Reading Time: 2 Mins
2 Mins
Jul 14, 2020

6 Step ขั้นตอน การทำหนังโฆษณา กว่าจะเป็นหนังโฆษณา

วิธีคิดและขั้นตอน การทำหนังโฆษณา ที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้

กว่าจะเป็นหนังโฆษณาหนึ่งเรื่องให้ได้รับชมผ่านมือถือนั้น หลายคนอาจจะคิดว่าแค่ตั้งกล้องถ่ายก็จบ แต่จริงๆแล้วการทำหนังโฆษณานั้นมีกระบวนการที่ค่อนข้างเยอะและมีรายละเอียดซ่อนเต็มไปหมด วันนี้เราจะมาดูกันว่า 6 ขั้นตอนเป็นกว่าจะเป็นหนังโฆษณาที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้มีอะไรบ้าง  


6 Step กว่าจะเป็นหนังโฆษณาสักเรื่อง

• เจ้าของแบรนด์บรีฟความต้องการกับ Agency

ขั้นตอนแรกก็คือการที่เจ้าของแบรนด์เข้าประชุมกับทาง Agency โฆษณาเพื่อบอกวัตถุประสงค์การทำหนังโฆษณาที่ต้องการ ในการทำการตลาด เมื่อประชุมกันเสร็จแล้วนั้นทาง account executive (หรือ Project Manager) ของ Agency ก็จะทำบรีฟลูกค้าที่มี Pain Point / SWOT / Unique Selling Point / Insight ทั้งหมดส่งต่อให้กับ Creative เพื่อนำไปคิดงานเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ


• Creative คิดหนังโฆษณา

Creative จะคิดไอเดียหนังโฆษณาให้น่าสนใจและตอบวัตถุประสงค์ของลูกค้าที่ได้จากบรีฟ ขั้นตอนนี้จะมีการประชุมกันภายในทีม เพื่อเลือกไอเดียที่ดีที่สุด 3 ไอเดีย นำไปขายลูกค้าต่อไป ขั้นตอนนี้จะเรียกกันว่า “Internal Meeting”

หลังจาก Internal Meeting เสร็จแล้ว Creative จะทำ Storyboard เพื่อขายงานให้ลูกค้าแล้วให้ลูกค้าเลือกไอเดียที่ดีที่ชอบ ขั้นตอนนี้จะเรียกว่า “External Meeting” คือการประชุมรวมระหว่าง Agency กับ เจ้าของแบรนด์ ซึ่งการประชุมทั้งสองแบบนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะมีมากกว่า 1 ครั้ง เพราะมีการปรับเปลี่ยนลงรายละเอียดกันค่อนข้างเยอะ เพื่อให้ได้งานที่ดีที่สุด

• Agency จัดหา Production House

เมื่อได้เนื้อเรื่องที่ลูกค้า และ Agency ตกลงกันได้ ทาง Agency จะเป็นฝ่ายจัดหา Production House และขอ Show Reel (Portfolio ของผู้กำกับ) มาให้เลือกอย่างน้อย 3 Production House และนำไปเสนอกับทาง เจ้าของแบรนด์เพื่อตัดสินใจ เพราะในบางทีผู้กำกับมีเชื่อเสียง สไตล์งานตรงกับงานที่ต้องการก็จะมี Budget ที่ค่อนข้างสูง หรือ บางทีก็เลือกผู้กำกับที่สไตล์งานคล้ายกันแต่ราคาถูกกว่าเพื่อประหยัด Budget 


• Pre Production 

เมื่อเจ้าของแบรนด์เลือก Production House ได้เรียบร้อยแล้ว ทาง Agency จะนำ Storyboard ไปให้ทางผู้กำกับของ Production House พัฒนา Storyboard ต่อซึ่งเป็นการลงรายละเอียดของหนังโฆษณา เช่น Shot Reference /  Casting / Clothing / Location และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งในส่วนนี้เป็นส่วนที่ลงรายละเอียดเยอะ แต่ขั้นตอนนี้จะช่วยให้เห็นภาพก่อนถ่ายจริงได้มากที่สุด

การเตรียมงานก่อนถ่ายทำ อาจจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หรือ 2-3 เดือน ขึ้นกับความยากง่ายของงาน เช่น การนักแสดง หรือหาสถานที่ถ่ายทำ มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะที่ต้องให้เจ้าของแบรนด์ตกลงด้วย รวมถึงการทดลองทำเทคนิคภาพใหม่ๆ หรือไม่ก็อาจต้องสั่งทำเป็นพิเศษ เช่น การเซ็ทอัพฉากขึ้นมาใหม่เพราะว่าไม่สามารถหาสถานที่จริงถ่ายทำได้ซึ่งก็จะมีการเตรียมการที่นานกว่าปกติ

จะมีการประชุมกันอีกทีระหว่าง เจ้าของแบรนด์ Agency และ Production House ในส่วนนี้จะเป็นการสรุปรายละเอียดงานทั้งหมดก่อนที่จะถึงวันถ่ายทำโฆษณา

• Production

ในขั้นตอนนี้จะเป็นการถ่ายทำโฆษณาจริง ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของทาง Production House ในการทำหนังโฆษณาทั้งหมด โดยมี เจ้าของแบรนด์ และ Agency นั่งดูจอมอนิเตอร์เพื่อดูการถ่ายทำ หากมีส่วนไหนที่อยากให้ปรับแก้ที่หน้างานก็อาจจะแจ้งกับทางผู้ช่วยผู้กำกับได้ แต่ต้องไม่นอกเหนือไปจากที่ตกลงกันใน Pre Production จนเกินไป เพราะทาง Production House ได้มีการเตรียมความพร้อมในส่วนนี้ไว้ดีแล้ว หากเกิดการเปลี่ยนแปลงกระทันอาจจะทำให้มีการเสียเวลาออกไป นั่นหมายถึง Budget ของลูกค้าที่ต้องจ่ายเพิ่มในส่วนค่าล่วงเวลา

• Post Production

คือการตัดต่อหนังโฆษณา จะมีความยาว 15 / 30 /45 / 60 / 90 วินาที แล้วแต่การตกลงกัน การตัดต่อนั้นส่วนใหญ่ใช้เวลา 5 วัน ซึ่งจะเป็นหนังที่เป็นรูปร่างระดับนึงให้คนใน Agency และเจ้าของแบรนด์ดู เรียกว่า Double Head หรือ Cutting คือเป็นการเลือกฉากที่ดีที่สุดมาตัดต่อให้สอดคล้องกัน และเล่า Key Message ที่ Creative ต้องการสื่อสารให้น่าสนใจและสมเหตุสมผล แต่ขั้นตอนนี้จะยังไม่มีการใส่เสียงเพลง หรือเทคนิคพิเศษต่างๆ จะเป็นการดู Key Message ก่อน หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการ Telecine หรือ Colorist เป็นการทำสีเพื่อเพิ่มอารมณ์ของภาพ และขั้นตอนสุดท้ายคือการ Final Mix จะเป็นการ อัดเสียง Mix เสียง / แก้สีวีดีโอ / ทำ Special Effect / ทำเทคนิคภาพ / เพลงประกอบ / Motion Graphic / 3D

ทั้งหมดนี้คือขั้นตอน การทำหนังโฆษณา 1 เรื่อง ซึ่งเมื่อเสร็จขั้นตอนทั้งหมดแล้วหนังโฆษณาของเรานั้นก็พร้อมที่จะปล่อยลงออฟไลน์ หรือออนไลน์ ก็ตามที่ได้ตกลงกับ Agency ไว้ จากทั้ง 6 ขั้นตอนนี้ จะเห็นได้ว่าในส่วนของเจ้าของแบรนด์มีความสำคัญมากที่จะต้องเข้าประชุมกับ Agency และ Production House ให้ทราบทุกรายละเอียดที่โดนตัดออกหรือเพิ่มเติมเข้ามา เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันไม่มีปัญหาในภายหลัง และเพื่อให้งานโฆษณาออกมาตามที่เจ้าของแบรนด์ต้องการ หากสนใจบริการรับทำเว็บไซต์ WordPress และบริการการตลาดคบวงจรของเราติดต่อ Cotactic Media


 

[wpdevart_facebook_comment curent_url="https://www.cotactic.com/" order_type="social" title_text="Facebook Comment" title_text_color="#000000" title_text_font_size="22" title_text_font_famely="Montserrat" title_text_position="left" width="100%" bg_color="#d4d4d4" animation_effect="random" count_of_comments="3" ]

บทความที่เกี่ยวข้อง

เกาะติดกระแส! แบรนด์ดังเปิดตัวแรง ในโลก Metaverse ปี 2022

หลังจากที่ Mark Zuckerberg ได้ประกาศรีแบรนด์ Facebook กลายเป็น Metaverse (เมตาเวิร์ส) หรือโลกเสมือนจริงทำให้เกิดเป็นกระแสมาแรงที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ รวมถึงบริษัท แบรนด์สินค้าหรือองค์กรต่างเกิดความกระตือรือร้นในการปรับตัวเข้าสู่พื้นที่ใหม่แห่งนี้ โดยในช่วงต้นปี 2022 ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีหลายองค์กรเริ่มนำเทคโนโลยีโลกเสมือนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสินค้า, บริการหรือกิจกรรมรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะวงการเกม การศึกษา การแพทย์ กีฬาและสื่อความบันเทิง โดยเฉพาะทางธุรกิจการค้าถือเป็นวงการที่ต้องปรับตัวเยอะที่สุดด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันและสถานการณ์วิกฤติที่ทำให้ทุกคนต้องหันไปใช้ชีวิตบนโลกเสมือนมากขึ้นในทุกวัน  วันนี้ Cotactic บริษัทรับทำเว็บไซต์ WordPressจึงจะมาอัปเดตกระแส Metaverse ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปีที่ผ่านมาทั้งแบรนด์ดังระดับโลกและองค์กรในประเทศไทย จะมีสุดยอดเทคโนโลยีเกิดขึ้นกับวงการไหนบ้าง ไปดูกันเลย    เจ้าของ Facebook เปิดตัว Meta Store ร้านค้าจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับโลกเสมือน   เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมาบริษัท Meta เจ้าของ Facebook และ Instagram ได้เปิดตัว Meta Store แห่งแรก ณ เมืองเบอร์ลินเกม รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ร้านค้าจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับโลกเสมือน […]

Metaverse Ecosystem มีอะไรบ้าง? ส่งผลยังไงต่อโลกอนาคต?

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า Metaverse คือ พื้นที่กลางหรือมิติโลกเสมือนที่ผู้ใช้งานทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมหรือมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้แบบเรียลไทม์และเพิ่มพูนประสบการณ์ที่มีด้วยกันภายในโลกเสมือนไม่ต่างอะไรกับโลกจริง  นอกจากนี้การจะสร้างพื้นที่กลางในโลกดิจิทัลยังต้องคำนึงถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่อวตารของเราสามารถเข้าไปอยู่ได้จริงรวมถึงจะต้องมีปัจจัยและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่รันบนระบบ Metaverse  เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถมีส่วนร่วมกับสภาพแวดล้อมในโลกเสมือนได้และมีปฏิกิริยาตอบกลับมา นี่จึงเป็นนิยามของคำว่า  Metaverse Ecosystem (หรือ ระบบนิเวศโลกเสมือน) เพื่อดึงดูดให้เหล่านักลงทุน นักธุรกิจ  เกมเมอร์เข้ามาสร้างคอมมูนิตี้และออกแบบโลกเสมือนให้น่าอยู่มากขึ้น แต่ทว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่โลกเสมือนกลายมาเป็นกระแสทางเทคโนโลยีในปี 2021  ก็เหมือนจะมีข่าวลือหนาหูในด้านลบเข้ามาเพิ่มขึ้น เช่น ข่าวการรุมข่มขืนตัวละครอวตารหญิงใน  Metaverse  ทำให้เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับหลักจริยธรรมและความปลอดภัยทางไซเบอร์ในโลกจริง หรือจะเป็นข่าวการยุบทีมผลิตแว่น VR ของ Meta (aka  Facebook)  ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นไปในทิศทางที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่  แต่ในทางกลับกันเทคโนโลยีโลกเสมือนก็ดูเหมือนจะเป็นอีก สื่อกลางหนึ่ง ที่ช่วยเชื่อมต่อผู้คนให้ใกล้ชิดกันมากขึ้นท่ามกลางสภาวะทางโลกที่ต้องห่างไกลกันและกัน ซึ่งจะขอยกตัวอย่างข่าวดีเกี่ยวกับวงการ   Metaverse ในไทยให้เห็นเป็นภาพรวม  1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เตรียมเปิดตัววิทยาเขตแห่งที่ 5 ในโลก  Metaverse  ภายใต้แพลตฟอร์ม T-verse พื้นที่โลกเสมือนสัญชาติไทย พร้อมมอบประสบการณ์เรียนรู้ที่เป็นได้มากกว่า Online และ  Onsite อ่านข่าวเพิ่มเติมที่นี่ 2. SCB 10X […]