เคยไหมครับ เวลาออกไปเที่ยวต่างจังหวัดที่ไกล ๆ พออยู่ในรถนาน ๆ ดันรู้สึกหิวข้าวไส้กิ่วขึ้นมาเสียงั้น ก็ต้องควักมือถือขึ้นมาไล่หาข้อมูลว่าแถวนี้มาร้านไหนเด็ด ร้านไหนดัง น่าเข้าไปนั่งทานบ้าง ในส่วนนี้นี่แหละที่ Hyperlocal Marketing จะเข้ามามีบทบาทสำคัญให้กับคุณและผู้ประกอบการร้านค้ารายย่อยด้วยนะ
หากคุณเป็นร้านค้าที่กำลังเสาะหาลูกค้าหน้าใหม่ที่อยู่หรือเข้ามาในพื้นที่ของคุณ แต่จะทำยังไงก็นึกไม่ออกว่าจะทำอย่างไรดีให้ลูกค้าเหล่านี้เสิร์ชหาร้านแล้วเจอเลย งั้นลองใช้สิ่งที่เรากำลังจะนำเสนอต่อไปนี้ดูครับ
Hyperlocal Marketing
Hyperlocal Marketing คือ รูปแบบหนึ่งของการตลาดแบบเจาะจงมาก ๆ โดยอ้างอิงจากสัญญาณ GPS กำหนดผู้ที่มีโอกาสจะมาเป็นลูกค้าเราได้สูงในเขตพื้นที่เฉพาะนั้น ๆ หรือถ้าให้เห็นภาพง่ายกว่าเดิมก็คือ Keyword ที่พ่วงท้ายด้วยคำว่า “ใกล้ฉัน” หรือ in เข้าไปด้วย ตัวอย่างเช่น ร้านอาหารใกล้ฉัน แบบนี้
หลักการทำงานของมันก็คือ หลังจากที่ผู้ค้นหาทำการค้นหาผ่าน Search Engine แล้ว ระบบจะแสดงผลการค้นหาพร้อมด้วยปุ่ม Call-to-action ขึ้นมาอย่างปุ่มโทรออกที่เชื่อมกับเบอร์ของร้านและแสดงแผนที่ตำแหน่งล่าสุดของร้านด้วย ยังไม่พอ หากคุณลงทะเบียนการโฆษณาไปกับเครือข่ายโฆษณาแห่งต่าง ๆ แล้วล่ะก็ ตำแหน่งล่าสุดของร้านคุณจะไปปรากฏยังสื่อโฆษณาอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าหลากหลายกลุ่มมากขึ้นและมีประสิทธิภาพ
จุดประสงค์ที่ต้องใช้แคมเปญนี้เข้าช่วยส่งเสริมการตลาดเป็นเพราะว่า ต้องการเพิ่มจำนวนลูกค้าจากการเข้าไปลองในสถานที่จริงกันเลย หากลูกค้าได้มาสัมผัสบรรยากาศจากสถานที่จริงแล้วล่ะก็จะเพิ่มประสบการณ์ประกอบการตัดสินใจได้ดีทีเดียว แถมยังอยู่ใกล้อีกด้วย ซึ่งแคมเปญนี้ก็ถูกออกแบบมาเพื่อเสริมการตลาดแบบเดิมให้แข็งแกร่งขึ้นไปอีกอยู่แล้ว
การตลาดที่ใช้การค้นหาแบบ Near-me เพิ่งเข้ามามีบทบาททางการค้าอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ข้อมูลจาก Google Indicates ระบุไว้ว่า การค้นหาแบบ Near-me เติบโตขึ้นถึง 130% ต่อปีระหว่างปี 2014 – 2015 และหลังจากนั้นก็ดังเป็นพลุแตก เพราะผู้ใช้งานแทบจะค้นหาทุกสรรพสิ่งบนโลกที่ลงท้ายด้วย “Near me” ทั้งนั้น
หลักการทำงาน
โลกในศตวรรษที่ 21 ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีมากมายทั้งดาวเทียม อินเทอร์เน็ต สมาร์ตโฟน ซึ่งช่วยให้นักการตลาดสามารถกำหนดจุดที่ตั้งการขายแบบเฉพาะเจาะจงได้เลยตามที่ต้องการ โดยใช้เพียง 4 อย่างนี้
- IP Address
- GPS
- Internet Network
- Bluetooth Signals
อย่างแรกคือต้องรู้ตำแหน่งที่ตั้งของร้านค้าให้แน่ชัดเสียก่อน เพื่อที่จะกำหนดขอบเขตของการค้นหาลงมาได้อีก แพลตฟอร์มที่ให้ลงโฆษณาออนไลน์เช่น Google และ Facebook สามารถกำหนดจุดเฉพาะได้เลยในช่วงตั้งค่าโฆษณา
หลังจากกำหนดจุดที่ตั้งร้านแล้ว ก็ให้ทำการกำหนดปัจจัยที่จะทำให้โฆษณาไปขึ้นบนหน้าผลการค้นหาได้ ปัจจัยเหล่านั้นได้แก่
- สร้างคำค้นหาที่ตรงกัน
- ประวัติการค้นหา
- พฤติกรรมต่าง ๆ อย่างการกำหนดจุดที่ลูกค้าน่าจะไปปรากฏมากที่สุด (สมมติลูกค้าที่เข้าฟิตเนสบ่อย ๆ หากคุณทำร้านอาหารคลีน สามารถกำหนดร้านของคุณให้ใกล้เคียงฟิตเนสเหล่านั้นได้)
พอเริ่มทำการรันโฆษณาไปแล้ว โฆษณาของคุณจะไปปรากฏอยู่บนหน้าต่าง ๆ ของผลการค้นหา ไม่ว่าจะเป็นข้อความ การแจ้งเตือนแอป SEM อีเมล ฯลฯ แต่โฆษณาเหล่านี้จะไปปรากฏขึ้นได้เฉพาะที่ผู้ค้นหามีการกระทำบางอย่างที่ตรงกับปัจจัยที่เราสร้างไว้แต่แรกแล้วเท่านั้น
ข้อดีของการทำ Hyperlocal Marketing
1. นำพากลุ่ม Lead จากพื้นที่เจาะจงเข้าสู่ร้านค้าคุณได้ง่ายขึ้น หาลูกค้าใหม่ได้สะดวกกว่าเดิม
เนื่องจากมันเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ใช้เฉพาะในกลุ่ม Niche Market เท่านั้น จึงดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่พร้อมจะซื้อสินค้า / บริการอยู่ก่อนแล้ว ให้เข้ามาได้ไวยิ่งขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้มีอะไรในใจที่อยากได้อยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น ผมทำงานอยู่ที่บ้าน อยากเปลี่ยนบรรยากาศการทำงานของตัวเองซักหน่อย แต่ต้องอยู่ในละแวกเดียวกับที่บ้านผมอยู่ด้วย ดังนั้นสิ่งที่เข้ามาในหัวผมก็คือ “ร้านคาเฟ่” และ “ใกล้ฉัน” ขึ้นมา
2. ไม่ต้องเสียเงินมหาศาลไปกับการโฆษณาที่ไม่รู้จะได้ลูกค้าไหม
เพราะไม่จำเป็นต้องโฆษณาไปไกลในระดับจังหวัด หรือภูมิภาค เพียงระยะใกล้เคียงไม่กี่กิโลก็สามารถลดรายจ่ายค่าโฆษณาลงไปได้มาก
ยิ่งไปกว่านั้นเนื่องจากคุณกำหนดเป้าหมายลูกค้าให้เป็นแบบ Niche Market แล้ว นั่นแปลว่าลูกค้าที่เข้ามาในร้านคุณมีโอกาสสูงกว่า 90% แล้วที่เขาจะเลือกร้านคุณ ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับคุณแล้วว่าจะบริการยังไงให้ลูกค้าประทับใจกล้าใช้บริการร้านคุณ และวิธีนี้ยังช่วยลด Cost Per Target แถมยังเพิ่มค่า Return on ad spend อีกด้วย
3. ตั้งค่าและรันโฆษณาได้ง่าย
ผลพวงมาจากข้อ 2 ในเมื่อไม่ต้องตั้งค่าโฆษณาในระดับภูมิภาคและการตลาดยังเป็นแบบ Niche Market อีกต่างหาก การตั้งค่าและรันโฆษณาจึงกลายเป็นเรื่องง่ายอย่างเหลือเชื่อ ทั้งนี้ยังสามารถสร้างโฆษณาให้เป็นแบบ Personalize ที่จะเพิ่มค่า Conversion Rate ให้สูงขึ้นไปอีกได้ด้วย
4. วัดผลได้ง่าย
เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามาในร้านคุณเป็นแบบ Walk-in ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะสอบถามลูกค้าได้ว่า ทราบที่อยู่ร้านของเราจากไหน และลูกค้าเหล่านี้มาจากไหนกันบ้าง เป็นการตรวจสอบวัดผลแบบย้อนกลับในอีกทางหนึ่ง
5. ช่วยสร้างประสบการณ์และสายสัมพันธ์กับลูกค้าได้ง่าย
หัวข้อนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวคุณล้วน ๆ Near-me Search เพียงแค่เป็นถนนที่ช่วยนำทางลูกค้าของคุณให้มาเข้าร้านมากยิ่งขึ้น แต่การที่พวกเขาจะอยู่ต่อหรือเดินจากไปเป็นเรื่องของผู้ประกอบการและพนักงานแล้ว ที่จะช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและเพิ่มพูนประสบการณ์มากขึ้นไปอีก
ขอบอกก่อนว่าการให้บริการแบบ Face-to-Face ทำได้ง่ายยิ่งกว่าแบบออนไลน์เสียอีกและสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายกว่าด้วย
ทิปเล็กน้อยที่ทำให้ Hyperlocal Marketing ของคุณได้เปรียบมากยิ่งขึ้น
อัปเดตร้านของคุณในระบบ Google My Business
ส่วนนี้ค่อนข้างสำคัญ เพราะ 1 ใน 3 ของการค้นหาบน Google เป็นการใช้งานที่พึ่งพิงการระบุตำแหน่งเป็นหลัก ฉะนั้นการอัปเดตหน้า Google My Business ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ใส่ที่อยู่ตำแหน่งร้านของคุณให้ชัดเจน และข้อมูลของร้านคุณ จะช่วยให้ Google จัดลำดับร้านค้าของคุณให้อยู่ใน Google Search ได้ดียิ่งขึ้น
สิ่งที่คุณต้องมีใน Google My Business มีดังนี้
- คำบรรยายร้านค้าของคุณประมาณ 750 ตัวอักษร อธิบายความแตกต่างของร้านคุณกับร้านอื่น พร้อมเอกลักษณ์เฉพาะตัว และใส่ Keyword ที่เกี่ยวข้องด้วยภายใน 100 คำแรก
- ใส่รูปที่มีค่าความละเอียดสูง เลือกมุมถ่ายที่ให้ร้านคุณสวยที่สุด
- ใส่ที่ตั้งร้านให้ชัดเจน
- ระบุเบอร์โทรของร้าน เพราะมันจะไปขึ้นอยู่บน Local Search Results
- ตั้งค่าวันเวลาทำการไว้ด้วย
- อัปโหลดเมนูหรือรายการสินค้าและบริการที่เป็น Singature ของร้านเอาไว้ด้วย
2. สร้างรีวิว
ในแง่ของการทำธุรกิจขนาดเล็ก การมีรีวิวของหน้าร้านจะทำให้ผู้ค้นหาเข้าใจเรามากยิ่งขึ้นจากคำบอกเล่าของผู้ใช้งานก่อนหน้า นับเป็นการตลาดแบบเล็ก ๆ ของ Word-of-mouth Marketing
สืบเนื่องจากผลการสำรวจจาก MOZ กล่าวว่า การรีวิวของผู้ใช้งานช่วยให้ Search Engine จัดอันดับการค้นหาได้เพิ่มขึ้น 10% และหากผลการรีวิวของร้านคุณเป็นไปในเชิงบวกมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้ร้านของคุณขึ้นสูงห่างจากคู่แข่งของคุณมากเท่านั้นและยังได้กลุ่มลูกค้าที่มีคุณภาพตามมาอีกด้วย
ปิดท้ายด้วยผลการสำรวจจาก Search Engine Land ระบุว่า กว่า 88% ของลูกค้ามักเชื่อการรีวิวออนไลน์เทียบเท่าการรีวิวจากคนจริง ๆ แค่นี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าการรีวิวมีผลต่อจำนวนลูกค้าเข้าออกร้านของคุณมากแค่ไหน
3. สร้าง Localized Content
หากอย่างหาลูกค้าจากคนในพื้นที่ให้เข้ามาใช้บริการร้านค้าของคุณ ลองคอนเทนต์ที่ระบุเฉพาะเจาะจงไปในพื้นที่ร้านของคุณทั้งข่าวสาร เหตุการณ์ เทศกาลต่าง ๆ รวมถึงภาษาท้องถิ่นที่ใช้ด้วย ซึ่งจะสร้างโฆษณาที่เป็นแบบ Personalization ให้กับแคมเปญของคุณ และสิ่งที่ได้กลับมาคือกลุ่มลูกค้าที่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับโฆษณาของคุณและตามโฆษณาเหล่านั้นมาถึงร้านของคุณเองเลยด้วย ด้วยวิธีนี้จะทำให้ร้านค้าของคุณได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้เหล่านี้ไปโดยปริยาย และยังเพิ่ม Brand Royalty ได้ด้วย
4. เป็นมิตรต่อโทรศัพท์ลดการเกิด Bounce Rate
จากสถานการณ์ตอนต้นบทความ ถ้าเป็นคนจากนอกพื้นที่เข้ามาเที่ยว แล้วกดค้นหาร้านในพื้นที่ของคุณ แต่กลับพบว่าหน้าเว็บไซต์คุณกระเจิงไปหมด จัดเรียงไม่สวย อ่านแล้วปวดตา กดออกดีกว่า กลายเป็นเสียลูกค้าแทนที่จะเพิ่ม
เราขอแนะนำให้ปรับเว็บไซต์ให้เป็นแบบ Mobile-Friendly ดีกว่า เพราะการใช้งานผ่านมือถือจะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมากกับ Hyperlocal Marketing และมักจะมาคู่กันกับการค้นหาเสมอ และผมบอกได้เลยหากเว็บไซต์ของคุณเป็น Mobile-Friendly แล้วล่ะก็ Google จะจัดอันดับธุรกิจท้องถิ่นของคุณให้อยู่ในอันดับแรก ๆ ได้เลยทีเดียว ส่วนร้านไหนที่ไม่มีหน้าเว็บเป็นของตัวเองและเงินทุนไม่พอ ไม่เป็นไรครับ คุณสามารถสร้างเพจบนเฟซบุ๊กได้และใส่รายละเอียดข้อมูลที่อยู่ร้านค้า เบอร์ติดต่อและช่วงเวลาเปิดปิดให้ชัดเจน แบบนี้ Google ก็สามารถนำไปจัดอันดับผลการค้นหาได้แล้วล่ะครับ
หากใครอยากทดสอบเว็บไซต์ของคุณเป็น Mobile-friendly หรือเปล่า ไปที่บทความของเราได้เลยครับ เจาะลึกทำ UX SEO แบบไหน ให้ติดอันดับเหนือคู่แข่ง
5. เหยาะ Schema Markup ลงไปเล็กน้อย
Schema Markup คือกลุ่มโค้ดชุดเล็ก ๆ ที่ช่วย Search Engine ประกอบการจัดเรียงข้อมูลและจัดอันดับความเกี่ยวข้องของหน้าเพจนั้น ๆ ดั่งตัวอย่างนี้ครับ
จากรูปเป็นคอนเทนต์แบบ SEO นั่นหมายความว่านี่ไม่ใช่การโฆษณาแต่อย่างใด ในกรอบสี่เหลี่ยมอธิบายข้อมูลที่จำเป็นสำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจเข้าจองโรงแรมแห่งนี้ทั้ง ระยะห่างจากตัวเมือง คะแนนทำเลที่ตั้ง คะแนนความคุ้มค่าของเงินที่จ่าย จำนวนรีวิว และราคาห้องเริ่มต้นอีกด้วย
การทำ Schema Markup ไม่ใช่เรื่องยากอะไรครับ หากคุณเป็นร้านค้า ร้านอาหารต่าง ๆ ก็สามารถไปฝากร้านกับแพลตฟอร์ที่มีชื่อเสียงอย่าง Wongnai หรือ Tripadvisor ก็ได้ครับ หากดูดีขึ้นมาหน่อยอย่างโรงแรม รีสอร์ท ร้านนวดต่าง ๆ ลองฝากตัวเองกับเว็บไซต์ Traveloka หรือ Agoda ดูครับ
แต่ถ้าหากคุณไม่เข้าข่ายไหนเลยก็ขอให้ฝ่ายไอทีหรือ Outsource ที่คุณจ้างช่วยเขียนโค้ดหลังบ้านให้ก็ได้ครับ โดยสามารถเลือกหมวดหมู่ได้หลากหลายทั้ง Articles, Events, Restaurant เป็นต้น
ก่อนจากกันไปขอบอกก่อนว่าหากคุณทำธุรกิจในพื้นที่ที่มีวงเขตจำกัด คุณก็สามารถหาลูกค้าได้ง่าย ๆ เพียงแค่ใช้กลยุทธ์ Hyperlocal Mareting ที่จะช่วยให้ร้านค้าของคุณกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน หรือสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวขาจรให้มาแวะชมได้ผ่านการรีวิวต่าง ๆ บนออนไลน์ และหากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาเอเจนซีโฆษณารับทำ Google Ads , รับทำ Facebook Ads ที่ช่วยทำให้ธุรกิจของคุณมีคนพบเห็นมากขึ้น อย่าลืมติดต่อ Cotactic Digital Marketing Agency นะครับ
——————————————————————–
ร่วมงานกับทีม Cotactic Media หนึ่งใน บริษัทโฆษณาออนไลน์ ชั้นนำของเมืองไทย ที่จะช่วยให้คุณตอบโจทย์การหาลูกค้าให้คุณได้ตามเป้าหมายแบรนด์ เพื่อสร้าง Awareness หรือ Lead Generation ตาม Niche Market ได้ก่อนใคร ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับทีมรับทำเว็บไซต์ WordPress โดย Cotactic เพื่อให้เราเป็น Collaborative Marketing Partner ทำงานเป็นทีมร่วมกันกับคุณ
——————————————————————–
ติดต่อ
โทร.065-095-9544
Inbox: https://m.me/cotactic
Line@: https://line.me/R/ti/p/@cotactic
ขอบคุณแหล่งที่มา
https://neilpatel.com/blog/hyperlocal-ads/
https://www.wordstream.com/blog/ws/2018/01/25/hyperlocal-marketing