฮมเพจที่ทางพิพิธภัณฑ์ดูแลอยู่ และการจัดแสดงจะขึ้นอยู่กับคอลเลกชันในแต่ละช่วงของปี ซึ่งในหน้าโฮมเพจของเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ประกอบไปด้วย ช่วงเวลาเปิด-ปิด นโยบายของพิพิธภัณฑ์ และการให้บริการ และรวมไปถึงแผนที่ชั้นต่าง ๆ ของพิพิธภัณฑ์

Virtual museum

The British Museum, London ที่มา : https://britishmuseum.withgoogle.com/

 

ตัวอย่างพิพิธภัณฑ์เสมือน ที่เกิดขึ้นจริงแล้วบนโลกได้แก่ British Museum, London, Guggenheim Museum, New York, National Gallery of Art, Washington, D.C., Musée d’Orsay, Paris ฯลฯ รวมถึงประเทศไทยก็เริ่มมีแล้วเช่นกัน อย่างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ณ นคร สามารถเข้าไปสำรวจพิพิธภัณฑ์อื่น ๆ ได้ที่ https://www.travelandleisure.com/attractions/museums-galleries/museums-with-virtual-tours 


ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


 

6. การผ่าตัดทางไกล Virtual Surgical Operation Room

เมื่อข้างต้นผมได้เล่าถึงเทคโนโลยี AR VR MR และ XR ไปแล้ว นี่อาจจะเป็นอีกหนึ่ง Case Study น้ำดีจากตัวอย่างข้างต้นที่อิงการใช้งานโลก Metaverse มาผสมอยู่นิดหน่อย

virtual operation room

เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลบุนดังมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซลให้การฝึกอบรมการผ่าตัดมะเร็งปอดในห้องผ่าตัดอัจฉริยะที่รับรู้ผ่าน metaverse ในระหว่างการประชุมออนไลน์ ที่มา : SNUBH

เมื่อวันที่ 29 พ.ค. ทางสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งเอเชียได้มีการฝึกซ้อมผ่าตัดมะเร็งปอดผ่านการใช้งานแพลตฟอร์ม Metaverse ผ่านการประชุมออนไลน์ ซึ่งการฝึกผ่าตัดครั้งนี้จัดขึ้นที่ห้องผ่าตัดอัจฉริยะของโรงพยาบาล Seoul National University Bundang ศัลยแพทย์มากกว่า 200 ท่านได้รับการฝึกซ้อมการผ่าตัดทรวงอกจากห้องแห่งนี้ผ่านสภาพแวดล้อมที่เป็นโลกเสมือนจริงทั้งหมด และอุปกรณ์การแพทย์ที่เหล่าหมอฝึกหัดจะต้องใช้สำหรับการฝึกฝนในครั้งนี้คือ จอแสดงผลแบบสวมศีรษะ (Head-Mounted Display / HMD) คืออุปกรณ์ที่ใช้สวมศีรษะและแสดงภาพจำลองการผ่าตัดบนตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง แต่เมื่อไม่นานมานี้หลังการอัปเกรดห้องผ่าตัดแบบใหม่ทำให้ศัลยแพทย์แทบจะไม่ต้องใช้ HMD ในการผ่าตัดเลยด้วยซ้ำ เพียงแค่มองด้วยกล้องที่หันได้ 360 องศาผ่านหน้าจอแท็บเล็ตเท่านั้น

ศ. นพ. Jheon Sang-hoon ผอ. สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งเอเชีย ณ แผนกหัวใจและทรวงอกของโรงพยาบาลบุนดังมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซลได้ผลักดันให้มีการสร้างห้องผ่าตัดเสมือนจริงนี้ขึ้นมาในสมัยที่เขายังดำรงตำแหน่งผอ. ของโรงพยาบาลอยู่ ซึ่งในห้องผ่าตัดนี้ ศัลยแพทย์สามารถทำการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยี Image-Guided Surgery (IGS) โดยใช้รังสีอินฟราเรดระยะใกล้และจอแสดงผลที่รองรับกล้องเอนโดสโคปสำหรับการผ่าตัดแบบ 4K และ 3D พร้อมกัน

ยิ่งไปกว่านั้นทีมแพทย์ยังสามารถแบ่งปันความคิดเห็นแบบเรียลไทม์โดยใช้ระบบ “Tele-Pathology” ได้ด้วย นพ. Jheon Sang-hoon กล่าว ภายหลังความสำเร็จของการใช้งาน VR เข้ามาร่วมกับห้องผ่าตัดเสมือนของโรงพยาบาลบุนดัง ทางโรงพยาบาลกลางของสิงคโปร์ก็ได้ตัดสินใจนำเข้าห้องผ่าตัดเสมือนของเกาหลีมาปรับใช้กับของตัวเองดูบ้าง

โรงพยาบาลบุนดังยังได้วางแผนที่จะใช้เทคโนโลยี Metaverse ให้คุ้มค่ามากขึ้นโดยปรับไปใช้กับการฝึกอบรมการแพทย์ในท้องถิ่น ไม่เฉพาะกับนักเรียนแพทย์เพียงอย่างเดียว แต่จะพร้อมสำหรับการฝึกฝนผู้อยู่อาศัย และนักศึกษาฝึกงานในโรงเรียนแพทย์อีกด้วย ในช่วงครึ่งหลังของปี 2021 วิทยาลัยแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโซลจะจัดการฝึกอบรมทางคลินิกแบบ Metaverse เข้าไปด้วย

 

นี่แหละครับคือผลผลิตมวลรวมของการแตกแขนงเทคโนโลยี Metaverse ออกมามากมาย ที่ไม่ได้หยุดอยู่แค่การสร้างเกมและภาพยนตร์ในโลกออนไลน์เท่านั้น แต่ยังต่อยอดไปสู่อาชีพหรือการทำงานรูปแบบอื่น ๆ เข้าไปอีกด้วย ที่เหลือต่อจากนี้ไปจะเป็นงานของเหล่านักธุรกิจและนักการตลาดที่จะต้องหาทางนำ Metaverse เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการตลาดให้ได้ไม่ว่าจะเป็นการใช้ VR AR MR เข้าช่วย หรือจะใช้งานเหมือนกับพิพิธภัณฑ์เสมือนก็ได้ เพราะนี่คือยุคโลกมายาเสมือน ที่อะไรก็เกิดขึ้นได้

 

——————————————————————–

 

ร่วมงานกับทีม Cotactic Digital Marketing Agency หนึ่งในบริษัทโฆษณาออนไลน์ชั้นนำของเมืองไทย ที่จะช่วยให้คุณตอบโจทย์การหาลูกค้าให้คุณได้ตามเป้าหมายแบรนด์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Brand Awareness หรือ Lead Generation ก็ทำได้หมด ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับทีมรับทำเว็บไซต์ WordPress จาก Cotactic เพื่อให้เราเป็น Collaborative Marketing Partner ทำงานเป็นทีมร่วมกันกับคุณ

 

——————————————————————–

 

ติดต่อ

โทร.065-095-9544

Inbox: https://m.me/cotactic

Line@: https://line.me/R/ti/p/@cotactic

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล

https://www.researchworld.com/innovation-insights-what-is-the-5th-wave-of-computing-and-how-might-it-lead-to-innovation/ 

https://www.theconcert.com/news/inter-music/546 

https://edition.cnn.com/2021/03/17/business/what-is-nft-meaning-fe-series/index.html 

https://www.travelandleisure.com/attractions/museums-galleries/museums-with-virtual-tours 

https://www.britannica.com/topic/virtual-museum 

https://bit.ly/3qVqdUF 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เปิดตัวสินค้าใหม่อย่างไรให้ลูกค้าจดจำ พร้อมแชร์เทคนิค (ไม่) ลับ ตามแบบฉบับ Cotactic

แชร์เทคนิค! เปิดตัวสินค้าใหม่อย่างไรให้ลูกค้าจดจำ

AIDA Model คืออะไร แล้วมีองค์ประกอบอะไรบ้าง รวมถึงขั้นตอนการทำ AIDA ฉบับเข้าใจง่าย

AIDA Model คืออะไร กลยุทธ์นี้มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้