click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

ในโลกธุรกิจที่ทุกคนต่างทำการตลาด หรือโฆษณาเพื่อแย่งชิงความสนใจ นี่คือเหตุผลที่นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจทุกคนต้องให้ความสนใจกับ ‘Unique Selling Point’ หรือ ‘USP’ ที่จะช่วยทำให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นเหนือ Brand อื่น ๆ และจะเป็นพลังดึงดูดที่ทำให้ลูกค้าเลือกใช้สินค้าหรือบริการจากธุรกิจ

แน่นอนว่าทุกคนล้วนอยากให้ธุรกิจของเรามี USP แต่คำถามคือเราจะสร้าง USP หรือ “จุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์” ของเราให้เหนือกว่าคนอื่นได้อย่างไร คงต้องเริ่มจากการทำความ USP กันก่อน

 

USP คืออะไร?

‘Unique Selling Point’ หรือ USP คือชุดคุณลักษณะที่แสดงตัวตนธุรกิจ ทำให้ธุรกิจหนึ่งแตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน และเป็นคำตอบของคำถามแรกในทุกคลาสเรียนบริหารธุรกิจว่า “ทำไมลูกค้าถึงต้องเลือกซื้อของคุณ” การสร้าง USP ที่แข็งแรงคือแก่นสำคัญในการบอกว่าธุรกิจของคุณเกิดมาเพื่ออะไร และจะส่งมอบคุณค่าอะไรให้กับลูกค้าที่ซื้อสินค้าและบริการ

 

ทำไม USP ถึงมีความสำคัญกับธุรกิจ?

USP เป็นหัวใจในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ทำให้ธุรกิจของเรามีความแตกต่างจากคู่แข่งคนอื่น ๆ ในตลาด USP ยังมีบทบาทที่สำคัญมากในการสร้างการรับรู้ และอัตลักษณ์แบรนด์ที่แข็งแรง เพราะ USP จะเป็นสิ่งแรกที่ลูกค้ารับรู้และจดจำแบรนด์ของเราได้ ช่วยสร้างจุดสนใจให้กับลูกค้าและทำให้เกิดการซื้อซ้ำได้ นอกจากนี้ การมี USP ที่ชัดเจนช่วยให้สร้างโฟกัสให้กับธุรกิจ ช่วยในการตัดสินใจที่สำคัญ เช่น การเลือกกลุ่มลูกค้า หรือวิธีทำการตลาดได้อีกด้วย

 

ตัวอย่าง Unique Selling Point แบบต่าง ๆ

การทำความเข้าใจจุดขายหรือ USP ประเภทต่าง ๆ ช่วยให้เรามีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ทำการตลาด และสื่อสารไปถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุด ซึ่งวิธีการแบ่งประเภท USP เราแบ่งได้ 5 แบบ คือ

  • USP ด้านผลิตภัณฑ์ ( Product-Based USP )

USP ด้านผลิตภัณฑ์ คือ การโฟกัสไปที่ลักษณะเด่นของสินค้าที่เรานำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ, การใช้งาน, เทคโนโลยี, ส่วนประกอบ หรือคุณสมบัติอื่น ๆ ที่สินค้าของเรามีแต่คนอื่นไม่มี ตัวอย่างของสินค้าที่มี USP ด้านผลิตภัณฑ์ เช่นสมาร์ตโฟน ซึ่งแต่ละรุ่นมีจุดเด่นไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีกล้องถ่ายรูปที่คมชัด, แบตเตอรี่ที่ใช้ได้นาน, หรือการออกแบบรุ่นกันน้ำ

  • USP ด้านบริการ ( Service-Based USP )

USP ด้านบริการ คือ การให้ความสำคัญไปที่การให้บริการและประสบการณ์ของลูกค้าที่ได้รับจากธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นระบบบริการลูกค้า, ความเร็วในการขนส่ง, การมีตัวเลือกให้ลูกค้าสามารถ Customization สินค้าที่ต้องการเองได้ หรือการให้บริการอื่น ๆ ที่ธุรกิจของคุณแตกต่างจากคู่แข่ง บางบริษัทเลือกที่จะให้บริการคำปรึกษากับลูกค้าแบบตัวต่อตัว เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์แต่ละบุคคล

  • USP ด้านราคา (Price-Based USP)

USP ด้านราคา คือการให้ความสำคัญกับคุณค่าที่ลูกค้าได้รับคุ้มค่าที่สุดกับเงินที่จ่าย ไม่ว่าจะเป็นการใช้กลยุทธ์ด้านราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง, การนำเสนอส่วนลด, หรือมีโครงสร้างราคาที่เอื้อประโยชน์สูงสุดกับลูกค้า

  • USP ด้านอัตลักษณ์ของแบรนด์ ( Brand-Based USP )

USP ด้านอัตลักษณ์ของแบรนด์ คือการให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ คุณค่า และความเชื่อที่ยึดถือของแบรนด์ ที่จะช่วยสร้างความเชื่อมโยงระหว่างลูกค้าที่มีความเชื่อตรงกันให้กลายเป็นกลุ่มลูกค้าที่จงรักภักดีกับแบรนด์ ตัวอย่างเช่นการที่ในปัจจุบันหลายแบรนด์หันมาให้คุณค่ากับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับคุณค่าของผู้บริโภคที่ใส่ในกับปัญหาสิ่งแวดล้อม

  • USP ด้านลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ( Niche-Based USP )

USP ด้านลูกค้าเฉพาะกลุ่ม คือการมุ่งความสนใจไปที่ลูกค้ากลุ่มเฉพาะซึ่งมักเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับความสำคัญหรือถูกมองข้ามในตลาด โดยการตอบสนองความต้องการที่เจาะจงไปถึงกลุ่มคนที่ผู้ให้บริการสินค้าและบริการส่วนใหญ่ละเลย ตัวอย่างของการสร้าง USP ประเภทนี้ เช่น กลุ่มอาหารวีแกนสำหรับคนที่เป็นมังสวิรัติ หรือขนมปังปลอดกลูเตนสำหรับคนที่แพ้กลูเตนในกระบวนการทำขนมปังแบบปกติ

 

เคล็ดลับสร้าง USP ที่โดดเด่น

แน่นอนว่าทุกคนอยากทำให้เราเป็นแบรนด์ที่ USP โดดเด่นที่สุดในตลาด เรามีเคล็ดลับ 5 ข้อ ที่ช่วยให้สามารถสร้าง USP อย่างแข็งแรง นั่นคือ

USP คือ

  • รู้จักลูกค้า

ทำความเข้าใจ Pain Point และความต้องการของลูกค้า และออกแบบ USP ให้ตรงจุดไปที่สิ่งที่ลูกค้าของเราต้องการ

 

USP คือ

  • ให้ความสำคัญกับจุดแข็ง

รู้จักตัวเองว่าธุรกิจของเรามีจุดแข็งตรงไหนและเหนือกว่าคู่แข่งเรื่องอะไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพ, ประสบการณ์, หรือการให้บริการที่แตกต่างจากที่อื่น

 

USP คือ

  • เป็นตัวของตัวเอง

USP ที่ดีต้องมาจากสิ่งที่สะท้อนตัวตนจริง ๆ ของธุรกิจคุณ อย่าพยายามเป็นคนที่คุณไม่ได้เป็น และหลีกเลี่ยงการกล่าวอ้างในสิ่งที่คุณไม่ได้เป็นแบบนั้นจริง ๆ 

 

USP คือ

  • ชัดเจนเข้าใจง่าย

USP ที่ดีต้องเข้าใจง่ายและจดจำง่าย หลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์เฉพาะแวดวง (Jargon) สื่อสารด้วยถ้อยคำที่ตรงไปตรงมากที่สุด เข้าใจง่ายที่สุด

  • ทดสอบและทบทวนอยู่เสมอ

ด้วยการรับฟัง Feedback จากลูกค้าและปรับ USP ของเราให้ตรงตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลง ในปัจจุบันความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนไปตลอดเวลา USP ของเราก็ต้องปรับตัวให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าด้วย

 

การมี ‘จุดขายที่เป็นเอกลักษณ์’ หรือ ‘Unique Selling Point’ ที่แข็งแรง คืออีกหนึ่งในหัวใจความสำเร็จของธุรกิจ ดังนั้น USP จึงเปรียบเหมือนเครื่องนำทางว่าแบรนด์ของคุณอยู่ตรงไหนในตลาด และควรจะเดินไปในทิศทางไหนเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าของเราให้ได้มากที่สุด อย่าลืมทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้า เสริมจุดแข็ง และยึดมั่นแนวทางของ Brand อย่างตรงไปตรงมา คุณจะสามารถสร้างจุดขายที่แตกต่างให้กับธุรกิจคุณ ทำให้แบรนด์ของคุณและลูกค้าเดินทางไปได้ไกลกว่าเดิมได้


หากคุณต้องการที่ปรึกษาการรับทำเว็บไซต์ WordPress หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

——————————————————————–

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว 10 โปรแกรม Project Management Tools

รีวิว 10 Project Management Tools ล่าสุดปี 2024

Image6

Revenue คืออะไร เข้าใจการเงินพื้นฐานที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้ | Cotactic

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้