September 16, 2022 Reading Time: 3 minutes

รวม 7 ตำแหน่งการจัดวาง Facebook Ads ที่เจ้าของธุรกิจไม่ควรพลาด!

Facebook Ads คือ ระบบการโฆษณาบนหน้าฟีดของ Facebook ที่ผู้ประกอบการหลายท่าน นึกถึงเป็นอันดับแรกเมื่ออยากโปรโมทหรือโฆษณา เพราะเรามักจะเห็นโฆษณามากมายปรากฎขึ้นมาโชว์ในส่วนฟีดนี้อยู่บ่อยครั้ง แต่คุณรู้หรือไม่ว่านอกจากบริเวณหน้าฟีดข่าวแล้ว ตัว Facebook ก็ยังมีช่องทางการนำเสนอโฆษณาที่ยังสามารถใช้งานได้อีก ซึ่งในแต่ละตำแหน่งต่างก็มีจุดเด่นและกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป โดยจะมีตำแหน่งการจัดวางอะไรบ้างนั้น Cotactic ได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็น มาให้ทุกคนได้ลองอ่านและศึกษากันแล้วครับ

 

ตำแหน่งการจัดวาง Facebook Ads คืออะไร? ทำไมต้องเลือก?

 

ในกระบวนการสร้าง Facebook Ads นั้น หลังจากที่เราเลือกวัตถุประสงค์ของแคมเปญ งบประมาณ และเลือกกลุ่มเป้าหมายเสร็จสิ้นแล้ว ลำดับต่อมาที่เราต้องทำเลยก็คือเลือกตำแหน่งการจัดวางของตัวโฆษณา ว่าจะกำหนดให้ตัว Ads ไปแสดงอยู่ที่แพลตฟอร์มใด โดยในปัจจุบันมีแพลตฟอร์มที่โฆษณาจะไปปรากฎอยู่ทั้งหมด 4 แห่งด้วยกัน คือ Facebook, Instagram, Messenger และ Audience Network ซึ่งในแต่ละแพลตฟอร์มต่างก็มีตำแหน่งการจัดวางโฆษณาที่แยกย่อยแตกต่างกันไป

 

ตำแหน่งการจัดวาง Facebook Ads คืออะไร

 

ด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องเลือกตำแหน่งการจัดวาง เพื่อกำหนดให้ตัวโฆษณา Facebook ปรากฎอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม โดยอาจใช้หลักเกณฑ์อย่างงบประมาณ การนำเสนอ วัตถุประสงค์ และกลุ่มเป้าหมายของตัวโฆษณาในการเลือก หรือคุณอาจเลือกใช้การตั้งค่า ตำแหน่งการจัดวางอัตโนมัติ เพื่อให้ตัวระบบแสดงโฆษณาในพื้นที่ที่ใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งนี่ถือเป็นตัวเลือกที่ทาง Facebook แนะนำให้ใช้เลยทีเดียว

 

ตำแหน่งโฆษณา Facebook Ads มีกี่ประเภท

ด้วยความที่ตำแหน่งการจัดวาง Facebook Ads นั้น ส่งผลโดยตรงต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่ได้เห็นโฆษณา ทาง Facebook จึงแบ่งตำแหน่งต่าง ๆ ออกมาเป็น 7 ประเภทให้ครอบคลุมการใช้งานที่สุดดังนี้

 

1.ฟีดข่าว (News Feed)

 

ฟีดข่าวเป็นพื้นที่ที่เรามักจะเห็นโฆษณาอยู่บ่อยครั้ง ถือเป็นพื้นที่หลักของตัว Facebook ที่ Ads สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้มากที่สุด โดยตัวโฆษณาจะแสดงให้ผู้คนเห็นผ่านการเลื่อนดูระหว่างตัวโพสต์ ซึ่งในส่วนของฟีดข่าวนั้นจะสามารถแบ่งแยกย่อยตามแพลตฟอร์มได้ดังนี้

 

ตำแหน่ง Facebook Ads News Feed

ขอบคุณภาพจาก facebook.com/business

 

  • ฟีดข่าว Facebook หน้าแรกของตัว Facebook ที่มีผู้ใช้งานเห็นมากที่สุด ตัวโฆษณาจะปรากฏขึ้นบนฟีดข่าว ไม่ว่าพวกเขาจะเปิดเว็บไซต์ในคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือก็ตาม
  • ฟีด Instagram หน้าแรกของแพลตฟอร์ม Instagram ที่ตัวโฆษณาจะแสดงแก่ผู้ที่ใช้งานแอป Instagram บนโทรศัพท์มือถือเท่านั้น
  • Facebook Marketplace เป็นแท็บซื้อขายสินค้าของตัว Facebook โดยโฆษณาจะปรากฏขึ้นในส่วนนี้หากมีผู้ใช้งานเข้ามาเลือกหรือกดหาสินค้า
  • ฟีดวิดีโอบน Facebook หรือ Facebook Watch เป็นหน้าฟีดเพื่อค้นหาหรือรับชมวิดีโอของตัว Facebook โดยวิดีโอโฆษณาจะปรากฏแทรกขึ้นกับวิดีโอทั่วไปที่เราเปิดเจอหรือทำการค้นหา
  • คอลัมน์ด้านขวาของ Facebook คอลัมน์ด้านขวานี้จะเป็นพื้นที่เฉพาะที่จะปรากฏให้ผู้ใช้งาน Facebook บนคอมพิวเตอร์เห็นเท่านั้น 
  • หน้าสำรวจบน Instagram โฆษณาในตำแหน่งนี้จะปรากฏขึ้นเมื่อมีคนคลิกบนรูปภาพหรือวิดีโอขณะพวกเขากำลังใช้งาน Instagram
  • ร้านค้าบน Instagram โฆษณาในส่วนนี้จะปรากฏขึ้นในแท็บร้านค้าบน Instagram ระหว่างที่ผู้ใช้งานกำลังเลือกดูหรือค้นหาสินค้า
  • กล่องข้อความใน Messenger บริเวณหน้าหลักของตัว Messenger ที่ตัวโฆษณาจะปรากฎให้เห็นแทรกอยู่ระหว่างกล่องข้อความ(แชท)ของผู้ใช้งาน

 

ตำแหน่ง Facebook Ads Stories

ขอบคุณภาพจาก facebook.com/business

 

2.สตอรี่ (Stories)

 

คลิปวิดีโอขนาดสั้นที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานที่มีทั้งใน Facebook และ Instagram ถือเป็นตำแหน่งการจัดวางที่ตัวโฆษณาสามารถเข้าถึงผู้คนได้จำนวนมาก เนื่องจากเป็นส่วนแรก ๆ ที่ผู้ใช้งานมักกดเข้าไปดู สามารถแบ่งแยกย่อยตามแพลตฟอร์มได้ดังนี้

 

 

ตำแหน่ง Facebook stories

ขอบคุณภาพจาก facebook.com/business

  • Facebook Stories หากเลือกตำแหน่งการจัดวางนี้ ตัวโฆษณาจะแสดงขึ้นระหว่างที่ผู้ใช้งานกำลังดูสตอรี่ของเพื่อนใน Facebook สามารถเป็นได้ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอภาพเคลื่อนไหว
  • Instagram Stories มีหลักการทำงานแบบเดียวกับ Facebook Stories เพียงแต่จะแสดงให้ผู้ใช้งานเห็นผ่านการดูสตอรี่บน Instagram แทน
  • Messenger Stories มีหลักการทำงานที่ใกล้เคียงกับตัว Facebook และ Instagram Stories ซึ่งในส่วนนี้จะแสดงให้ผู้ใช้งาน Messenger เห็นแทน

 

ตำแหน่ง Faceook Ads Reels

ขอบคุณภาพจาก facebook.com/business

 

 

3.วิดีโอแบบในสตรีม (In-Stream Videos)

 

โฆษณาที่จะแสดงในตำแหน่งการจัดวางนี้นั้น จะมีรูปแบบนำเสนอที่จะคอยยิง Ads ให้ผู้ใช้งานเห็นระหว่างที่พวกเขากำลังรับชมวิดีโอที่กำลังสตรีมอยู่ โดยสามารถแบ่งแยกย่อยตามแพลตฟอร์มได้ดังนี้

ตำแหน่ง In-Stream Videos

ขอบคุณภาพจาก facebook.com/business

 

  • วิดีโอแบบในสตรีมบน Facebook ตำแหน่งการจัดวาง Facebook Ads นี้ จะแทรกโฆษณาให้ผู้ใช้งานเห็นเป็นคลิปวิดีโอสั้น ๆ เมื่อพวกเขากำลังรับชมสตรีมสดของพาร์ทเนอร์ที่ได้รับการคัดสรรมาแล้วบน Facebook 
  • วิดีโอแบบในสตรีมบน Instagram ตำแหน่งการจัดวางนี้มีส่วนการทำงานที่คล้ายคลึงกับวิดีโอแบบในสตรีมบน Facebook ที่จะมีการสอดแทรกโฆษณาให้ผู้ใช้งานเห็นเมื่อพวกเขากำลังรับชมสตรีมสดอยู่บน Instagram
  • Reels บน Instagram Reels ถือเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์น้องใหม่ที่มาแรงบน Instagram รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของฟีเจอร์นี้จะมีความคล้ายคลึงกับคลิปวิดีโอใน TikTok ซึ่งตัวโฆษณาในตำแหน่งนี้จะแสดงให้ผู้ใช้งานเห็นเมื่อพวกเขากำลังดูคลิป Reels อยู่

 

ตำแหน่ง Facebook Search Results

ขอบคุณภาพจาก facebook.com/business

4.การค้นหา (Facebook Search Results)

 

ในตำแหน่งการจัดวางนี้จะแสดงโฆษณาในขณะที่ผู้ใช้งานกำลังค้นหาอะไรบางอย่างผ่านช่อง Search ซึ่งตัว Ads จะปรากฏถัดจากผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องบน Facebook และ Marketplace

ตำแหน่ง Facebook Search Results

ขอบคุณภาพจาก facebook.com/business

 

5.ข้อความ (Messenger Sponsored Messages)

 

ตัวโฆษณาในตำแหน่งการจัดวางนี้ จะแสดงในรูปแบบของข้อความที่ได้รับการสนับสนุนบน Messenger ซึ่งจะปรากฏเป็นกล่องข้อความส่งถึงผู้ใช้งานที่มีการสนทนาด้วยโดยตรง

Facebook Ads Messenger Sponsored Messages

ขอบคุณภาพจาก facebook.com/business

 

6.ในบทความ (Instant Articles)

 

Instant Articles คือรูปแบบเนื้อหาที่ได้รับการปรับให้สามารถอ่านได้ง่ายบนโทรศัพท์มือถือ การเลือกตำแหน่งในการจัดวางนี้จะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่บทความแบบอินเตอร์แอคทีฟ ให้ผู้ใช้งาน Facebook ในโทรศัพท์มือถืออ่านได้อย่างง่ายดาย

ตำแหน่ง Facebook Instant Articles

ขอบคุณภาพจาก facebook.com/business

 

7.โฆษณาบน Audience Network

 

Audience Network เป็นการนำโฆษณาไปแสดงอยู่บนเว็บไซต์ แพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชันอื่น ๆ นอก Facebook ทำให้เจ้าของธุรกิจหรือนักการตลาด สามารถขยายขอบเขตการทำงานของตัวแคมเปญให้เข้าถึงผู้คนได้มากยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ 

ตำแหน่ง Audience Network

ขอบคุณภาพจาก facebook.com/business

 

  • โฆษณาแบบเนทีฟ โฆษณาแบบแบนเนอร์ และโฆษณาคั่นใน Audience Network โฆษณาที่จะปรากฎขึ้นมาในแอปอื่น ๆ ที่ทาง Facebook ไม่ได้เป็นเจ้าของ ตัว Ads จะแสดงแทรกขึ้นมาในระหว่างที่ผู้คนกำลังใช้งาน
  • วิดีโอที่มีรางวัลหลังชมจบบน Audience Network ตำแหน่งการนำเสนอนี้จะแสดงโฆษณาขึ้นมาในแอปอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานกดคลิกดูโฆษณาเพื่อแลกรางวัลหลังดูจบ

 

Facebook Ads Audience Network

ขอบคุณภาพจาก facebook.com/business

 

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าตำแหน่งการจัดวาง Facebook Ads นั้น ส่งผลโดยตรงต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่ได้เห็นโฆษณา พวกเขาจะตอบสนองอย่างไรกับโฆษณาที่เห็น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการตัดสินใจของพวกเขาทั้งสิ้น ดังนั้นหากคุณเลือกที่จะกำหนดตำแหน่งโฆษณาด้วยตนเอง คุณก็จำเป็นที่จะต้องรู้จักรายละเอียดการทำงานของแต่ละตำแหน่ง ว่ามีการนำเสนอสื่ออย่างไรและให้ผลลัพธ์ที่ตรงตามเป้าหมายไหม หากคุณเลือกตำแหน่งการจัดวางได้อย่างเหมาะสม มันก็จะทำให้โฆษณาของคุณเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของตัวธุรกิจได้อย่างตรงจุด

 

——————————————————————– 

 

หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว

โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

 

——————————————————————–

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

 

Facebook Comment
บทความที่เกี่ยวข้อง

Hybrid Working คืออะไร ? ทำไมเจ้าของธุรกิจควรรู้จัก

การทำงานแบบไฮบริด (Hybrid working) คือการทำงานในออฟฟิศ ผสมผสานกับการทำงานระยะไกลจากสถานที่อื่น เช่น จากบ้าน ใน Co-Working Space หรือสถานที่อื่น ๆ ถือเป็นวิธีการทำงานที่ยืดหยุ่น ทำให้พนักงานเลือกการทำงานได้ ว่าจะทำงานอย่างไร เมื่อไร และที่ไหน ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความสมดุลในการทำงาน รวมถึงชีวิตส่วนตัวของพนักงานมากยิ่งขึ้น โดยการทำงานแบบไฮบริดจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กร และพนักงานของบริษัทนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น บางบริษัทอาจอนุญาตให้พนักงาน ทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) 2 วันต่อสัปดาห์ และมาทำงานที่ออฟฟิศ 3 วันต่อสัปดาห์ ทั้งนี้การทำงานแบบไฮบริดเป็นที่นิยมมากขึ้นในปีหลัง ๆ เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยี ที่ทำให้การทำงานจากระยะไกลเป็นไปได้ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการระบาดของโรค COVID-19 เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้การทำงานแบบ Hybrid Working เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย เนื่องจากบริษัทหลายแห่งต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรการที่สาธารณสุขกำหนดไว้   5 ประโยชน์สำคัญของ Hybrid Working 1.เพิ่มความยืดหยุ่น (Increased Flexibility) การทำงานแบบไฮบริดช่วยให้พนักงานสามารถเลือกได้ว่าจะทำงานได้อย่างไร […]

Data Analysis คืออะไร ทำไมเจ้าของธุรกิจไม่ควรมองข้าม

Data Analysis คืออะไร   Data Analysis คือ กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกเก็บหรือบันทึกไว้ เพื่อค้นหาสิ่งที่มีประโยชน์มาต่อยอดการทำงานที่เราต้องการ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่มีการนำเอาข้อมูลและผลประกอบการทั้งหมด มาตรวจสอบ แยกแยะ และแจกแจงให้เข้าใจง่ายเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวางแผนกลยุทธ์ หรือประกอบการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่ช่วยให้เราเข้าใจภาพรวมของตัวธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถคาดเดาผลลัพธ์หรือจำลองความเป็นไปได้ต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุมมากที่สุด   ดังนั้น Data Analysis จึงถือเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์และจำเป็นอย่างมากในยุคดิจิทัล เพราะเราจะสามารถนำเอาข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์โฮมเพจและสื่อสังคมออนไลน์มาวิเคราะห์หรือตรวจสอบ เพื่อนำไปพัฒนาตัวธุรกิจให้สามารถสร้างผลลัพธ์ได้อย่างที่เราต้องการ นับเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่นักการตลาดและที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ทั่วโลกต่างเลือกใช้   หลักการทำงานของ Data Analysis   1.Market Analysis Market Analysis คือการวิเคราะห์ตลาดผ่านข้อมูลทั้งหมดที่ตัวธุรกิจได้เก็บหรือบันทึกไว้ เพื่อหาแนวโน้มการทำงานและความเป็นไปได้ของตลาดในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถวางแผนกลยุทธ์ แคมเปญ โปรโมชั่น หรือเลือกช่องทางการจำหน่ายสินค้าบริการได้อย่างเหมาะสม ทำให้เราสามารถเข้าถึงผู้บริโภคและกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุด ถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในยุคดิจิทัล เพราะมันจะช่วยให้การทำการตลาดบนโลกออนไลน์มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นการทำ Market Analysis จึงจำเป็นต้องทำอย่างรอบคอบ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ ถึงจะวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำและมีความถูกต้องมากที่สุดนั่นเอง   2.Data Mining Data Mining […]

รวมขนาด Banner (Banner Sizes) ทั้งหมด ทุกแพลตฟอร์ม 2023

ในยุคปัจจุบันการทำโฆษณาลงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ถือเป็นกลยุทธ์การตลาดพื้นฐานที่หลายธุรกิจต่างเลือกใช้กันเป็นปกติ บรรดาที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ต่างพร้อมใจยกให้ อินเทอร์เน็ตเป็นอีกหนึ่งช่องทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างยอดเยี่ยม แต่คุณเคยสังเกตไหมว่าโฆษณามากมายที่ถูกใช้งานอยู่ในตอนนี้ ต่างมีรูปภาพหรือ Banner เป็นส่วนประกอบแทบทั้งสิ้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่าภาพ Banner นั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำโฆษณาบนโลกออนไลน์ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม   วันนี้ Cotactic จึงอยากจะพาเจ้าของธุรกิจและผู้ที่สนใจไปรู้จักกับความหมายของ Banner กันครับ ว่าในยุคปัจจุบันนี้ Banner ที่ดีควรเป็นอย่างไร และขนาด Banner ที่เหมาะสมต้องใหญ่ประมาณเท่าไหร่   แบนเนอร์ (Banner) คืออะไร แบนเนอร์ (Banner) หรือ เว็บไซต์แบนเนอร์ (Website Banner) คือภาพกราฟิกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อประกอบการทำโฆษณาออนไลน์บนเว็บไซต์หรือบน Social Media ต่าง ๆ มีจุดประสงค์เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งานให้อ่านสารที่อยู่บนภาพ มักถูกสร้างขึ้นเพื่อโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เรื่องราวต่าง ๆ Banner ส่วนใหญ่จึงมีการฝังลิงค์ URL เข้าไป เพื่อเชื่อมต่อผู้ใช้งานที่คลิกเข้ามายังรูปให้ตรงไปยังหน้าเพจ เว็บไซต์ หรือปลายทางที่ผู้สร้างต้องการ ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบของโฆษณาออนไลน์ที่เราพบได้บ่อยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   Banner ที่ดีควรเป็นแบบไหน   1.มีสีสันและธีมที่กลมกลืนไปกับเว็บไซต์ […]