Reading Time: 2 Mins
2 Mins
Dec 22, 2022

มัดรวมส่วนประกอบหน้า Facebook Ads Manager ที่มือใหม่ควรรู้

มัดรวมส่วนประกอบหน้า Facebook Ads Manage

Facebook Ads คือ ระบบโฆษณาบน Facebook ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานจ่ายค่าโฆษณาเพื่อโปรโมทสินค้าและบริการในรูปแบบต่าง ๆ ส่วน Facebook Ads Manager คือ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการโฆษณาบน Facebook, Instagram, Messenger และ Meta Audience Network ที่หลายธุรกิจต่างก็ต้องใช้กัน เนื่องจากเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ Marketing นั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

เชื่อว่าธุรกิจที่พึ่งเริ่มต้นใช้ Facebook Ads จะรู้สึกว่าเครื่องมือและส่วนประกอบของหน้าต่างจะดูซับซ้อนและใช้งานยากเป็นพิเศษ แต่ความจริงแล้วหน้าต่างส่วนนี้ไม่ได้ใช้งานยากอย่างที่ใครหลายคนคิด เพราะทาง Meta นั้นได้ออกแบบ Dashboard และจัดวางเครื่องมือทั้งหมดอย่างเป็นสัดส่วน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากที่สุด ซึ่งถ้าหากเราเรียนรู้หรือทำความเข้าใจส่วนประกอบแต่ละอย่างในเบื้องต้นแล้ว เราก็จะพบว่าการใช้งานหน้าต่างนี้จะมีความสะดวกและง่ายดายกว่าที่เราคิดครับ 

วันนี้ Cotactic บริษัทรับทำเว็บไซต์ WordPress จึงขออาสานำข้อมูลของส่วนประกอบและเครื่องมือต่าง ๆ บนหน้า Facebook Ads Manager มาแนะนำให้ทุกคนได้อ่านและลองศึกษากันดูครับ

 

ภาพรวม Facebook Ads Manager

 

เพื่อความง่ายในการเรียนรู้ แนะนำให้เปลี่ยนเป็นภาษาไทยก่อนเริ่มใช้งาน โดยเราสามารถเลือกภาษาที่ต้องการได้จากการตั้งค่าภาษาและภูมิภาคใน Facebook ครับ หรือคลิกที่นี่เพื่อศึกษาเพิ่มเติม

 

1.แท็บเลือกบัญชีโฆษณา

 

เมนูเลือกบัญชีโฆษณา

 

เริ่มกันที่ด้านบนสุดของตัวหน้าต่าง จะเป็นแท็บที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนหรือเลือกบัญชีโฆษณาที่เราต้องการได้ เพราะผู้ใช้งานบางคนอาจมีบัญชีโฆษณามากกว่าหนึ่งบัญชี ดังนั้นหากเราจำเป็นต้องเปลี่ยนบัญชีโฆษณา ก็สามารถกดเลือกได้ที่นี่ครับ

 

2.ช่องค้นหาและตัวกรอง

 

ตัวกรอง การค้นหา

 

เป็นช่องไว้สำหรับค้นหาโฆษณาหรือแคมเปญที่เราต้องการ โดยสามารถฟิลเตอร์เพื่อเลือกหาจากชื่อ แค็ตตาล็อก การแสดงโฆษณา วัตถุประสงค์ หรือการชี้วัด

 

3.แท็บแคมเปญ

 

แท็บเมนูแคมเปญ

 

เป็นส่วนที่จะแสดงแคมเปญโฆษณาทั้งหมดที่เคยสร้างไว้

 

4.แท็บชุดโฆษณา หรือ Ads sets

 

Facebook Ads Manager Ads sets

 

เป็นส่วนที่จะแสดงชุดโฆษณาทั้งหมดที่เคยสร้างไว้

 

5.แท็บโฆษณา หรือ Ads

 

แท็บโฆษณา

 

เป็นส่วนที่จะแสดงโฆษณาทั้งหมดที่เคยสร้างไว้

 

6.สร้างแคมเปญใหม่

 

การสร้างแคมเปญขึ้นใหม่

 

ผู้ใช้งานสามารถกดเพื่อสร้างแคมเปญ ชุดโฆษณาและโฆษณาใหม่ได้ที่นี่ 

 

7.การตั้งค่าการแสดงผลของคอลัมน์

 

การตั้งค่าแสดงผลของคอลัมน์

 

ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่า Dashboard เพื่อแสดงข้อมูลต่าง ๆ ที่เราต้องการให้ออกมาเป็นคอลัมน์ได้ตรงนี้ เช่น Engagement, Video Engagement, จำนวนคลิก หรือ การนำส่งโฆษณา เป็นต้น  ซึ่งนอกจากนี้ผู้ใช้งานก็สามารถสร้างคอลัมน์เพื่อแสดงข้อมูลได้ตามความต้องการ ผ่านตัวเลือก “กำหนดคอลัมน์เอง” ครับ

 

8.ข้อมูลแยกย่อย

 

Facebook Ads Manager ข้อมูลย่อย

 

ตัวเลือกนี้จะเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูข้อมูลโฆษณาจากเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เราต้องการได้เช่น เวลา, เพศ, อายุ, ภูมิภาค, ประเทศ หรือแพลตฟอร์ม เป็นต้น 

 

9.รายงาน

 

แท็บรายงาน

 

ตัวเลือกนี้คือเครื่องมือที่ไว้ใช้ดาวน์โหลดรายงานผลลัพธ์ของตัวโฆษณา ให้ออกมาเป็นไฟล์ xls, csv หรืออื่น ๆ ซึ่งนอกจากนี้เรายังสามารถปรับแต่งเพื่อให้แสดงผลเฉพาะข้อมูลที่เราต้องการได้อีกด้วย

 

10.ส่วนแสดงผลคอลัมน์

 

Facebook Ads Manager แสดงผลคอลัมน์

 

เป็นแถบที่จะแสดงข้อมูลต่าง ๆ ที่เราเลือกไว้ก่อนหน้า (จากข้อ7) ให้แสดงผลทั้งหมดที่

 

สรุป

นอกจากทั้งสิบข้อที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอะไรให้เราได้เรียนรู้และลองใช้จริงอีกมากมาย ดังนั้นหากคุณต้องการใช้งานเครื่องมือทั้งหมดให้เป็น ต้องการสร้างสรรค์แคมเปญที่มีประสิทธิภาพพร้อมนำไปใช้ประกอบการทำธุรกิจ คุณก็จำเป็นต้องหมั่นเรียนรู้และลองใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพราะยิ่งคุณใช้งานมันมากเท่าไหร่ คุณก็จะมีประสบการณ์และความชำนาญมากขึ้นเท่านั้น การฝึกฝนหรือการลองใช้จริงจึงเป็นบทเรียนหลักที่เราไม่ควรมองข้ามครับ


หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว

 

โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

——————————————————————–

ขอบคุณข้อมูลจาก

 

 

 

 

 

[wpdevart_facebook_comment curent_url="https://www.cotactic.com/" order_type="social" title_text="Facebook Comment" title_text_color="#000000" title_text_font_size="22" title_text_font_famely="Montserrat" title_text_position="left" width="100%" bg_color="#d4d4d4" animation_effect="random" count_of_comments="3" ]

บทความที่เกี่ยวข้อง

Customer Experience คืออะไร? สำคัญกับธุรกิจอย่างไร

ในการสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ หนึ่งในส่วนประกอบสำคัญที่นักการตลาดและเจ้าของกิจการต้องคิดถึงคือ ‘ประสบการณ์ของลูกค้า’ หรือ Customer Experience (CX) การสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้าคือหัวใจที่ทำให้ธุรกิจคุณเติบโตได้อย่างยั่งยืน เพราะจะทำให้ลูกค้าทุกคนที่ได้เข้ามาสัมผัสประสบการณ์ที่ดีจากธุรกิจเกิดการซื้อซ้ำและพัฒนาไปสู่ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องทำความเข้าใจว่าอะไรบ้างที่ทำให้ธุรกิจสามารถสร้าง Customer Experience ได้ และ Customer Experience แตกต่างจาก ‘ประสบการณ์ผู้ใช้’ หรือ User Experience (UX) อย่างไร   Customer Experience คือ อะไร ? Customer Experience (CX) คือการปฏิสัมพันธ์ทั้งหมดของลูกค้าที่มีกับแบรนด์ รวมถึงการค้นหาในเว็บไซต์, การซื้อสินค้าหรือบริการ, การให้บริการหลังการขาย ฯลฯ ซึ่งในการปฏิสัมพันธ์ทั้งหมดระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ของเรานั้น ช่วยสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ ซึ่งหลอมรวมกันกลายเป็นประสบการณ์และภาพจำทั้งหมดของแบรนด์ แตกต่างจาก User Experience (UX) อย่างไร หลายคนอาจสับสนระหว่าง ‘ประสบการณ์ของลูกค้า’ Customer Experience (CX) และ ‘ประสบการณ์ผู้ใช้งาน’ User Experience (UX) […]

Conversion คืออะไร? สำคัญกับธุรกิจออนไลน์อย่างไร พร้อมวิธีวัดผล

การทำ Digital Marketing ต้องอาศัยการวัดผลที่ตรงกับการดำเนินงานอย่างแม่นยำ จะเกิดอะไรขึ้นหากธุรกิจไม่มีการวัดผลการดำเนินงาน ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะสูญเสียงบประมาณไปโดยที่ไม่รู้ว่าจ่ายไปกับกิจกรรมการตลาดใดบ้าง มีใครมาสนใจสั่งซื้อสินค้าเท่าไหร่ Conversion Tracking จึงเข้ามามีบทบาทต่อการวัดผล เช่น วัดผลการซื้อสินค้า การสมัครสมาชิก การสมัครรับข้อมูลข่าวสารทางอีเมล การเข้ามาอ่านบทความ การดาวน์โหลด หรือการกระทำต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ การวัดผลเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจรู้ว่าสินค้าใดหรือ Landing Page หน้าไหนมีคนคลิกเข้ามาสนใจมากที่สุด Conversion คืออะไร? Conversion คือการกระทำใด ๆ ของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ที่สนใจสินค้าบริการของเรา ที่เราได้วางเงื่อนไขในการเก็บข้อมูลของแต่ละ Conversion ไว้ เพื่อวัดผลลัพธ์ในการทำงาน เช่น การทำ Call to Action (CTA) เพื่อ Tracking, ข้อมูลในส่วนของ Purchase : จำนวนการสั่งซื้อ, Leads : ลูกค้าใหม่ที่เข้ามา, Sign up : จำนวนคนที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ หรือ Submit form […]