March 1, 2023

Google Analytics คืออะไร ? จะช่วยวิเคราะห์เว็บไซต์อย่างไร (ฉบับอัปเดต 2023)

Reading Time: 3 minutes

ในยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก หรือองค์กรขนาดใหญ่ก็ล้วนพาธุรกิจของตนเองเข้าสู่โลกดิจิทัลกันทั้งนั้น โดยเฉพาะการสร้างเว็บไซต์ของตนเองหรือการใช้บริการรับทำ SEO เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้แก่ธุรกิจได้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน แต่ทว่าการทำเว็บไซต์ก็มีการแข่งขันที่สูงมากเช่นกัน ซึ่งหากปราศจากข้อมูล ก็อาจทำให้เว็บไซต์ของคุณเสียโอกาสและตามหลังเว็บไซต์ของคนอื่น 

สำหรับโลกดิจิทัลข้อมูลถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ถ้าเปรียบกับการเดินทาง ข้อมูล คือ แผนที่ ที่จะพาคุณไปได้ถูกทาง แต่ถ้าหากมีแผนที่แล้ว ดูแผนที่ไม่เป็น แผนที่ นั้นก็เปล่าประโยชน์

ดังนั้น การที่มีข้อมูลในมือแต่นำข้อมูลมาใช้ไม่เป็นก็อาจจะทำให้ข้อมูลที่มีไร้ประโยชน์ ถ้าหากเว็บไซต์ของคุณมีเครื่องมือที่สามารถช่วยในการวัดผลสถิติและวิเคราะห์ข้อมูล ก็จะทำให้คุณสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด

Google Analytics หนึ่งในเครื่องมือจาก Google ที่ถูกทำขึ้นมาเพื่อช่วยในเรื่องของเว็บไซต์โดยเฉพาะ เครื่องมือนี้คืออะไร แล้วสามารถช่วยเว็บไซต์ของคุณได้อย่างไร เราไปเริ่มกันเลย !

 

Google Analytics คืออะไร

หนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Google สามารถวิเคราะห์และเก็บสถิติข้อมูลของเว็บไซต์ ทำให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถเข้าถึงข้อมูลและสถิติการเข้าชมในแต่ละหน้าเว็บไซต์ได้แบบ Real Time นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้อีก เช่น ผู้เข้าชมเว็บไซต์คือใคร (เพศและอายุ), อุปกรณ์ที่ใช้เข้าชมเว็บไซต์ (สมาร์ตโฟนหรือคอมพิวเตอร์), พฤติกรรมของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์, หรือผู้เข้าชมเว็บไซต์มาจากช่องทางไหน เป็นต้น 

ซึ่ง Google Analytics สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังสามารถผูกบัญชีเข้ากับ Google Ads ทำให้สามารถวิเคราะห์ภาพรวมของการทำโฆษณาได้

กล่าวโดยสรุป Google Analytics คือ เครื่องมือที่สามารถใช้วัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์ ด้วยการนำข้อมูลเชิงลึกของคนที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์มาวิเคราะห์ และเมื่อเจ้าของเว็บไซต์ทราบถึงข้อมูลเหล่านี้ ก็จะสามารถนำข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้มาวิเคราะห์ต่อ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ของตนเองให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

 

รู้จักแถบรายงานใน Google Analytics

ฟีเจอร์หลักของ Google Analytics นั่นก็คือแถบ Reports นั่นเอง ซึ่งจะเป็นส่วนที่เจ้าของเว็บไซต์เอาไว้ดูรายงานข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของตนเอง โดยมีทั้งหมด 5 Reports ซึ่งแต่ละหัวข้อ Report จะสามารถใช้ดูอะไรได้บ้าง เราไปดูกันเลย 

 

Realtime Report

รายงานตัวแรกอย่าง Realtime มีหน้าที่รายงานสดทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนหน้าเว็บไซต์ในช่วงเวลา 30 นาทีผ่านมา ซึ่ง Realtime Report อัปเดตข้อมูลให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ภายใน Realtime Report ก็จะมีรายงานย่อย ๆ ให้ดูได้อีก 

  • Overview เป็นตัวที่บอกภาพรวมของเว็บไซต์ เช่น ตอนนี้มีคนเข้าชมเว็บไซต์อยู่กี่คน ผู้เข้าชมเว็บไซต์กำลังดูคอนเทนต์อะไร หรือบอกถึงคีย์เวิร์ด/เว็บไซต์ที่พาคนเข้ามาสู่เว็บไซต์ของคุณ เป็นต้น
  • Locations มีหน้าที่ในการบอกรายละเอียดเกี่ยวกับพื้นที่/ประเทศของผู้เข้าชมเว็บไซต์ 
  • Traffic sources หรือแหล่งที่มาการเข้าชม จะแสดงข้อมูลแหล่งที่มาของผู้เข้าชมเว็บไซต์ ว่าเข้ามาจากช่องทางไหน เจอเว็บไซต์ได้อย่างไรและเจอเว็บไซต์จากช่องทางไหน
  • Content แสดงข้อมูลของ Content บนเว็บไซต์ที่กำลังได้รับความนิยม โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ผู้ใช้งานที่กำลังใช้งานอยู่บนเว็บไซต์ช่วง 5 นาทีผ่านมา และผู้ใช้งานที่กำลังใช้งานอยู่บนเว็บไซต์ช่วง 30 นาทีผ่านมา
  • Events เป็นรายงานที่จะแสดงข้อมูลรายละเอียดของ Events ที่ถูกตั้งค่าไว้ ซึ่งข้อมูลที่แสดงออกมาก็คือ ข้อมูลของผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่เข้าเงื่อนไข Event ที่ถูกตั้งค่าไว้
  • Conversions เป็นรายงานการขายที่เกิดขึ้นจริง/รายงานปิดการขาย Report ตัวนี้จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะ Conversion Tracking ที่เจ้าของเว็บไซต์ตั้งค่าไว้เท่านั้น เช่น การทักข้อความ, การซื้อขายหน้าเว็บไซต์ หรือการกดปุ่มโทรออก เป็นต้น

 

Audience Report

รายงานนี้มีหน้าที่หลัก ๆ คือ การรายงานถึงบุคลิกและลักษณะของผู้เข้าชมเว็บไซต์ เช่น อายุ เพศ ประเทศ ภาษาจนถึงรายงาน User ว่าเป็นผู้ที่เคยเข้ามาชมในเว็บไซต์แล้วหรือเป็นผู้ใช้ใหม่ ซึ่งนอกจากนี้ยังสามารถดูได้ถึงอุปกรณ์ที่ถูกใช้ในการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณ เช่น PC แสดงผลเบราว์เซอร์ที่ใช้เข้าถึง, โทรศัพท์/แท็บเล็ต แสดงรุ่นและระบบปฏิบัติการ Audience Report จะมีรายงานย่อย ๆ ให้ดูได้อีก ได้แก่

  • Overview แสดงภาพรวมของผู้เข้าชมเว็บไซต์แบบครบถ้วน 
  • Active Users แสดงข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ในแต่ละช่วงวันเวลาที่คุณอยากทราบ เช่น 1 Day Active Users, 7 Day Active Users, 14 Day Active Users และ 28 Day Active Users
  • Lifetime Value เหมาะกับการใช้งานในการดูข้อมูลของเว็บไซต์ Ecommerce รายงานจะแสดงผลข้อมูลที่ช่วยให้คุณสามารถประเมินมูลค่าของลูกค้าตั้งแต่ช่วงเวลาที่ลูกค้าเข้ามาในเว็บไซต์
  • Cohort Analysis รายงานข้อมูลการจัดกลุ่มผู้เข้าชมเว็บไซต์เก่าที่เข้ามาชมซ้ำ 
  • Audiences แสดงข้อมูลของผู้เข้าชมเว็บไซต์แบบเฉพาะกลุ่ม ตามที่เจ้าของเว็บไซต์เลือก
  • User Explorer รายงานที่ใช้ในการสำรวจผู้ใช้ แสดงข้อมูลรายละเอียดของผู้เข้าชมเว็บไซต์ สามารถดูได้ทั้ง Demographics, Interests, Geo, Behaviour, Technology, Mobile, Custom, Benchmarking
  • User Flow รายงานที่แสดงข้อมูลลำดับการเข้าใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์

 

Acquisition Report

รายงานที่แสดงข้อมูลของการได้มาซึ่งผู้เข้าชมเว็บไซต์ หรือก็คือรายงานที่จะบอกว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์เข้ามาสู่เว็บไซต์ของเราได้อย่างไร แสดงข้อมูลของช่องทางที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้มายังเว็บไซต์ของเรา นอกจากการใช้รายงานตัวนี้ในการดู Traffic Sources แล้วก็ยังสามารถใช้ในการทำ SEO ได้เช่นกัน จากการใช้ Keyword ที่มีอยู่แล้วจาก Acquisition > Search Console > Queries สามารถนำข้อมูล Keyword จากส่วนนี้มาวิเคราะห์ปรับจูนในการทำ On-Page SEO ของหน้านั้นให้ดีขึ้นได้

 

Behavior Report

รายงานที่แสดงข้อมูลพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยข้อมูลที่ได้จากรายงานนี้จะบอกว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์ของเราเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์หน้าไหน และทำอะไรบ้างบนเว็บไซต์ของเรา โดย Behavior Report มีรายงานย่อย ๆ ดังนี้

  • Overview แสดงภาพรวมของจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ และค่าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าชมเว็บไซต์
  • Behavior Flow แสดงให้เห็นเส้นทางการ Click ไปหน้าต่อไปของผู้เข้าชมเว็บไซต์
  • Site Content รายงานผลว่าหน้าไหนของเว็บไซต์ที่เป็นที่นิยม
  • Site Speed แสดงเวลาที่ใช้ในการโหลดหน้าเว็บไซต์
  • Site Search รายงานข้อมูลจากกล่องค้นหาหน้าเว็บไซต์ สามารถดูได้ว่าคำหรือสินค้าไหนในเว็บไซต์ถูกค้นหาบ้าง
  • Events รายงานผลการติดตามพฤติกรรมของผู้ใช้ที่ทำบนหน้าเว็บไซต์ เช่น การ Click ปุ่มต่าง ๆ
  • Publisher แสดงผลหน้าเพจที่สร้างรายได้จากการนำลิงก์โฆษณาไปลง
  • Experiment ทำการทดลอง A/B Testing เพื่อนำผลมาเปรียบเทียบ แล้วนำไปปรับปรุงเว็บไซต์

 

Conversion Report

รายงานที่แสดงผลการวิเคราะห์รายละเอียดการดำเนินการของผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่ทำบนหน้าเว็บไซต์ของเรา การรายงานเริ่มต้นตั้งแต่การเข้าชมเว็บไซต์ ไปจนถึงการสร้างรายได้ เป็นรายงานที่ทำให้เรารู้ที่มาของการบรรลุเป้าหมายเว็บไซต์  โดยจะแบ่งรายงานย่อย ๆ 3 รายงาน ดังนี้

  • Goal เมื่อเจ้าของเว็บไซต์ทำ Goal setting เอาไว้ รายงานตัวนี้จะรายงานยอดของการบรรลุ Goal setting ที่ตั้งไว้
  • E-commerce รายงานที่ใช้กับธุรกิจที่มีการขายสินค้าออนไลน์ จะรายงานผลการวิเคราะห์และแสดงให้เห็นถึงเส้นทางของลูกค้า ตั้งแต่เข้ามาในเว็บไซต์ จนถึงเกิดการซื้อขาย
  • Multi-Channel Funnels เมื่อ User อาจจะไม่ได้เข้ามาจากช่องทางเดียว รายงานที่จะแสดงให้เห็นการทำงานร่วมกันของแต่ละช่องทางที่นำผู้เข้าชมเว็บไซต์มา

 

วิธีการติดตั้ง Google Analytics ลงเว็บไซต์

ก่อนที่คุณจะติดตั้ง Google Analytics ลงบนเว็บไซต์ของคุณ สิ่งที่คุณจำเป็นต้องมีก่อน 3 สิ่ง คือ 

  1.  บัญชีของ Gmail  เพื่อใช้ในการสมัครเครื่องมือต่าง ๆ ของ Google ไว้ใช้งาน
  2.  Google Analytics
  3.  Google Tag Manager เพราะเราจะใช้เครื่องมือนี้ในการช่วยเราติดตั้ง Google Analytics ลงเว็บไซต์

  หลังจากที่มีครบทั้ง 3 อย่างแล้ว เราก็ไปเริ่มติดตั้งลงเว็บไซต์กันเลย

 

ขั้นตอนที่ 1 สร้าง Tag ใหม่บน Google Tag Manager

เข้ามาที่ Google Tag Manager แล้วสร้าง Tag ใหม่ขึ้นมา 1 อัน

  1. กดที่ Tag
  2. เลือก ‘ใหม่’

วิธีการติดตั้ง Google Analytics ลงเว็บไซต์

ขั้นตอนที่ 2 เลือก Tag ที่จะติดตั้ง

เลือก Tag ที่ต้องการจะติดตั้ง ในกรณีนี้เราจะเลือก Google Analytics: Universal Analytics

เลือก Tag Google Analytics

ขั้นตอนที่ 3 ตั้งค่าตัวแปร (Variable)

  1. ตั้งค่าตั้งค่าตัวแปร ใหม่ > เลือกตัวแปรการตั้งค่า > ตัวแปรใหม่
  2. จะเด้งหน้าต่างให้ใส่ Tracking ID จาก Google Analytics > ใส่ Tracking ID 

ใส่ Tracking ID จาก Google Analytics

ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนการติดตั้ง Tracking ID

เข้าไปที่ Google Analytics แล้วคัดลอก Tracking ID ออกมาเพื่อใส่ใน Google Tag Manager

ขั้นตอนการติดตั้ง Tracking ID

ขอบคุณภาพจาก  support.google.com

ขั้นตอนที่ 5 ตั้งค่าทริกเกอร์

ตั้งค่าทริกเกอร์เพื่อเป็นการกำหนดการทำงานของ Tag

  1. กดที่ ‘เลือกทริกเกอร์เพื่อทำให้ Tag เริ่มทำงาน’
  2. เลือก ‘All Pages’ เพื่อให้ Tag สามารถทำงานบนทุกหน้าเว็บไซต์

เลือก ‘All Pages’ เพื่อให้ Tag ของ Google Analytics สามารถทำงานบนทุกหน้าเว็บไซต์

ขั้นตอนที่ 6 ติดตั้ง Tag

ติดตั้ง Tag เพื่อเตรียมให้ Tag เริ่มทำงาน

  1. กดที่ ‘แท็ก’
  2. เลือกแท็กที่สร้างเอาไว้
  3. กดปุ่ม ‘ส่ง’ หรือ ‘Submit’

กด Submit ติดตั้ง Tag Google Analytics

ขั้นตอนที่ 7 การ Publish

กดปุ่ม ‘นำไปใช้จริง’ หรือ ‘Publish’ เพื่อให้ Tag เริ่มทำงาน

กดปุ่ม ‘Publish’ เพื่อให้ Tag Google Analytics เริ่มทำงาน

เพียงเท่านี้คุณก็สามารถติดตั้ง Google Analytics ลงบนเว็บไซต์ของคุณได้แล้ว ซึ่งมันก็จะเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่คุณเริ่มติดตั้ง ต่อจากนี้คุณก็จะสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ 

 

——————————————————————– 

หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

Reading Time: 3 minutes

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว

 

โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

——————————————————————–

 

ขอบคุณข้อมูลจาก 

digitorystyle.com, stepstraining.co, thegrowthmaster.comblog.lnw.co.th, stream.co.th,

digitorystyle.com, googleanalyticsthailand.com

Facebook Comment
บทความที่เกี่ยวข้อง

PBN คืออะไร จำเป็นต้องทำไหม และส่งผลดีอย่างไรบ้าง ?

Reading Time: 2 minutes การทำ SEO ถือเป็นกลยุทธ์ขั้นพื้นฐานของการทำการตลาดในยุคดิจิทัล ที่จะช่วยดันเว็บไซต์ของตัวธุรกิจให้ขึ้นไปติดอันดับต้น ๆ บนหน้าค้นหาของ Google ส่งผลให้ลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายมีโอกาสเจอเว็บไซต์หรือรู้จักธุรกิจของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งหนึ่งในเทคนิคยอดนิยมที่บริษัทรับทำ SEO ทั่วโลกต่างเลือกใช้คงหนีไม่พ้นการทำ PBN หรือ Private Blog Network ที่จะช่วยให้การทำ SEO มีประสิทธิภาพและได้ผลดีมากยิ่งขึ้น วันนี้ Cotactic จึงอยากพาผู้ประกอบการทุกท่านไปรู้จักกับ PBN กันครับว่ามันคืออะไร จำเป็นต้องทำไหม และส่งผลดีอย่างไรบ้าง   PBN คืออะไร Private Blog Network หรือ PBN คือ เครือข่ายบล็อกส่วนตัวที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำ Backlink (Off page) ให้กับเว็บไซต์หลักที่เราต้องการโดยเฉพาะ อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาอีกหนึ่งเว็บ จากนั้นก็ทำ Backlink ย้อนกลับไปยังหน้าเพจที่เราต้องการ เพื่อส่งค่าคะแนนความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์หลักของตัวธุรกิจ เพราะยิ่งเราได้ Backlink ที่มาจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องมากเท่าไหร่ ตัว Google ก็จะมองว่าเว็บไซต์หลักของเรามีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือมากเท่านั้น ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การทำ SEO […]

รู้จัก 9 เครื่องมือ SEO คุณภาพที่เอเจนซี่ชั้นนำเลือกใช้

Reading Time: 3 minutes อย่างที่ทราบกันดีว่าการทำ SEO จำเป็นต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ที่มากพอ ถึงจะสามารถทำให้ตัวเว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าค้นหาของ Google ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่นอกจากความรู้และประสบการณ์ที่เราต้องมีแล้ว การเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เราต้องให้ความสำคัญและไม่ควรมองข้าม วันนี้ Cotactic จึงอยากจะมาแนะนำ 9 เครื่องมือ SEO คุณภาพที่นักการตลาดและบริษัทรับทำ SEO ทั่วโลกต่างเลือกใช้   1. Google Search Console เครื่องมือ SEO ที่ได้รับความนิยมจากนักการตลาดออนไลน์ทั่วโลก มันเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราตรวจสอบคุณภาพและหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ได้อย่างละเอียด ทำให้เราสามารถติดตามผลลัพธ์และดูรายงานการเข้าชมเว็บไซต์แบบ Organic ได้ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้คนทำ SEO สามารถปรับปรุงเว็บไซต์และวางกลยุทธ์ในการทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งตัวเครื่องมือยังเปิดให้ใช้งานได้ฟรีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ   เริ่มต้นใช้งานได้ที่นี่ Google Search Console   2. Google Analytics Google Analytics คือเครื่องมือ SEO ที่ใช้ในการวิเคราะห์และเก็บสถิติต่าง ๆ ของตัวเว็บไซต์ ว่าคนที่กดคลิกเข้ามานั้นเป็นใคร เพศอะไร อายุเท่าไหร่ เข้ามาผ่านช่องทางไหน […]

404 not found คืออะไร ? ส่งผลแค่ไหนกับการทำ SEO

Reading Time: 3 minutes เชื่อว่าสำหรับผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือท่องเว็บไซต์เป็นประจำแล้ว ต้องเคยประสบปัญหาพบเจอหน้าเพจ 404 not found มาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งมันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหานี้สร้างความน่ารำคาญใจให้กับผู้ใช้งานมากมายขนาดไหน ดังนั้นถ้าหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง การสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดีให้กับลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม เราจึงควรหมั่นปรับปรุงและดูแลเว็บไซต์อยู่ตลอด เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาน่าปวดหัวนี้เกิดขึ้นครับ   วันนี้ Cotactic จึงอยากพาเจ้าของธุรกิจทุกท่านไปรู้จักกับปัญหา 404 not found กันว่ามันคืออะไร เกิดจากอะไร และทำไมเอเจนซี่ที่รับทำ SEO ถึงให้ความสำคัญ   404 not found คืออะไร ? เกิดจากอะไร ? 404 not found คือ หน้าเพจที่แสดงผลผิดพลาดจากการที่ Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูลแล้วไม่พบ URL ของหน้าเว็บไซต์ หรือไม่พบข้อมูลที่อยู่บน Server ของเว็บไซต์ จึงแสดงผลให้ผู้ใช้งานได้รู้ว่าหน้าเพจนี้ไม่มีอยู่ ลิงก์อาจเสียหรือหน้าเพจมีปัญหา ซึ่งสาเหตุของการเกิด 404 not found นั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายกรณีด้วยกัน เช่น  เปลี่ยนชื่อ […]

Reading Time: 3 minutes

Reading Time: 3 minutes