click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

SEO Specialist หนึ่งในสายงาน Digital Marketing ที่ต้องใช้ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ดังนั้นคนที่ทำงานด้านนี้จะต้องเข้าใจ วิธีการทำ SEO จากผู้เชี่ยวชาญด้านการรับทำเว็บไซต์ WordPress อย่าง Cotactic และติดตามการอัปเดตของ Algorithm บน Search Engine อย่างใกล้ชิด แต่ตำแหน่ง SEO Specialist จะรู้เรื่อง SEO พื้นฐานหรือเรื่องทั่วไปคงไม่สมกับคำว่า Specialist เพราะฉะนั้นวันนี้เราเลยมี 10 เทคนิคที่ต้องมีในการทำงานด้าน SEO Specialist เพื่อเป็น Checklist ให้คุณเลือกสมัครงานตำแหน่งนี้

 

ขอเกริ่นก่อนว่า SEO คือ การปรับแต่งเนื้อหา และหน้าเพจของเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยทำให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาบน Search Engine หรือ Google ยิ่งถ้าเว็บไซต์อยู่อันดับสูงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสให้คนเห็นและคลิกเข้ามาที่เว็บไซต์เยอะมากขึ้น

 

1. คอนเทนต์ประเภท EAT & YMYL

 

ปี 2019 ทางบริษัท Google ได้ประกาศปัจจัยที่มีส่วนต่อการจัดอันดับ นั่นก็คือ เนื้อหาคอนเทนต์จะต้องมีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และคนเขียนจะต้องมีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้จริง ๆ โดยทาง Google ได้แบ่งรูปแบบไว้ 2 อย่างคือ

 

  • E-A-T (Expertise, Authoritativeness, Trustworthiness) 

E-A-T คือ คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ เนื้อหาในคอนเทนต์เป็นคำตอบให้กับคนที่ค้นหา ข้อมูลถูกต้องไม่ผิดพลาด คนเขียนมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ มีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ หรือเป็นการอ้างอิงถึงงานวิจัยที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้ว ถ้าคุณมีสิ่งนี้จะทำให้เว็บไซต์ได้คะแนน E-A-T มากขึ้น

 

  • YMYL (Your Money or Your Life)

ถ้าเว็บไซต์มีคอนเทนต์เกี่ยวกับการเงิน หรือเกี่ยวกับชีวิตของผู้อ่าน เช่น การเงิน, การลงทุน, สุขภาพ, กฎหมาย, การขายสินค้า แนะนำให้คุณเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับคอนเทนต์ ผู้เขียนควรมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ เพื่อให้ Google มองว่าคนเขียนคนนี้มีความรู้เรื่องนี้จริง ๆ อาจจะใช้วิธีการเพิ่ม Description ของนักเขียน ว่าเขาคือใคร มีความสนใจ มีความเชี่ยวชาญเรื่องไหนเป็นพิเศษ หรือหากคุณไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ก็สามารถใช้วิธีใส่ลิงก์อ้างอิงข้อมูลที่เชื่อถือได้ลงไปในบทความ จะช่วยเพิ่มค่า YMYL ให้กับเว็บไซต์

 

Type of content

 

2. กลยุทธ์ Content Hub

 

Content Hub คือ การเชื่อมโยงเนื้อหาคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกัน ถ้าในทาง SEO ก็คือการเชื่อมต่อ Internal Link ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกัน หรือการทำ Link ที่ส่งกลับไปกลับมา เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหามากยิ่งขึ้น ทั้งนี้การทำ Content Hub ที่ดี จะต้องวางแผนเลือก Page หน้าหลัก และหา Page หน้าย่อย หรือหน้าที่เกี่ยวข้องกัน ก็สามารถทำ Link เชื่อมโยงกันได้ 

อีกเทคนิคคือ การทำ Link ไปที่ชื่อผู้เขียน และเมื่อคลิกที่ชื่อผู้เขียน ก็จะปรากฎหน้ารวมคอนเทนต์ของเขา นอกจากนี้การทำ Content Hub ยังช่วยเพิ่ม User Experience สามารถเจอเนื้อหาที่ใกล้เคียง หรือเนื้อหาที่ User กำลังสนใจอยู่ อีกทั้งยังลด Bounce rate เพิ่มเวลาที่ User อยู่ในเว็บไซต์มากขึ้น

 

Content Hub Strategy

 

3. เพิ่ม Schema Markup

 

Schema Markup คือ Code อยู่ใน Page Source ที่สรุปเนื้อหาของ Page นั้น ช่วยให้ Search Engine เข้าใจข้อมูลของเว็บไซต์มากขึ้น เนื่องจาก Bot ของ Search Engine จะเข้ามาเก็บข้อมูลเว็บไซต์ผ่าน Code และทำความเข้าใจว่าเว็บไซต์ของเราเกี่ยวข้องกับอะไรได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดย Schema Code มีทั้งหมด 5 ประเภท

  • Article (เหมาะสำหรับหน้าบทความ)
  • Breadcrumb (เหมาะสำหรับหน้าที่มีเพจย่อยเยอะ)
  • Event (เหมาะสำหรับหน้าที่เป็นแคมเปญ Event ชั่วคราว)
  • FAQ Page (เหมาะสำหรับหน้าที่มีข้อมูลถามตอบ)
  • HowTo (เหมาะสำหรับหน้าที่มีขั้นตอนการใช้งาน)


ทั้งนี้คุณสามารถสร้าง Schema ได้ที่
https://technicalseo.com/tools/schema-markup-generator/

 

Schema Markup

 

4. Featured Snippets อันดับ 0

 

ไม่นานมานี้ Google มีการอัปเดต Featured ใหม่ ที่หน้า Page Result อย่าง Featured Snippets ที่เราไม่ต้องเป็นอันดับ 1 บน Google แต่อยู่อันดับ 0 บนหน้า Page Result โดยจะมีลักษณะกรอบสี่เหลี่ยมที่แสดงข้อมูลสั้น ๆ เพื่อให้ง่ายต่อผู้ค้นหา ทำให้คนรู้จักเว็บไซต์เรามากขึ้น เพิ่มโอกาส Drive Traffic เว็บไซต์มากขึ้น แต่การจะขึ้นไปอยู่ตำแหน่ง Featured Snippet ได้ Google จะเป็นผู้คัดเลือกมาเอง ซึ่งเทคนิคการทำคือ คุณต้องทำคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ เป็นประโยชน์ต่อคนอ่าน 

 

Featured Snippets

 

5. Quality Backlinks

 

มาพูดในฝั่งของ SEO Off-page กันบ้าง สิ่งสำคัญของการทำ SEO Off-page คือ การทำ Link Building เป็นการทำให้เว็บไซต์อื่นลิงก์มายังเว็บไซต์ของเรา ต้องเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ ไม่ใช่เว็บการพนัน หรือเว็บที่ทำผิดกฎหมาย ต้องเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับเว็บไซต์เรา เป็นเว็บไซต์ที่มีคนใช้งานจริง ซึ่งลิงก์ที่ทำ Link Building จะเรียกว่า Backlink  ทั้งนี้ Link Building สามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ

 

  • Do Follow: เป็นเว็บที่ส่ง Backlink มาที่เว็บไซต์คุณ และส่งค่า SEO มาให้คุณ
  • No Follow: เป็นเว็บที่ส่ง Backlink มาที่เว็บไซต์คุณ แต่ไม่ได้ส่งค่า SEO มาให้คุณ 

 

แต่การทำ SEO ที่ดี เราจะต้องเน้นความเป็นธรรมชาติ ทำ Link Building จาก Do Follow มาผสมกับ No Follow บ้าง เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติ ไม่ให้รู้สึกว่าจงใจทำ SEO เกินไป นอกจากประเภทของ Link Building แล้ว ประเภทของ Backlink ก็เป็นอีกสิ่งที่ SEO Specialist ต้องเข้าใจและเลือกใช้งาน เพื่อตอบโจทย์กับเว็บไซต์ ซึ่ง Backlink มี 3 ประเภท

 

  • Natural-Editorial 

เป็นการทำ Backlink ที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อ ส่วนใหญ่ Backlink ประเภทนี้จะเกิดจากที่มีเว็บไซต์อื่นให้ Referred หรือให้เครดิต แล้วส่งลิงค์มาที่เว็บไซต์ของเรา นับว่าเป็น Backlink ที่มีคุณภาพ

 

  • Manual Link Building

เป็นการทำ Backlink ที่คุณเป็นคนทำเอง เขียนเอง แนบลิงก์เอง เอาไปโพสเอง ซึ่ง Manual Link Building มีทั้งแบบฟรีและแบบเสียเงิน โดยแบบเสียเงินหรือที่เราเรียกกันว่า ซื้อลิงก์ จะเป็นรูปแบบการทำคอนเทนต์แล้วจ้างให้เว็บคุณภาพโพสคอนเทนต์ และแนบลิงก์กลับมา ส่วนแบบฟรีก็สามารถหาเว็บบอร์ด หรือเว็บไซต์ที่เราสามารถลงคอนเทนต์และทำการใส่ลิงก์ได้

 

  • Non-Editorial 

เป็นรูปแบบการทำ Backlink ที่เราจะใส่ในช่อง Comment ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ แต่การทำ Backlink รูปแบบนี้ไม่แนะนำ เพราะ Google ออกมาบอกว่า การทำ Backlink ประเภทนี้ไม่ช่วย SEO แถมเสี่ยงต่อการถูกมองเป็น Spam Link ด้วย

 

6. Disavow Link

 

Disavow Link

 

บางทีการทำ SEO Off-page บางลิงก์ที่เคยทำ Backlink อาจเป็นเว็บไซต์ที่โดเมนหมดอายุ หรือกลายเป็นเว็บไซต์ที่มีการสแปมเกิดขึ้น แล้วอยากจะลบลิงก์นี้ออกไป เราสามารถทำการ Disavow Link* ใน Google Search Console ได้ 

 

ขั้นตอนการทำ Disavow Link


1. ลิสต์ลิงก์ที่ต้องการ Disavow ใส่ใน Note

2. เซฟไฟล์เป็น .txt

3. อัปโหลดรายการลิงก์ที่เมนู Removals เพื่อทำการ Request ลิงก์ที่ต้องการเอาออก

*แต่การ Disavow Link จะต้องแน่ใจก่อนว่าลิงก์อันนี้คุณภาพแย่จริง ๆ เพราะถ้าทำ Disavow Link แล้ว ค่า SEO ที่เคยได้อาจหายไป 

 

SEO specialist Organic Traffic

 

7. Metric ในสำหรับ SEO Specialist

 

ในการทำงานสาย SEO เมื่อเราทำการ Optimize ไปแล้ว เราจำเป็นต้องวัดผลการทำ SEO ซึ่ง Metric สำหรับการทำ Report SEO จะสามารถแบ่งเป็น Metric ขั้นพื้นฐาน และมี Metric ระดับ Advance เพื่อช่วย Optimize ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

Basic Metric

 

  • Impression: เป็นค่าที่แสดงใน Google Search Console บอกถึงจำนวนความถี่ที่คนเห็นเว็บไซต์คุณบนหน้า SERPs 
  • Clicks: เป็นค่าที่แสดงใน Google Search Console บอกจำนวนคนที่คลิกเข้ามาในเว็บไซต์ ด้วย Keyword ต่างๆ 
  • Keyword Ranking: เป็นสิ่งที่ต้องมีใน Report เพราะการทำ SEO คือการทำให้ Keyword ติดอันดับบน Search Engine ดังนั้นเราต้องทำการ Track Keyword เพื่อมาสรุปผล
  • New Referring Domain / New Backlink: เป็นจำนวนของ Link ที่ได้จากการทำ Backlink ซึ่งสามารถดูได้ที่ Ahrefs โดย New Referring Domain คือ จำนวน Domain ใหม่ ที่เราได้ Backlink กลับมา ส่วน New Backlink จะต่างจาก Domain คือเป็นจำนวนของ Backlink ที่เราได้ อย่างเช่น www.test.com ทำ Backlink ให้เว็บเราทั้งหมด 6 ลิงก์ ค่าที่จะได้คือ New Referring Domain = 1 และ New Backlink = 6 
  • New Organic Keyword: คือจำนวน Organic Keyword อันใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในเว็บไซต์ อาจเป็น Keyword บนหน้า Product Page หรือ จากหน้า Content Blog ยิ่งถ้าเรามี New Organic Keyword เยอะก็ช่วยเพิ่มโอกาสให้คนเข้ามาที่เว็บไซต์มากขึ้น
  • Indexed Page: จำนวนหน้า Page ในเว็บไซต์ที่ผ่านการ Indexed เรียบร้อย สามารถเช็คได้ที่ Screaming Frog เพื่อดู Page ในเว็บไซต์หน้าไหนทำ Indexed แล้ว Google เข้ามาเก็บข้อมูลแล้ว ส่วนหน้าที่ยังไม่ Indexed ก็สามารถเข้าไปแจ้งได้ใน Google Search Console 
  • Domain Authority / Page Authority: เป็นค่าที่ทาง Moz จัดขึ้น เพื่อแสดงว่าเว็บไซต์นี้มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งค่านี้สามารถเพิ่มสูงได้ ถ้าเราทำ SEO มีการทำ Internal Link, External Link และการทำ Backlink กลับมา 

 

Advanced Metric

 

  • CTR: ย่อมาจากคำว่า Click Through Rate สามารถดูได้ใน Google Search Console จะบอกเปอร์เซ็นต์คนที่ค้นหาและคลิกเข้ามาให้เว็บไซต์ โดยเราดูค่าตรงนี้และทำการ Optimize ส่วน Title และ Description ให้น่าสนใจ น่าคลิกยิ่งขึ้น
  • % Exit: เปอร์เซ็นต์ที่คนอยู่เป็นหน้าสุดท้าย ถ้า % Exit สูง เราก็สามารถ Optimize Onpage ปรับเนื้อหาคอนเทนต์ให้ดูน่าสนใจ, ทำ Internal Link ไปยังหน้าอื่น ๆ ของเว็บไซต์ หรือควรออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับคนใช้งาน ก็ช่วยลด % Exit ได้
  • Page per session: ค่านี้สามารถดูได้ใน Google Analytic และนำมา Optimize On-page ได้ ซึ่งจำนวนนี้จะบอกว่าคนเข้ามาในเว็บไซต์ของเราประมาณกี่ Page ถ้าตัวเลขใน Metric นี้เยอะ แสดงว่าคอนเทนต์ของเราน่าสนใจ, เกิดการคลิกที่ Internal Link เยอะ หรือเว็บไซต์ของเราตอบโจทย์ User Experience ดังนั้นถ้าหากเว็บเพจไหนมี Page per session น้อย เราควรเข้าไปดู Behavior Flow เพื่อปรับ User Experience ของหน้าเหล่านั้นให้ดีขึ้น
  • Crawl Errors: เราสามารถทำการ Crawl เว็บไซต์และลิสต์ปัญหาที่เกิดขึ้นในเว็บไซต์ด้วย Screming Frog, Google Search Console, Ahrefs อย่างเช่น หน้าที่เป็น 404 Page Not Found, Redirect Not Active, รูปไม่มี Alt Text, ไม่มี Title, ไม่มี Description เมื่อทำการลิสต์ลิงก์ทั้งหมด เราก็สามารถเข้าไปจัดการทีละหน้า เข้าไปแก้ไขได้ถูกจุดยิ่งขึ้น
  • Lost Backlink: ค่านี้สามารถดูได้ใน Ahrefs บอกจำนวน Lost Backlink ทั้งหมดในเว็บไซต์ของเรา เพื่อเราจะทำ Backlink อันใหม่มาแทนลิงก์ที่หายไป หรือติดต่อกับเว็บไซต์ที่ทำการซื้อ Backlink ให้เข้าไปแก้ไข
  • Trust Flow / Citation Flow: หรือชื่อย่อว่า TF และ CF เป็นค่าความน่าเชื่อถือที่ทางโปรแกรม Majestic เป็นผู้ระบุว่าเว็บไซต์นี้มีคุณภาพ ค่าความน่าเชื่อถือ จะคล้ายกับ  Domain Authority (DA) / Page Authority (PA) ของ Moz ซึ่ง Metric นี้สามารถนำมาใช้เลือกเว็บไซต์สำหรับทำ Backlink ได้ 
  • Average Page Load Time: คือเวลาที่ใช้โหลดข้อมูลบนเว็บไซต์คุณ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ, รูปภาพ, วิดีโอ และลูกเล่นต่าง ๆ ในเว็บไซต์ โดยสามารถเช็คได้ใน Google Page Speed, GTMetrix โดยปัจจุบัน Google ให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะเน้นเรื่อง User Experience ดังนั้นถ้าค่า Average Page Load Time ของเว็บไซต์สูงจะต้องไปปรับขนาดรูปภาพ ลบลูกเล่นบางอย่างที่ไม่จำป็น หรือเขียน Code ให้ง่ายขึ้น ทำให้หลังบ้านให้เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น ง่ายและเร็วต่อการโหลด
  • Traffic Value: เป็น Metric ใน Ahrefs ตรง Top Page ที่จะบอกว่า Page ไหนในเว็บไซต์คนเข้ามาเยอะที่สุด และจะมี Traffic Value ที่เป็นหน่วย $ ซึ่งจะบอกให้รู้ว่าหน้าที่เราติดอันดับต้นๆ ช่วยประหยัดเงินค่ายิงโฆษณาไปเท่าไหร่ ถ้าเราไม่ทำ SEO แต่ทำ SEM จะต้องจ่ายเงินต่อเดือนประมาณเท่าไหร่ ดังนั้น SEO Specialist สามารถนำค่านี้บอกลูกค้าได้ว่าการทำ SEO ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้
  • Organic Traffic: พอเราทำ SEO และ Keyword เริ่มติดหน้า Google มากขึ้น Metric ที่เราต้องดูถัดไป คือ Organic Traffic หรือตัวเลขที่บอกว่าคนเข้าเว็บไซต์ของเราเท่าไหร่ ซึ่งเราสามารถนำ Metric นี้มาวิเคราะห์ได้ว่า เราควรทำคอนเทนต์แบบไหน เพื่อให้ Keyword เราติดบน Google แล้วช่วย Drive Organic Traffic ด้วย ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเรามีคนเข้าเว็บไซต์เยอะจะช่วยให้เราทำ Marketing รูปแบบอื่นได้ เช่น เมื่อคนเข้าเว็บไซต์เรา เราสามารถนำข้อมูลนี้มาทำ Retargeting มาช่วย SEM ได้
  • Conversion / Goals: ท้ายที่สุด Metric Conversion หรือ Goals ที่เราสามารถตั้งได้ใน Google Analytic ซึ่งส่วนนี้เราสามารถตั้งไว้เอง หรือเป้าหมายที่ลูกค้าต้องการ โดยทาง SEO เราก็สามารถดูได้ว่า Keyword ไหนสามารถสร้างรายได้ให้กับเว็บไซต์ หรือหน้าไหนในเว็บไซต์ที่เราทำ SEO ติดอันดับแรกของ Google ช่วยทำเงินให้ธุรกิจ หรือเพิ่มจำนวน Lead ให้กับธุรกิจยิ่งขึ้น

 

SEO Ahrefs

 

8. ใช้เครื่องมือช่วยลดการทำงาน

 

เนื่องจากการเป็น SEO Specialist จะต้องรับผิดชอบหลายอย่าง ทั้งฝั่ง Onpage Offpage และ Technical จำเป็นต้องมีเครื่องมือมาช่วยเบาแรง เพื่อทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่ง Tool ในฝั่ง SEO เองก็มีหลายอย่าง แต่ละอย่างมีจุดเด่นแตกต่างกันไป เราขอแนะนำ Tool ตัวหลัก ๆ ที่ใช้สำหรับสายงาน SEO ทั้งคนไทยก็ใช้ และต่างชาติก็ใช้

 

  • Ahrefs: เป็นโปรแกรม SEO ที่รับความนิยมอย่างมากทั้งในประเทศไทย และ ต่างประเทศ โดย Tool นี้ช่วยเราดูภาพรวมของเว็บไซต์ว่ามี Keyword คำไหนติดบน Google แล้วบ้าง หน้าไหนที่คนเข้ามาเยอะที่สุด มีค่า UR (URL Rating) / DR (Domain Rating) ที่เป็นคะแนนความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ หรือแม้กระทั่งจุดเด่นของเครื่องมือนี้คือการแกะ Backlink จากคู่แข่ง ดูได้ว่าคู่แข่งติด Keyword คำไหน สามารถนำข้อมูลนี้ไปวิเคราะห์ต่อยอดทาง SEO ได้
  • Majestic: อีกหนึ่ง Tool ของ SEO ที่จุดเด่นอยู่ที่วิเคราะห์เว็บไซต์สำหรับทำ Backlink สามารถตรวจสอบได้ว่าเนื้อหา Backlink ที่เข้ามาเป็นเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอะไร เพื่อให้เราเลือกเว็บไซต์ทำ Backlink ให้ตรงหรือใกล้เคียงกับเนื้อหาในเว็บไซต์เรามากที่สุด อีกทั้ง Majestic ยังมีค่า TF (Trust Flow) / CF (Citation Flow) ที่เป็นคะแนนความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ เพื่อเลือกเว็บไซต์ที่มีคุณภาพมาทำ Offpage 
  • Screaming Frog: ถ้าไม่พูดถึง Tool นี้ก็คงไม่ได้ เพราะเป็น Tool ที่จะช่วย Crawl ข้อมูลทั้งเว็บไซต์ ว่ามีกี่ URLs ในเว็บไซต์และแต่ละ URLs มี Title, Description, Heading เนื้อหาอะไรบ้าง อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบส่วน Error บนเว็บไซต์คุณได้อีกด้วย อย่างเช่น 404 Page not Found, Content Duplicate และจะขึ้นลิสต์ให้เลยว่า URLs ไหนไม่มี Title, Description, Heading, Alt ซึ่งเราสามารถโหลดลิสต์ที่ต้องแก้ไขออกมาได้ง่ายและรวดเร็ว
  • Rank Tracker Tool: นอกจากนี้ยังมี Tool ที่เอาไว้สำหรับติด Track Keyword เพื่อดูการเคลื่อนไหวอันดับของ Keyword ว่าอยู่อันดับที่เท่าไหร่ของ Google และเป็น URLs หน้าไหนที่ติด โดย Rank Tracking Tool มีทั้ง SE Ranking, Prorank, SEMrush, Serpstat, SerpRobot

 

SEO Specialist Metric

9. Core Web Vitals

 

การอัปเดต Core Web Vitals ของ Google เน้นประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ เพราะนอกจากเว็บไซต์มีคอนเทนต์คุณภาพแล้ว Google ยังให้ความสำคัญกับประสบการณ์การใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นความเร็วในการโหลดคอนเทนต์, การตอบสนองของเว็บไซต์ และความเสถียรของดีไซน์เว็บไซต์ 

ทั้งนี้วิธีเช็ค Core Web Vitals สามารถเช็คได้ที่ Google Search Console และ Google PageSpeed Insights โดยจะแสดงค่า LCP, FID, CLS ซึ่งแต่ละค่ามีความหมายดังนี้

 

  • LCP (Largest Contentful Paint)

คือคะแนนของคอนเทนต์ให้หน้าเพจที่ใหญ่ที่สุด โดยการวัดคะแนนจะวัดจากเวลาดาวน์โหลดผลนานที่สุด เช่น รูปภาพ วิดีโอ หรือ ส่วนอื่น ๆ ในหน้าเพจ ยิ่งถ้าโหลดนาน คะแนนส่วนนี้ก็จะลดลง ซึ่ง LCP ที่ดี ควรอยู่ที่ไม่เกิน 2.5 วินาที เมื่อหน้าเพจกำลังอยู่ในช่วงโหลด

  • FID (First Input Delay)

คือ คะแนนการวัดความเร็วในการตอบสนอง ขยายความคือ User ที่เข้ามาในเพจนี้ คลิกปุ่มแล้วหน้าเพจตอบสนองรวดเร็วแค่ไหน ยิ่งถ้าตอบสนองเร็วเท่าไหร่คะแนนของค่านี้ก็จะสูง นั่นหมายความว่าการใช้งานในหน้านี้ตอบโจทย์ User อย่างมาก ค่า FID ที่ดีควรไม่น้อยกว่า 100 มิลลิวินาที

  • CLS (Cumulative Layout Shift)

คือ คะแนนที่วัดความเสถียรของหน้าเพจ จะต้องเป็นเพจไม่กระตุก ภาพและฟีเจอร์ตอบสนอง ดังนั้นถ้า CLS สูง แสดงว่าเว็บของเราโหลดช้า เกิดการกระตุก ซึ่ง Google มองว่าค่า CLS ที่ดีควรน้อยกว่า 0.1 

 

SEO Trends

 

10. อัปเดต SEO Trend

 

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญของการเ็น SEO Specialist จะต้องมีคือการติดตามเทรนด์ SEO หรือติดตามทุกการเคลื่อนไหวของ Google การอัปเดต Algorithm ต่างๆ อีกทั้งการอัปเดตเหล่านี้มักจะเริ่มจากที่สหรัฐอเมริกาเป็นที่แรก เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องติดตามข่าวสารจากเว็บต่างประเทศ รวมถึงเทรนด์ในการทำ SEO หลายรูปแบบจากชาวต่างชาติ อย่างเช่น

 

 

หรือถ้าในประเทศไทย ฝั่งของเราเองก็มีเว็บไซต์, เทคนิคการทำ SEO และอัปเดตข้อมูลข่าวสาร อย่างเช่น

 

 

ทั้งหมดนี้เป็น 10 เทคนิค ทักษะการทำงาน และสิ่งที่ SEO Specialist จำเป็นต้องมี

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาชีพ SEO Specialist อาชีพนี้มีหน้าที่ทำอะไรและต้องมีทักษะอะไรบ้าง

อาชีพ SEO Specialist คืออะไร? ต้องมีทักษะอะไรบ้าง

Robots.txt คืออะไร มีวิธีการสร้างยังไง รวมถึงประโยชน์ของไฟล์นี้ และข้อควรระวังในการใช้

Robots txt คืออะไร สำคัญต่อเว็บไซต์และ SEO แค่ไหน

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้