November 11, 2022

STP Marketing คือ? วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายให้แม่นยำด้วย STP Marketing

Reading Time: 2 minutes

ไม่ว่าคุณจะมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและบริการมากแค่ไหน แต่ในความเป็นจริง สินค้าทุกชิ้นย่อมไม่ได้เหมาะกับผู้บริโภคทุกคน ด้วยเหตุนี้ นอกจากการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักแล้ว คุณยังจำเป็นต้องเฟ้นหา “ว่าที่ลูกค้าตัวจริง” เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน และบริหารเงินทุนสำหรับทำการตลาดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเครื่องมือที่จะช่วยคุณในกระบวนการนี้ได้ มีชื่อว่า STP Marketing

STP Marketing คืออะไร? 

STP Marketing คือ การรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย และนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์สร้าง “จุดขาย” ให้กับสินค้าและบริการของธุรกิจ เพื่อเชื่อมโยงแบรนด์เข้ากับว่าที่ลูกค้าตัวจริงให้ได้มากที่สุด เนื่องจากหากแบรนด์มุ่งทำการค้ากับลูกค้าทุกกลุ่ม โดยไม่กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็มีน้อย และเสี่ยงเสียเงินลงทุนจำนวนมากโดยไม่จำเป็น 

 

STP Marketing วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย

 

เข้าใจองค์ประกอบ – STP มีอะไรบ้าง?

STP Marketing เกิดจากการรวมกันของคำ 3 คำ ได้แก่ Segmentation, Targeting และ Positioning ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1.Segmentation

ขั้นตอนแรกของ STP Marketing คือ Segmentation หรือการแบ่งกลุ่มทางการตลาด ซึ่งมุ่งเน้นการนำข้อมูลลูกค้าที่หลากหลายมาจัดระเบียบใหม่ผ่านการใช้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ โดยทั่วไปจะใช้ทั้งหมด 4 เกณฑ์ ดังนี้

  • Demographic Segmentation 

แบ่งตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ ฯลฯ 

  • Behavioral Segmentation 

แบ่งตามพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค เช่น คนที่ซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ คนที่ซื้อของหน้าร้าน เป็นต้น

  • Geographic Segmentation 

แบ่งตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ หรือพื้นที่ที่ลูกค้าอยู่อาศัย โดยอาจแบ่งตามประเทศ จังหวัด ตำบล หรือชื่อย่าน

  • Psychographic Segmentation 

แบ่งตามลักษณะทางจิตวิทยา เช่น แนวคิด ทัศนคติ ความคิดเห็น บุคลิกภาพ เป็นต้น

นอกจาก 4 เกณฑ์ข้างต้นนี้ STP Marketing ยังเปิดโอกาสให้คุณสามารถใช้เกณฑ์อื่น ๆ เพื่อแบ่ง Segmentation ได้ ตามความเหมาะสมของข้อมูล ตัวอย่างเช่น

  • Value Segmentation

การจำแนกกลุ่มลูกค้าตาม “มูลค่าในการทำธุรกรรม (Transactional Worth)” เพื่อประเมินว่ากลุ่มเป้าหมายแต่ละคนมีแนวโน้มใช้จ่ายไปกับธุรกิจของคุณเท่าไหร่ โดยอาจพิจารณาจากข้อมูลการซื้อ – ขายก่อนหน้านี้ ว่าใครมีเคยซื้อสินค้ามาก ใครเคยซื้อสินค้าน้อย และซื้อบ่อยแค่ไหน 

  • Firmographic Segmentation

สำหรับธุรกิจประเภท B2B (Business to Business) อาจเปลี่ยนจากการพิจารณาข้อมูลลูกค้าจากรายบุคคลเป็นรายบริษัท เช่น ชื่อบริษัท ที่อยู่บริษัท ประเภทธุรกิจ จำนวนพนักงาน หรือรายได้ต่อไตรมาส เป็นต้น

  • Generational Segmentation

ภายใต้ความเชื่อว่าช่วงอายุมีผลต่อความคิดและพฤติกรรม บางองค์กรจึงใช้การจำแนกกลุ่ม (Segment) จาก Generation อาทิ Baby Boomers, X, Millenials, Z เป็นต้น

 

2. Targeting

หลังจากนำข้อมูลลูกค้าที่มีทั้งหมดมาจากจัดกลุ่มแล้ว ขั้นตอนต่อไปของ STP Marketing คือ การพิจารณาว่าควรเลือกลูกค้ากลุ่มใดเป็นกลุ่มเป้าหมาย และโฟกัสการสร้างกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นให้เกิด Conversion ในกลุ่มคนเหล่านั้น ซึ่งการกำหนดกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ ได้แก่ การประเมินสถานการณ์ตลาด และการเลือกตลาดเป้าหมาย

 

2.1 การประเมินสถานการณ์ตลาด

  • ขนาดของตลาด (Size) 

พิจารณาว่าลูกค้าแต่ละกลุ่ม (Segment) ของคุณใหญ่แค่ไหน และในอนาคตจะสามารถเติบโตได้ไกลเท่าใด

  • ประสิทธิภาพการทำกำไร (Profitability) 

พิจารณาว่าลูกค้ากลุ่มใดมีความสามารถในการใช้จ่ายมากที่สุด โดยอาจนำข้อมูลการซื้อ – ขายตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาของแต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบกัน

  • โอกาสในการเข้าถึง (Reachability) 

ลองประเมินโอกาสโดยรวมดูว่า คุณสามารถเข้าถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ยากหรือง่ายแค่ไหน โดยพิจารณาจากต้นทุนการได้มาซึ่งลูกค้า (Customer Acquistion Cost: CAC) และต้องไม่ลืมว่า ยิ่งใช้ต้นทุนในการเข้าถึงมากเท่าไหร่ กำไรก็ยิ่งลดลง

 

2.2 การเลือกตลาดเป้าหมาย

  • เลือกตลาดเฉพาะส่วนโดยใช้ผลิตภัณฑ์เดียว 

มุ่งเน้นขายสินค้าหรือบริการเดียวให้กับกลุ่มเป้าหมายเพียงกลุ่มเดียว ซึ่งการเลือกตลาดเป้าหมายเช่นนี้จะใช้ต้นทุนต่ำ แต่ต้องแบกรับความเสี่ยงสูง 

  • เลือกตลาดหลายส่วนโดยใช้หลายผลิตภัณฑ์

หากแบรนด์ของคุณมีสินค้าและบริการหลายประเภท คุณอาจขายสินค้าหรือบริการมากกว่า 1 ประเภท ให้กับกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่มได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า คนแต่ละกลุ่มหมายย่อมมีความต้องการต่างกัน จึงอาจต้องใช้มากกว่า 1 กลยุทธ์เพื่อรองรับความต้องการของทุกคน

  • เลือกตลาดหลายส่วนโดยใช้ผลิตภัณฑ์เดียว 

ในบางกรณีคุณอาจอาศัยจุดเด่นของสินค้าและบริการประเภทเดียว เพื่อทำการตลาดให้กับกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่มได้ 

  • เลือกตลาดเดียวโดยใช้ผลิตภัณฑ์หลายชนิด

ในทางกลับกันเลือกกลุ่มเป้าหมายเด่น ๆ ขึ้นมาเพียงกลุ่มเดียว จากนั้นศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายนั้น และจัดหาสินค้าหรือบริการหลายชนิดเพื่อตอบสนองความต้องการอย่างครอบคลุม

  • เลือกตลาดรวม

การเลือกตลาดรวม คือ การจัดหาสินค้าและบริการหลายชนิด เพื่อตอบสนองความต้องการของหลาย ๆ กลุ่มเป้าหมาย โดยธุรกิจที่เลือกตลาดตามแนวทางนี้ได้ มักเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้าทั่วไปในชีวิตประจำวัน สามารถใช้งานได้ทุกกลุ่ม อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเลือกตลาดเช่นนี้ใช้เงินทุนมหาศาล และต้องมีแผนการตลาดรองรับหลายแผนอย่างรัดกุม

 

3. Positioning

ขั้นตอนสุดท้ายของ STP Marketing คือ การวางตำแหน่งของสินค้าและบริการที่จะขายให้แตกต่างกับคู่แข่ง โดยวิเคราะห์จากการรวบรวมข้อมูลส่วน Segmentation และ Targeting แล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลฝั่งคู่แข่ง เพื่อให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ของคุณมีจุดเด่นและจุดด้อยอย่างไร นอกจากนี้ ในบรรดาทุกแบรนด์ที่ขายผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน แบรนด์ของคุณจัดอยู่ในตำแหน่งไหนในตลาด

เพื่อให้คุณเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาจลองสร้าง Positioning Map เป็นลักษณะแผนภูมิดังภาพ โดยกำหนดให้แกน X และแกน Y เป็นข้อเปรียบเทียบหลัก ๆ ระหว่างแบรนด์ของคุณและคู่แข่งทุกแบรนด์ในตลาด เช่นในตัวอย่าง กำหนดให้แกน X เป็นราคา และแกน Y เป็นคุณภาพ

 

STP Marketing วางตำแหน่งสินค้าและบริการ

ที่มา: asana 

ประโยชน์ของ STP Marketing คืออะไร?

1.ปรับปรุงประสิทธิภาพของแคมเปญ

ประโยชน์ของแรกของการทำ STP คือ การช่วยให้คุณกำหนดเป้าหมายได้อย่างเหมาะสมและแม่นยำ เพราะหากกำหนดกลุ่มเป้าหมายกว้างเกินไป หรือมุ่งขายสินค้าและบริการให้คนหมู่มาก โดยไม่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย อาจเป็นการละลายงบประมาณโดยใช่เหตุ และเกิดผลกำไรน้อย

2.ช่วยพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น

ข้อมูลที่คุณรวบรวมได้จาก STP Marketing สามารถนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในอนาคต ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์ของคุณสามารถเข้าใจพวกเขาได้มากกว่าแบรนด์อื่น

3. นำไปสู่การขยายตลาดใหม่

การรวบรวมข้อมูลของลูกค้าอาจทำให้คุณค้นพบข้อมูลใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทราบมาก่อน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจนำไปสู่ความพยายามในการขยายตลาดใหม่ ๆ ได้  เช่น บริษัทอาจทำยอดขายส่วนใหญ่ได้จากหน้าร้าน แต่เมื่อสังเกตพฤติกรรมอย่างจริงจัง กลับพบว่าลูกค้าจำนวนมากนิยมซื้อของออนไลน์ ดังนั้น ในอนาคตคุณอาจพิจารณาเปิดหน้าร้านออนไลน์เพิ่มขึ้นมาได้ เป็นต้น

 

การเลือกเป้าหมายที่แม่นยำด้วย STP Marketing นอกจากจะทำให้คุณสามารถกำหนดทิศทางกลยุทธ์การตลาดที่ถูกต้องได้แล้ว ยังช่วยประหยัดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจของคุณได้อย่างมหาศาล ตลอดจนนำไปสู่การสำรวจตลาดใหม่ ๆ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ ๆ เพื่อให้แบรนด์ของคุณประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น


หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

Reading Time: 2 minutes

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว

โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

——————————————————————–

ขอบคุณข้อมูลจาก:

 

Facebook Comment
บทความที่เกี่ยวข้อง

PBN คืออะไร จำเป็นต้องทำไหม และส่งผลดีอย่างไรบ้าง ?

Reading Time: 2 minutes การทำ SEO ถือเป็นกลยุทธ์ขั้นพื้นฐานของการทำการตลาดในยุคดิจิทัล ที่จะช่วยดันเว็บไซต์ของตัวธุรกิจให้ขึ้นไปติดอันดับต้น ๆ บนหน้าค้นหาของ Google ส่งผลให้ลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายมีโอกาสเจอเว็บไซต์หรือรู้จักธุรกิจของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งหนึ่งในเทคนิคยอดนิยมที่บริษัทรับทำ SEO ทั่วโลกต่างเลือกใช้คงหนีไม่พ้นการทำ PBN หรือ Private Blog Network ที่จะช่วยให้การทำ SEO มีประสิทธิภาพและได้ผลดีมากยิ่งขึ้น วันนี้ Cotactic จึงอยากพาผู้ประกอบการทุกท่านไปรู้จักกับ PBN กันครับว่ามันคืออะไร จำเป็นต้องทำไหม และส่งผลดีอย่างไรบ้าง   PBN คืออะไร Private Blog Network หรือ PBN คือ เครือข่ายบล็อกส่วนตัวที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำ Backlink (Off page) ให้กับเว็บไซต์หลักที่เราต้องการโดยเฉพาะ อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาอีกหนึ่งเว็บ จากนั้นก็ทำ Backlink ย้อนกลับไปยังหน้าเพจที่เราต้องการ เพื่อส่งค่าคะแนนความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์หลักของตัวธุรกิจ เพราะยิ่งเราได้ Backlink ที่มาจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องมากเท่าไหร่ ตัว Google ก็จะมองว่าเว็บไซต์หลักของเรามีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือมากเท่านั้น ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การทำ SEO […]

รู้จัก 9 เครื่องมือ SEO คุณภาพที่เอเจนซี่ชั้นนำเลือกใช้

Reading Time: 3 minutes อย่างที่ทราบกันดีว่าการทำ SEO จำเป็นต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ที่มากพอ ถึงจะสามารถทำให้ตัวเว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าค้นหาของ Google ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่นอกจากความรู้และประสบการณ์ที่เราต้องมีแล้ว การเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เราต้องให้ความสำคัญและไม่ควรมองข้าม วันนี้ Cotactic จึงอยากจะมาแนะนำ 9 เครื่องมือ SEO คุณภาพที่นักการตลาดและบริษัทรับทำ SEO ทั่วโลกต่างเลือกใช้   1. Google Search Console เครื่องมือ SEO ที่ได้รับความนิยมจากนักการตลาดออนไลน์ทั่วโลก มันเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราตรวจสอบคุณภาพและหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ได้อย่างละเอียด ทำให้เราสามารถติดตามผลลัพธ์และดูรายงานการเข้าชมเว็บไซต์แบบ Organic ได้ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้คนทำ SEO สามารถปรับปรุงเว็บไซต์และวางกลยุทธ์ในการทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งตัวเครื่องมือยังเปิดให้ใช้งานได้ฟรีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ   เริ่มต้นใช้งานได้ที่นี่ Google Search Console   2. Google Analytics Google Analytics คือเครื่องมือ SEO ที่ใช้ในการวิเคราะห์และเก็บสถิติต่าง ๆ ของตัวเว็บไซต์ ว่าคนที่กดคลิกเข้ามานั้นเป็นใคร เพศอะไร อายุเท่าไหร่ เข้ามาผ่านช่องทางไหน […]

404 not found คืออะไร ? ส่งผลแค่ไหนกับการทำ SEO

Reading Time: 3 minutes เชื่อว่าสำหรับผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือท่องเว็บไซต์เป็นประจำแล้ว ต้องเคยประสบปัญหาพบเจอหน้าเพจ 404 not found มาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งมันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหานี้สร้างความน่ารำคาญใจให้กับผู้ใช้งานมากมายขนาดไหน ดังนั้นถ้าหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง การสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดีให้กับลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม เราจึงควรหมั่นปรับปรุงและดูแลเว็บไซต์อยู่ตลอด เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาน่าปวดหัวนี้เกิดขึ้นครับ   วันนี้ Cotactic จึงอยากพาเจ้าของธุรกิจทุกท่านไปรู้จักกับปัญหา 404 not found กันว่ามันคืออะไร เกิดจากอะไร และทำไมเอเจนซี่ที่รับทำ SEO ถึงให้ความสำคัญ   404 not found คืออะไร ? เกิดจากอะไร ? 404 not found คือ หน้าเพจที่แสดงผลผิดพลาดจากการที่ Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูลแล้วไม่พบ URL ของหน้าเว็บไซต์ หรือไม่พบข้อมูลที่อยู่บน Server ของเว็บไซต์ จึงแสดงผลให้ผู้ใช้งานได้รู้ว่าหน้าเพจนี้ไม่มีอยู่ ลิงก์อาจเสียหรือหน้าเพจมีปัญหา ซึ่งสาเหตุของการเกิด 404 not found นั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายกรณีด้วยกัน เช่น  เปลี่ยนชื่อ […]

Reading Time: 3 minutes

Reading Time: 3 minutes