ในการยิงโฆษณาออนไลน์ CPM เป็นอีกหนึ่งเมทริกซ์ที่ผู้ลงโฆษณา หรือแบรนด์ควรให้ความสำคัญ เนื่องจาก CPM เป็นตัวบ่งบอกว่าแคมเปญโฆษณา มีประสิทธิภาพหรือไม่ ในบทความนี้ เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ CPM ว่า คืออะไร แตกต่างกับ CPC อย่างไร ไปจนถึงการคำนวณ ปัจจัยที่ส่งผลต่อ CPM และแนวทางการสร้าง Ads เมื่อยิงโฆษณาในรูปแบบนี้
CPM คืออะไร
CPM ย่อมาจาก Cost per Thousand หรือ Cost per Mille คือ ต้นทุนต่อการแสดงผล 1,000 ครั้ง โดยจะเป็นการคิดค่าโฆษณา ก็ต่อเมื่อตัวโฆษณามีการแสดงผลครบ 1,000 ครั้งแล้วเท่านั้น
โดยโฆษณาที่เน้นผลลัพธ์ด้าน CPM นั้น ส่วนใหญ่มักต้องการสร้างการรับรู้แบรนด์ สร้างภาพลักษณ์ หรือให้ลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ในโลกออนไลน์ได้รู้จักแบรนด์มากขึ้น มากกว่าการสร้างยอดขาย หรือการคลิกเข้าชมเว็บไซต์
CPM แตกต่างกับ CPC อย่างไร
- CPM ย่อมาจาก Cost per Thousand หรือ Cost per Mille จะมีการคิดเงินสำหรับค่าโฆษณาเมื่อแสดงผลครบ 1,000 ครั้งแล้วเท่านั้น
- ส่วน CPC ย่อมาจาก Cost per Click จะมีการคิดเงินสำหรับค่าโฆษณา โดยคำนวณจากจำนวนครั้งที่มีการคลิกโฆษณา
คำนวณ CPM อย่างไร
สูตรการคำนวณ CPM
CPM = (Cost / Impressions) x 1,000
ตัวอย่างการคำนวณ CPM
หากแคมเปญโฆษณามีต้นทุน หรือมีค่าใช้จ่ายในการยิงโฆษณาอยู่ที่ 25,000 บาท
มีจำนวนครั้งที่โฆษณาแสดงผล หรือ Impressions อยู่ที่ 370,000 ครั้ง
เมื่อนำสูตร (Cost / Impressions) x 1,000 มาแทนค่า จะได้เป็น
CPM = (25,000/370,000) x 1,000 = 67.56 บาทนั่นเอง
ตัวอย่างตำแหน่งการโฆษณาในรูปแบบ CPM
- Mobile Feed
- Desktop Feed
- Instagram (IG)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อ CPM
กลุ่มเป้าหมาย
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการยิงโฆษณาไม่ว่าจะเป็น อายุ เพศ ที่อยู่ การศึกษา หรือความสนใจที่แตกต่างกัน เมื่อกลุ่มเป้าหมายต่างกันย่อมส่งผลให้ CPM แต่ละกลุ่มแตกต่างกันไปด้วย
วันที่โฆษณา
ส่วนใหญ่ CPM มักจะสูงกว่าในช่วงวันหยุด หรือเทศกาลสำคัญ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีแนวโน้มที่จะใช้เวลาในโลกออนไลน์มากขึ้น อย่างเช่น ช่วงคริสต์มาส หรือปีใหม่ เป็นต้น
ตำแหน่งการจัดวางโฆษณา
ตำแหน่งการจัดวางโฆษณา เป็นการเลือกให้โฆษณาของแบรนด์ปรากฎ ตามส่วนต่าง ๆ ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ เช่น เลือกให้ปรากฏเฉพาะบน News Feed หรือ Stories โดยตำแหน่งโฆษณาที่โดดเด่นกว่ามักจะมี CPM สูงกว่า เนื่องจากมีแนวโน้มที่กลุ่มเป้าหมายจะเห็นโฆษณาได้ง่าย และบ่อยกว่าตำแหน่งโฆษณาอื่น
ปัจจัยที่กำหนด CPM ในการทำโฆษณาแบบเน้นการเข้าถึงและความถี่บน Facebook
- กำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สนใจในเรื่องอาหารกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สนใจในเรื่องของการทำขนม เป็นต้น
- กำหนดวันที่สำหรับการทำแคมเปญ คือ เวลาที่แบรนด์ต้องการเผยแพร่โฆษณา และแคมเปญที่เผยแพร่ในช่วงวันหยุดอาจมีค่าใช้จ่ายโฆษณามากกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ
- ตำแหน่งการจัดวางโฆษณา เช่น เลือกให้โฆษณาของแบรนด์ปรากฎเฉพาะบน Instagram เลือกให้โฆษณาของแบรนด์ปรากฎเฉพาะบน Facebook เป็นต้น
ประเภทของการแสดงผลของ CPM มีดังนี้
- Non-Monetized Views คือ ยอดวิวโฆษณาที่ไม่ได้สร้างยอดขายหรือรายได้ให้กับแบรนด์แต่เน้นการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
- Monetized Views คือ ยอดวิวโฆษณาที่สามารถสร้างยอดขายหรือรายได้ให้กับแบรนด์ ซึ่งสามารถเกิดจากการกดเข้าไปในโฆษณาหรือดูโฆษณาของแบรนด์
CPM สำคัญอย่างไรในการยิงโฆษณา
CPM มีความสำคัญในการยิงโฆษณาออนไลน์ เนื่องจาก CPM เป็นตัวบ่งบอกว่าแคมเปญโฆษณามีประสิทธิภาพหรือไม่ เพราะถ้าหากยิงโฆษณาออกไปแล้ว ผลปรากฏว่าค่า CPM สูงเกินไป นั่นอาจหมายความว่า แคมเปญโฆษณาไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย หรือโฆษณาไม่น่าสนใจพอที่จะดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้นั่นเอง
แนวทางการสร้าง Ads เมื่อยิงโฆษณาแบบ CPM
- ใส่โลโก้ของแบรนด์ไว้ในรูปภาพ ให้เกิดการจดจำแบรนด์ได้ง่ายขึ้น
- ใช้ชุดสี หรือ Mood & Tone ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบรนด์
- ใช้ภาพที่มีความละเอียด และไม่ควรปรับแต่งภาพมากเกินไป เพื่อเสริมความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์
- โชว์ภาพลูกค้าที่มีการใช้สินค้าหรือบริการจริง เพื่อดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ
- ใช้ข้อความที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย เพราะกลุ่มเป้าหมายมีเวลาในการดูโฆษณาเพียงไม่กี่วินาที
จากทั้งหมดที่กล่าวมา CPM คือ ต้นทุนต่อการแสดงผลใน 1,000 ครั้ง ในการโฆษณาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นการโฆษณาที่เน้นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเมทริกซ์ที่แบรนด์สามารถใช้วัดประสิทธิภาพของโฆษณาที่ตัวเองทำ หรือใช้ประเมินเอเจนซี่โฆษณาที่ร่วมงานได้ว่า เงินโฆษณาที่ลงทุนไปคุ้มค่าหรือไม่
หากคุณต้องการที่ปรึกษาการรับทำเว็บไซต์ WordPress หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้
โทร.065-095-9544
Inbox: m.me/cotactic
Line: @cotactic
——————————————————————–