November 14, 2022

วิธีตั้งค่า Custom Audience เพื่อทำโฆษณาเฟสบุ๊ค (อัปเดต 2022)

Reading Time: 4 minutes

รู้หรือไม่?…สิ่งที่คุณควรทำไปพร้อม ๆ กับการหาลูกค้าใหม่ คือการรักษาปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเก่า เนื่องจาก “ลูกค้าเก่า” คือผู้ที่เคยอุดหนุนสินค้าและบริการของเรา จึงมีแนวโน้มที่พวกเขาจะเปิดใจให้กับสินค้าและบริการของเราอีกครั้ง นอกจากนี้ ข้อมูลและช่องทางติดต่อของลูกค้าเก่ายังเป็นสิ่งที่อยู่ในมือเรา จึงสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการสำรวจใหม่ และหนึ่งในประโยชน์ของการนำฐานข้อมูลลูกค้าเก่ามาใช้ คือการตั้งค่ากลุ่มเป้าหมายแบบกำหนดเอง หรือ Custom Audience เพื่อสร้าง Facebook Ads คือ การสร้างโฆษณาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย 

Custom Audience คืออะไร?

การตั้งค่ากลุ่มเป้าหมายแบบกำหนดเอง (Custom Audience) คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ใช้สำหรับยิงแอดเฟสบุ๊ค โดยใช้ฐานข้อมูลเดิมที่เรามีอยู่แล้ว เช่น ข้อมูลผู้ที่เคยเข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลผู้เคยโทรเข้ามาสอบถามทางโทรศัพท์ ข้อมูลลูกค้าที่เคยมาซื้อสินค้าหน้าร้าน หรือข้อมูลลูกค้าที่เคยสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ เป็นต้น

ประโยชน์ของการสร้าง Custom Audience 

การกำหนดกลุ่มเป้าหมายเอง คือกระบวนการหนึ่งของการตลาดที่เรียกว่า Retarketing Marketing หรือ การจัดทำโฆษณา เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของคนที่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ ซึ่งจะส่งผลดีกับแบรนด์ ดังนี้

  • เพิ่มประสิทธิภาพของโฆษณา 

การสร้างโฆษณาเฟสบุ๊คจะยิ่งได้ผลดี หากสามารถระบุรายละเอียดของกลุ่มเป้าหมายได้มาก ซึ่งในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ใช้สำหรับยิงแอดเฟสบุ๊คนั้น เราตั้งค่าจากฐานข้อมูลแน่ชัดที่เรามี เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ไปจนถึงปริมาณการใช้จ่าย ข้อมูลเหล่านี้จึงแม่นยำมากกว่าการพยายามกำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบกว้าง ๆ

  • สร้าง Conversion ได้อย่างรวดเร็ว

กลุ่มเป้าหมายที่ถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลก็คือคนที่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์แล้ว นั่นหมายความว่าพวกเขาย่อมมีความสนใจในแบรนด์ของเราเป็นทุนเดิม ดังนั้น เมื่อได้รับแรงกระตุ้น เช่น โฆษณาโปรโมชันใหม่ หรือโฆษณาสินค้าคอลเล็คชันใหม่ ย่อมกระตุ้นให้เกิด Conversion ต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น การ Inbox เข้ามาถาม การตัดสินใจซื้อ หรือการเข้าร่วมกิจกรรมบางอย่าง เป็นต้น

  • รักษาฐานลูกค้าให้แข็งแรง

การสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าเก่าย่อมเป็นการช่วยรักษาฐานลูกค้า และพยุงแบรนด์ให้มั่นคง แข็งแรง ตลอดจนได้รับความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคอยู่เสมอ จนทำให้สามารถทำยอดขายชนะคู่แข่งได้ในที่สุด

ขั้นตอนการสร้าง Custom Audience (อัปเดต 2022)

1. Login เพื่อเริ่มสร้าง Custom Audience 

 

Login เพื่อเริ่มสร้าง Custom Audience

 

1.1 Login Facebook Account ที่เชื่อมต่อกับบัญชีธุรกิจ และเปิดหน้า Facebook Ads Manager โดยคลิกที่ลิงก์ https://business.facebook.com/adsmanager/ 

 

 เลือกเมนู Audiences

 

1.2 คลิกที่สัญลักษณ์ 3 ขีดด้านซ้ายมือ เลือกเมนู Audiences

 

เลือก Create a Custom Audience

 

1.3 คลิก Create a Custom Audience เพื่อเริ่มสร้างกลุ่มลูกค้าแบบกำหนดเอง

 

เลือกประเภท Custom Audience

 

2. เลือกประเภทของการสร้าง Custom Audience  ซึ่งจำแนกตามที่มาของข้อมูลกลุ่มเป้าหมายได้ ดังนี้

จากแหล่งที่มาของคุณ (Your Source)

  • Website: รวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เคยเข้าชมเว็บไซต์
  • App Activity: รวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เข้าใช้แอปพลิเคชันหรือเกมของคุณ
  • Catalog: รวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับชุดสินค้าบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของคุณ
  • Customer List: อัปโหลดรายชื่อและช่องทางการติดต่อของลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าของคุณ
  • Offline Activity: เพิ่มข้อมูลลูกค้าที่เคยติดต่อกับธุรกิจของคุณผ่านโทรศัพท์หรือหน้าร้าน (ไม่ผ่านช่องทางออนไลน์)

จากแหล่งที่มาของ Meta (Meta Source)

  • Video: รวบรวมข้อมูลจากผู้ที่คลิกชมวิดีโอของคุณบน Facebook หรือ Instagram
  • Lead Form: รวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เคยกรอกแบบฟอร์มในโฆษณาของคุณบน  Facebook หรือ Instagram 
  • Instant Experience: รวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เคยชม Instant Experience ของคุณบน Facebook หรือ Instagram
  • Shopping: รวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เคยคลิกเข้าไปชมรายการสินค้า กดซื้อ หรือมีปฏิสัมพันธ์อื่น ๆ กับ Shop บน Facebook หรือ Instagram
  • Instagram Account: รวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เคยเข้าชมหรือโต้ตอบกับบัญชี Instagram ของคุณ
  • Events: รวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เคยโต้ตอบกับงานกิจกรรมของคุณบน Facebook
  • Facebook Page: รวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เคยเข้าชมหรือโต้ตอบกับ Facebook Page ของคุณ
  • On-facebook Listings: รวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เคยเข้าชมหรือโต้ตอบกับสินค้าของคุณบน Facebook Marketplace 

 

ในบทความนี้ เราจะกล่าวถึงเฉพาะการกำหนดกลุ่มเป้าหมายเอง 3 ประเภทยอดนิยม ได้แก่ Website, Customer List และ Facebook Page ถ้าพร้อมแล้ว ไปกันต่อเลย!

เลือก “Your Source: Website”

 

เลือก Your Source: Website

 

เมื่อคุณคลิกเลือก Your Source: Website ระบบจะบังคับให้คุณรวบรวมข้อมูลจาก Meta Pixel เครื่องมือพิเศษสำหรับ Tracking ข้อมูลทุกคนที่เข้าชมเว็บไซต์ของคุณ นั่นหมายความว่า คุณจะเลือกเมนูนี้ได้ก็ต่อเมื่อ ธุรกิจของคุณมีเว็บไซต์ และ เว็บไซต์นั้นต้องติดตั้ง Meta Pixel แล้ว

 

เลือก “Your Source: Customer List”

 

เลือก “Your Source: Customer List”

 

เมื่อคุณคลิกเลือก Your Source: Customer List ระบบจะให้คุณอัปโหลดรายชื่อและข้อมูลของลูกค้าที่เคยบันทึกเก็บไว้ โดยที่เมนู “Include at least one main identifier” และ “Include more identifiers” จะแสดงประเภทข้อมูลที่จะป้อนเข้าสู่ระบบ เช่น อีเมล เบอร์โทรศัพท์ เมือง หรือรหัสไปรษณีย์ เป็นต้น

 

กด Download file template

 

สำหรับการอัปโหลดข้อมูลต่าง ๆ ระบบจะให้คุณอัปโหลดในรูปแบบไฟล์ .csv ซึ่งคุณสามารถคลิก Download file template เพื่อกรอกข้อมูลในตารางที่ Meta ออกแบบไว้ให้ได้ จากนั้นคลิก Next

 

ระบุ Customer Value

 

เพื่อเข้าสู่หน้าต่างถัดไป ระบบจะถามว่า “คุณจะระบุ Customer Value ลงไปในตาราง Customer List หรือไม่?” ซึ่ง Customer Value ก็คือจำนวนที่บ่งบอกว่าลูกค้าแต่ละรายใช้จ่ายกับธุรกิจของคุณเฉลี่ยคนละเท่าไหร่นั่นเอง หากคุณต้องการข้ามรายละเอียดส่วนนี้ไป ให้คลิกเลือก No จากนั้นคลิก Next เพื่อเข้าสู่หน้าอัปโหลดไฟล์ .csv 

 

กลับมาที่ File Template

 

กลับมาที่ File Template ที่คุณดาวน์โหลดมา ข้อมูลจะมีลักษณะเป็นตาราง Excel แบ่งออกเป็นช่องใส่ข้อมูลต่าง ๆ เช่น email, phone, fn (First Name), ln (Last Name) เป็นต้น 

ดู Guideline การใส่ข้อมูลในตาราง คลิกที่นี่

 

สิ่งที่คุณต้องทำคือกรอกข้อมูลของลูกค้าตามตารางให้ครบถ้วน และ Rename ชื่อไฟล์ใหม่ เช่น รายชื่อลูกค้าเก่าปี 2021, รายชื่อลูกค้าเก่าปี 2020 หรือ รายชื่อลูกค้าที่มียอดซื้อเกิน 1 แสน เป็นต้น

 

บันทึกไฟล์ .csv

 

*เพิ่มเติมสำหรับการบันทึกไฟล์ .csv 

ระบบปฏิบัติการ Windows:  คุณสามารถเปิด File Template ชุดนี้ได้ในโปรแกรม Microsoft Excel เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อย เลือกเมนู Save As และเลือก Save เป็นไฟล์ .csv ได้ทันที

 

ระบบปฏิบัติการ IOS: คุณสามารถเปิด File Template ชุดนี้ได้ในแอปพลิเคชัน Numbers เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อย เลือกเมนู File และเลือก Export to เป็นไฟล์ .csv ได้เช่นเดียวกัน

 

เลือก Upload File

 

เมื่อกรอกข้อมูลและบันทึกไฟล์เรียบร้อย ก็เข้าสู่ขั้นตอนการอัปโหลด คลิกที่ Upload File

 

ตรวจสอบชื่อไฟล์ และ Edit

 

ตรวจสอบชื่อไฟล์ และ Edit ใหม่ได้ตามต้องการ จากนั้นคลิก Next

 

 กด Import & Create

 

ตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลอีกครั้ง จากนั้นคลิก Import & Create

 

ระบบจะสร้างชุดข้อมูล Custom Audience

 

ระบบจะสร้างชุดข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดเอง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งาน

เลือก “Your Source: Facebook Page”

เลือก Your Source Facebook Page

 

เมื่อคุณคลิกเลือก Your Source: Facebook Page ระบบจะให้คุณเลือกเพจที่คุณต้องการจะดึงข้อมูล

 

คลิกที่เมนู Events

 

จากนั้นคลิกที่เมนู Events เพื่อเลือกว่าจะนำข้อมูลในส่วนใดมาทำการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ใช้สำหรับยิงแอดเฟสบุ๊ค อาทิ ข้อมูลผู้ที่กด Like หรือ Follow เพจ ข้อมูลผู้ที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมหน้าเพจ หรือข้อมูลผู้ที่เคยส่งข้อความถึงเพจ ซึ่งโดยทั่วไปเรามักจะตั้งค่าเป็น “Everyone who engaged with your page” หรือ ข้อมูลผู้ที่เคย Engage กับเพจโดยรวม ไม่ว่าจะเป็น การกดชมโฆษณา การ Like การ Comment การ Share และอื่น ๆ

 

3. การเรียกใช้งานข้อมูล Custom Audience

 

เรียกใช้งานข้อมูล Custom Audience

 

ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในระบบเพื่อรอการใช้งาน คุณสามารถเรียกใช้งานข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่ใช้สำหรับยิงแอดเฟสบุ๊ค ได้ในขั้นตอนการตั้งค่า Ad Set โดยคลิกค้นหาที่เมนู Custom Audience 

 

การสร้างหรือกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ใช้สำหรับยิงแอดเฟสบุ๊ค เป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน ต้องอาศัยเวลาในการรวบรวมและจัดระเบียบข้อมูล แต่ผลลัพธ์ที่ได้นับว่าคุ้มค่าทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ใช้สำหรับยิงแอดเฟสบุ๊ค ช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างโฆษณาเฟสบุ๊ค และในขณะเดียวกันก็ช่วยส่งเสริมให้แบรนด์พัฒนาระบบการรวบรวมข้อมูลลูกค้า เพื่อให้สามารถนำมาวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดได้สะดวกยิ่งขึ้นอีกด้วย 


หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

Reading Time: 4 minutes

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว

โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

——————————————————————–

ขอบคุณข้อมูลจาก:

 

 

Facebook Comment
บทความที่เกี่ยวข้อง

PBN คืออะไร จำเป็นต้องทำไหม และส่งผลดีอย่างไรบ้าง ?

Reading Time: 2 minutes การทำ SEO ถือเป็นกลยุทธ์ขั้นพื้นฐานของการทำการตลาดในยุคดิจิทัล ที่จะช่วยดันเว็บไซต์ของตัวธุรกิจให้ขึ้นไปติดอันดับต้น ๆ บนหน้าค้นหาของ Google ส่งผลให้ลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายมีโอกาสเจอเว็บไซต์หรือรู้จักธุรกิจของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งหนึ่งในเทคนิคยอดนิยมที่บริษัทรับทำ SEO ทั่วโลกต่างเลือกใช้คงหนีไม่พ้นการทำ PBN หรือ Private Blog Network ที่จะช่วยให้การทำ SEO มีประสิทธิภาพและได้ผลดีมากยิ่งขึ้น วันนี้ Cotactic จึงอยากพาผู้ประกอบการทุกท่านไปรู้จักกับ PBN กันครับว่ามันคืออะไร จำเป็นต้องทำไหม และส่งผลดีอย่างไรบ้าง   PBN คืออะไร Private Blog Network หรือ PBN คือ เครือข่ายบล็อกส่วนตัวที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำ Backlink (Off page) ให้กับเว็บไซต์หลักที่เราต้องการโดยเฉพาะ อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาอีกหนึ่งเว็บ จากนั้นก็ทำ Backlink ย้อนกลับไปยังหน้าเพจที่เราต้องการ เพื่อส่งค่าคะแนนความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์หลักของตัวธุรกิจ เพราะยิ่งเราได้ Backlink ที่มาจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องมากเท่าไหร่ ตัว Google ก็จะมองว่าเว็บไซต์หลักของเรามีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือมากเท่านั้น ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การทำ SEO […]

รู้จัก 9 เครื่องมือ SEO คุณภาพที่เอเจนซี่ชั้นนำเลือกใช้

Reading Time: 3 minutes อย่างที่ทราบกันดีว่าการทำ SEO จำเป็นต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ที่มากพอ ถึงจะสามารถทำให้ตัวเว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าค้นหาของ Google ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่นอกจากความรู้และประสบการณ์ที่เราต้องมีแล้ว การเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เราต้องให้ความสำคัญและไม่ควรมองข้าม วันนี้ Cotactic จึงอยากจะมาแนะนำ 9 เครื่องมือ SEO คุณภาพที่นักการตลาดและบริษัทรับทำ SEO ทั่วโลกต่างเลือกใช้   1. Google Search Console เครื่องมือ SEO ที่ได้รับความนิยมจากนักการตลาดออนไลน์ทั่วโลก มันเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราตรวจสอบคุณภาพและหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ได้อย่างละเอียด ทำให้เราสามารถติดตามผลลัพธ์และดูรายงานการเข้าชมเว็บไซต์แบบ Organic ได้ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้คนทำ SEO สามารถปรับปรุงเว็บไซต์และวางกลยุทธ์ในการทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งตัวเครื่องมือยังเปิดให้ใช้งานได้ฟรีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ   เริ่มต้นใช้งานได้ที่นี่ Google Search Console   2. Google Analytics Google Analytics คือเครื่องมือ SEO ที่ใช้ในการวิเคราะห์และเก็บสถิติต่าง ๆ ของตัวเว็บไซต์ ว่าคนที่กดคลิกเข้ามานั้นเป็นใคร เพศอะไร อายุเท่าไหร่ เข้ามาผ่านช่องทางไหน […]

404 not found คืออะไร ? ส่งผลแค่ไหนกับการทำ SEO

Reading Time: 3 minutes เชื่อว่าสำหรับผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือท่องเว็บไซต์เป็นประจำแล้ว ต้องเคยประสบปัญหาพบเจอหน้าเพจ 404 not found มาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งมันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหานี้สร้างความน่ารำคาญใจให้กับผู้ใช้งานมากมายขนาดไหน ดังนั้นถ้าหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง การสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดีให้กับลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม เราจึงควรหมั่นปรับปรุงและดูแลเว็บไซต์อยู่ตลอด เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาน่าปวดหัวนี้เกิดขึ้นครับ   วันนี้ Cotactic จึงอยากพาเจ้าของธุรกิจทุกท่านไปรู้จักกับปัญหา 404 not found กันว่ามันคืออะไร เกิดจากอะไร และทำไมเอเจนซี่ที่รับทำ SEO ถึงให้ความสำคัญ   404 not found คืออะไร ? เกิดจากอะไร ? 404 not found คือ หน้าเพจที่แสดงผลผิดพลาดจากการที่ Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูลแล้วไม่พบ URL ของหน้าเว็บไซต์ หรือไม่พบข้อมูลที่อยู่บน Server ของเว็บไซต์ จึงแสดงผลให้ผู้ใช้งานได้รู้ว่าหน้าเพจนี้ไม่มีอยู่ ลิงก์อาจเสียหรือหน้าเพจมีปัญหา ซึ่งสาเหตุของการเกิด 404 not found นั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายกรณีด้วยกัน เช่น  เปลี่ยนชื่อ […]

Reading Time: 3 minutes

Reading Time: 3 minutes