Reading Time: 2 Mins
2 Mins
Nov 9, 2023

วิธีสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง รวมเทคนิคที่มือใหม่ควรรู้! (2023)

สร้างเว็บไซต์

เว็บไซต์ เป็นอีกหนึ่งช่องทางการตลาดออนไลน์ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจในปัจจุบัน เพราะเว็บไซต์จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินค้าและบริการ เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจ ซึ่งการออกแบบและสร้างเว็บไซต์ที่ดีนั้น เราจำเป็นต้องคำนึงถึงหลากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน้าตาเว็บไซต์ การใช้งาน และความปลอดภัย

ในบทความนี้ เรารวบรวมเทคนิคการออกแบบและสร้างเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพทั้งในด้านการใช้งานและ SEO เหมาะสำหรับธุรกิจหรือผู้ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง รับรองว่าไม่ยากอย่างที่คิด

 

สร้างเว็บไซต์

วิธีการสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง

การสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเองนั้นสามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่

สร้างด้วยบริการเว็บไซต์สำเร็จรูป

หนึ่งในวิธีสร้างเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ “บริการเว็บไซต์สำเร็จรูป” อย่าง Wix, Godaddy, Google Sites, WordPress.com เป็นต้น ซึ่งมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบฟรีและแบบพรีเมียม มีข้อดีคือช่วยให้เราสามารถสร้างเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และมีเทมเพลตให้เลือกใช้โดยไม่ต้องเสียเวลาออกแบบเอง แต่อาจมีข้อจำกัดเรื่องหน้าตาและฟีเจอร์ของเว็บไซต์ที่มีความยืดหยุ่นน้อยกว่าเว็บไซต์ที่สร้างด้วยวิธีอื่น

เว็บไซต์สำเร็จรูปจึงเหมาะกับธุรกิจหรือร้านค้าขนาดเล็กที่ต้องการเริ่มต้นสร้างแบรนด์ด้วยตัวเองเพื่อให้เป็นที่รู้จักบนโลกออนไลน์ และเมื่อธุรกิจเติบโตหรือมีทรัพยากรเพียงพอก็ค่อยเปลี่ยนเป็นเว็บไซต์ในรูปแบบอื่น ๆ ต่อไ

สร้างด้วยซอฟต์แวร์ CMS (Content Management System)

ซอฟต์แวร์ CMS อย่าง WordPress.org หรือ Joomla นั้นมีข้อดีคือช่วยให้เราสามารถสร้างหน้าเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เพียงเลือกรูปแบบของเว็บไซต์ และกรอกข้อมูลที่ต้องการ นอกจากนี้ยังรองรับธีมและปลั๊กอินมากมาย แต่การใช้ CMS มีข้อจำกัดคือเราจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานและทำความเข้าใจกับระบบหลังบ้าน รวมถึงมีขั้นตอนในการ Setup ครั้งแรกที่ค่อนข้างยุ่งยากเล็กน้อย

เว็บไซต์ประเภทนี้เหมาะกับธุรกิจที่มีต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองที่สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ เพราะการใช้ซอฟต์แวร์ CMS นั้นมีความยืดหยุ่นสูง และเราจะเป็นเจ้าของเว็บไซต์โดยสมบูรณ์เนื่องจากเราเป็นผู้จดทะเบียนโดเมนเนมและเช่าโฮสติ้งด้วยตัวเอง

สร้างด้วยการเขียนโค้ดด้วยตัวเอง

วิธีนี้เป็นวิธีสร้างเว็บไซต์แบบดั้งเดิมโดยใช้การเขียนโค้ดอย่าง HTML5, PHP, และ JavaScript  ซึ่งจำเป็นความรู้ด้านภาษาคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่งจึงจะสามารถทำได้และอาจใช้เวลานานกว่าการสร้างเว็บไซต์รูปแบบอื่น แต่เว็บไซต์ประเภทนี้มีข้อดีคือเราสามารถกำหนดและปรับแต่งทุกองค์ประกอบภายในเว็บไซต์ได้ รวมถึงสร้างฟีเจอร์ที่แปลกใหม่และซับซ้อนได้โดยไม่ต้องกังวลกับข้อผิดพลาดจากปลั๊กอินหรือธีม

การสร้างเว็บไซต์ด้วยวิธีนี้จึงเหมาะกับองค์กรหรือธุรกิจที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ที่มีฟีเจอร์เฉพาะตัว มีเอกลักษณ์และลูกเล่นที่โดดเด่นเหนือคู่แข่ง เพราะเราสามารถออกแบบธีมหรือส่วนประกอบของเว็บไซต์ได้เองทั้งหมด

สร้างเว็บไซต์

สร้างเว็บไซต์ ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง?

แม้ว่าการสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเองอาจไม่ใช่เรื่องยาก แต่การสร้างเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุดนั้น เราจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1. มีเป้าหมายและงบประมาณที่ชัดเจน

การสร้างเว็บไซต์นั้นต้องอาศัยทั้งเวลาและเงินทุน ดังนั้น ก่อนเริ่มสร้างเว็บไซต์ ควรวางแผนให้รอบคอบ โดยกำหนดจุดประสงค์ของเว็บไซต์ก่อนว่าต้องการสร้างเพื่ออะไร เช่น การให้ข้อมูล ขายสินค้า หรืออื่น ๆ จากนั้นจึงจัดเตรียมงบประมาณให้เพียงพอ เพราะถึงแม้การสร้างเว็บไซต์จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นไม่มาก แต่ก็อาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามมาภายหลัง เช่น ค่าจดโดเมนเนม ค่าเช่าโฮสติ้ง ค่าธีมและปลั๊กอิน ค่าจ้างนักพัฒนาเว็บไซต์ เป็นต้น

2. มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีความสม่ำเสมอ

เว็บไซต์ที่มีหน้าตาคล้ายคลึงกับเว็บไซต์อื่นอาจทำให้ผู้เข้าชมเข้าใจผิดว่าเป็นเว็บไซต์ปลอม การออกแบบเว็บไซต์ที่โดดเด่นจะช่วยให้ผู้เข้าชมจดจำเว็บไซต์ได้ง่าย และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ได้มากยิ่งขึ้น โดยควรเลือกใช้โทนสีที่เข้ากับอัตลักษณ์องค์กรหรือ CI รวมถึงออกแบบรูปแบบ โทนสี และภาพกราฟิกให้มีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันเพื่อให้เว็บไซต์ดูเป็นระเบียบ

3. เนื้อหาในเว็บไซต์ที่ดีและมีคุณภาพ

การคัดลอกเนื้อหาจากแหล่งอื่นมาใช้ในเว็บไซต์ นอกจากจะลดความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์แล้ว ยังส่งผลต่ออันดับ SEO อีกด้วย เนื่องจากระบบของ Google จะตรวจพบเนื้อหาที่ซ้ำกัน ทำให้เว็บไซต์มีโอกาสติดอันดับในผลการค้นหาน้อยลง เราจึงควรสร้างเนื้อหาหรือบทความต่าง ๆ ด้วยตัวเอง โดยคำนึงถึงความน่าสนใจ ความถูกต้องของข้อมูล และประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อสร้างเว็บไซต์ที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ

4. ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อนจนเกินไป

หลายคนมักคิดว่าเว็บไซต์ยิ่งมีองค์ประกอบเยอะ ยิ่งดูน่าเชื่อถือ แต่ความจริงแล้ว การที่เว็บไซต์มีองค์ประกอบเยอะหรือซับซ้อนจนเกินไป อาจส่งผลเสียต่อผู้ใช้งานได้ เช่น ทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์รู้สึกสับสนหรือใช้งานยาก เว็บไซต์ที่ดีจึงควรมีความเรียบง่าย ใช้งานสะดวก เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถค้นหาข้อมูลหรือใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. รองรับการใช้งานบนหลากหลายแพลตฟอร์ม

ในปัจจุบันผู้คนมักใช้สมาร์ทโฟนในการค้นหาหรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ ดังนั้นจึงควรสร้างเว็บไซต์ให้รองรับหลากหลายอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน โดยสามารถใช้เทคนิคที่เรียกว่า Responsive Web Design ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์สามารถปรับขนาดการแสดงผลให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ทุกประเภท ส่งผลให้เว็บไซต์ดูสวยงามและใช้งานง่าย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

สร้างเว็บไซต์

ปัจจัยที่ต้องระวังในการสร้างเว็บไซต์

สิ่งที่เราควรพึงระลึกไว้เสมอคือ การสร้างเว็บไซต์นั้นไม่ใช่สร้างที่เดียวแล้วสามารถใช้งานได้ถาวร แต่เราจำเป็นต้องมีการดูแลอัปเดตอยู่เสมอ โดยจุดที่เราควรต้องระวังเมื่อสร้างเว็บไซต์ ได้แก่

1. การต่ออายุโดเมนเนม

โดเมนเนมที่เราทำการจดทะเบียนนั้นจะมีอายุใช้งานเป็นรายปี ดังนั้น หากไม่มีการจ่ายค่าต่ออายุเว็บไซต์ภายใน 30 วัน ชื่อโดเมนนั้น ๆ จะถูกระงับการใช้งานทันที และเราไม่สามารถจดทะเบียนโดเมนเนมเดิมใหม่ได้ทันที เพราะโดเมนของเราจะยังคงอยู่ในระบบจนกว่าจะถูกลบออกและเปิดให้ขายใหม่ ซึ่งมีโอกาสที่จะถูกผู้อื่นซื้อโดเมนตัดหน้าไปได้เช่นกัน

2. การเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้ง

ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งมากมาย ซึ่งแต่ละรายจะมีราคาและคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น พื้นที่ใช้งานและปริมาณ Bandwidth หากเว็บไซต์ของคุณจำเป็นต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก ควรเลือกผู้ให้บริการที่รองรับเว็บไซต์ขนาดใหญ่และมีพื้นที่ใช้งานเพียงพอ เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณทำงานได้อย่างเสถียร นอกจากนี้ การเลือกผู้ให้บริการโฮสติ้ง ควรเลือกผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือและมีบริการหลังการขายที่ดี ไม่ควรเน้นที่ราคาถูกจนเกินไป 

3. การใช้ฟีเจอร์ Autoplay/Pop-up/Ads บนเว็บไซต์

เสียงเพลงประกอบที่เปิดอัตโนมัติ หน้าต่างป๊อปอัปที่ขึ้นมาซ้ำ ๆ และโฆษณาที่ปิดยากล้วนส่งผลเสียต่อการทำ SEO อย่างมาก เพราะทำให้เว็บไซต์โหลดช้าลงและเพิ่มอัตราการออกจากหน้า (Bounce Rate) ของผู้ใช้งาน ดังนั้น หากจำเป็นต้องใส่ฟีเจอร์เหล่านี้ลงในเว็บไซต์ ควรใส่อย่างพอเหมาะพอดี มิฉะนั้นอาจส่งผลเสียตามมาภายหลัง

4. การสะกดคำผิด

นอกจากจะทำให้เว็บไซต์ดูไม่น่าเชื่อถือแล้ว ยังทำให้ Google เข้าใจว่าคำศัพท์เหล่านั้นเป็นคนละคำกัน ซึ่งส่งผลเสียต่อการทำ SEO อีกด้วย การตรวจทานก่อนเผยแพร่เนื้อหาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการสร้างเว็บไซต์ให้ดูเป็นทางการและน่าเชื่อถือ

5. ความปลอดภัยของเว็บไซต์

หลายครั้งที่มีผู้ไม่หวังดีเข้ามา Hack เว็บไซต์ของเราโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจทำให้เว็บไซต์ของเราใช้งานไม่ได้ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือและยอดขาย หรือร้ายแรงกว่านั้นคือการโจรกรรมข้อมูลจนเกิดความเสียหายมหาศาล การเพิ่มความปลอดภัยให้เว็บไซต์ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การเลือกใช้โปรโตคอล https, การตั้งรหัสผ่านหลังบ้านให้รัดกุม, การติดตั้งปลั๊กอินรักษาความปลอดภัย และหมั่นแบ็กอัปเว็บไซต์บ่อย ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตีได้

 

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องระวังสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ให้ติดอันดับ SEO อาทิ รูปภาพที่มีขนาดใหญ่เกินไป, ลิงก์เสีย, หน้าเว็บที่ไม่เป็นระเบียบ, URL ที่อ่านได้ยาก เป็นต้น

 

สรุป

เจ้าของธุรกิจมือใหม่สามารถเลือกสร้างเว็บไซต์ได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านเวลา ความรู้ และทรัพยากรที่มีอยู่ และเมื่อสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงผู้ใช้งาน และควรดูแลพัฒนาเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เว็บไซต์ธุรกิจของคุณมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ และสร้างโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าบนโลกดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

 

——————————————————————– 

หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic Digital Marketing Agency เลยวันนี้ ทางเรามีบริการรับทำเว็บไซต์ WordPress สำหรับธุรกิจที่สนใจในการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพื่อต่อยอดกลยุทธ์ทางการตลาดและเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

SoGoodWeb, 1001 Click, Readyplanet, AUN Thai

[wpdevart_facebook_comment curent_url="https://www.cotactic.com/" order_type="social" title_text="Facebook Comment" title_text_color="#000000" title_text_font_size="22" title_text_font_famely="Montserrat" title_text_position="left" width="100%" bg_color="#d4d4d4" animation_effect="random" count_of_comments="3" ]

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีใช้ WordPress 2023 ฉบับรวบรัด สอนเข้าใจง่าย ใช้ได้จริง!

ต้องการที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญในการรับทำเว็บไซต์ WordPress คลิกที่นี่ สำหรับใครที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง WordPress น่าจะเป็นตัวเลือกที่หลายคนคุ้นเคย ด้วยความนิยมที่แพร่หลายไปทั่วโลก อีกทั้งยังมีปลั๊กอินและธีมให้เลือกใช้งานเป็นจำนวนมาก ทำให้เว็บไซต์มีความยืดหยุ่น และตอบโจทย์การใช้งานสำหรับผู้เริ่มต้น แต่หลายคนอาจมีคำถามว่า “WordPress ใช้ยากไหม?” หรือ “ต้องมีความรู้ด้านไอทีหรือเปล่า?” ในบทความนี้ เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักวิธีใช้ WordPress ตั้งแต่ส่วนประกอบต่าง ๆ ภายใน WordPress การใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ รวมไปถึงเทคนิคในการดูแลเว็บไซต์ของคุณให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วิธีใช้ WordPress เบื้องต้น ฉบับรวบรัด ดาวน์โหลดและติดตั้ง WordPress ตั้งค่าเว็บไซต์ WordPress ที่จำเป็น ปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ด้วย WordPress Theme ปรับแต่งส่วนประกอบต่าง ๆ ในเว็บไซต์ด้วย WordPress Plugin สร้างเนื้อหา – เขียนบทความเพื่อลงในเว็บไซต์ สร้างและจัดการเมนู (Menu) เพื่อเชื่อมโยงไปยังหน้าอื่น ๆ จัดการผู้ใช้งาน (Users) ภายในเว็บไซต์   ทำความรู้จักกับ […]

WordPress คืออะไร? ทำไมส่วนใหญ่จึงนิยมใช้สร้างเว็บไซต์ (2023)

ต้องการที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญในการรับทำเว็บไซต์ WordPress คลิกที่นี่ ปัจจุบันผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจต่างหันมาให้ความสำคัญกับการทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย หรือการสร้างเว็บไซต์ WordPress ของแบรนด์หรือองค์กร เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ สร้างตัวตน และช่วยให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ซึ่ง WordPress คือหนึ่งในแพลตฟอร์มสำหรับสร้างเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยข้อดีคือใช้งานง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก สำหรับมือใหม่ที่สนใจอยากเริ่มทำเว็บไซต์ ในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักว่า WordPress คืออะไร เหมาะกับเว็บไซต์แบบใด และมีประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไรบ้าง รวมทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ WordPress WordPress คืออะไร? ประเภทของเว็บไซต์ เว็บไซต์บล็อก เว็บไซต์ธุรกิจ เว็บไซต์ข่าว เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ WordPress.com และ WordPress.org แตกต่างกันอย่างไร? WordPress.com WordPress.org เหตุผลที่ธุรกิจควรเลือกใช้ WordPress   WordPress คืออะไร? WordPress คือระบบจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ (Content Management System: CMS) ที่ได้รับอนุญาตภายใต้ GPLv2 ซึ่งหมายความว่าทุกคนสามารถใช้หรือแก้ไขซอฟต์แวร์ WordPress ได้ฟรี ทำให้ทุกคนสามารถสร้างเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง […]