click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

ปี 2020 ได้เปลี่ยนโลกดิจิทัลให้กลายเป็นสมรภูมิรบในพริบตา เมื่อการระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจต้องเปลี่ยนพฤติกรรมปรับตัวเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกธุรกิจเริ่มเปิดศึกแย่งชิงพื้นที่ ดึงดูดความสนใจของลูกค้ายุคใหม่บนออนไลน์แพลตฟอร์มผ่านการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ ถูกใจผู้อ่าน

หากอยากให้ธุรกิจคุณอยู่รอดในศึกครั้งนี้ คุณจึงจำเป็นต้องอัพเดทข่าวสารเกี่ยวกับคอนเทนต์ให้รวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เพื่อผลิตคอนเทนต์ให้โดนใจผู้เสพสื่อ จนต้องกดปุ่มแชร์แบบรัวๆ ซึ่งในช่วงส่งท้ายปีแบบนี้ ทีม Cotactic Digital Marketing Agency จึงนำข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับ ทิศทาง Content Marketing ในปี 2021 มาฝากผู้ประกอบการทุกคน 


 1. Personalized Content 

จากจำนวนคอนเทนต์ที่มีอยู่อย่างมหาศาลบนโลกออนไลน์ ทำให้ผู้เสพคอนเทนต์มีพฤติกรรมการบริโภคที่มีความซับซ้อนและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ในระดับที่คอนเทนต์นั้นๆ ต้องมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวข้องกับความเป็นตัวตนของผู้อ่าน ซึ่งการสร้างคอนเทนต์แบบ Mass ที่ใครก็สามารถอ่านได้แบบในยุคเก่าจะไม่สามารถนำมาใช้ได้อีกต่อไป ในปี 2021 นี้แบรนด์จึงจำเป็นต้องใส่ใจกับคอนเทนต์ที่สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายแบบบุคคลต่อบุคคล หรือที่เรียกว่า Personalized Content มากขึ้น

สถิติการทำ Personalized Marketing

  • 65% ของลูกค้ามีแนวโน้มจะภักดีต่อแบรนด์ (Customer Loyalty) เมื่อแบรนด์มีการทำ Personalization อ้างอิงจาก The Drum เว็บไซต์สื่อการตลาดที่ใหญ่ที่สุดของ Europe
  • องค์กรกว่า 93% มีอัตรา Conversion ที่มากขึ้นหลังจากการทำ Personalization อ้างอิงจาก EConsultancเว็บไซต์ชุมชนดิจิทัลสำหรับนักการตลาด
  • 74% ของลูกค้ามีความรู้สึกไม่พึงพอใจเมื่อคอนเทนต์บนเว็บไซต์ไม่มีความ Personalized อ้างอิงจาก Loyalty360 เว็บไซต์สมาคมนักการตลาดมืออาชีพในด้าน Customer Loyalty

ซึ่งการที่จะผลิต Personalized Content ออกมาได้คุณจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลลูกค้าที่แม่นยำมากพอ ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการ, พฤติกรรม, ความชอบ, ช่องทางการสื่อสาร และอื่นๆ ยิ่งมีข้อมูลลูกค้ามากเท่าไหร่ คุณจะยิ่งสามารถผลิตคอนเทนต์ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างเครื่องมือหนึ่งที่มีคนนิยมใช้กันอย่างมากคือ Buyer Persona (การสร้างลูกค้าในอุดมคติของแบรนด์)

2. คอนเทนต์วิดีโอมาแรงต่อเนื่อง โดยเฉพาะรูปแบบวิดีโอสั้น

ฉุดยังไงก็ไม่อยู่กับเทรนด์คลิปวิดีโอสั้นที่มาแรงแซงโค้ง คอนเทนต์ทุกรูปแบบจากที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจาก แอพพลิเคชั่น TikTok จนทำให้ Social Media รุ่นใหญ่หลายราย เช่น Youtube และ Instagram ตอบรับการแข่งขันโดยการสร้างฟีเจอร์วิดีโอสั้นตามกันมา

เหตุผลหนึ่งที่วิดีโอสั้นได้รับความนิยมเกิดจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความสนใจที่จำกัดและการใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ ถ้าหากวิดีโอไม่มีความน่าสนใจ หรือมีความยาวมากจนเกินไป ผู้ใช้งานก็จะเลื่อนผ่านไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นวิดีโอสั้นจึงเป็นคำตอบสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการความเร็วและเนื้อหาที่สั้นกระชับสามารถเข้าใจได้ในเวลาสั้นๆ โดยข้อมูลจาก องค์กรผลิตสื่อในรูปแบบวิดีโอ Ideastovideo แสดงให้เห็นว่า วิดีโอสั้นเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคต้องการเรียนรู้เกี่ยวสินค้าใหม่มากที่สุด

ขอบคุณรูปภาพจาก Ideastovideos

ส่วนในด้านเจ้าของแบรนด์ การผลิตคอนเทนต์วิดีโอสั้นไม่เกิน 1 นาที แทนที่จะเป็นรูปแบบยาว ทำให้แบรนด์ประหยัดเวลาในการผลิตคอนเทนต์ อีกทั้งยังสามารถสร้างได้ในจำนวนที่มากขึ้น เมื่อมีคอนเทนต์มากขึ้นโอกาสที่วิดีโอจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายก็สามารถทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 

ทั้งนี้ยังมีคอนเทนต์วิดีโอรูปแบบอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น 

2.1 Live Streaming Video

ในปี 2020 นี้เรายังคงได้เห็นหลากหลายแบรนด์เพิ่มยอดขายผ่านการ Live Streaming และมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งข้อดีของวิดีโอรูปแบบไลฟ์ คือการที่แบรนด์สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากได้ในเวลาสั้นและสามารถพูดคุยใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายได้แบบ Real-time อีกทั้งแพลตฟอร์มอย่าง Facebook ยังมีการแจ้งเตือนแฟนเพจเมื่อการไลฟ์กำลังจะเริ่ม ทำให้อัตราการมีส่วนร่วม หรือ Engagement ของ Live Streaming ต่อเพจมีมากกว่าคอนเทนต์รูปแบบวิดีโออื่นๆ 

โดยในครึ่งปีแรกของ 2020 ประเทศไทยมีอัตราการเจริญเติบโตของปริมาณออร์เดอร์ผ่านการไลฟ์ขายสินค้ามากถึง 173% มากที่สุดในทวีปเอเชีย

นอกจากการ Live Streaming เพื่อขายสินค้าแล้ว เรายังเห็นแบรนด์นำประโยชน์จากการไลฟ์ไปใช้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ติดตามมากขึ้น อย่างเช่นการไลฟ์จัดตั้งสัมนา (Webinar) เพื่อให้ความรู้ และ การถามตอบปัญหา (Q&A) เพื่อเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดและนำข้อมูลไปใช้พัฒนาการเขียนคอนเทนต์ หรือการให้บริการ เป็นต้น 

 2.2 Soundless Video

รู้หรือไม่?? กว่า 85% ของผู้ใช้งานบน Facebook ดูวิดีโอโดยไม่เปิดเสียง

หลังจากที่แพลตฟอร์มมีการอัพเดทฟีเจอร์ Autoplay ออกมา ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเปิดเสียงเมื่อรับชมวิดีโอบนแพลตฟอร์มอีกต่อไป จึงเป็นเหตุผลที่แบรนด์จำเป็นต้องสร้างสรรวิดีโอที่สามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าผู้ใช้งานจะเปิดเสียงอยู่หรือไม่ก็ตาม หากคุณลองสังเกตดูดี ๆ วิดีโอส่วนมากจะเริ่มมี Subtitles ว่าคนกำลังพูดอะไรอยู่ขึ้นมา หรือข้อความบางอย่าง เพื่อทำให้การรับชมวิดีโอสามารถเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเสียง 

นั้นก็พราะคนดูวิดีโออาจจะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถเปิดเสียงเมื่อรับชมวิดีโอของคุณได้ เช่น บนรถไฟฟ้า หรือที่ทำงานออฟฟิศ เพื่อมั่นใจว่าวิดีโอของคุณสามารถสื่อสารกับคนดูได้ไม่ว่าจะอยู่สถานการณ์ไหน นักสร้างคอนเทนต์จึงจำเป็นต้องออกแบบวิดีโอให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ผ่านการทำวิดีโอไม่มีเสียง

3. Semantic Search และ Semantic SEO

Semantic search คือความสามารถของ Search Engine ที่เข้าใจถึงความหมายและจุดประสงค์ของบริบทในบทความ เพื่อค้นหาข้อมูล หัวข้อ เนื้อหา บนเว็บต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ค้นหามากที่สุด

หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ Google สามารถเรียนรู้ได้ว่าเว็บไซต์ไหนมีคุณภาพและไม่มีคุณภาพ โดยการดูจากเนื้อหาบทความเป็นหลัก ไม่ใช่จำนวนคีย์เวิร์ด ดังนั้นการทำ Semantic SEO จึงกลายเป็นสิ่งที่น่าจับตามองในปี 2021 เป็นการปรับแต่งบทความที่ไม่ใช่เพียงแค่การค้นหาคีย์เวิร์ดที่มีคุณภาพ แต่จะลึกไปถึงการสร้างเนื้อหาและเลือกใช้วลีที่คล้ายกันเพื่อตอบโจทย์ ความต้องการของผู้ค้นหาอย่างแท้จริง (หรือที่เราเรียกกันว่า Search Intent

บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress โดย Cotactic Media

3.1 เราจะเข้าใจถึง Search Intent ได้อย่างไร? 

หากสังเกตุให้ดี Google ได้ให้คำใบ้เกี่ยวกับความต้องการของผู้ค้นหาไว้บนหน้าผลการค้นหาอยู่แล้ว นั้นคือในส่วนของ “Related Search” และ “People Also Ask”

ตัวอย่างในภาพ หากคุณต้องการเขียนบทความเกี่ยวกับ “การทำ SEO” สิ่งที่คุณจะต้องตอบคำถามให้ได้ในบทความไม่ใช่เพียง ความหมายของ SEO เพียงอย่างเดียว แต่เมื่อดูจากคำค้นหาที่เกี่ยวข้องแล้ว ในบทความของคุณจำเป็นต้องตอบคำถามเหล่านี้ เช่น “How to do SEO” , “What is SEO blog”,  “How it Works”, “What is SEO Example” เป็นต้น

เมื่อบทความของคุณสามารถให้ความรู้และตอบคำถามของผู้ค้นหาได้ Google จะมองว่าบทความของคุณมีคุณภาพและให้อันดับที่ดีกว่าบทความอื่นๆ

ดังนั้นหัวใจสำคัญของ Semantic SEO เพื่อสร้างบทความดีๆ คือ

  • การเลือกคำและวลีที่เกี่ยวข้อง
  • การค้นหาคำถาม และสร้างคำตอบที่มีความสอดคล้องกัน
  • สร้างบทความที่มีเนื้อหา ตามที่ผู้ค้นหาต้องการ

บริการรับทำ SEO โดย Cotactic Media

4. Micro Moment – คอนเทนต์คือส่วนหนึ่งของ Buyer’s Journey

เมื่อเกิดการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทุกคนถูกบังคับให้อยู่บ้านและเข้าถึงโลกออนไลน์ เพื่อติดตามข่าวสารในชีวิตประจำวัน จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจหาก Digital Content จะกลายมาเป็นส่วนสำคัญของ Buyer’s Journey (กระบวนการตัดสินใจซื้อของลูกค้า) ไปเสียแล้ว ลูกค้ายุคใหม่มีการพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อให้ได้คำตอบในสิ่งที่ตัวเองต้องการแบบ “ตอนนี้” และ “เดี๋ยวนี้” ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อสินค้า หรือหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่ง Google ได้ให้คำนิยามพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่แบบนี้ว่า Micro Moment

พฤติกรรมลูกค้าแบบ Micro Moment ถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

     1. I Want to Know Moments: ช่วงเวลาที่ผู้ค้นหากำลังสงสัย และต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติม แต่ยังไม่ทำการสั่งซื้อสินค้า พวกเขาต้องการคอนเทนต์มีประโยชน์ที่ไม่มีการแอบขายของ
     2. I Want to Go Moments: ช่วงเวลาที่ผู้ค้นหากำลังมองหาสถานที่ที่อยากไป หรือกำลังตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าในพื้นที่ใกล้เคียง 
     3. I Want to do Moments: ช่วงเวลาก่อนจะทำการซื้อที่ผู้ค้นหากำลังต้องการความช่วยเหลือในการทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ และต้องการลองสิ่งใหม่
     4. I Want to buy Moment: ช่วงเวลาที่ผู้ค้นหาพร้อมทำการสั่งซื้อ ต้องการความช่วยเหลือเพื่อการตัดสินใจซื้อ และ ต้องการความช่วยเหลือในขั้นตอนการสั่งซื้อ

ขอบคุณรูปภาพจาก Marketingblog

ในปี 2021 ลูกค้าที่เข้าถึงเทคโนโลยีและพฤติกรรม Micro-Moment จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างแน่นอน การสร้างคอนเทนต์เพื่อตอบโจทย์การหาข้อมูลในช่วงวลาเหล่านี้ จึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่นักการตลาดคอนเทนต์ไม่ควรพลาด

5. Improve Content Experience

คนเราอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และอยากอ่านคอนเทนต์ที่น่าสนใจ เมื่อการอ่านคอนเทนต์ทำให้พวกเขารู้สึกสนุก หรือเมื่อความรู้เหล่านั้นสามารถเข้าใจได้ง่ายโดยที่ไม่ต้องอ่านซ้ำสอง การสร้างคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาดีๆ เพียงอย่างเดียวจึงอาจไม่เพียงพอให้คนกดเข้ามาอ่านคอนเทนต์ของคุณจนจบ คุณจำเป็นต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีในระหว่างการอ่านคอนเทนต์ด้วยเช่นกัน ออกแบบการพรีเซ้นท์คอนเทนต์ให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้อ่านต้องการในทุกแพลตฟอร์มและทุกอุปกรณ์

หรือหมายความว่า เมื่อคุณวางแผนสร้างคอนเทนต์ชิ้นหนึ่งขึ้นมา คุณจำเป็นต้องคิดว่า กลุ่มเป้าหมายจะตอบโต้กับคอนเทนต์นี้อย่างไร ผ่านรูปแบบและช่องทางต่างๆ ซึ่งคอนเทนต์ที่มีประสบการณ์เชิงบวก จะสามารถกระตุ้นการมีส่วนร่วม และดึงดูดผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าของธุรกิจได้

ตัวอย่างเช่นการปรับเว็บไซต์ให้มีความ Mobile Friendly มากขึ้น หรือลองเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็น Video, Blog Post, Podcast เป็นต้น รวมถึงการสร้าง Personalized และ Interactive Content


 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไม Evergreen Content ถึงดีต่อเว็บไซต์

ทำไม Evergreen Content ถึงดีต่อเว็บไซต์

Personalized Marketing

Personalized Marketing ทำการตลาดแบบรู้ใจลูกค้า

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้