Reading Time: 3 Mins
3 Mins
Dec 19, 2022

การตลาด 4P (Marketing Mix) คืออะไร? เจาะลึกสร้างยอดขายให้ปัง

กลยุทธ์การตลาด 4P สร้างยอดขายให้ทะลุเป้า

 หากคุณเป็นเจ้าของแบรนด์ที่กำลังเริ่มวางกลยุทธ์การตลาด “4P” น่าจะเป็นคำที่คุณคุ้นเคยอยู่บ้าง เพราะคำคำนี้กล่าวถึง 4 ปัจจัยพื้นฐานในการทำธุรกิจ ที่จะทำให้คุณสามารถบริหารธุรกิจ เพื่อเติบโตไปให้ถึงเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์ กลยุทธ์การตลาด 4P คือ? มีรายละเอียดอย่างไร? มาเริ่มทบทวนความรู้ได้ในบทความนี้

 

การวางกลยุทธ์การตลาด

 

การตลาด 4P คืออะไร?

กลยุทธ์การตลาด 4P เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Marketing Mix หรือ ส่วนประสมทางการตลาด ซึ่งอธิบายถึงปัจจัยสำคัญ 4 อย่างที่ทุกธุรกิจต้องนำมาพิจารณาและวางแผนร่วมกัน เพื่อพัฒนาสินค้าให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อมั่น และยอดขายที่เพิ่มขึ้นจนสามารถเป็นผู้นำตลาดเหนือคู่แข่งได้

 

องค์ประกอบของ กลยุทธ์การตลาด 4P Marketing Mix มีอะไรบ้าง?

กลยุทธ์การตลาด 4P ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (Product), ราคา (Price), การส่งเสริมการตลาด (Promotion) และช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

กลยุทธ์การตลาด 4P Product

 

ผลิตภัณฑ์ (Product)

ผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งที่แบรนด์เสนอขายให้กับผู้บริโภค โดยไม่ได้หมายถึงแค่สินค้าที่สามารถจับต้องได้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสินค้าดิจิทัลที่จับต้องไม่ได้ เช่น E-ticket, Application และบริการต่าง ๆ ด้วย ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่เสนอขายนั้นจะต้องมีคุณค่า และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้  

คำถามต่อมา คือ “เราจะสามารถพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้อย่างไร?” ซึ่งคำตอบอยู่ที่องค์ประกอบทั้ง 4 อย่างของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ตราสินค้า (Brand), บรรจุภัณฑ์ (Packaging), การออกแบบ (Feature and Design) และฟังก์ชันการใช้งาน (Function)

  • ตราสินค้า (Brand): ควรเลือกใช้สีและดีไซน์ที่สื่อถึงตัวตนของธุรกิจ น่าดึงดูด น่าจดจำ และที่สำคัญต้องไม่ซ้ำหรือคล้ายคลึงกับตราสินค้าของคู่แข่ง
  • บรรจุภัณฑ์ (Packaging): ควรทำจากวัสดุที่คงทน ช่วยรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ดี และฉลากที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์ควรบอกรายละเอียดสำคัญให้ครบถ้วน เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์ สถานที่ผลิต วันที่ผลิต เป็นต้น
  • การออกแบบ (Feature and Design): รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ควรแสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแบรนด์ เพื่อให้คนจดจำแบรนด์ได้
  • ฟังก์ชันการใช้งาน (Function): ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นควรมีฟังก์ชันการใช้งานที่ครอบคลุม ใช้งานง่าย และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ 

 

กลยุทธ์การตลาด 4P Price

 

ราคา (Price)

ราคา คือ มูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่แปรผลออกมาในรูปของตัวเงิน ซึ่งในบรรดากลยุทธ์การตลาด 4P ราคาถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ค่อนข้างทรงอิทธิพล เพราะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ดี เมื่อถึงเวลาที่จะต้องตัดสินใจซื้อ ผู้บริโภคมักสำรวจราคาของสินค้าและบริการจากหลาย ๆ ผู้ผลิต และนำราคามาเปรียบเทียบกัน ดังนั้น แบรนด์จึงควรกำหนดราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพสินค้า โดยคำนวณจากต้นทุนการผลิตสินค้า และราคาโดยเฉลี่ยของทุกบริษัทคู่แข่งที่ทำธุรกิจเดียวกัน

 

กลยุทธ์การตลาด 4P Promotion

 

การส่งเสริมการตลาด (Promotion)

การส่งเสริมการตลาด คือ การที่แบรนด์สื่อสารบางสิ่งบางอย่างออกไปในวงกว้าง เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ โดยผ่านเครื่องมือทางการตลาดต่าง ๆ อาทิ การใช้พนักงานขายหน้าร้าน, การใช้พนักงานขายตรง รวมถึงการโฆษณา (Advertising) ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุ, หนังสือพิมพ์, โฆษณาบนสื่อออนไลน์ หรือการใช้ Influencer เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ทุกแคมเปญส่งเสริมการตลาดควรอยู่ในขอบเขตที่แบรนด์สามารถทำได้ และไม่ส่งผลเสียต่อตัวตนของแบรนด์

 

Place

 

ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)

ลำดับสุดท้าย คือ ช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้หมายถึงเฉพาะช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีอยู่จริงบนแผนที่ เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาด ร้านสะดวกซื้อ หรืออาคารต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังหมายถึงช่องทางการจัดจำหน่ายออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น บน Social Media ต่าง ๆ หรือบน Marketplace เช่น Shopee, Lazada, Amazon หรือ e-bay เป็นต้น ทั้งนี้ ช่องทางการจัดจำหน่ายสัมพันธ์กับต้นทุนและภาพลักษณ์ของแบรนด์อย่างมีนัยยะสำคัญ เนื่องจากทุกช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์ย่อมมีค่าบริการที่ต้องจ่าย และสถานที่ที่ผู้บริโภคพบเห็นสินค้าของแบรนด์ ย่อมมีผลต่อความเชื่อมั่นที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์

 

กลยุทธ์การตลาด 4P Marketing Mix

ที่มา: EPM

 

การตลาด 4P (Marketing Mix) สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร? 

1. ช่วยให้มองเห็นภาพรวมของธุรกิจ

จุดเด่น คือ กระบวนการที่ชักนำให้ผู้ประกอบการกลับมาโฟกัสที่จุดเริ่มต้น และได้ทบทวนแนวทางของธุรกิจให้กระจ่างชัด กล่าวคือกลยุทธ์การตลาด 4P จะทำให้คุณมองเห็นภาพรวมว่าผลิตภัณฑ์ของคุณสมบูรณ์แบบหรือไม่ และราคาน่าดึงดูดแค่ไหนเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในตลาด นอกจากนี้ ยังทำให้คุณมองเห็นประเด็นสำคัญที่เคยมองข้ามไป ตัวอย่างเช่น บางแบรนด์อาจมุ่งคิดค้นแต่เพียงโปรโมชันลดราคา จนลืมพัฒนาเรื่องดีไซน์และฟังก์ชันการใช้งานของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

2. เพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนกลยุทธ์การตลาด

การวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญของแบรนด์ครบทั้ง 4 ด้านตามทฤษฎี 4P จะทำให้คุณสามารถวางแผนกลยุทธ์การตลาดได้เฉียบคม และทรงประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะนอกจากกลยุทธ์การตลาด 4P จะทำให้คุณเข้าใจแบรนด์มากขึ้นแล้ว ยังทำให้คุณเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นด้วย

3. พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ตรงใจผู้บริโภคมากขึ้น

สำหรับแบรนด์ที่มีแผนจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การใช้กลยุทธ์การตลาด 4P จะช่วยให้การทำงานของคุณง่ายขึ้น เพราะคุณจำเป็นต้อง Research ข้อมูลระหว่างการวิเคราะห์ 4P ซึ่งจะทำให้คุณมีโอกาสได้จำลอง Customer Journey เพื่อทำความเข้าใจลูกค้า เรียนรู้ว่าสิ่งใดที่ผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันบนท้องตลาดยังคงขาดอยู่ และสามารถนำข้อมูลนั้นมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองได้

 

เริ่มเลย! ลองวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาด 4P (Marketing Mix) เพื่อพัฒนาธุรกิจของคุณ

ความรู้เรื่อง Marketing Mix หรือ กลยุทธ์การตลาด 4P คือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการและนักการตลาดได้ทบทวนตัวตนของแบรนด์ และเข้าใจผลิตภัณฑ์ของตนเองดีขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้แบรนด์สามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย หากคุณกำลังมองหาตัวช่วยในการพัฒนาแบรนด์ให้เติบโต ลองเริ่มต้นก้าวแรกด้วย 4P เพื่อก้าวต่อไปที่มั่นคงของคุณ!


หากคุณต้องการมองหา บริษัทรับทำเว็บไซต์ WordPress แบบครบทั้งระบบ หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว

 

 

โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

——————————————————————–

ขอบคุณข้อมูลจาก:

 

[wpdevart_facebook_comment curent_url="https://www.cotactic.com/" order_type="social" title_text="Facebook Comment" title_text_color="#000000" title_text_font_size="22" title_text_font_famely="Montserrat" title_text_position="left" width="100%" bg_color="#d4d4d4" animation_effect="random" count_of_comments="3" ]

บทความที่เกี่ยวข้อง

Customer Experience คืออะไร? สำคัญกับธุรกิจอย่างไร

ในการสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ หนึ่งในส่วนประกอบสำคัญที่นักการตลาดและเจ้าของกิจการต้องคิดถึงคือ ‘ประสบการณ์ของลูกค้า’ หรือ Customer Experience (CX) การสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้าคือหัวใจที่ทำให้ธุรกิจคุณเติบโตได้อย่างยั่งยืน เพราะจะทำให้ลูกค้าทุกคนที่ได้เข้ามาสัมผัสประสบการณ์ที่ดีจากธุรกิจเกิดการซื้อซ้ำและพัฒนาไปสู่ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องทำความเข้าใจว่าอะไรบ้างที่ทำให้ธุรกิจสามารถสร้าง Customer Experience ได้ และ Customer Experience แตกต่างจาก ‘ประสบการณ์ผู้ใช้’ หรือ User Experience (UX) อย่างไร   Customer Experience คือ อะไร ? Customer Experience (CX) คือการปฏิสัมพันธ์ทั้งหมดของลูกค้าที่มีกับแบรนด์ รวมถึงการค้นหาในเว็บไซต์, การซื้อสินค้าหรือบริการ, การให้บริการหลังการขาย ฯลฯ ซึ่งในการปฏิสัมพันธ์ทั้งหมดระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ของเรานั้น ช่วยสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ ซึ่งหลอมรวมกันกลายเป็นประสบการณ์และภาพจำทั้งหมดของแบรนด์ แตกต่างจาก User Experience (UX) อย่างไร หลายคนอาจสับสนระหว่าง ‘ประสบการณ์ของลูกค้า’ Customer Experience (CX) และ ‘ประสบการณ์ผู้ใช้งาน’ User Experience (UX) […]

Conversion คืออะไร? สำคัญกับธุรกิจออนไลน์อย่างไร พร้อมวิธีวัดผล

การทำ Digital Marketing ต้องอาศัยการวัดผลที่ตรงกับการดำเนินงานอย่างแม่นยำ จะเกิดอะไรขึ้นหากธุรกิจไม่มีการวัดผลการดำเนินงาน ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะสูญเสียงบประมาณไปโดยที่ไม่รู้ว่าจ่ายไปกับกิจกรรมการตลาดใดบ้าง มีใครมาสนใจสั่งซื้อสินค้าเท่าไหร่ Conversion Tracking จึงเข้ามามีบทบาทต่อการวัดผล เช่น วัดผลการซื้อสินค้า การสมัครสมาชิก การสมัครรับข้อมูลข่าวสารทางอีเมล การเข้ามาอ่านบทความ การดาวน์โหลด หรือการกระทำต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ การวัดผลเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจรู้ว่าสินค้าใดหรือ Landing Page หน้าไหนมีคนคลิกเข้ามาสนใจมากที่สุด Conversion คืออะไร? Conversion คือการกระทำใด ๆ ของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ที่สนใจสินค้าบริการของเรา ที่เราได้วางเงื่อนไขในการเก็บข้อมูลของแต่ละ Conversion ไว้ เพื่อวัดผลลัพธ์ในการทำงาน เช่น การทำ Call to Action (CTA) เพื่อ Tracking, ข้อมูลในส่วนของ Purchase : จำนวนการสั่งซื้อ, Leads : ลูกค้าใหม่ที่เข้ามา, Sign up : จำนวนคนที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ หรือ Submit form […]