Engagement คำนี้มีความหมายอย่างไร Engagement คืออะไร ทำไมนักเจ้าของธุรกิจจึงต้องให้ความสนใจ และมีเทคนิคให้กลุ่มเป้าหมายหันมาสนใจได้ยังไง Topic ทาง Cotactic บริษัทรับทำ SEO และการตลาดออนไลน์ครบวงจร ได้รวบรวมข้อมูลมาไว้ให้หมดแล้ว
Engagement คืออะไร?
Engagement คือ การมีส่วนร่วมโต้ตอบของผู้ที่เห็นโพสต์บนออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น ผู้เห็นโพสต์ทั่วไปที่เลื่อนฟีดเห็นโพสต์ กลุ่มเป้าหมายที่กดติดตามได้เห็นโพสต์กิจกรรมที่ผู้โพสต์หรือเจ้าของแบรนด์สินค้าได้โพสต์สินค้าหรือทำการโฆษณาลงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ช่องทางต่าง ๆ
การมีส่วนร่วมจะมี 2 แบบด้วยกัน
- การมีส่วนร่วมที่เป็นผลดีต่อกิจกรรม เช่น การกดไลก์ คอมเมนต์ กดแชร์ กดปุ่มอิโมจิแสดงอารมณ์ต่างๆ
- การมีส่วนร่วมที่เป็นผลเสียต่อกิจกรรม เช่น การสแปมแอ็กเคานต์ของผู้โพสต์ รีพอร์ทโพสต์ รายงานปัญหา
การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายในออนไลน์จะมีหลายแพลตฟอร์มด้วยกัน เช่น
- Facebook เป็นแพลตฟอร์มช่องทางหนึ่งที่ผู้เล่นเยอะมากที่สุด ผู้โพสต์นิยมโพสต์รูปภาพ เขียนแคปชัน มีฟีเจอร์ที่หลากหลาย ใช้งานง่าย เทรนด์ใหม่ที่นิยมคือการลงReelsสั้นๆบนแพลตฟอร์ม
- Instagram / IG แพลตฟอร์มที่นิยมในวัยรุ่น วัยทำงาน นิยมโพสต์รูปภาพใส่แคปชันสั้นๆ กระชับ เข้าใจง่าย เป็นช่องทางที่ใส่ใจการแต่งรูปภาพให้มีความโดดเด่น สวยงาม สะดุดตา
- Twitter เป็นแพลตฟอร์มที่ผู้โพสต์เน้นการพิมพ์คำพูด แสดงความคิดเห็นเป็นส่วนมาก มีข้อจำกัดการใช้ตัวอักษรห้ามเกินตามกำหนด การพิมพ์ข้อความบนแพลตฟอร์ม เรียกกันว่า ทวิต หากมีการแชร์ข้อความออกไป จะมีชื่อเรียกที่เฉพาะ คือคำว่า รีทวิต
Engagement Marketing ส่งผลต่อธุรกิจอย่างไร
Engagement Marketing เป็นกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ที่ผู้ลงโฆษณาหรือเจ้าของแบรนด์ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าหรือแบรนด์ให้กลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ที่ได้เห็นครั้งแรก แล้วเกิดความสนใจต่อคอนเทนต์โฆษณาที่ลงบนแพลตฟอร์ม เกิดการมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความรู้สึกบนโพสต์ของผู้โพสต์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์จนเกิดการแชร์ต่อ ๆ ให้กลุ่มเป้าหมายอื่นๆเห็นเป็นวงกว้าง
ประเภทของ Engagement
ประเภทของ Engagement คือการอิงจากพฤติกรรมการแสดงออกของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้เลื่อนผ่านฟีดโพสต์คอนเทนต์/โฆษณา แล้วมีส่วนร่วมต่อกิจกรรม ซึ่งจะแบ่งออกเป็นหลายประเภท
Like / Reaction
ฟีเจอร์หนึ่งที่หากชื่นชอบหรือถูกใจ ผู้พบเห็นโพสต์จะแตะที่ปุ่มนิ้วโป้งด้านล่างโพสต์ เรียกว่า การกดไลก์ นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ที่เป็นอิโมจิแทนการแสดงอารมณ์ของผู้พบเห็นโพสต์ ซึ่งจะมีหลากหลายอารมณ์ด้วยกัน
การที่ผู้พบเห็นโพสต์กดไลก์ เป็นการแสดงความรู้สึกชอบ ถูกใจและมีความรู้สึกต่างๆตอบกลับต่อผู้โพสต์
- Like (ถูกใจ)
- Love (รัก)
- Haha (หัวเราะ)
- Care (ห่วงใย)
- Sad (เศร้า)
- Angry (โกรธ)
- Wow (ตกใจ)
Comments
การพิมพ์ข้อความตัวอักษรตอบกลับต่อผู้โพสต์ ว่ามีความรู้สึกอย่างไร เป็นการพูดคุยอีกช่องทางหนึ่ง ที่ทำให้ผู้โพสต์เข้าใจได้ว่ากลุ่มเป้าหมายมีความคิดเห็นอย่างไรต่อโพสต์ นอกจากพิมพ์ตัวอักษร ยังมีการใส่ GIF หรือ Sticker แทนการพิมพ์ข้อความอีกด้วย
Shares
การที่ผู้พบเห็นโพสต์รู้สึกชื่นชอบจนอยากแชร์ต่อให้ผู้ติดตามคนอื่น ๆ ในแพลตฟอร์มได้เห็นโพสต์นี้เหมือนกัน เป็นผลดีที่สุดต่อกิจการ ซึ่งเป็นการขยายการมองเห็นโพสต์ไปได้อย่างกว้างขวาง
Click Throughs Rate (CTR)
ตัวชี้วัดการคลิกรับชมโฆษณา หารด้วยจำนวนครั้งที่ปรากฏโฆษณา หากคีย์เวิร์ดหรือคอนเทนต์ที่โพสต์โฆษณาน่าสนใจ หรือในกรณีที่มีผู้พบเห็นโฆษณาและมีการคลิกรับชมโฆษณานั้นทันที เป็นผลชี้วัดค่าความน่าสนใจของคอนเทนต์ว่าผู้โพสต์สร้างความสนใจได้มากน้อยเพียงใด
กลยุทธ์การสร้าง Engagement
นอกจากการทำคอนเทนต์หรือโพสต์สื่อโฆษณาที่ดี หากไม่ตรงต่อความต้องการกับกลุ่มเป้าหมาย ไม่ได้รับความสนใจต่อผู้เห็นโพสต์ การลงทุนก็เท่ากับศูนย์ การใช้กลยุทธ์การสร้าง Engagement เข้ามาช่วยจะเป็นการวางแนวทางการสร้างคอนเทนต์ให้ตรงต่อกลุ่มเป้าหมายได้ถูกจุด วางแผนเป็นขั้นตอน ผู้โพสต์จะกลุ่มทราบเป้าหมายการทำคอนเทนต์ได้อย่างชัดเจน
วิเคราะห์ความต้องการลูกค้าผ่าน Buyer Persona
การจำลองสร้างกลุ่มเป้าหมายสมมติมาจากความคิดของผู้โพสต์ ว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร มีพฤติกรรมการเสพสื่อแบบไหน มีความต้องการต่อแบรนด์อย่างไร เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการ ความชื่นชอบประเภทของคอนเทนต์ ซึ่งจะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยทางการตลาด มาทำการจำลองก่อนการหากลุ่มเป้าหมายจริง
กำหนดภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Voice)
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือความต้องการของเจ้าของแบรนด์เอง ว่ามีความต้องการให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ออกมาในลักษณะแบบใด เมื่อกำหนดความต้องการได้นั้น การวางภาพลักษณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ต้องกำหนดภาพลักษณ์ของแบรนด์ไปตลอดและสร้างคอนเทนต์ที่ไปในทิศทางเดียวกัน
วางแผนสร้างคอนเทนต์
เมื่อผู้โพสต์กำหนดทิศทางภาพลักษณ์ของแบรนด์ จึงเริ่มเริ่มวางแนวทางการกำหนดคอนเทนต์ ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย อย่างเช่น กลุ่มเป้าหมาย เป็นวัยเด็ก การสร้างคอนเทนต์ควรไปในแนวทางที่สดใส เข้าใจง่าย ให้ความบันเทิง มีดนตรีเข้ามาช่วยให้ไม่น่าเบื่อ
กำหนดเวลาเผยแพร่คอนเทนต์ (Content Calendar)
การเลือกช่วงเวลาเป็นส่วนสำคัญที่ให้มีผู้พบเห็นโพสต์ได้เป็นจำนวนมากที่สุด การเลือกช่วงเวลาที่ดีที่สุด ควรเลือกช่วงเวลาที่กลุ่มเป้าหมายมีเวลาว่าง มีเวลาออนไลน์ตรงกันเป็นจำนวนมาก
พัฒนา/ปรับปรุงคอนเทนต์
เมื่อทำการเผยแพร่คอนเทนต์/โฆษณาแล้ว ควรนำ Engagement ที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อดูว่าประเภทของคอนเทนต์ไหนที่ดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มากที่สุด เมื่อเข้าใจ Engagement แล้ว ก็นำข้อมูลมาเป็นแนวทางในการพัฒนาครั้งต่อไป
สรุปแล้ว Engagement คือ การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายบนออนไลน์ที่ตอบโต้ในโพสต์ของผู้ลงโพสต์หรือเจ้าของแบรนด์ที่โพสต์ลงโฆษณา Engagement Marketing จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญของนักขายออนไลน์ การสร้างคอนเทนต์ที่ดีเหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นการสร้างกระแสความน่าสนใจให้กับโพสต์ เมื่อผู้ใช้แพลตฟอร์มต่างๆ ได้พบเห็นโพสต์เกิดความสนใจและอยากมีส่วนร่วมกับกิจกรรม Engagement เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือของแบรนด์บนออนไลน์ เมื่อมี Engagement ที่ดี ภาพลักษณ์ของแบรนด์จะมีน่าสนใจที่ดีมากขึ้น
หากคุณต้องการที่ปรึกษาการรับทำเว็บไซต์ WordPress หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
“Engagement” มันคืออะไร? มีประโยชน์ต่อธุรกิจออนไลน์เราจริงไหม?