click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

ในการทำการตลาดยุคใหม่ แค่รู้ว่า “ใครคือกลุ่มเป้าหมาย” ไม่เพียงพออีกต่อไป แต่ต้องเข้าใจว่า “พวกเขารู้สึก คิด และประสบการณ์อย่างไร” ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Empathy Map นักการตลาด UX designer และทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั่วโลกใช้มันเพื่อมองโลกผ่านสายตาของลูกค้าอย่างแท้จริง

Empathy Map เป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง ช่วยเปิดเผยว่า ผู้ใช้ของเรารับรู้ พูด ฟัง เห็น และรู้สึกอย่างไร เป็นตัวช่วยให้ทีมเห็นภาพเดียวกันในการออกแบบกลยุทธ์ทางธุรกิจและการสื่อสารที่ตรงจุด บทความนี้จะพาคุณไปรู้จัก Empathy Map แบบเจาะลึก พร้อมวิธีนำไปใช้จริง ตั้งแต่การเก็บข้อมูลไปจนถึงการประยุกต์ใช้ในกลยุทธ์การตลาดที่ทำให้ลูกค้า “รู้สึกว่าแบรนด์เข้าใจเขาจริง ๆ”

Empathy Map คืออะไร?

Empathy Map คืออะไร?

แผนผังที่ช่วยให้ทีมสามารถสรุปความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้าหรือผู้ใช้งานได้ในรูปแบบที่เป็นภาพรวมเดียว ใช้ในการทำความเข้าใจพฤติกรรม แรงจูงใจ ความต้องการ และปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย โดยมากใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ UX และกลยุทธ์การตลาดแบบลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-Centric Strategy)

เครื่องมือนี้ถูกคิดค้นขึ้นโดย Dave Gray จาก XPLANE และต่อมาถูกใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการ Design Thinking

องค์ประกอบที่สำคัญของ Empathy Map

องค์ประกอบที่สำคัญของ Empathy MapEmpathy Map แบบดั้งเดิมที่ได้รับความนิยม (โดยเฉพาะจากการนำเสนอของ XPLANE และ Nielsen Norman Group) จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก จุดประสงค์คือการเข้าใจลูกค้าแบบรอบด้าน โดยไม่หลงเหลือเพียง “ข้อมูลประชากร” แต่เจาะลึกถึง มุมมอง ประสบการณ์ และอารมณ์ของผู้ใช้แบบที่พวกเขาอาจไม่สามารถพูดออกมาได้ตรง ๆ

แผนผังนี้มักอยู่ในรูปแบบวงกลมหรือสี่เหลี่ยม แบ่งช่องตามสิ่งที่ลูกค้า คิด เห็น ได้ยิน พูด ทำ รู้สึก และต้องการ หรือกลัว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักได้จากการสัมภาษณ์ การถาม-ตอบ การสังเกต หรือการวิเคราะห์จาก social listening แบ่งได้ตามนี้

1.Think and Feel

ส่วนนี้คือ ใจกลาง ของ Empathy Map มุ่งเข้าไปที่ “ใจ” ของลูกค้า สิ่งที่คุณต้องค้นหาให้เจอ คือ สิ่งต่าง ๆ ดังนี้

  • พวกเขากังวลอะไร? กลัวอะไร?
  • อะไรคือสิ่งที่เขาให้ความสำคัญจริง ๆ?
  • แรงผลักดัน (Motivation) ที่แท้จริงคืออะไร?

เนื่องจากคนทั่วไปมักไม่พูดความรู้สึกออกมาตรง ๆ ข้อมูลจากตรงนี้จึงมักได้จากการตีความจากคำพูด พฤติกรรม เช่น น้ำเสียงตอนพูดถึงแบรนด์ หรืออารมณ์ระหว่างรีวิว

2.Hear

เสียงจากรอบข้างมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากกว่าที่เราคิด ไม่ว่าจะมาจากคนรอบตัว, Influencer, Podcast, หรือโซเชียลมีเดีย 

  • เขาได้ยินคำแนะนำ/คำวิจารณ์จากใคร?
  • เขาเชื่อถือแหล่งข้อมูลแบบไหน?

ลูกค้าหลายคนไม่เคยสัมผัสแบรนด์คุณ แต่ “ได้ยินมา” ว่าดีหรือแย่ ซึ่งมีผลต่อความรู้สึกตั้งแต่ยังไม่เคยใช้จริง

3.See

ส่วนนี้คือสิ่งที่ลูกค้าเจออยู่ในสภาพแวดล้อมรอบตัว ทั้งในโลกจริงและโลกออนไลน์

  • เขาเห็นพฤติกรรมของคนอื่นในกลุ่มเดียวกันหรือเปล่า?
  • เทรนด์, โฆษณา, คอนเทนต์อะไรอยู่ในสายตาเขาบ่อย ๆ?
  • มีคู่แข่งของคุณอยู่ในสายตาเขาบ้างไหม?

คนเรามีแนวโน้มที่จะเปรียบเทียบแบบไม่รู้ตัว ทั้งราคา ดีไซน์ ความนิยม หรือคุณค่าทางสังคมตัวอย่าง ดังนี้

“เห็นคนใช้แบรนด์คู่แข่งใน IG Story บ่อยมาก”

“โฆษณาเจ้าอื่นเด้งขึ้นมาแทบทุกคลิป”

“เดินผ่านร้านแล้วรู้สึกว่าโปรโมชันมันล่อตาล่อใจ”

4.Say and Do

นี่คือข้อมูลจากคำพูดและพฤติกรรมที่สังเกตได้จริง

  • เขาโพสต์หรือพูดอะไรบ้างเกี่ยวกับปัญหาหรือสินค้า?
  • เขาตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้ออะไร?
  • พฤติกรรมกับคำพูดสอดคล้องกันหรือไม่?

คำพูดกับการกระทำบางครั้งขัดกัน เช่น บอกว่า “ไม่ซีเรียสเรื่องแบรนด์” แต่ซื้อของแพงสุดทุกครั้ง “เดินดูสินค้านาน แต่สุดท้ายไม่ซื้อเพราะลังเลเรื่องราคา” “ถามเพื่อนในกลุ่มว่าแบรนด์ไหนดี แล้วเอาไป Search ต่อ”

ความสำคัญของ Empathy Map

ความสำคัญของ Empathy Map

Empathy Map คือ เครื่องมือที่ช่วยเปลี่ยนสมมติฐานให้กลายเป็นความเข้าใจเชิงลึกที่ใช้ได้จริง ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมระหว่าง “สิ่งที่แบรนด์อยากจะบอก” กับ “สิ่งที่ลูกค้ารู้สึกจริง ๆ”

1.เข้าใจลูกค้า “ในมุมมองของเขาจริง ๆ”

หลายแบรนด์คิดว่าตัวเองเข้าใจลูกค้า แต่ในความเป็นจริงกลับมองจากมุมของตัวเอง ไม่ใช่มุมของผู้ใช้ Empathy Map ช่วยเปลี่ยนวิธีคิดจาก “เราอยากขายอะไร” “เขาต้องการอะไร” เมื่อทีมเริ่มมองโลกผ่านสายตาของลูกค้า การตัดสินใจทางธุรกิจก็จะแม่นยำขึ้น

เข้าใจลูกค้า = เข้าใจอารมณ์ + ความกลัว + แรงผลักดันเบื้องหลังการตัดสินใจ

2.พัฒนา Content & Message ให้ตรงใจ

คนเราไม่ได้ซื้อเพราะเหตุผล แต่เพราะความรู้สึก Empathy Map ช่วยให้ทีม Content และ Marketing เข้าใจว่าลูกค้ากำลังคิดอะไร รู้สึกยังไง และคาดหวังอะไร ซึ่งทั้งหมดนี้คือแก่นของการสื่อสารให้โดนใจ

เช่น

  • เขียนข้อความโฆษณาที่ตอบความรู้สึกแท้จริง เช่น “หมดกังวลเรื่องผิวแพ้ง่าย” แทน “ผลิตภัณฑ์อ่อนโยน”
  • เลือกคำ ภาพ โทนเสียงที่ลูกค้ารู้สึกว่า “แบรนด์นี้เข้าใจฉัน”

3.วางกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์

ข้อมูลจาก Empathy Map เป็นจุดตั้งต้นที่ยอดเยี่ยมสำหรับการวางกลยุทธ์ทางการตลาดหรือแผนธุรกิจ เพราะมันช่วยให้รู้ว่า “จะเสนออะไร” และ “ควรเสนออย่างไร” ถึงจะทำให้ลูกค้า เชื่อและเลือกคุณ 

เช่น

  • ถ้าลูกค้ากังวลเรื่องคุณภาพ → วางกลยุทธ์โดยการ Proof จากผู้ใช้จริง
  • ถ้าลูกค้าอยากได้ความรวดเร็ว → สร้าง USP เรื่องจัดส่งไวใน 1 วัน

4.ปรับปรุงสินค้าและประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience)

Empathy Map ทำให้เห็นว่าจุดไหนของสินค้าหรือบริการที่ยังไม่ตอบโจทย์จริง ๆ ทีม Product, UX และ Service จะรู้ว่าควรพัฒนา “ตรงไหนก่อน” และ “พัฒนาเพื่ออะไร”

เช่น

  • ลูกค้าพูดว่า “กลัวบริการหลังการขาย” → เพิ่มระบบติดตามเคส  สื่อสารให้มั่นใจ
  • ลูกค้ารู้สึกว่า “แอปใช้ยาก” → ปรับ Onboarding ให้ใช้งานง่ายขึ้น

5.สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน

ในตลาดที่แบรนด์ขายของเหมือนกัน สิ่งเดียวที่ทำให้ต่างออกไปคือ “ความเข้าใจลูกค้าที่ลึกกว่า” Empathy Map ทำให้แบรนด์รู้ว่าคู่แข่งมองไม่เห็นอะไร แล้วเอาตรงนั้นมาเป็นจุดแข็ง

ผลลัพธ์

  • สื่อสารได้ก่อนคนอื่นเเละสร้างแบรนด์ที่ลูกค้ารู้สึกผูกพัน
  • ปิดการขายง่ายขึ้นเพราะลูกค้า “อิน” ไม่ใช่แค่ “สนใจ”

การสร้าง Empathy Map

การสร้าง Empathy Map

Empathy Map ไม่ใช่แบบฝึกหัดที่ทำตามฟอร์ม แต่เป็นกระบวนการเชิงลึกที่ต้องใช้การสังเกต ฟัง วิเคราะห์ และตีความจาก “ข้อมูลจริง” ของลูกค้าอย่างรอบด้าน ซึ่งสามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.กำหนดกลุ่มเป้าหมาย

ก่อนจะวาดอะไรลงแผนที่คุณต้องรู้ก่อนว่ากำลังวาด “ใคร” การกำหนด Persona หรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเฉพาะเจาะจงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะ Empathy Map ใช้เพื่อเข้าใจลูกค้าจริง ๆ ไม่ใช่ภาพรวมกว้าง ๆ 

คำถามที่ต้องตอบให้ได้

  • กลุ่มนี้คือใคร? (อายุ, อาชีพ, พื้นที่, พฤติกรรม)
  • เขาใช้อะไร? ซื้ออะไร? ผ่านช่องทางไหน?
  • มีเป้าหมายหรือความท้าทายอะไร?

2.สำรวจพฤติกรรมของลูกค้า

การสร้าง Empathy Map ที่มีคุณค่าต้องใช้ข้อมูลจริง ไม่ใช่การคาดเดา ซึ่งควรใช้แหล่งข้อมูลหลายแบบเพื่อเข้าใจลูกค้าในหลายมุมมอง ซึ่งข้อมูลที่คุณควรใช้เพื่อสำรวจมีคร่าว ๆ ประมาณนี้

  • การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview)
  • แบบสอบถามออนไลน์
  • วิเคราะห์คอมเมนต์ในโซเชียลมีเดีย (Social Listening
  • ดูพฤติกรรมในเว็บไซต์ (Heatmap, Session Recording)
  • รีวิวจากลูกค้าในแพลตฟอร์มต่าง ๆ

เมื่อมีข้อมูลแล้วให้นำไปกระจายใส่ใน 6 ช่องของ Empathy Map โดยใช้หลักการ “เข้าใจจากมุมมองของเขา ไม่ใช่ของเรา”

Do

ลูกค้ามักมีพฤติกรรมบางอย่างที่บอกถึงความตั้งใจ ความลังเล หรือความคุ้นชิน เช่น เปิดแอป Shopee ทุกคืน กดสินค้าลงตะกร้าแต่ไม่เคยกดสั่งซื้อ หรือใช้มือถือเปรียบเทียบราคาตามห้างก่อนจะกลับมาสั่งออนไลน์ในวันถัดไป พฤติกรรมเหล่านี้สะท้อนว่าเขากำลังมองหาบางอย่างที่ “ใช่กว่า” หรืออาจยังรู้สึกไม่มั่นใจในสินค้าและแบรนด์ที่เจอ ทำให้การตัดสินใจซื้อยังไม่เกิดขึ้นจริง

Say

สิ่งที่ลูกค้าพูดออกมาตรง ๆ ผ่านการรีวิว โพสต์ หรือบทสัมภาษณ์ มักสะท้อนทัศนคติพื้นฐานที่มีต่อสินค้าหรือบริการ เช่น คำพูดอย่าง “ฉันไม่ชอบโฆษณาที่ดูเฟคเกินไป” หรือ “ดูดีนะ แต่ไม่รู้ว่าคนใช้จริงเป็นยังไง” บ่งบอกว่าเขาต้องการความจริงใจและความน่าเชื่อถือมากกว่าคำพูดขายฝัน การฟังสิ่งที่เขาพูดตรง ๆ จึงเปรียบเสมือนการได้ยินเสียงสะท้อนจากความรู้สึกลึก ๆ ที่เขายังไม่ได้พูดออกมาทั้งหมด

See

ในชีวิตประจำวันของลูกค้าเห็นสิ่งต่าง ๆ มากมายที่มีผลต่อความรู้สึก ทั้งจากโซเชียลมีเดีย สภาพแวดล้อม หรือคนรอบข้าง เช่น เห็นรีวิวแบรนด์ใน TikTok ตลอด เห็นโฆษณาใน YouTube อย่างต่อเนื่อง หรือเห็นเพื่อนใช้สินค้าของคู่แข่งโดยไม่พูดถึงแบรนด์คุณเลย สิ่งที่เขาเห็นซ้ำ ๆ กลายเป็น “บรรทัดฐาน” ใหม่ที่เขาใช้เปรียบเทียบ และส่งผลต่อภาพลักษณ์ภายในใจแม้จะยังไม่เคยสัมผัสสินค้าจริง

Hear

เสียงที่ลูกค้าได้ยินจากคนรอบตัว เช่น เพื่อน ครอบครัว หรืออินฟลูเอนเซอร์ ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจ แม้ว่าเขาจะไม่ได้มีประสบการณ์กับแบรนด์โดยตรง เช่น คำพูดว่า “แม่บอกว่าเจ้านี้แพงเกินไป” หรือ “เพื่อนเคยใช้แล้วบอกว่าไม่ค่อยคุ้ม” คืออิทธิพลที่แม้ไม่เกี่ยวกับคุณโดยตรง แต่กลายเป็นภาพจำและความรู้สึกฝังลึกที่มีผลต่อมุมมองที่เขามีต่อแบรนด์

3.เข้าใจผู้ใช้อย่างแท้จริง

หลังจากวางกรอบรอบนอกครบแล้ว (Say, Do, See, Hear) ให้กลับเข้ามาสู่แกนกลางของแผนที่นั่นคือ ความคิด (Think) และอารมณ์ภายใน (Feel) 

Think

สิ่งที่อยู่ในใจลูกค้ามักไม่ได้พูดออกมา เช่น ความกังวลว่าจะเสียเงินฟรีถ้าซื้อแล้วใช้ไม่ได้ หรือคิดว่า “จะคุ้มไหมถ้าลองแล้วผิดหวังเหมือนครั้งที่แล้ว” ความคิดเหล่านี้เกิดจากประสบการณ์ในอดีต ความเชื่อส่วนตัว หรือแม้แต่ความกลัวที่ไม่มีเหตุผลชัดเจน แต่กลับส่งผลมากที่สุดต่อการตัดสินใจ เพราะมันคือเสียงในหัวที่เขาเถียงกับตัวเองอยู่ทุกครั้งก่อนซื้อ

Feel

อารมณ์ของลูกค้าอาจแสดงออกผ่านคำพูดหรือท่าทีที่เขาไม่รู้ตัว เช่น ความเหนื่อยล้าจากการต้องลองผิดลองถูกบ่อยครั้ง ความไม่มั่นใจว่าจะได้สินค้าที่ดีจริง หรือความรู้สึกไม่ถูกจริตกับแบรนด์บางแบรนด์ที่แม้จะมีคุณสมบัติครบแต่กลับรู้สึกว่า “มันไม่ใช่” ความรู้สึกเหล่านี้ส่งผลมากกว่าเหตุผล และถ้าแบรนด์สามารถแตะความรู้สึกในจุดนี้ได้ ลูกค้าจะเชื่อมโยงกับแบรนด์ในระดับที่ลึกขึ้นกว่าการตัดสินใจจากฟีเจอร์หรือราคา

4.คิดให้กว้าง

สุดท้ายเมื่อใส่ข้อมูลครบแล้ว อย่าเพิ่งหยุดที่ “การกรอกช่อง” ใช้สิ่งที่ได้จาก Empathy Map เพื่อเปิดมุมมองใหม่ วิเคราะห์ Insight และตั้งคำถามที่นำไปสู่การต่อยอด เช่น

  • ช่วยลด Pain Point ได้อย่างไร?
  • ออกแบบคอนเทนต์ให้ตอบความรู้สึกของเขาได้ไหม?
  • จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบ Gain ที่เขาต้องการได้หรือเปล่า?
  • ลูกค้ารู้สึกอะไรเมื่อเขา “เห็นแบรนด์คุณ” ครั้งแรก?

ควรใช้ Empathy Map เมื่อไหร่

ควรใช้ Empathy Map เมื่อไหร่

Empathy Map เป็นเครื่องมือที่ยืดหยุ่นและสามารถนำมาใช้ได้หลากหลายช่วงเวลาของกระบวนการทำงาน ทั้งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด หรือแม้แต่การวางแผนกลยุทธ์ระยะยาว โดยเฉพาะในสถานการณ์ต่อไปนี้ การเข้าใจผู้ใช้เชิงลึกจะมีผลอย่างมากต่อความสำเร็จของธุรกิจ

1.ก่อนเริ่มพัฒนา Product / Service ใหม่

ในช่วงก่อนเริ่มพัฒนา Product หรือ Service ใหม่ ควรใช้ Empathy Map เพื่อเข้าใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจนตั้งแต่แรก ช่วยให้สิ่งที่สร้างขึ้นมาตอบโจทย์จริง ๆ  ไม่ใช่แค่สิ่งที่คิดว่าน่าจะดี เเต่อาจจะไม่ตรงความต้องการ จะช่วยลดความเสี่ยงในธุรกิจได้

2.ในกระบวนการทำ User Research หรือหลังจากสัมภาษณ์ลูกค้า

ในกระบวนการทำ User Research หรือหลังจากสัมภาษณ์ลูกค้า การนำข้อมูลที่ได้มาถอดรหัสและจัดโครงสร้างใหม่ผ่าน Empathy Map จะช่วยให้ทีมเห็นภาพรวมของความรู้สึก ความคิด และประสบการณ์ของลูกค้าได้อย่างชัดเจนและเป็นระบบ

3.ก่อนทำ Customer Journey Map

การใช้ Empathy Map จะช่วยปูพื้นฐานความเข้าใจผู้ใช้งานในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นสำหรับการวางลำดับเส้นทางการตัดสินใจของลูกค้าได้อย่างแม่นยำและสมจริงจะทำให้คุณเห็นภาพชัดเจนในมุมมองที่กว้างขึ้น

4.เมื่อทีมมีมุมมองที่ต่างกันเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย

สามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องมือกลางในการดึงมุมมองเหล่านั้นมารวมกัน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมให้กับทีม และลดการถกเถียง รวมถึงความขัดเเย้งที่ยึดตามความเชื่อส่วนตัว

5.เพื่อออกแบบคอนเทนต์หรือแคมเปญการตลาด

ในการออกแบบคอนเทนต์หรือแคมเปญการตลาด Empathy Map จะช่วยให้ทีมเข้าใจว่าลูกค้าคิดอะไร รู้สึกอย่างไร และคาดหวังอะไร ทำให้การสื่อสารมีความแม่นยำ ตรงจุด และสร้างความรู้สึก “แบรนด์นี้เข้าใจฉัน” ได้อย่างแท้จริง

ประโยชน์ของ Empathy Map

ประโยชน์ของ Empathy Map

Empathy Map คือ มากกว่าแผนภาพ มันคือเครื่องมือที่ช่วยขับเคลื่อนการทำงานเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจในหลายมิติ ตั้งแต่การสร้างความเข้าใจร่วมกันในทีม ไปจนถึงการวางแผนที่ตอบโจทย์ผู้ใช้จริง ซึ่งประโยชน์ที่ชัดเจนที่สุดของการใช้ Empathy Map มีดังต่อไปนี้

1.สร้างความร่วมมือกันระหว่างสายงาน

การใช้ Empathy Map ช่วยสร้างความร่วมมือกันระหว่างสายงาน เพราะมันทำให้ทุกคนในทีมไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการตลาด การพัฒนา UX หรือแม้แต่ทีมขาย สามารถเห็นภาพของลูกค้าในมุมมองเดียวกัน ลดความขัดแย้งในเชิงมโนภาพและเปลี่ยนการถกเถียงว่า “ลูกค้าน่าจะคิดแบบนี้” ให้กลายเป็นการทำงานบนข้อมูลที่จับต้องได้จริง

2.ปรับปรุงสินค้าและบริการ

เมื่อทีมเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งผ่าน Empathy Map ก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มฟีเจอร์ที่ตอบ Pain Point ที่แท้จริง หรือปรับ Service Touchpoints ให้สอดคล้องกับความคาดหวังที่ลูกค้ามีในแต่ละช่วงของการใช้งาน

3.สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

การมี Empathy Map ที่ดีจะช่วยสร้างประสบการณ์ ความพึงพอใจให้กับลูกค้า เพราะเมื่อคุณเข้าใจว่าอะไรทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจ ประทับใจ หรือไม่พอใจ คุณจะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงธุรกิจเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้มากขึ้น

4.เจอกลุ่มเป้าหมายที่ใช่

นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้แบรนด์เจอกลุ่มเป้าหมายที่ใช่ได้จริง ๆ ไม่ใช่แค่กลุ่มที่ “ดูเหมือนจะใช่” เพราะคุณจะเห็นพฤติกรรม แรงจูงใจ และอารมณ์เบื้องหลังการตัดสินใจของลูกค้า ทำให้สามารถ Refine Persona และ Segmentation ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.วางกลยุทธ์ที่ได้ผลลัพธ์

สุดท้าย Empathy Map คือจุดตั้งต้นของการวางกลยุทธ์ที่ได้ผลลัพธ์แบบในโลกความจริง ไม่เพ้อฝัน เพราะช่วยให้ทุกไอเดียและการตัดสินใจในแผนการตลาดมีรากฐานอยู่บนความเข้าใจลูกค้า ไม่ใช่แค่ความคิดสร้างสรรค์ที่ขาดบริบท ทำให้แคมเปญมีแนวโน้มประสบความสำเร็จมากกว่า เพราะสิ่งนั้นจะพูดในภาษาที่ลูกค้าเข้าใจง่ายและเชื่อมโยงได้จริง

สรุป

Empathy Map คือเครื่องมือที่ช่วยให้คุณเข้าใจลูกค้า “มากกว่าแค่รู้จักเขา” แต่เข้าใจแบบเข้าถึงอารมณ์ มุมมอง ความกลัว และแรงจูงใจของเขาจริง ๆ มันช่วยให้แบรนด์สื่อสารได้ตรงจุด วางกลยุทธ์ได้แม่นยำและสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าได้ดีกว่าเดิม

หากคุณกำลังมองหามืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในด้านกลยุทธ์ทางตลาด เพื่อเข้าใจลูกค้าได้อย่างตรงจุด Cotactic Media บริษัทรับทำการตลาดออนไลน์พร้อมให้คำปรึกษาคุณ เพื่อต่อยอดเเละสร้างธุรกิจให้เติบโตได้อย่างมีทิศทาง 

Source

https://www.nngroup.com/articles/empathy-mapping/ 

https://www.atlassian.com/work-management/project-management/empathy-map 

https://asana.com/resources/empathy-map-template 

https://www.interaction-design.org/literature/article/empathy-map-why-and-how-to-use-it 

https://careerfoundry.com/en/blog/ux-design/what-is-an-empathy-map/

บทความที่เกี่ยวข้อง

Content Planner

Content Planner คืออะไร? วิธีวางแผนคอนเทนต์ให้ปังสำหรับธุรกิจออนไลน์

Social Media marketing (SMM)

Social Media Marketing คืออะไร เจ้าของธุรกิจต้องรู้สิ่งนี้

ต้องการหาทีม DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการหาทีม
DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้