click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

ต้องการที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญในการรับทำเว็บไซต์ WordPress คลิกที่นี่

สำหรับใครที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง WordPress น่าจะเป็นตัวเลือกที่หลายคนคุ้นเคย ด้วยความนิยมที่แพร่หลายไปทั่วโลก อีกทั้งยังมีปลั๊กอินและธีมให้เลือกใช้งานเป็นจำนวนมาก ทำให้เว็บไซต์มีความยืดหยุ่น และตอบโจทย์การใช้งานสำหรับผู้เริ่มต้น แต่หลายคนอาจมีคำถามว่า “WordPress ใช้ยากไหม?” หรือ “ต้องมีความรู้ด้านไอทีหรือเปล่า?” ในบทความนี้ เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักวิธีใช้ WordPress ตั้งแต่ส่วนประกอบต่าง ๆ ภายใน WordPress การใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ รวมไปถึงเทคนิคในการดูแลเว็บไซต์ของคุณให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

ทำความรู้จักกับ WordPress แบบสรุปสั้น ๆ

WordPress-Log

WordPress คือ แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย ใช้งานง่าย และปรับแต่งได้ ทำให้ใคร ๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง โดยในปัจจุบันมีเว็บไซต์มากกว่า 45.8% ที่สร้างด้วย WordPress

WordPress มีให้เลือกใช้งาน 2 ประเภท ได้แก่

  • WordPress.org เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่เปิดให้ทุกคนดาวน์โหลดและปรับแต่งได้ตามต้องการ เหมาะสำหรับเว็บไซต์ธุรกิจที่ต้องการความน่าเชื่อถือและต้องการเป็นเจ้าของเว็บไซต์อย่างสมบูรณ์
  • WordPress.com เป็นบริการสร้างเว็บไซต์แบบเช่าเหมาจ่าย ใช้งานง่าย ไม่ต้องมีความรู้ด้านเทคนิค เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเว็บบล็อกหรือ Portfolio แบบรวดเร็ว

โดยในบทความนี้เราจะแนะนำพื้นฐานวิธีใช้ WordPress ในส่วนของ WordPress.org เป็นหลัก แต่คุณสามารถนำเทคนิคในบทความนี้ไปประยุกต์ใช้กับ WordPress.com ได้เช่นกัน

 

ส่วนประกอบของ WordPress

เว็บ WordPress นั้นจะมีทั้งส่วนของหน้าบ้าน (Front End) และหลังบ้าน (Back End) โดยในส่วนของหน้า Front End คือส่วนของหน้าเว็บที่ใช้แสดงผลปกติ และส่วน Back End หรือส่วนของ Dashboard ซึ่งเปรียบเสมือนระบบหลังบ้านของเว็บไซต์ ประกอบด้วยเมนูหลัก 3 ส่วน คือ

Dashboard และส่วนแสดงผลหลัก

แดชบอร์ด WordPress คือหน้าหลักที่รวมทางลัดไปยังฟีเจอร์ที่จำเป็นสำหรับการจัดการเว็บไซต์ เช่น การเขียนบทความ การตั้งค่าหน้า Home Page การจัดการธีม วิตเจ็ต และเมนู เป็นต้น โดยสามารถเลือกเปิด-ปิดส่วนต่าง ๆ ในแดชบอร์ดได้ผ่านตัวเลือก Screen Options เพื่อปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานของคุณ

WordPress Admin Menu

แถบด้านซ้ายมือของ WordPress เป็นแถบเครื่องมือหลักที่รวบรวมเครื่องมือในการสร้างและจัดการเว็บไซต์ทั้งหมด ประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

  • Dashboard : หน้าควบคุมหลักของ WordPress แสดงภาพรวมของเว็บไซต์และข้อมูลการใช้งาน
  • Posts : จัดการบทความและหน้าเพจในเว็บไซต์
  • Media : จัดการรูปภาพและไฟล์ต่าง ๆ ที่อัปโหลดไปยังเว็บไซต์
  • Pages : สร้างหน้าเพจในเว็บไซต์
  • Comments : จัดการความคิดเห็นจากผู้ใช้
  • Appearance : ปรับแต่งหน้าตาเว็บไซต์ เช่น ธีม Widgets เมนู
  • Plugins : เพิ่มฟีเจอร์และฟังก์ชันให้กับเว็บไซต์
  • Users : จัดการผู้ใช้ในระบบ
  • Tools : เครื่องมือต่าง ๆ เช่น การ Import / Export ข้อมูล
  • Settings : ตั้งค่าพื้นฐานของเว็บไซต์

WordPress Toolbar

แถบด้านบนของ WordPress เป็นทางลัดสำหรับการจัดการเว็บไซต์และดูการแจ้งเตือน ประกอบด้วยปุ่มหลัก ๆ ดังนี้

  • โลโก้ WordPress : ไปยังเว็บไซต์ WordPress.org
  • รูป Home + ชื่อเว็บไซต์ : ไปยังหน้าเว็บไซต์หลัก
  • สัญลักษณ์บอลลูน : ไปยังหน้าความคิดเห็น
  • สัญลักษณ์ + New : เพิ่มโพสต์ สื่อ หรือหน้าใหม่
  • ชื่อและรูปโปรไฟล์ : ไปยังหน้าการตั้งค่า

นอกจากนี้ หากติดตั้งปลั๊กอินหรือธีมบางตัวเอาไว้ ก็จะมีชื่อหรือสัญลักษณ์ของส่วนขยายนั้น ๆ อยู่บน Toolbar ด้วย ช่วยให้สามารถเข้าไปปรับแต่งหรือแก้ไขส่วนต่าง ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

1. ดาวน์โหลดและติดตั้ง WordPress

วิธีใช้ WordPress

เมื่อสร้างเว็บไซต์ของตัวเองเรียบร้อยแล้ว (หากยังไม่มีเว็บไซต์ คลิกที่นี่ เพื่ออ่านขั้นตอนสร้างเว็บไซต์ WordPress ด้วยตัวเอง) ขั้นตอนแรกก่อนที่เราจะเริ่มใช้ WordPress คือการดาวน์โหลดโปรแกรมผ่าน WordPress.org และอัปโหลดไฟล์ WordPress ขึ้นไปยังเซิร์ฟเวอร์ ผ่านระบบจัดการ Control Panel Hosting ของเราโดยตรง หรือผ่านโปรแกรม FTP และ Extract File ลงบนเซิร์ฟเวอร์ หลังจากนั้นให้สร้าง MySQL Database เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ เมื่อสร้าง Database เรียบร้อยแล้วให้เข้าเว็บไซต์และติดตั้ง WordPress ให้เรียบร้อยก็เป็นอันเสร็จสิ้น

 

2. ตั้งค่าเว็บไซต์ WordPress ที่จำเป็น

วิธีใช้ WordPress

หลังจากติดตั้งและล็อกอินเข้า WordPress เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาการปรับแต่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณสามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง และใช้งานได้อย่างราบรื่น โดยส่วนสำคัญในเว็บไซต์ที่ควรต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ได้แก่

ตั้งค่า Site Identity

  • หัวข้อเว็บ (Site Title) : คือชื่อของเว็บไซต์ของคุณ ควรเป็นชื่อที่สั้น กระชับ และสื่อถึงเนื้อหาของเว็บไซต์
  • คำโปรย (Tagline) : คือคำอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับเว็บไซต์ของคุณ ควรเป็นคำที่สื่อถึงจุดเด่นหรือจุดแข็งของเว็บไซต์
  • Site Icon : คือไอคอนที่แสดงที่มุมแท็บเบราว์เซอร์ ควรเป็นไอคอนที่สื่อถึงเนื้อหาของเว็บไซต์
  • Logo : คือโลโก้ของเว็บไซต์ของคุณ ควรเป็นโลโก้ที่มีเอกลักษณ์และจดจำได้ง่าย

ตั้งค่า General 

  • Site Title : ชื่อเว็บไซต์
  • Tagline : คำโปรย
  • WordPress Address URL : รูปแบบ URL ที่แสดง
  • Administration Email Address : อีเมลที่ใช้งานจริงของผู้ดูแลเว็บไซต์
  • Site Language : ภาษาของเว็บไซต์
  • Timezone : โซนเวลา (อิงจากประเทศที่ใช้งาน)

ตั้งค่า Reading

  • Your homepage displays : หน้าเว็บที่จะแสดงเป็นโฮมเพจ โดยสามารถเลือกได้ระหว่างหน้าที่อัปเดตล่าสุด หรือหน้าเว็บที่เฉพาะเจาะจง
  • Search Engine Visibility : เป็นการตั้งค่าที่ระบุว่าต้องการให้เว็บไซต์ได้รับการจัดอันดับในผลการค้นหาของ Google หากติ๊กถูกจะเป็นบล็อกไม่ให้ Google เข้ามาเก็บข้อมูลและจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณ (แนะนำให้เว้นว่างไว้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถติดอันดับ SEO ได้)

ตั้งค่า Permalinks

Permalinks หรือ ลิงก์ถาวร เป็นรูปแบบของ URL ที่จะแสดงอยู่บนช่องค้นหาของเบราว์เซอร์ ซึ่งใน WordPress จะมีรูปแบบให้เลือกทั้งหมด 6 แบบ ได้แก่

  • Plain : แสดงผลเป็น Post ID ของโพสต์นั้น ๆ
  • Day and name : แสดงเป็น ปี/เดือน/วันที่ ตามด้วยชื่อบทความ
  • Month and name : แสดงเป็น ปี/เดือน ตามด้วยชื่อบทความ
  • Numeric : แสดงเป็น ID ของโพสต์โดยมี /archives/ คั่น
  • Post name : แสดงเป็นชื่อบทความ **เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมที่สุดเนื่องจากเป็นมิตรกับผู้ใช้งานและยังส่งผลดีต่อการจัดอันดับ SEO อีกด้วย**
  • Custom Structure : เป็นการกำหนด URL เอง เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีระบบและเนื้อหาที่ค่อนข้างซับซ้อน

 

3. ปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ด้วย WordPress Theme

วิธีใช้ WordPress

หลังจากที่ตั้งค่าหน้าเว็บพื้นฐานเรียบร้อยแล้ว วิธีใช้ WordPress ในส่วนต่อไปก็คือการตั้งค่าธีม (Theme) หรือหน้าตาของเว็บไซต์ ซึ่งแต่ละธีมจะมีสีสันและหน้าตาที่แตกต่างกันออกไป แต่จะมีส่วนประกอบหลัก ๆ ที่เหมือนกัน ดังนี้

  • ส่วนหัว (Header) เป็นส่วนที่จะปรากฏอยู่ด้านบนของเว็บไซต์ โดยปกติจะประกอบด้วยโลโก้ ชื่อเว็บไซต์ และเมนูหลัก
  • ส่วนเนื้อหา (Content) เป็นส่วนที่จะแสดงเนื้อหาหลักของเว็บไซต์ เช่น บทความ รูปภาพ หรือวิดีโอ
  • ส่วนท้าย (Footer) เป็นส่วนที่จะปรากฏอยู่ด้านล่างของเว็บไซต์ โดยปกติจะประกอบด้วยข้อมูลติดต่อ ลิงก์ไปยังหน้าต่าง ๆ และลิงก์ไปยังโซเชียลมีเดีย

สำหรับธีมใน WordPress นั้นจะมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบฟรี ที่สามารถดาวน์โหลดได้จากหน้าของ WordPress โดยตรง โดยเข้าไปที่เมนู Appearance > Themes >  Add New Theme หลังจากนั้นให้เลือกธีมที่ต้องการ คลิก Preview เพื่อดูตัวอย่าง และคลิก Install เพื่อติดตั้ง ก็สามารถใช้งานได้ทันที หรือสามารถเลือกซื้อธีมที่มีฟีเจอร์หรือหน้าตาที่สวยงามยิ่งขึ้นผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น ThemeForest หรือ Creative Market ก็ได้เช่นกัน

 

4. ปรับแต่งส่วนประกอบต่าง ๆ ในเว็บไซต์ด้วย WordPress Plugin

วิธีใช้ WordPress

การติดตั้งปลั๊กอิน (Plugin) หรือส่วนเสริม เป็นอีกวิธีหนึ่งในการทำให้เว็บไซต์ WordPress ของเรามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปลั๊กอินเหล่านี้สามารถเพิ่มฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้กับเว็บไซต์ของเราได้ตามต้องการ เช่น ร้านค้าออนไลน์ การรักษาความปลอดภัย หรือการทำ SEO เป็นต้น ปลั๊กอินบางตัวสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจาก WordPress ในขณะที่บางตัวเป็นปลั๊กอินพรีเมียมที่จำเป็นต้องสมัครใช้งานผ่านเว็บไซต์ของผู้ให้บริการโดยตรง

วิธีติดตั้ง WordPress Plugin

  • คลิกที่เมนู Plugins > Add New
  • ค้นหาปลั๊กอินที่ต้องการในช่อง Search
  • เมื่อเจอปลั๊กอินที่ต้องการแล้ว ให้คลิก Install Now
  • เมื่อติดตั้งเรียบร้อย ให้คลิก Activate เพื่อเริ่มใช้งาน

เราสามารถตรวจสอบปลั๊กอินที่ติดตั้งแล้วทั้งหมดได้ที่เมนู Plugins > Installed Plugins หากปลั๊กอินมีการอัปเดต จะมีการแจ้งเตือนขึ้นมาในหน้านี้ หากต้องการอัปเดต ให้กด Update Now ที่ปลั๊กอินตัวนั้น หรือหากต้องการลบปลั๊กอินที่ไม่ใช้แล้ว ให้กด Deactivate ที่ปลั๊กอินเพื่อปิดใช้งาน จากนั้นกด Delete เพื่อถอนการติดตั้ง

อ่านเพิ่มเติม: รวม 10 WordPress Plugin ฟรีและดี! ที่ควรมีติดเว็บไซต์ (2023)

 

5. สร้างเนื้อหา – เขียนบทความเพื่อลงในเว็บไซต์

วิธีใช้ WordPress

อีกหนึ่งวิธีใช้ WordPress ให้มีประสิทธิภาพสำหรับการทำ SEO คือการสร้างเนื้อหาในแต่ละส่วนของเว็บไซต์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยใน WordPress เราสามารถสร้างเนื้อหาได้ 2 ประเภท คือ Page (หน้า) และ Post (บทความ)

Pages (หน้า)

Pages คือหน้าเว็บไซต์ที่แยกเนื้อหาออกจากเพจหรือบทความอื่น ๆ โดยตรง เหมาะกับข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องอัปเดตบ่อย ๆ เช่น หน้า About Us, Contact เป็นต้น สามารถสร้างได้โดยไปที่เมนู Pages > Add New

โครงสร้างของ Pages
  • Page title : ชื่อของหน้าเพจที่ต้องการสร้าง เช่น Home, About, Contact
  • Body : ส่วนเนื้อหาของหน้าเว็บไซต์
  • Status & visibility : ตั้งค่าการมองเห็นหน้าเว็บไซต์และการตั้งเวลาเผยแพร่อัตโนมัติ
  • Permalink : ชื่อ URL ของหน้าเพจนั้น ๆ
  • Featured images : ภาพหน้าปกของบทความ

Posts (โพสต์)

Posts คือ บทความที่สามารถจัดหมวดหมู่ ติดแท็ก และเชื่อมโยงไปยังหน้าเพจอื่น ๆ ในเว็บไซต์ได้ เหมาะกับหน้าเพจที่ต้องอัปเดตข้อมูลเป็นประจำ เช่น หน้าแรก หรือหน้าประชาสัมพันธ์ สามารถเพิ่มบทความได้โดยไปที่เมนู Posts > Add New

โครงสร้างของ Posts
  • Title : ชื่อของบทความ
  • Body : ส่วนเนื้อหาของบทความ
  • Status & visibility : ตั้งค่าการมองเห็นบทความและการตั้งเวลาเผยแพร่อัตโนมัติ
  • Categories : หมวดหมู่ของบทความ
  • Tags : แท็กของบทความ
  • Permalinks : ชื่อ URL ของบทความนั้น ๆ
  • Featured images : ภาพหน้าปกของบทความ
  • Excerpt : ส่วนเกริ่นนำของบทความ

วิธีสร้าง Categories และ Tags ใน WordPress

Categories และ Tags เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดระเบียบบทความบนเว็บไซต์ WordPress ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาบทความที่ต้องการได้ง่ายขึ้น โดย Categories เป็นหมวดหมู่ที่ใช้จัดระเบียบบทความให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ส่วน Tags เป็นคำสำคัญที่ใช้เน้นเนื้อหาของบทความ

ซึ่งในหนึ่งบทความสามารถมี Categories และ Tags ได้มากกว่า 1 ตัว แต่ไม่ควรใส่ให้มากเกินความจำเป็นเพราะอาจส่งผลเสียสำหรับการจัดการหน้าเว็บไซต์และการทำ SEO

วิธีสร้าง Categories
  • ไปที่เมนู Posts > Categories
  • ใส่ข้อมูลของ Categories ดังนี้
    • ชื่อ Categories ในช่อง Name
    • Slug ในช่อง Slug
    • หมวดหมู่หลักในช่อง Parent Category (เลือกได้หากต้องการสร้างหมวดหมู่ย่อย)
    • คำอธิบายในช่อง Description
  • เมื่อเสร็จเรียบร้อย ให้คลิก Add New Category
วิธีสร้าง Tags
  • ไปที่เมนู Posts > Tags
  • ใส่ข้อมูลของ Categories ดังนี้
    • ชื่อ Tags ในช่อง Name
    • Slug ในช่อง Slug
  • เมื่อเสร็จเรียบร้อย ให้คลิก Add New Tag

 

6. สร้างและจัดการเมนู (Menu) เพื่อเชื่อมโยงไปยังหน้าอื่น ๆ

วิธีใช้ WordPress

เมนู (Menu) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ WordPress ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยเมนูจะทำหน้าที่ในการนำผู้ใช้งานไปยังส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ และแบ่งแต่ละส่วนในเว็บไซต์ออกเป็นหมวดหมู่

วิธีการสร้างเมนูบน WordPress

  • ไปที่ Appearance > Menu > ตั้งชื่อเมนู > คลิก Create Menu
  • เลือกหน้า Page หรือ Category ที่ต้องการให้แสดงผลในเมนู และคลิก Add to Menu
  • จัดการปรับแต่งอันดับการแสดงผล หรือเพิ่ม Sub menu โดยคลิกและลากหัวข้อนั้น ๆ ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
  • หากต้องการแก้ไข Navigation Label (ป้ายชื่อเมนู) ให้คลิกที่เครื่องหมายลูกศรมุมขวา แล้วแก้ไขชื่อตามที่ต้องการ
  • เลือกตำแหน่งที่ต้องการแสดงเมนูในช่อง Display Location เช่น ด้านบนหน้าเพจ หรือด้านซ้ายมือ ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของแต่ละธีม
  • เมื่อตั้งค่าเรียบร้อยให้กด Save Menu

 

7. จัดการผู้ใช้งาน (Users) ภายในเว็บไซต์

วิธีใช้ WordPress

การจัดการ Role หรือสิทธิ์การใช้งานเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมวิธีใช้ WordPress สำหรับเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานหลาย ๆ คน โดย WordPress มี Role ทั้งหมด 5 ประเภท เรียงลำดับจากสิทธิ์การใช้งานน้อยไปมาก ดังนี้

  • Subscriber : ผู้ใช้งานทั่วไป สามารถดูและคอมเมนต์ในเว็บไซต์ แต่ไม่สามารถสร้างหรือแก้ไขส่วนใด ๆ ในเว็บไซต์ได้
  • Contributor : ผู้เขียนร่วม สามารถสร้างโพสต์และแก้ไขโพสต์ของตัวเองได้ แต่ไม่สามารถเผยแพร่ได้
  • Author : ผู้เขียน สามารถสร้าง แก้ไข และเผยแพร่โพสต์ของตัวเองได้
  • Editor : ผู้แก้ไข สามารถแก้ไข เผยแพร่ หรือลบโพสต์ของผู้อื่นได้
  • Administrator : ผู้ดูแลระบบ สามารถแก้ไข ปรับแต่งทุกส่วนของเว็บไซต์ รวมถึงกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งานอื่น ๆ ได้

วิธีเพิ่ม Users

  • ไปที่ Users > Add New
  • กรอกข้อมูลที่จำเป็น ได้แก่ ชื่อผู้ใช้งาน, อีเมล, Password และ Role
  • เมื่อเสร็จเรียบร้อยให้คลิก Add New User

หากต้องการแก้ไข Users ให้ไปที่ Users > All Users แล้วเลือกผู้ใช้งานที่ต้องการแก้ไขข้อมูล เมื่อแก้ไขเรียบร้อยให้กด Update User เพื่อยืนยัน หรือหากต้องการลบ Users ให้เลือกผู้ใช้งานและกดปุ่ม Delete หาก Users นั้นมีบทความที่เขียนไว้ เราสามารถเลือกได้ว่าจะลบบทความทั้งหมดทิ้งหรือโอนให้ Users คนอื่น จากนั้นกด Confirm Deletion เพื่อยืนยัน

 

สรุป

ที่กล่าวมาข้างต้นคือวิธีใช้ WordPress แบบรวบรัดสำหรับการใช้งานพื้นฐาน เราจะเห็นได้ว่า WordPress นั้นเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย มีเครื่องมือและฟีเจอร์ที่หลากหลาย จึงเหมาะกับผู้ใช้งานที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ โดยไม่ต้องมีความรู้ด้านโค้ดหรือโปรแกรมมิ่งใด ๆ

——————————————————————– 

หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้ ทางเรามีบริการรับทำเว็บไซต์ WordPress สำหรับธุรกิจที่สนใจในการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพื่อต่อยอดกลยุทธ์ทางการตลาดและเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ


หากคุณต้องการที่ปรึกษาการรับทำเว็บไซต์ WordPress หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

——————————————————————–

ขอบคุณข้อมูลจาก

Suntumweb, พลากร สอนสร้างเว็บ, Padvee

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำความรู้จักกับ Shopify พร้อมข้อดีข้อเสียที่ควรรู้

Shopify คืออะไร? อยากขายของออนไลน์ต้องรู้จัก

User Experience (UX) คืออะไร ทำไมถึงต้องให้มืออาชีพช่วยออกแบบ

User Experience คืออะไร ทำไมต้องให้มืออาชีพออกแบบ

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้