Reading Time: 2 Mins
2 Mins
Jun 22, 2022

PDPA คืออะไร? มีผลต่อธุรกิจและการวางกลยุทธ์การตลาดอย่างไร

เครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการวางกลยุทธ์การตลาด การเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า และการนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์เพื่อใช้งานต่ออย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ที่อยู่ ช่องทางการติดต่อ ความชอบ หรือประวัติการซื้อสินค้า ฯลฯ ล้วนมีประโยชน์ต่อการคิดค้นกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น ดังนั้นในวันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักว่า PDPA คืออะไร? ส่งผลต่อการรวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการทางธุกิจหรือไม่พร้อมเรียนรู้เทคนิคการปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องกับกฎหมายฉบับนี้ไปด้วยกัน

 

PDPA คือ

 

PDPA คืออะไร

 

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act) พ.ศ. 2562 หรือที่เรียกกันว่า PDPA คือ กฎหมายที่ป้องกันการนำข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่นไปใช้ประโยชน์ โดยมุ่งคุ้มครองเจ้าของข้อมูล และมีมาตรการเยียวยาในกรณีที่ถูกนำข้อมูลไปใช้โดยมิชอบ พระราชบัญญัติฉบับนี้คุ้มครองทั้งข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว (Sensitive Personal Data) เช่น เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ประวัติการรักษา ศาสนา หรือความคิดเห็นทางการเมือง อย่างไรก็ตาม กฎหมายนี้ไม่ได้ห้ามธุรกิจและองค์กรรวบรวมข้อมูลไปใช้ แต่ต้องนำไปใช้อย่างเหมาะสม และได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน 

 

กลยุทธ์การตลาดเกี่ยวข้องกับ PDPA อย่างไร

 

เนื่องจากการวางกลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy) ต้องอ้างอิงจากกลุ่มเป้าหมาย ทีมการตลาดจึงจำเป็นต้องรู้ข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปหาลูกค้าได้ รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ด้วย ซึ่งในอดีตอาจรวบรวมข้อมูลส่วนนี้ผ่านบันทึกการสั่งซื้อ ข้อมูลการติดต่อทาง Social Media หรือแบบสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภค และนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างเสรี แต่ปัจจุบัน ก่อนจะนำข้อมูลไปใช้ เจ้าของข้อมูลต้องยินยอมด้วยความสมัครใจ เพื่อป้องกันการถูกฟ้องร้อง และดูแลความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 

 

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

วางกลยุทธ์การตลาดอย่างไรไม่ให้ผิด PDPA

 

สร้างเอกสารขอความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร

หลายธุรกิจอาจมีนโยบายเรื่องเอกสารขอความยินยอมอยู่แล้ว แต่เมื่อกฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้ ก็ควรเข้มงวดกับการใช้เอกสารฉบับนี้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อต้องการเก็บข้อมูลของลูกค้า เพื่อนำไปประมวลผล และทำแคมเปญการตลาดต่อ เช่น Telemarketing, Email Marketing, การส่ง SMS หรือการแจก Gift Voucher ผ่านทางช่องทางส่วนตัวต่าง ๆ ทั้งนี้ ภายในเอกสารควรระบุวัตถุประสงค์และระยะเวลาให้ชัดเจน เพื่อความโปร่งใสและทำให้ลูกค้าไว้วางใจ

 

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว

 

ให้ความสำคัญกับการรักษาความลับ

ควรมีระบบฐานข้อมูลของลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ จัดหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ และจำกัดคนที่สามารถเข้าถึงได้ เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ารั่วไหล ซึ่งอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของธุรกิจได้

 

วางแผนการใช้ภาพถ่ายให้รัดกุม

การถ่ายภาพเพื่อโปรโมทสินค้า คือหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่ขาดไม่ได้ ในอดีตธุรกิจห้างร้านอาจถ่ายภาพลูกค้าคู่กับสินค้า หรือจ้างนายแบบ – นางแบบถ่ายภาพโปรโมทสินค้าตามสถานที่ต่าง ๆ แล้วลงเผยแพร่ในช่องทางของตัวเองทันที แต่เมื่อมีกฎหมาย PDPA การถ่ายภาพลูกค้าเพื่อเผยแพร่ต้องได้รับความยินยอมก่อน เช่นเดียวกับการถ่ายติดภาพคนอื่นลงในสื่อโฆษณา ดังนั้น จึงควรวางแผนเรื่องการถ่ายภาพให้รัดกุม และขอความยินยอมให้เรียบร้อยก่อนถ่ายทำ

 

อยากนำข้อมูลไปใช้ทำอย่างอื่น ต้องขอความยินยอมใหม่

ในกรณีที่เคยขออนุญาตใช้ข้อมูล และได้รับความยินยอมแล้ว แต่ภายหลังเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดใหม่ และต้องการนำข้อมูลไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น นำข้อมูลไปใช้ทำแคมเปญการตลาดใหม่ หรือนำข้อมูลลูกค้าไปใช้ใน Facebook Page อื่น ๆ ที่เจ้าของธุรกิจสร้างขึ้น ก็จำเป็นต้องขอความยินยอมให้ชัดเจนอีกครั้ง

 

PDPA

 

สิทธิ์ของลูกค้าในกฎหมาย PDPA 

 

1.ขอเข้าถึงและรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล

ลูกค้าซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูล มีสิทธิ์เข้าถึงหรือขอสำเนาของข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งขอให้เปิดเผยที่มาของข้อมูลได้ หากพบว่าตนไม่เคยยินยอมให้ใช้ข้อมูลเหล่านั้น

 

2.ขอให้แก้ไขข้อมูลใหม่

เมื่อต้องการอัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือพบว่ามีข้อมูลผิด ลูกค้าสามารถขอให้แก้ไขข้อมูลใหม่ได้

 

3.ขอให้ระงับการใช้ข้อมูลชั่วคราว

ในระหว่างการตรวจสอบเพื่อแก้ไขข้อมูลใหม่ ลูกค้ามีสิทธิ์ขอให้ธุรกิจระงับใช้ข้อมูลดังกล่าวได้

 

4.ขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลถาวร 

แม้ลูกค้าจะเคยลงนามยินยอมให้ใช้ข้อมูลแล้ว ก็สามารถขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลในภายหลังได้เสมอ 

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


การบังคับใช้กฎหมาย PDPA อาจทำให้ทุกธุรกิจต้องเรียนรู้ และปรับขั้นตอนการทำงานใหม่ แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง นี่คือโอกาสอันท้าทายที่จะได้จัดระเบียบข้อมูลของลูกค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งได้ลองคิดกลยุทธ์การตลาดใหม่ ๆ ภายใต้สมรภูมิแห่ง Digital Marketing ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือด และที่สำคัญที่สุด นี่คือโอกาสในการสร้างมาตรฐานใหม่ ให้ลูกค้ารู้สึกไว้วางใจ และเชื่อมั่นในธุรกิจของคุณตลอดไป

 


 

หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

 

โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

 


 

ขอบคุณข้อมูลจาก:

https://bit.ly/3zH4X9B 

https://bit.ly/3xxLbdH 

bbc.com

thairath.co.th

bangkokbiznews.com

 

[wpdevart_facebook_comment curent_url="https://www.cotactic.com/" order_type="social" title_text="Facebook Comment" title_text_color="#000000" title_text_font_size="22" title_text_font_famely="Montserrat" title_text_position="left" width="100%" bg_color="#d4d4d4" animation_effect="random" count_of_comments="3" ]

บทความที่เกี่ยวข้อง

Hybrid Working คืออะไร? เทรนด์การทำงานยุคใหม่ ที่คุณควรรู้!

Hybrid Working คืออะไร การทำงานแบบไฮบริด (Hybrid working) คือการทำงานในออฟฟิศ ผสมผสานกับการทำงานระยะไกลจากสถานที่อื่น เช่น จากบ้าน ใน Co-Working Space หรือสถานที่อื่น ๆ ถือเป็นวิธีการทำงานที่ยืดหยุ่น ทำให้พนักงานเลือกการทำงานได้ ว่าจะทำงานอย่างไร เมื่อไร และที่ไหน ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความสมดุลในการทำงาน รวมถึงชีวิตส่วนตัวของพนักงานมากยิ่งขึ้น โดยการทำงานแบบไฮบริดจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กร และพนักงานของบริษัทนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น บางบริษัทอาจอนุญาตให้พนักงาน ทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) 2 วันต่อสัปดาห์ และมาทำงานที่ออฟฟิศ 3 วันต่อสัปดาห์ ทั้งนี้การทำงานแบบไฮบริดเป็นที่นิยมมากขึ้นในปีหลัง ๆ เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยี ที่ทำให้การทำงานจากระยะไกลเป็นไปได้ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการระบาดของโรค COVID-19 เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้การทำงานแบบ Hybrid Working เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย เนื่องจากบริษัทหลายแห่งต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรการที่สาธารณสุขกำหนดไว้   5 ประโยชน์สำคัญของ Hybrid Working 1.เพิ่มความยืดหยุ่น […]

Data Analysis คืออะไร? มีวิธีใช้และประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร?

Data Analysis คืออะไร   Data Analysis คือ กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกเก็บหรือบันทึกไว้ เพื่อค้นหาสิ่งที่มีประโยชน์มาต่อยอดการทำงานที่เราต้องการ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่มีการนำเอาข้อมูลและผลประกอบการทั้งหมด มาตรวจสอบ แยกแยะ และแจกแจงให้เข้าใจง่ายเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวางแผนกลยุทธ์ หรือประกอบการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่ช่วยให้เราเข้าใจภาพรวมของตัวธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถคาดเดาผลลัพธ์หรือจำลองความเป็นไปได้ต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุมมากที่สุด   ดังนั้น Data Analysis จึงถือเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์และจำเป็นอย่างมากในยุคดิจิทัล เพราะเราจะสามารถนำเอาข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์โฮมเพจและสื่อสังคมออนไลน์มาวิเคราะห์หรือตรวจสอบ เพื่อนำไปพัฒนาตัวธุรกิจให้สามารถสร้างผลลัพธ์ได้อย่างที่เราต้องการ นับเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่นักการตลาดและที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ทั่วโลกต่างเลือกใช้   หลักการทำงานของ Data Analysis   1.Market Analysis Market Analysis คือการวิเคราะห์ตลาดผ่านข้อมูลทั้งหมดที่ตัวธุรกิจได้เก็บหรือบันทึกไว้ เพื่อหาแนวโน้มการทำงานและความเป็นไปได้ของตลาดในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถวางแผนกลยุทธ์ แคมเปญ โปรโมชั่น หรือเลือกช่องทางการจำหน่ายสินค้าบริการได้อย่างเหมาะสม ทำให้เราสามารถเข้าถึงผู้บริโภคและกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุด ถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในยุคดิจิทัล เพราะมันจะช่วยให้การทำการตลาดบนโลกออนไลน์มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นการทำ Market Analysis จึงจำเป็นต้องทำอย่างรอบคอบ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ ถึงจะวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำและมีความถูกต้องมากที่สุดนั่นเอง   2.Data Mining Data Mining […]