April 24, 2023 Reading Time: 2 minutes

Schema Markup คืออะไร ? หนึ่งในเครื่องมือที่ชาว SEO ไม่ควรพลาด

การทำ SEO ในปัจจุบัน มีกลยุทธ์และวิธีการสำคัญหลากหลายรูปแบบ นอกจาก Site Structure, Keyword, Blacklink ยังมีอีกหนึ่งเครื่องมือซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญอย่าง schema markup ที่จะช่วยเพิ่มยอดคลิกเข้าเว็บไซต์และเพิ่มอันดับในการติดหน้ากูเกิล 

 

ในบทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักว่า schema markup คืออะไร ทำงานอย่างไร รวมถึงไขข้อสงสัยว่าทำไมเครื่องมือดังกล่าวถึงสำคัญ

 

 schema markup คืออะไร

schema markup คือ Code ชุดหนึ่งสำหรับเพิ่มเข้าในเว็บไซต์

schema markup คือ โค้ดชุดหนึ่งสำหรับเพิ่มเข้าในเว็บไซต์ มีหน้าที่ในการเพิ่มข้อมูลหรือเนื้อหาให้กับ Keywordในเว็บไซต์ เพื่อเป็นตัวช่วยให้ Google Bot เก็บข้อมูลได้ง่าย รู้ว่าเว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาหรือคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง และเข้าใจเว็บไซต์ของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เว็บไซต์ที่ติดตั้ง schema markup ขึ้นติดหน้าอันดับ Google แน่นอนว่าย่อมส่งผลให้ผู้ใช้งานที่ค้นหาคีย์เวิร์ดค้นเจอเว็บไซต์ของเรา 

 

สำหรับ schema markup เกิดขึ้นจากการพัฒนาร่วมกันของ Google, Microsoft, Yahoo and Yandex โดยมุ่งมั่นที่จะทำให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มียอดคลิก มีอันดับบนหน้ากูเกิล รวมไปถึงสร้างรายได้จากเว็บไซต์ได้ นับว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่มีประโยชน์และไม่ควรมองข้าม 

 

 schema markup ทำงานอย่างไร

การทำงานของ schema markup หรือโค้ดชุดนี้ จะต้องนำโค้ดดังกล่าวมาจัดเรียงในเว็บไซต์ของตนเอง  จากนั้นจะช่วยทำให้ Google Bot เข้าใจหน้าเว็บไซต์ของเรามากยิ่งขึ้น และแสดงผลบนหน้า Google รวมถึงจะแสดงผลตรงกับคำค้นหาของผู้ใช้งาน 

 

 รู้จักประเภทของ Schema Markup

 รู้จักประเภทของ Schema Markup ต่าง ๆ

อย่างไรก็ดี ก่อนจะติดตั้ง schema markup จะต้องพิจารณาว่า schema markup ประเภทใดเหมาะสมกับเว็บไซต์หรือจุดประสงค์ของเรามากที่สุด เนื่องจาก schema markup มีหลายประเภท โดยมีประเภทหลัก ๆ ที่ได้รับความนิยมสูง ดังนี้

  • Book Schema : เนื้อหาที่ขายหนังสือหรือเป็นหนังสือ
  • Article Schema : เนื้อหาที่เป็นบทความ
  • Carousel Schema : คอร์สต่าง ๆ บทเรียน
  • Person Schema : เนื้อหาที่เจาะจงถึงบุคคล
  • Event Schema : เนื้อหาแสดงถึงกิจกรรมหรือเหตุการณ์
  • Product Schema : เนื้อหาที่เกี่ยวกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์
  • How-To Schema : เนื้อหาที่เป็นวิธีทำ
  • Organisation Schema : เนื้อหาที่เกี่ยวกับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง
  • Movie Schema : เนื้อหาที่เกี่ยวกับภาพยนตร์
  • Review Schema : เนื้อหาที่เกี่ยวกับการรีวิวหรือเนื้อหาทั่วไป

 

 ไขข้อสงสัย ทำไม schema Markup ถึงสำคัญ

แม้ว่า schema markup จะไม่ได้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้อันดับของเว็บไซต์ติดอันดับบนหน้า Google ทันที แต่เครื่องมือชนิดนี้ก็มีความสำคัญไม่แพ้กับกลยุทธ์ในการทำ SEO อื่น ๆ ดังนี้

 ประสิทธิภาพการแสดงผลดียิ่งขึ้น

ดังที่กล่าวมาในข้างต้น schema markup ไม่ได้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้อันดับของเว็บไซต์ติดอันดับบนหน้า Google โดยตรงในทันที แต่มีส่วนช่วยในการสร้างความเข้าใจให้กับ Google ซึ่งจะเก็บข้อมูลและแสดงผลให้ตรงกับคำค้นหาของผู้ใช้งาน เช่น ผู้ใช้งานค้นหาคำว่า วิธีทำ SEO ก็จะเจอเว็บไซต์ รับทำ SEO เป็นอันดับต้น ๆ

 ช่วยให้ Google Bot เก็บข้อมูลได้ง่าย

กระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้การทำ SEO ติดอันดับหรือประสบความสำเร็จ อาจจะต้องเริ่มตั้งแต่การเก็บข้อมูลของ Google Bot ในฐานะฝั่งเจ้าของเว็บไซต์จึงจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือที่ช่วยให้ Google Bot รู้ว่าเว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาหรือคีย์เวิร์ดอะไร เข้าใจ และเก็บข้อมูลได้ง่ายอย่าง schema markup 

 เพิ่มอัตรา CTR

CTR หรือ Click Through Rate คือ อัตราการคลิกต่อจำนวนการมองเห็น ซึ่งจะเพิ่มมากขึ้น หากเว็บไซต์มีการติดตั้ง schema markup เนื่องจากเครื่องมือชนิดนี้จะช่วยให้ Google เข้าใจเว็บไซต์ของเรา และแสดงผลตรงกับความค้นหาของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการคลิกได้ในที่สุด

 

 วิธีการติดตั้ง schema markup ในเว็บไซต์

วิธีการติดตั้ง schema markup ในเว็บไซต์

หลังจากที่ได้รู้ถึงความสำคัญของ schema markup แล้ว หลายคนอาจต้องการติดตั้ง schema markup เพื่อเป็นเครื่องมือตัวช่วยของเว็บไซต์ตัวเอง ซึ่งมีวิธีง่าย ๆ ดังนี้

 เลือกรูปแบบ schema markup ที่เหมาะสม

schema markup มีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับเว็บไซต์ของตัวเอง โดยอาจจะเลือกจากเว็บไซต์ทางการของกูเกิล

 ใช้เครื่องมือ structured data markup helper

จากนั้นเลือกใช้เครื่องมือ Google ในการทำ schema markup ให้ง่ายมากยิ่งขึ้นผ่านเว็บไซต์ structured data markup helper พร้อมทั้งกรอกเว็บไซต์ที่จะติดตั้ง schema markup ด้านล่าง

 การสร้าง HTML

ขั้นตอนต่อมาคือ เริ่มการไฮไลต์ตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อเลือกแสดงตามหัวข้อ Structured Data จากนั้นจะกดสร้าง HTML จะสามารถดาวน์โหลดโค้ด และนำไปติดตั้งในเว็บไซต์ได้เลย

 ตรวจสอบ structured data

วิธีการตรวจสอบ structured data ทำได้หลายรูปแบบ โดยสามารถเช็กผ่านเว็บไซต์เครื่องมือตรวจสอบ schema markup ได้ เพื่อตรวจสอบ หากโค้ดที่ได้มามีข้อผิดพลาด

 

อย่างไรก็ดี วิธีการติดตั้ง schema markup มีหลายรูปแบบ และจะต้องอาศัยความชำนาญในระดับหนึ่ง เนื่องจากจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับโค้ด แนะนำให้เลือกทำ schema markup ผ่านผู้รับทำ SEO หรือผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยลดระยะเวลาและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

 

 สรุป

schema markup คือ หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่เป็นกลยุทธ์ช่วยในการทำ SEO แม้ว่าจะไม่ได้ช่วยให้อันดับของเว็บไซต์ติดอันดับบนหน้า Google ในทันทีหรือโดยตรง แต่ก็มีส่วนช่วยให้ Google ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็บไซต์และเนื้อหา เพื่อนำข้อมูลแสดงผลให้ตรงกับการค้นหาของผู้ใช้งานและติดอันดับบนหน้า Google ทั้งนี้ ในการทำ schema markup จะต้องพิจารณาถึงรูปแบบ วัตถุประสงค์ รวมถึงมีการตรวจสอบหลังจากใส่ schema markup เสมอ

 

——————————————————————– 

หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว

 

โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

——————————————————————–

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

Csmemarketing.co.th, developers.google.com

Facebook Comment
บทความที่เกี่ยวข้อง

LSI keywords คืออะไร ทำไมถึงต่างจากคีย์เวิร์ดประเภทอื่นๆ

วันนี้เราจะมาพูดถึงเทรนด์การทำคอนเทนต์ที่จะเข้ามาช่วยยกระดับให้ Google เข้าใจบริบทของเนื้อหาที่เราต้องการทำ SEO ให้ดีมากยิ่งขึ้น กับการทำ LSI keywords ที่เริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมเป็นวงกว้าง โดย LSI keywords คืออะไร ทำไมถึงต่างจากคีย์เวิร์ดประเภทอื่น ๆ เราได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งหมดมาให้คุณแล้วในบทความนี้   LSI keywords คืออะไร?   LSI keywords คือการใช้เทคนิคเลือกคำที่สอดคล้องกับ Main keyword หลัก ที่เราต้องการจะโฟกัสหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาของเรา เพื่อให้ Google เข้าใจในคอนเทนต์ และบริบทที่เราต้องการจะสื่อ ยกตัวอย่างเช่น เราจะทำบทความเกี่ยวข้องกับการเล่นสงกรานต์ เราอาจจะลองหา Keyword Search Related ที่น่าสนใจ เช่น สงกรานต์ สถานที่จัด, สงกรานต์ ทำอะไรบ้าง เป็นต้น ซึ่งการทำ LSI keywords ที่ดี จะช่วยให้คนค้นหาเจอได้ง่าย และยังช่วยให้หน้าเว็บของเราถูกจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ อีกด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งเทคนิคสำคัญที่บริษัทรับทำ SEO […]

Landing Page คืออะไร ช่วยเพิ่มยอดขายได้อย่างไร

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Landing Page กันแล้ว แต่จะมีกี่คนที่รู้ว่า Landing Page คือ อะไร มีส่วนช่วยเพิ่มยอดขายได้อย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนไปเจาะลึกกับประโยชน์ของ Landing Page ในทุกแง่มุมที่คุณอาจไม่เคยรู้   Landing Page คืออะไร Landing Page คือหน้าเว็บไซต์หนึ่งหน้าที่ถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง เช่น เพื่อนำเสนอสินค้าบริการ, เพื่อโฆษณาส่วนลดโปรโมชั่น หรือเพื่อให้ลูกค้ากรอกข้อมูลรับข่าวสาร โดย Landing Page ในแต่ละเว็บไซต์ก็มีหน้าตาและรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป   เพราะอะไร Landing Page จึงจำเป็นต้องมี 1.ช่วยกระตุ้นยอดขาย เนื่องจากในหนึ่งหน้า Landing Page เราสามารถแจ้งโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าซื้อสินค้าได้ทันที ยิ่งหน้าตามีดีไซน์ที่สวยงาม หรือมีความน่าสนใจมากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งช่วยกระตุ้นยอดขายได้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น   2.ช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจ การทำ Landing Page อย่างชาญฉลาดจะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าทำในสิ่งที่ตัวธุรกิจต้องการ เช่น สั่งซื้อสินค้าและบริการ, กรอกข้อมูลเพื่อสมัครสมาชิก หรือ ติดต่อสื่อสารเพื่อพูดคุยกับตัวธุรกิจโดยตรง […]

E commerce คือ อะไร ? พร้อมวิธีทำ SEO ให้กับ E-commerce

ในปัจจุบัน ธุรกิจออนไลน์ ดิจิทัลเอเจนซี่ หรือแม้แต่คนทั่วไป น่าจะคุ้นเคยกับการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์แบบ E-commerce เป็นอย่างดี หากคุณคือเจ้าของธุรกิจที่ต้องการจะเพิ่มยอดขายด้วยกลยุทธ์นี้ E Commerce คือ คำตอบ ซึ่งในบทความนี้ Cotactic รวบรวมความรู้ทุกแง่มุมเกี่ยวกับการทำ Website E-commerce มาให้คุณแล้ว! พร้อมแนะนำเทคนิคทำ E-commerce SEO ฉบับบริษัทรับทำ SEO   E-commerce คืออะไร E-commerce คือ การซื้อ – ขายสินค้าและบริการผ่านออนไลน์ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” เพราะเป็นธุรกรรมการเงินที่ต้องทำผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก โดยทั่วไป E-commerce สามารถปรับใช้ได้กับธุรกิจทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบ B2B (Business to Business) หรือธุรกิจแบบ B2C (Business to Customer)   ทำไม E-commerce จึงสำคัญในยุคปัจจุบัน 1. ต้นทุนในการจัดการและการบริหารที่ต่ำ แค่คุณมีหน้าร้านผ่านทางออนไลน์ ทุกคนก็สามารถดำเนินธุรกิจ […]