November 11, 2022

7 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ (Branding) ให้แข็งแกร่งและเป็นที่จดจำ

Reading Time: 3 minutes

หากคุณคิดจะทำการค้า แน่นอนว่าต้องมี “คู่แข่ง” เพราะแม้สินค้าที่วนเวียนอยู่ในตลาดจะมีจำนวนมากเพียงใด แต่สินค้าหรือบริการที่คุณคิดจะขายย่อมมีโอกาสซ้ำกับใครสักคนอยู่ดี และสิ่งเดียวที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างคุณกับคนอื่นได้ ก็คือ การสร้างแบรนด์ (Branding) นั่นเอง Cotactic จึงรวบรวม 7 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ ที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของธุรกิจทุกท่านมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการเริ่มประกอบธุรกิจให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีต่อไป

การสร้างแบรนด์ (Branding) คืออะไร?

แบรนด์ (Brand) คือ แนวคิดหรืออุดมคติที่แสดงถึงองค์กร ผลิตภัณฑ์ และบริการขององค์กรนั้น โดยสามารถถ่ายทอดพันธกิจและภาพลักษณ์ผ่านชุดข้อความที่กำหนดได้ ส่วนการสร้างแบรนด์ (Branding) คือ การสื่อสารเอกลักษณ์ของแบรนด์ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ จนเกิดเป็นภาพจำให้กับผู้บริโภค และทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นจนเกิด Conversion หรือการตัดสินใจซื้อในที่สุด

 

ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ ของคุณเอง

 

การสร้างแบรนด์ (Branding) มีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร?

“แล้วการสร้างแบรนด์จำเป็นแค่ไหน?” คุณอาจคิดว่าไม่ – เพราะที่สุดแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือยอดขาย แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่ขับเคลื่อนให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อมีเพียงไม่กี่ปัจจัย บ่อยครั้งที่ผู้คนตัดสินใจซื้อเพราะเชื่อมั่นในคุณภาพของแบรนด์ หรือแม้แต่เพียง “เคยได้ยินชื่อเสียง” เท่านั้น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมาจากการปฏิบัติตามขั้นตอนการสร้างแบรนด์ทั้งสิ้น โดยเราสามารถสรุปประโยชน์ของการสร้างแบรนด์ได้ ดังนี้

1. เพิ่มความน่าเชื่อถือ

การมีตัวตนของบริษัท คือสิ่งที่ลูกค้าส่วนมากมองหา ยิ่งบริษัทใดสร้างแบรนด์ได้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักสำหรับคนหมู่มาก ยิ่งทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัย อย่างน้อย ๆ หากพบว่าสินค้าหรือบริการมีปัญหาก็รู้พิกัดที่จะส่งคำร้องเรียนได้ และเพราะเหตุนี้เอง จึงมีลูกค้าที่ยอมจ่ายแพงกว่าในการเลือกซื้อสินค้าที่มีแบรนด์ เพื่อแลกกับความเสี่ยงที่อาจโดนหลอกลวง

2. สร้างฐานลูกค้าประจำ

เมื่อแบรนด์เป็นที่รู้จักระดับหนึ่งแล้ว ผู้คนที่รู้สึกว่าสิ่งที่แบรนด์สื่อสารตรงกับความต้องการของตัวเองก็จะผันตัวมาเป็นลูกค้าประจำ เมื่อมีฐานลูกค้าที่มั่นคง แบรนด์ของคุณก็จะทำการตลาดได้ง่ายกว่าแบรนด์อื่น ๆ และสามารถคาดการณ์แนวโน้มของยอดขายในแต่ละไตรมาสได้

3. กระตุ้นการบอกต่อแบบ “ปากต่อปาก”

ลูกค้าที่ประทับใจในคุณภาพของแบรนด์ ย่อมต้องแนะนำคนใกล้ตัว เช่น เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมงาน และครอบครัว คุณอาจไม่เชื่อ! แต่อานุภาพของวลี “ของดีต้องบอกต่อ” ทรงพลังและทำให้แบรนด์เก่าแก่หลาย ๆ แบรนด์ยังคงดำเนินกิจการมาจนถึงปัจจุบัน

4. ปูทางเพื่อดำเนินธุรกิจในระยะยาว

สำหรับแบรนด์ที่ติดตลาดจนเป็นที่รู้จักแล้ว หนทางข้างหน้าย่อมราบรื่นกว่าผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีชื่อเรียก ยิ่งไปกว่านั้น หากคุณต้องการขายสินค้าใหม่ภายใต้แบรนด์เดิม ก็จะสามารถดำเนินการได้ง่ายขึ้นอีกด้วย เพราะในความรู้สึกของลูกค้า ชื่อของแบรนด์ที่คนรู้จักดีจะการันตีคุณภาพ และน่าเชื่อถือมากกว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ทั่วไป

 

Social media

 

ความสำคัญของ Brand Marketing

โดยสรุปแล้ว การสร้างแบรนด์ (Branding) ก็คือการทำความเข้าใจและสื่อสารออกไปว่า “ตัวตนของคุณคือใคร? และต้องการนำเสนออะไร?” ซึ่งตัวช่วยที่จะทำให้กระบวนการนี้สัมฤทธิ์ผลได้ คือความรู้เรื่อง การตลาดแบรนด์ หรือ Brand Marketing 

Brand Marketing คือ กระบวนการในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภค ผ่านการใช้ช่องทางการตลาดต่าง ๆ เช่น สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ ป้ายโฆษณา (Print Ads) ป้ายบิลบอร์ด หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ ฯลฯ เพื่อสื่อสารสิ่งที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์ และทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงแบรนด์ ซึ่งเป้าหมายที่แท้จริงของกระบวนการนี้ ก็คือการสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์และบริษัทผู้ผลิตนั่นเอง

“Branding is who you are – Marketing is how you build awareness./outbrain”

รู้จักกับ Brand Marketing ให้มากขึ้น >> คลิกที่นี่ <<

ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ ให้เป็นที่จดจำ

 

ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ ให้เป็นที่จดจำสำหรับผู้บริโภค

เพื่อให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จัก และกลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกสำคัญของผู้บริโภค Cotactic ขอนำเสนอ 7 ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ที่คุณสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ ดังนี้

1. ศึกษาคู่แข่งของแบรนด์

“รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” – คำกล่าวนี้ยังคงใช้ได้เสมอและเป็นอนันต์ การทำธุรกิจก็เช่นกัน ก่อนวางแผนเรื่องทิศทางการนำเสนอแบรนด์ อย่าลืมศึกษาทิศทางของคู่แข่งที่ขายสินค้าและบริการประเภทเดียวกันก่อน เพื่อที่คุณจะทราบว่า สิ่งใดควรทำให้คล้าย หรือสิ่งใดควรทำให้แตกต่าง รวมถึงเก็บข้อมูลเรื่องจุดแข็งและจุดอ่อนของแบรนด์คู่แข่ง เพื่อนำมาคิดกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ของคุณเองให้โดดเด่น

2. เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย

ลองสำรวจดูว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร โดยอาจวิเคราะห์จากกลุ่มลูกค้าของธุรกิจที่ขายสินค้าและบริการประเภทเดียวกัน จากนั้นลองทำตารางขึ้นมาเพื่อจัดระเบียบข้อมูล แล้ววิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร อายุเท่าไหร่ อาศัยอยู่ในพื้นที่ไหน และมีวิถีชีวิตอย่างไร เพื่อวิเคราะห์ต่อไปว่าควรวางกลยุทธ์ในการสื่อสารอย่างไร และสื่อสารผ่านช่องทางไหนดี

3. ออกแบบบุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Personality)

ขั้นตอนการสร้างแบรนด์ขั้นต่อไป คือ การออกแบบบุคลิกภาพของแบรนด์ โดยเชื่อมโยงจุดเด่นของสินค้าและบริการ เข้ากับพันธกิจและสิ่งที่แบรนด์อยากจะนำเสนอ เคล็ดลับคือ ให้เปรียบแบรนด์ของคุณเป็นคนหนึ่งคน หากสร้างคนขึ้นมาใหม่ได้หนึ่งคน คุณอยากให้เขามีบุคลิกภาพแบบไหน สุภาพเรียบร้อย อ่อนโยน หรือผาดโผนชอบการผจญภัย และที่สำคัญ คุณอยากให้คนกลุ่มไหนรู้สึกชอบเขา และทำอย่างไรคนกลุ่มนั้นถึงจะเปิดใจให้กับเขาได้ในที่สุด

4. สร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity)

หลังจากกำหนดบุคลิกภาพของแบรนด์แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการทำภาพนั้นให้ประจักษ์ชัด ด้วยการนำเสนอ “อัตลักษณ์ของแบรนด์” ผ่านการออกแบบโลโก้ สี และรูปแบบตัวอักษร เพื่อให้คนจดจำแบรนด์ของคุณ และเรียนรู้ว่าคุณแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร นอกจากนี้ อัตลักษณ์ของแบรนด์ยังสามารถถ่ายทอดผ่านสิ่งอื่น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น น้ำเสียงของบอตหรือแอดมินเวลาโต้ตอบกับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ คอนเทนต์ที่นำเสนอบนช่องทางต่าง ๆ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ เป็นต้น

5. การสื่อสารกับผู้บริโภคโดยใช้ Brand Marketing

เมื่อเตรียมการทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเริ่มสื่อสารกับผู้บริโภค โดยวิเคราะห์จากเพศ วัย และพฤติกรรมการใช้งานของกลุ่มเป้าหมาย ก่อนตัดสินใจว่าจะสื่อสารกับพวกเขาผ่านทางช่องทางไหนได้บ้าง ตัวอย่างเช่น หากกลุ่มเป้าหมายของคุณคือคนอายุ 15 – 30 ปี คุณอาจเลือกทำคอนเทนต์ในหัวข้อที่พวกเขาสนใจ ลงบนสื่อ Social Media หรือเว็บไซต์ แทนการใช้กรอบข่าวในหนังสือพิมพ์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คุณอาจทดลองสร้างแคมเปญหลายแคมเปญขึ้นมา เพื่อทดลองใช้สื่อที่แตกต่างกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย และรอดูตัวเลขทางสถิติว่ากลุ่มเป้าหมายใดเหมาะกับการโปรโมทผ่านช่องทางใด

6. ยืนหยัดในจุดยืนของแบรนด์ (Brand Positioning)

อีกหนึ่งขั้นตอนการสร้างแบรนด์ที่สำคัญ คือ การยืนหยัดในจุดยืนของแบรนด์ เพราะเมื่อลงสู่สนามการตลาดไปสักพัก คุณจะพบกระแสนิยมมากมาย ที่ชักนำให้แต่ละแบรนด์หันเหไปนำเสนอในสิ่งเดียวกัน ดังเช่น การทำคอนเทนต์แบบ Realtime Marketing ที่ได้รับความนิยมมากใน Social Media ซึ่งในบางช่วงเวลา คุณเองก็อาจใช้ประโยชน์จากคอนเทนต์ประเภทนี้ได้ แต่ต้องไม่ลืมเรื่องจุดยืนของแบรนด์ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการสร้างแบรนด์อาหารสไตล์ Luxury ที่ยืนหนึ่งเหนือคู่แข่ง การทำคอนเทนต์อย่างไร้ทิศทาง บ้างก็เกี่ยวกับอาหาร บ้างก็เล่นกับกระแสสังคม แต่ขาดตัวตน ก็มีแนวโน้มว่าคุณจะไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ (Branding) เป็นต้น

7. ตรวจสอบและวัดผลคุณภาพตลอดเวลา

ขั้นตอนสุดท้าย คือ การหมั่นติดตามวัดผลตลอดเวลา เพื่อหาทางปรับปรุงและพัฒนาแนวทางให้สอดรับกับสถานการณ์อยู่เสมอ คุณอาจใช้เครื่องมือวัดผลต่าง ๆ เช่น Meta Business Suite, Google Analytics หรือจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริโภคโดยตรง ไม่ว่าจะตรวจสอบด้วยวิธีใด ขอเพียงมุ่งเน้นความสม่ำเสมอ และการพร้อมปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์เป็นสำคัญ

 

Brand Awareness และกรณีศึกษาเรื่อง ขั้นตอนการสร้างแบรนด์

ผลสัมฤทธิ์ของการสร้างแบรนด์ (Branding) วัดได้จากการที่ผู้บริโภครับรู้ถึงตัวตนของแบรนด์ (Brand Awareness) โดยผู้บริโภคสามารถจดจำโลโก้ของแบรนด์ จำแนกสินค้าที่เกี่ยวข้องและแตกต่างกับแบรนด์ได้ และที่สำคัญ คือความเชื่อมั่นและระลึกถึงแบรนด์ก่อนสินค้าใด ๆ ซึ่งธุรกิจจะสร้าง Brand Awareness สำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์และแผนการตลาดที่คุณใช้ 

 

เพื่อให้คุณเห็นภาพมากขึ้น เราขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาจาก 2 ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้อย่างงดงาม

  • MO-MO-PARADISE

ร้านชาบูสัญชาติญี่ปุ่นชื่อดัง ที่แม้จะมีเมนูให้เลือกน้อยและมีกฎระเบียบในการทานค่อนข้างมาก แต่ก็สามารถสร้างตัวตนจนทำให้ลูกค้าจดจำและเชื่อมั่นในตัวแบรนด์ ผ่านขั้นตอนการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งและศึกษามาเป็นอย่างดี ซึ่งความโดดเด่นในเรื่อง Branding ของ MO-MO-PARADISE มีด้วยกัน 2 ประการใหญ่ ๆ ได้แก่ 

  • การยืนหยัดในจุดยืน (Brand Positioning) – MO-MO-PARADISE ยืนหยัดที่จะนำเสนอวิธีการรับประทานแบบดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด 
  • บุคลิกภาพของแบรนด์ (Brand Personality) – MO-MO-PARADISE นำเสนอแบรนด์ในลักษณะของคนรุ่นใหม่ที่จริงใจ เข้าถึงง่าย และค่อนข้างตามทันกระแสสังคม โดยนำเสนอคอนเทนต์เสพง่าย พ่วงวลีเด็ดที่ฮิตติด Social Media เอาใจคนรุ่นใหม่ 

 

MO-MO-PARADISE การยืนหยัดในจุดยืน

บุคลิกภาพของแบรนด์ momo paradise

 

  • STARBUCKS

อีกหนึ่งแบรนด์ที่โดดเด่นอย่างเห็นได้ชัด คือ STARBUCKS แบรนด์ร้านกาแฟสัญชาติระดับโลก ที่ครองตลาดคาเฟ่ในไทยมานานกว่า 20 ปี ด้วยปรัชญาการสร้างแบรนด์ที่ปูแนวทางให้กับคาเฟ่เปิดใหม่ทั่วโลก “We’re in the people business serving coffee, not the coffee business serving people.”

ไม่เพียงโดดเด่นเรื่องจุดยืนของแบรนด์ (Brand Positioning) ที่มุ่งเน้นการเป็นร้านกาแฟที่ขายประสบการณ์และบรรยากาศไปพร้อม ๆ กับกาแฟคุณภาพเท่านั้น STARBUCKS ยังใช้กลยุทธ์ Brand Storytelling เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวเบื้องหลังของแบรนด์ ให้ผู้บริโภคมีอารมณ์ร่วม และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์อีกด้วย

 

STARBUCKS ใช้กลยุทธ์ Brand Storytelling

 

ที่มา: 1000 logos

 

เพื่อให้แบรนด์ของคุณก้าวสู่เส้นชัย คุณอาจปรับเปลี่ยนขั้นตอนการสร้างแบรนด์เล็กน้อย เพื่อให้เข้ากับธุรกิจของคุณโดยเฉพาะได้ เพราะสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญมากที่สุด คือคุรภาพของสินค้า และความจริงใจที่มีต่อผู้บริโภค เพื่อให้แบรนด์ของคุณคงอยู่ในใจของพวกเขาเรื่อยไป แม้จะมีสินค้าประเภทเดียวกันมาเป็นคู่แข่งทางการตลาดมากเพียงใดก็ตาม


หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

Reading Time: 3 minutes

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว

โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

——————————————————————–

ขอบคุณข้อมูลจาก:

 

 

Facebook Comment
บทความที่เกี่ยวข้อง

PBN คืออะไร จำเป็นต้องทำไหม และส่งผลดีอย่างไรบ้าง ?

Reading Time: 2 minutes การทำ SEO ถือเป็นกลยุทธ์ขั้นพื้นฐานของการทำการตลาดในยุคดิจิทัล ที่จะช่วยดันเว็บไซต์ของตัวธุรกิจให้ขึ้นไปติดอันดับต้น ๆ บนหน้าค้นหาของ Google ส่งผลให้ลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายมีโอกาสเจอเว็บไซต์หรือรู้จักธุรกิจของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งหนึ่งในเทคนิคยอดนิยมที่บริษัทรับทำ SEO ทั่วโลกต่างเลือกใช้คงหนีไม่พ้นการทำ PBN หรือ Private Blog Network ที่จะช่วยให้การทำ SEO มีประสิทธิภาพและได้ผลดีมากยิ่งขึ้น วันนี้ Cotactic จึงอยากพาผู้ประกอบการทุกท่านไปรู้จักกับ PBN กันครับว่ามันคืออะไร จำเป็นต้องทำไหม และส่งผลดีอย่างไรบ้าง   PBN คืออะไร Private Blog Network หรือ PBN คือ เครือข่ายบล็อกส่วนตัวที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำ Backlink (Off page) ให้กับเว็บไซต์หลักที่เราต้องการโดยเฉพาะ อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาอีกหนึ่งเว็บ จากนั้นก็ทำ Backlink ย้อนกลับไปยังหน้าเพจที่เราต้องการ เพื่อส่งค่าคะแนนความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์หลักของตัวธุรกิจ เพราะยิ่งเราได้ Backlink ที่มาจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องมากเท่าไหร่ ตัว Google ก็จะมองว่าเว็บไซต์หลักของเรามีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือมากเท่านั้น ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การทำ SEO […]

รู้จัก 9 เครื่องมือ SEO คุณภาพที่เอเจนซี่ชั้นนำเลือกใช้

Reading Time: 3 minutes อย่างที่ทราบกันดีว่าการทำ SEO จำเป็นต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ที่มากพอ ถึงจะสามารถทำให้ตัวเว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าค้นหาของ Google ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่นอกจากความรู้และประสบการณ์ที่เราต้องมีแล้ว การเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เราต้องให้ความสำคัญและไม่ควรมองข้าม วันนี้ Cotactic จึงอยากจะมาแนะนำ 9 เครื่องมือ SEO คุณภาพที่นักการตลาดและบริษัทรับทำ SEO ทั่วโลกต่างเลือกใช้   1. Google Search Console เครื่องมือ SEO ที่ได้รับความนิยมจากนักการตลาดออนไลน์ทั่วโลก มันเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราตรวจสอบคุณภาพและหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ได้อย่างละเอียด ทำให้เราสามารถติดตามผลลัพธ์และดูรายงานการเข้าชมเว็บไซต์แบบ Organic ได้ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้คนทำ SEO สามารถปรับปรุงเว็บไซต์และวางกลยุทธ์ในการทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งตัวเครื่องมือยังเปิดให้ใช้งานได้ฟรีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ   เริ่มต้นใช้งานได้ที่นี่ Google Search Console   2. Google Analytics Google Analytics คือเครื่องมือ SEO ที่ใช้ในการวิเคราะห์และเก็บสถิติต่าง ๆ ของตัวเว็บไซต์ ว่าคนที่กดคลิกเข้ามานั้นเป็นใคร เพศอะไร อายุเท่าไหร่ เข้ามาผ่านช่องทางไหน […]

404 not found คืออะไร ? ส่งผลแค่ไหนกับการทำ SEO

Reading Time: 3 minutes เชื่อว่าสำหรับผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือท่องเว็บไซต์เป็นประจำแล้ว ต้องเคยประสบปัญหาพบเจอหน้าเพจ 404 not found มาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งมันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหานี้สร้างความน่ารำคาญใจให้กับผู้ใช้งานมากมายขนาดไหน ดังนั้นถ้าหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง การสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดีให้กับลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม เราจึงควรหมั่นปรับปรุงและดูแลเว็บไซต์อยู่ตลอด เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาน่าปวดหัวนี้เกิดขึ้นครับ   วันนี้ Cotactic จึงอยากพาเจ้าของธุรกิจทุกท่านไปรู้จักกับปัญหา 404 not found กันว่ามันคืออะไร เกิดจากอะไร และทำไมเอเจนซี่ที่รับทำ SEO ถึงให้ความสำคัญ   404 not found คืออะไร ? เกิดจากอะไร ? 404 not found คือ หน้าเพจที่แสดงผลผิดพลาดจากการที่ Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูลแล้วไม่พบ URL ของหน้าเว็บไซต์ หรือไม่พบข้อมูลที่อยู่บน Server ของเว็บไซต์ จึงแสดงผลให้ผู้ใช้งานได้รู้ว่าหน้าเพจนี้ไม่มีอยู่ ลิงก์อาจเสียหรือหน้าเพจมีปัญหา ซึ่งสาเหตุของการเกิด 404 not found นั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายกรณีด้วยกัน เช่น  เปลี่ยนชื่อ […]

Reading Time: 3 minutes

Reading Time: 3 minutes