click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

“Meta Tags” คือ เครื่องมือที่ใช้บอกรายละเอียดเนื้อหาคร่าวๆ ของคอนเทนต์ SEO คุณให้ทั้ง Search Engines และผู้ใช้งานรับรู้ว่าคุณกำลังนำเสนออะไร? Keywords ตรงกับคำค้นหาหรือไม่ จะอยู่ในรูปของโค้ดงานหลังบ้านในท่อน HTML เรียกว่า Metadata (คนปกติทั่วไปจะไม่มีวันเห็น Metadata มีเพียงเครื่องมือค้นหาของตัวกลางเว็บไซต์อย่าง Google ที่อ่านข้อมูลได้) มีหน้าที่บอกรายละเอียดลักษณะ ชื่อ ความเกี่ยวข้องของหน้าเว็บไซต์กับเนื้อหาที่สื่อออกมาให้กับ Search Engines และ Web Clawlers ได้รับรู้ 

ถ้านึกภาพกันไม่ออก ให้ลองนึกถึงเวลาเราใส่ชุดที่ทำงานหรือชุดโรงงานที่มีชื่อของบริษัทเราหรือชื่อของเราเองปักไว้บนหน้าอก (ถ้าพนักงานออฟฟิศอาจเป็นป้ายชื่อพนักงาน) ตัวเรากับชุดพนักงานหรือป้ายชื่อคือหัวข้อกับเนื้อหาคอนเทนต์ ชื่อของเราเปรียบเสมือน Meta Tags บอกว่าเราเป็นใคร ทำงานที่ไหน ส่วนนายจ้างหรือลูกค้า ก็คือ Web Clawlers / Search Engines ที่จะมาอ่านชื่อเรานั่นเอง พอนึกภาพออกแล้วใช่ไหมล่ะ

ต่อมาเมื่อ Web Clawlers / Search Engines เจอเราแล้ว จะจัดอันดับความเกี่ยวข้องของคอนเทนต์ โดยจะดึงข้อมูลออกจาก Meta Tags มาแสดงเป็นส่วนแรกสุด เมื่อมีผู้ใช้งานทำการค้นหา Keyword ที่เกี่ยวกับ Tags หน้าเว็บของเราก็จะไปปรากฎอยู่ที่หน้าแรกสุด ไล่ลำดับความสำคัญลงมาตั้งแต่เว็บแรกจนถึงเว็บที่ 5 ซึ่งปกติแล้วเว็บไซต์ที่ถูกจัดอันดับมีความเกี่ยวข้องสูงสุดจะไปอยู่ที่หน้าแรกของ Search Result นั่นเอง

เป็นยังไงกันบ้างพอจะทราบแล้วใช่ไหมว่า หลักการทำงานของ Meta Tags ไม่ยากเลยใช่ไหมล่ะ แถมยังน่าสนุกอีกต่างหาก หากอยากรู้ลึกกว่านี้เลื่อนลงไปอ่านบทความข้างล่างกันต่อได้เลย

Meta Tags สำคัญต่อการทำ seo มากแค่ไหน?

สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มทำ SEO หรือยังไม่รู้จักเครื่องมือนี้ ความสำคัญของส่วนนี้ก็ยิ่งใหญ่ตามชื่อของมันจริงๆ เพราะมันคือประตูหลักที่สามารถช่วยให้ Search Engines ของ Google จับคู่เนื้อหากับ Keyword ที่คนสนใจและสร้างเส้นทางเชื่อมผู้ใช้งานให้เข้ามาในหน้าเว็บไซต์ของเราได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งก็ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ที่มีของผู้ประกอบการออกแบบ Meta Tags ให้ติดท็อป 5 อันดับของ Organic Search Engines โดยทีมงาน Cotactic จะแยกย่อยออกมาให้ว่ารูปแบบของ Meta มีอะไรบ้างและจะนำมาปรับใช้กับการเพิ่มประสิทธิภาพ Tags ให้เข้ากับการทำ SEO ยังไงให้ดียิ่งขึ้น

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว

รู้จักกับ Meta Tag เบื้องต้น

ปกติแล้ว Meta Tag จะอยู่ในรูปของกล่องข้อความสั้นๆ อธิบายหัวข้อของหน้าเว็บเพจว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรากำลังมองหาอยู่หรือเปล่า สามารถเข้าใจหัวข้อคอนเทนต์ที่กำลังนำเสนอแบบกระชับ ซึ่ง Meta Tag มีอยู่มากมายหลายตัวให้เลือกขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน จะมีอะไรบ้างคร่าวๆ มีดังนี้

  1. Title Tag

    ตามชื่อเลยคือหัวข้อ Title ของคอนเทนต์ที่จะเขียน จะต้องมีความเป็นเอกลักษณ์และสอดแทรก Keyword ให้แฝงอยู่ในหัวข้อเรื่อง โดยจะแฝงตัวอยู่ทั้งบนหน้า Web Browser และบน Headline ในหน้า Search Engines

 

Title Tag

Title Tags แบบแฝงตัวอยู่ใน Headline Web browser

Title Tag แบบที่อยู่ในหน้า Web Browser

Title Tags แบบแฝงตัวอยู่ในหน้า Web browser ดูในช่องสี่เหลี่ยมสีเหลือง

 

 

  1. Meta Description

    จงจำไว้ว่าในหน้าเว็บเบราว์เซอร์ Meta Title และ Meta Description มักมาเป็นคู่หูดูโอ้อยู่เสมอ อยู่ในส่วนของรายละเอียดด้านล่างถัดจาก Title ลงมา ลักษณะเป็นกล่องชุดตัวหนังสือคล้ายย่อหน้าเล็กๆ ความยาวไม่เกิน 155 คำ มีหน้าที่อธิบายเนื้อหาของคอนเทนต์ที่เป็นใจความสำคัญและมีประโยชน์ที่สุดชนิดที่ว่าผู้ใช้งานอ่านรวดเดียวถึงกับอยากกดเข้าไปส่องต่อกันเลย

    Meta Description มีความสำคัญต่อการจัดอันดับการค้นหาของ Web Crawlers / Search Engines เพราะต้องมีการใส่ Keyword เข้าไปในส่วนนี้ด้วย ยิ่ง Keyword เกี่ยวข้องกับคำค้นหามากเท่าไหร่ Search Engines จะจับคู่คำและขึ้นตัวหนาไว้ให้เราสังเกตได้ง่ายขึ้น
Meta Description

Meta Description มักอยู่ล่าง Meta Title เสมอเป็นชุดกลุ่มคำคล้ายย่อหน้า และมีการจับคู่ Keyword ที่สำคัญ อย่างผมเสิร์ชหาคำว่า Cotactic blog ท่อน Meta Description จะขึ้นตัวหนาคำที่ตรงกับคำที่เราค้นหามาให้



  1. Viewport tag

    ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ PC อย่างเดียวคงไม่ใช่คำตอบ รวมถึงการมาของสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการรับรู้ข้อมูลได้ดีขึ้น Viewpoint Tag คือชุด Meta ที่ช่วยให้หน้าเว็บไซต์ของคุณสามารถไปแสดงผลได้บนอุปกรณ์อื่นๆ นอกจากคอมพิวเตอร์ PC  อาทิ สมาร์ทโฟน  ไอแพด  และแล็ปท็อป ซึ่ง Viewport Tag ไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการจัดอันดับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเหมือน Title Tag หรือ Meta Description แต่การปรับรูปแบบของเว็บไซต์ให้มีความ User-friendly เมื่อใช้งานบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถกดคลิกเข้ามาเพื่ออ่านคอนเทนต์ของเราได้สะดวกยิ่งขึ้น
Viewport tag แบบสมาร์ทโฟน

มุมมอง Viewport tag แบบสมาร์ทโฟน

Viewport tag บนเครื่องคอมพิวเตอร์

มุมมอง Viewport tag บนเครื่องคอมพิวเตอร์



  1. Meta Robots

    Tag นี้ทำงานร่วมกับ Search Engine / web Crawler  ร่วมกันกับโค้ด  HTML ในการสำรวจเว็บไซต์ด้านในและคอยตัดสินใจว่าควรหรือไม่ควรเข้าไปที่หน้าเพจไหน หรือ ควรหรือไม่ควรติดตามลิงก์ใดไปที่เว็บไซต์อะไรบ้าง ซึ่งตัวอย่างโค้ดเบื้องหลังจะใช้คำว่า “noindex” คือ ไม่ให้แสดงผลหน้าเว็บไซต์ในผลการค้นหา หรือ “nofollow” ไม่ให้แสดงผลจากลิงก์ที่อยู่ในหน้าเว็บไซต์  เป็นต้น

Meta Robots

ตัวอย่างโค้ด Meta Robots

 


  1. Hreflang tags: 

    เป็นแท็กที่ออกเสียงยากสักหน่อย ออกเสียงว่า เรฟ-แลง แท็กซ์ Tags ตัวนี้มีหน้าที่ในการระบุภาษาที่เราใช้บนหน้าเว็บเพจให้ Search engine / web crawler สามารถค้นหาและระบุผลลัพธ์ที่ผู้ใช้งานทำการค้นหาในภาษาเดียวกันกับเว็บไซต์ของเราได้

Hreflang tags

Hreflang tags ขอบคุณที่มารูปภาพ: tnmbs.com



  1. Canonical tags

    ผู้ประกอบการมือใหม่อาจเคยเจอปัญหาการทำเว็บไซต์ที่มี URL มากเกินไปหรือการทำคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันเกินไปจน Search Engine  เกิดความเข้าใจผิดและแสดงเนื้อหาซ้ำไปซ้ำมาจนคิดว่าเราคือ Spam ส่งผลกระทบต่อการจัดอันดับเนื้อหาในเว็บคุณได้ ดังนั้น Canonical tags จึงมีไว้บอก Search Engine ว่าหน้าเว็บเพจนี้ที่มี URL มาพร้อมกับโค้ด Canonical tags คือหน้าเว็บหลักของเรา ให้มาประเมินจัดอันดับที่ลิงก์นี้ที่เดียว ลดการเกิดข้อมูลซ้ำ

Canonical tags

ตัวอย่างโค้ด Canonical tags



ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


  1. Social Media Meta Tags

    หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า Open Graph Meta Tags ซึ่งการทำงานของมันก็ตรงตามชื่อเลยคือช่วยโปรโมทเว็บไซต์ของคุณผ่านสื่อโซเชี่ยลมีเดียอย่าง Facebook, Linkedin, Google แต่การโปรโมทผ่าน Twitter จะใช้ผ่าน Twitter Cards แทน

  1. Header Tags

    มีไว้สำหรับจัดลำดับ Header หรือ หัวข้อต่างๆ ภายในเว็บไซต์ ตามปกติแล้วจะเรียงจากหัวเรื่องที่ใหญ่ที่สุดไปเล็กที่สุด เช่น
  • Header 1 จะต้องมี Keyword หลักที่สามารถไปติดอันดับใน Search Engine ได้
  • Header 2 หัวเรื่องรองลงมาจากหัวเรื่องใหญ่เป็นการอธิบายเพิ่มเติม เนื้อหาของ Keyword
  • Header 3 แยกย่อยเข้าไปอีกจะเป็น bullet headline ก็ได้หรือเป็น เครดิตรูปภาพก็ได้ เป็นต้น
Header Tag

ตัวอย่างโค้ด Header

 


 

  1. Meta Charset (อีกชื่อ Meta Content Type):

    ใช้ระบุประเภทของสื่อที่แฝงอยู่ในหน้าเว็บไซต์อย่าง ข้อความ (เขียนในรูปของ “text/html”) หรือ ชุดอักขระ (Character Set) ในแต่ละหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถแสดงชุดคำบนหน้าเว็บได้ถูกต้อง ตัวอย่างโค้ด Meta Content Type:
Charset Tag

ตัวอย่างโค้ด Charset

 

 

  1. ALT Text Tags:

    เมื่อมีการจัดการข้อความไปแล้ว ก็ต้องมีจัดการรูปภาพกันบ้าง ถ้าหากเว็บไซต์ของคุณมีคอนเทนต์ที่ต้องแทรกรูปภาพเข้ามาประกอบการบรรยายไปด้วย ALT Text Tags จะใส่คำ Keywords สั้น ๆ อธิบายให้ Search Engines ฟังว่า รูปภาพนี้คืออะไร เกี่ยวกับเนื้อหาส่วนไหนของคอนเทนต์เราบ้าง ยิ่งรูปภาพมีความเกี่ยวข้องกับ Keyword เท่าไหร่ยิ่งดีเพราะไม่ใช่แค่หน้า Search Result เท่านั้นที่คอนเทนต์เราจะไปปรากฎ แต่รวมถึงการติดอันดับการค้นหาแบบรูปภาพอีกด้วย
ALT Text Tags

ขอบคุณที่มาจาก: insidenewcity.com



  1. Meta Refresh Redirect:

    ชุด Tags ช่วยให้ผู้ใช้งานทำการ redirect ไปยังหน้า URL อื่นภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ (คนละแบบกับ 301, 302 Redirect แบบนี้คือเป็นการเปลี่ยนเส้นทาง URL แบบถาวรให้ไปอ่านลิ้งก์ตัวใหม่แทน) โดยปกติ Meta Refresh Redirect จะมีความเชื่อมโยงกับการนับถอยหลัง 5 วินาทีมักปรากฎบ่อยๆ ในรูปแบบข้อความ “If you are not redirected in five seconds, click here.” ซึ่งผู้ใช้งานอาจรู้สึกไม่ปลอดภัย เกิดความสับสนในหน้าเว็บของเราได้ และมีผลต่อความยุ่งยากของ SEO เราด้วย แนะนำอย่า redirect บ่อยจะดีกว่านะ
 Meta Refresh Redirect

Meta Refresh Redirect ขอบคุณที่มาจาก: articpost.com

การใช้ Meta Tags กับการทำ SEO ให้ได้ผลลัพธ์ดี ค่า CTR สูง

การใช้ Keywords Planner เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและนักเขียนคอนเทนต์ SEO ทุกคนต้องใช้กันเป็นปกติอยู่แล้ว การแทรก keyword ลงไปทั้งใน Meta Title และ Meta Description จะช่วยทำให้ search engine / web crawler ค้นหาเว็บไซต์ของคุณได้ดียิ่งขึ้นและได้จัดอันดับอยู่ในลำดับที่ดีบนหน้าผลลัพธ์การค้นหา (Search Engine Results Page) แต่ดาบย่อมมีสองคม การมี Keyword ใน Headline ย่อมเป็นเรื่องดี แต่ถ้ามีมากเกินไป Search Engine จะคิดว่าเราคือ spam แล้วจะถูกดันหน้าเว็บให้ไปอยู่ด้านล่าง ง่ายๆ ว่าตกอันดับนั่นเอง

วิธีเขียน Title และ Description ให้ติดอันดับ

  1. Headline บนหน้า Title ต้องแสดงเนื้อหาครอบคลุมคอนเทนต์ทั้งหมดบนเว็บเพจของเรา
  2. เขียน Keywords ไว้ในช่วงต้นของ  Meta Tag (Meta Title Tags) และเนื้อหาโดยสรุปใน Meta Description  ให้ Search Engine และผู้ใช้งานมองผ่านๆ เพียงครั้งเดียวก็สามารถจับใจความหลักของเราคืออะไร
  3. ใช้หลักการใจเขาใจเรา คิดและหาเหตุผลว่าทำไมผู้ใช้งานถึงต้องกดค้นหา Keyword คำนี้ แล้วเว็บไซต์หรือคอนเทนต์ SEO เราแก้ปัญหาอะไรให้เขาได้บ้าง
  4. ใช้ภาษาที่มีความเข้าใจง่าย เป็นธรรมชาติ (ยกเว้นรายงานข่าวบางอย่างที่ต้องใช้ภาษาทางการสักหน่อย) ไม่ใส่ Keywords มากเกินไปจน Search Engine มองว่าเราคือ spam
  5. Title Meta Tag 1 ชุดต่อ 1 เว็บเพจ ไม่ควรใช้อันเดียวรวมหัวข้อไปทุกๆ เว็บเพจ
  6. Meta Description และ Meta Title  มีพื้นที่จำกัดควรสรุปเนื้อหา สั้น กระชับ ได้ใจความสำคัญพอ เลี่ยงการใช้คำที่คลุมเครือ เข้าใจยาก

    Title Tags ความยาวของตัวอักษรไม่เกิน 60 – 65 ตัวอักษร
    Meta Description ความยาวของตัวอักษรไม่เกิน 150 -160 ตัวอักษร
Meta Title และ Meta Description จำกัดจำนวนคำเอาไว้
Meta Title และ Meta Description จำกัดจำนวนคำเอาไว้

ทั้ง Meta Title และ Meta Description จำกัดจำนวนคำเอาไว้ หากเกินกว่าที่กำหนดจะขึ้นสีแดงตามรูป ต้องลดคำที่เกินมา เน้นที่คำ Keyword เป็นหลัก จากเว็บไซต์: SERPSim.com

  1. และที่สำคัญผู้ประกอบการที่ดีควรใส่ Title Tag/Description ให้คนอ่านรู้สึก “หัวข้อนี้น่าสนใจนอยากกดเข้ามาอ่าน” 

*Tips: สามารถใช้เทคนิค CTA เพิ่มค่า CTR% ได้ โดยการใช้กลุ่มคำให้ผู้อ่านรู้สึกกระตุ้นให้อยากทำบางอย่าง อาทิ ด่วน! จำนวนจำกัด สิทธิพิเศษวันนี้ หรือ ราคาพิเศษ! เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการคลิกเข้าเว็บไซต์ได้

  1. มี Brand Awareness ใส่ชื่อแบรนด์เราด้วยทุกครั้งถ้ามีที่ว่างมากพอ (ไม่มีพื้นที่ไม่จำเป็น)

หากต้องการใช้เครื่องมือที่สามารถทำ Title และ Description สำหรับ SEO อย่าง Snippet Preview, SERP simulator tool หรือต้องการตรวจสอบจำนวนคำที่ใช้ สามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ตรวจสอบได้เลย  Mangools, SERPSim, Merkle

ตัวอย่างการใช้งานเว็บไซต์ SERPSim.com

ตัวอย่างการใช้งานเว็บไซต์ SERPSim.com

ตัวอย่างการใช้งานเว็บไซต์ Mangools

ตัวอย่างการใช้งานเว็บไซต์ Mangools มีระบบ Heatmap บอกจุดสังเกตเด่นๆ ของ Title และ Description ของเราด้วย



ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


ตอนนี้คงพอทำความเข้าใจได้แล้วว่า Meta Tags คืออะไร มีที่มา การใช้งานอย่างไร และที่อยากจะเสริมเพิ่มเข้าไปก็คือ Tags เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเล็กๆ (ที่มีจำนวนเยอะมาก) ของการทำ SEO ให้ติดอันดับเท่านั้น เลือกใช้ Meta ให้ถูกกับลักษณะคอนเทนต์ของเราเพราะอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว Meta บางตัวอาจสร้างความรำคาญให้แก่ผู้ใช้งานได้ และมีเพียง Meta บางตัวเท่านั้นที่ควรใส่ไว้ตลอด ทั้งนี้การทำ SEO ให้ติดอันดับ Search Engines ครั้งแรกที่ใช้ไม่ใช่เรื่องง่าย การปรับเครื่องมือให้เหมาะสมไปเรื่อยๆ มักได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

ขอบคุณแหล่งข้อมูล

Contentshifu.com

thegrowthmaster.com

————————————————————

Meta Tags มีเยอะแยะมากมายหลายประเภท ใช้ยังไงก็ใช้ไม่ถูก ตาลายไปหมด อยากทำ SEO ให้ติดอันดับ ลองติดต่อหาเรา Cotactic Digital Marketing Agency เริ่มทำกับเราตั้งแต่บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress และเรายังเป็นผู้เชี่ยวชาญที่รับทำ SEO

ติดต่อ

โทร.065-095-9544

Inbox: https://m.me/cotactic Line@: https://bit.ly/cotactic

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำความรู้จักกับ E-E-A-T ส่วนสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์ติดหน้าหนึ่ง

ทำ SEO ให้ปังด้วยหลัก E-E-A-T Factor

อัปเดต 15 เครื่องมือทำ SEO ปี 2024

SEO Tools อัปเดต 10 เครื่องมือทำ SEO ปี 2024

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้