Reading Time: 2 Mins
2 Mins
Jul 15, 2020

Design Brief สิ่งที่เจ้าของแบรนด์ต้องรู้!! ก่อนทำงานกราฟฟิก

Design Brief คืออะไร?

คือ โจทย์ของงานออกแบบ การเขียน Design Brief เป็นการกำหนดขอบเขตการทำงานที่นักออกแบบนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงาน และตรวจสอบผลงานแต่ละชิ้นว่าตรงกับโจทย์ที่ตั้งเอาไว้หรือไม่ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่นักออกแบบจะพบเจอก็คือการทำงานที่มักหลุด Concept หรือ Theme งานของตัวเอง จนทำให้เกิดการทำงานที่ล่าช้าเพราะต้องแก้ไปแก้มาไม่เสร็จซักที วันนี้พวกเรา Cotactic Media จะมาแนะนำเทคนิคการใช้งานแบบง่าย ๆ ที่เจ้าของแบรนด์สามารถนำไปปรับใช้ได้ จนทำให้การเขียนออกแบบ ไม่ใช่ที่เรื่องที่เข้าใจยากอีกต่อไป!!


Design Brief แบ่งออก 3 ส่วนด้วยกัน

1. Title & Background (What to Say)

คิดชื่องานหรือชื่อเรื่องที่เราจะทำ ว่าเราจะทำงานออกแบบอะไร เรื่องอะไร แล้วที่มาของเรื่องที่เราจะทำคืออะไร  อย่างแรกเราต้องเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นและปัญหาที่เกิดขึ้นก่อน ซึ่งการคิดแบบนี้จะช่วยให้เราเข้าใจในสิ่งที่เราจะทำมากขึ้น

จากตัวอย่าง คือ โปรเจค Get Onboard ถาดอาหาร ECO จากธัญพืชที่คิดมาจากปัญหาเรื่องขยะพลาสติกบนเครื่องบิน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่เรากำลังมองหาวัสดุจากธรรมชาติ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาทดแทนพลาสติก เพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกจาก อุตสาหกรรมการบิน ที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน

  • Title : Get Onboard (FOOD TRAY ถาดอาหาร ECO จากธัญพืช) 
  • Background : PACKAGING ผลิตจากวัสดุธรรมชาติสามารถใช้ซ้ำได้
  • Problem : ปัญหาขยะพลาสติกจากการเดินทางบนเครื่องบิน

2. อารมณ์และบุคลิกของงาน (How to Say)

  • Concept คือ ความคิดหรือไอเดียที่กำหนดทิศทางการออกแบบ คอนเซ็ปต์อาจจะคล้ายกับเป้าหมายในงานออกแบบ แต่มักจะไม่เจาะจงเพื่อให้อิสระ
    การตีความสำหรับนักออกแบบ
  • Target Group คือ กลุ่มผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะสื่อสารด้วย
  • Mood&Tone คือ สิ่งสำคัญที่งานออกแบบควรมี คือการกำหนด Concept Design โดยใช้อารมณ์และความรู้สึกเป็นตัวช่วย ‘Mood’ หมายถึง อารมณ์ของภาพ ไม่ว่าจะเป็นความสนุกสนาน ความเศร้า ความร่าเริง ความสงบ โดยทุกงานออกแบบนั้นจะบ่งบอกในความเป็นตัวของมันเอง ‘Tone’ คือสีในงานออกแบบ โดยสีนั้นจะบอกความรูสึกของงานออกแบบหรือที่เรารู้จักกันในสีโทนเย็นหรือว่าสีโทนร้อนนั่นเอง

จากตัวอย่าง IKEA สงบ ผ่อนคลาย แฝงกลิ่นอายแบบดั่งเดิม  แม้จะใช้ชีวิตอยู่ในเมืองคุณก็สัมผัสบรรยากาศเงียบสงบและผ่อนคลายของบ้านแถบชนบทได้ด้วยเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งที่ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติและงานฝีมือสไตล์ดั่งเดิม

credit : https://onlinecatalogueasia.ikea.com/
  • Target Group : บุคคลที่อาศัยอยุ่ในเมืองแต่มีความชอบบ้านหรือที่อยู่อาศับลักษณะแบบดั่งเดิม เพราะทำให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย เหมือนได้ไปพักผ่อน
    อยู่ต่างจังหวัด
  • Concept : สงบ ผ่อนคลาย แฝงอายแบบดั่งเดิม
  • Support (สนับสนุน Concept) : แม้จะใช้ชีวิตอยู่ในเมืองคุณก็สัมผัสบรรยากาศเงียบสงบและผ่อนคลายของบ้านแถบชนบทได้
  • Mood&Tone : ธรรมชาติและงานฝีมือสไตล์ดั้งเดิม

3. นำเสนอ (Execution)

เป็นวิธีการที่จะนำเสนอสื่อออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น Video, Event, Print Ads, Infographic, Exhibition, Packaging, Book Design, Corporate Identity และบอกจำนวนงานออกแบบทั้งหมดกี่ชิ้น และสุดท้ายงานออกแบบที่เราทำขึ้น มาเราคิดว่า จะมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน

จากตัวอย่าง แคมเปญ ผลักดันให้ผักนำ จาก สสส.

แคมเปญ “ผลักดันให้ผักนำ” จาก สสส. เป็นแคมเปญที่ส่งเสริมให้คนไทยกินผักตามฤดูกาล เพราะ มีประโยชน์และปลอดภัยสูงกว่า ผักนอกฤดูที่ใช้สารเคมี ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมากกว่า แคมเปญนี้มีเป้าหมายที่จะทำให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การกินผักและผลไม้ให้ดียิ่งขึ้น

  • Media / วิธีการนำเสนอ : Print Ads, Banner, BTS screen door, TVC
  • จำนวนชิ้นงาน : 4 ชิ้นงาน
  • Desired Responses : เพื่อให้เราเห็นความสำคัญของการกินผัก และอยากเลือกซื้อเลือกหาผักมาเพิ่มพื้นที่ในมื้ออาหารให้มากขึ้น และสนับสนุนให้ทุกครอบครัว

ปลูกผักสวนครัวกินเอง แคมเปญนี้จะช่วยให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกินผักและผลไม้

และทั้งหมดนี้ก็คือ Design Brief ที่เป็นเหมือนตัวกลางระหว่างเจ้าของแบรนด์กับนักออกแบบ ที่จะเข้าใจงานและไปในทิศทางเดียวกัน เจ้าของแบรนด์คนไหนกำลังมอง หา Template เพื่อนำไปใช้งานจริง คุณสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี! จากพวกเรา Cotactic Media ที่ลิงค์ด้านล่างได้เลย หรือใครกำลังมองหาบริษัทที่รับทำเว็บไซต์ WordPress พร้อมบริการครบจบในทุก Design ก็สามารถติดต่อเราได้เช่นกัน

Download Link:

https://drive.google.com/file/d/1x5XoHlbsGP3xaQcapIrqKaBJykOujcTc/view?usp=sharing


 

[wpdevart_facebook_comment curent_url="https://www.cotactic.com/" order_type="social" title_text="Facebook Comment" title_text_color="#000000" title_text_font_size="22" title_text_font_famely="Montserrat" title_text_position="left" width="100%" bg_color="#d4d4d4" animation_effect="random" count_of_comments="3" ]

บทความที่เกี่ยวข้อง

เกาะติดกระแส! แบรนด์ดังเปิดตัวแรง ในโลก Metaverse ปี 2022

หลังจากที่ Mark Zuckerberg ได้ประกาศรีแบรนด์ Facebook กลายเป็น Metaverse (เมตาเวิร์ส) หรือโลกเสมือนจริงทำให้เกิดเป็นกระแสมาแรงที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ รวมถึงบริษัท แบรนด์สินค้าหรือองค์กรต่างเกิดความกระตือรือร้นในการปรับตัวเข้าสู่พื้นที่ใหม่แห่งนี้ โดยในช่วงต้นปี 2022 ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีหลายองค์กรเริ่มนำเทคโนโลยีโลกเสมือนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสินค้า, บริการหรือกิจกรรมรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะวงการเกม การศึกษา การแพทย์ กีฬาและสื่อความบันเทิง โดยเฉพาะทางธุรกิจการค้าถือเป็นวงการที่ต้องปรับตัวเยอะที่สุดด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันและสถานการณ์วิกฤติที่ทำให้ทุกคนต้องหันไปใช้ชีวิตบนโลกเสมือนมากขึ้นในทุกวัน  วันนี้ Cotactic บริษัทรับทำเว็บไซต์ WordPressจึงจะมาอัปเดตกระแส Metaverse ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปีที่ผ่านมาทั้งแบรนด์ดังระดับโลกและองค์กรในประเทศไทย จะมีสุดยอดเทคโนโลยีเกิดขึ้นกับวงการไหนบ้าง ไปดูกันเลย    เจ้าของ Facebook เปิดตัว Meta Store ร้านค้าจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับโลกเสมือน   เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่ผ่านมาบริษัท Meta เจ้าของ Facebook และ Instagram ได้เปิดตัว Meta Store แห่งแรก ณ เมืองเบอร์ลินเกม รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ร้านค้าจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับโลกเสมือน […]

Metaverse Ecosystem มีอะไรบ้าง? ส่งผลยังไงต่อโลกอนาคต?

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า Metaverse คือ พื้นที่กลางหรือมิติโลกเสมือนที่ผู้ใช้งานทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมหรือมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้แบบเรียลไทม์และเพิ่มพูนประสบการณ์ที่มีด้วยกันภายในโลกเสมือนไม่ต่างอะไรกับโลกจริง  นอกจากนี้การจะสร้างพื้นที่กลางในโลกดิจิทัลยังต้องคำนึงถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่อวตารของเราสามารถเข้าไปอยู่ได้จริงรวมถึงจะต้องมีปัจจัยและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่รันบนระบบ Metaverse  เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถมีส่วนร่วมกับสภาพแวดล้อมในโลกเสมือนได้และมีปฏิกิริยาตอบกลับมา นี่จึงเป็นนิยามของคำว่า  Metaverse Ecosystem (หรือ ระบบนิเวศโลกเสมือน) เพื่อดึงดูดให้เหล่านักลงทุน นักธุรกิจ  เกมเมอร์เข้ามาสร้างคอมมูนิตี้และออกแบบโลกเสมือนให้น่าอยู่มากขึ้น แต่ทว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่โลกเสมือนกลายมาเป็นกระแสทางเทคโนโลยีในปี 2021  ก็เหมือนจะมีข่าวลือหนาหูในด้านลบเข้ามาเพิ่มขึ้น เช่น ข่าวการรุมข่มขืนตัวละครอวตารหญิงใน  Metaverse  ทำให้เกิดการถกเถียงเกี่ยวกับหลักจริยธรรมและความปลอดภัยทางไซเบอร์ในโลกจริง หรือจะเป็นข่าวการยุบทีมผลิตแว่น VR ของ Meta (aka  Facebook)  ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นไปในทิศทางที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่  แต่ในทางกลับกันเทคโนโลยีโลกเสมือนก็ดูเหมือนจะเป็นอีก สื่อกลางหนึ่ง ที่ช่วยเชื่อมต่อผู้คนให้ใกล้ชิดกันมากขึ้นท่ามกลางสภาวะทางโลกที่ต้องห่างไกลกันและกัน ซึ่งจะขอยกตัวอย่างข่าวดีเกี่ยวกับวงการ   Metaverse ในไทยให้เห็นเป็นภาพรวม  1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เตรียมเปิดตัววิทยาเขตแห่งที่ 5 ในโลก  Metaverse  ภายใต้แพลตฟอร์ม T-verse พื้นที่โลกเสมือนสัญชาติไทย พร้อมมอบประสบการณ์เรียนรู้ที่เป็นได้มากกว่า Online และ  Onsite อ่านข่าวเพิ่มเติมที่นี่ 2. SCB 10X […]