click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น ส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกค้าและรูปแบบการทำการตลาดอย่างมีนัยยะสำคัญ เนื่องจากแบรนด์และลูกค้าสามารถติดต่อกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทางออนไลน์ที่หลากหลาย ซึ่งการแข่งขันทางการตลาดที่เข้มข้นขึ้นนี้ ส่งผลให้แบรนด์ต่าง ๆ พยายามดึงดูดความสนใจจากลูกค้า ผ่านการผลิตคอนเทนต์จำนวนมหาศาล สิ่งนี้ทำให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่มากเกินไป ในขณะเดียวกันลูกค้าต่างเริ่มคาดหวังและมองหา “ประสบการณ์ที่รู้ใจ” มากขึ้น กลยุทธ์การตลาดแบบดั้งเดิมที่เน้นการสื่อสารแบบทั่วไป (Mass Marketing) จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าอีกต่อไป แบรนด์จึงต้องนำกลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจมาประยุกต์ใช้กับการทำธุรกิจ

บทความนี้ Cotactic บริษัทรับทำการตลาดออนไลน์จะขอพาทุกคนร่วมศึกษาการทำการตลาดแบบรู้ใจ Personalized Marketing ที่จะมุ่งเน้นไปที่การทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรม ความสนใจ ความชอบ และความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคล เพื่อสร้างประสบการณ์แบบรู้ใจ และมัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด

Personalized Marketing คือ

Image2

การตลาดแบบรู้ใจ หรือ Personalized Marketing คือ การใช้ข้อมูลที่ทางแบรนด์ทำการจัดเก็บจากลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมาย มาวิเคราะห์เพื่อออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาด ตลอนจนนำมาพัฒนาสินค้า และบริการ ให้สามารถตอบรับกับความคาดหวัง และความต้องการของลูกค้ารายบุุคคล ดังนั้น กระดุมเม็ดแรกของการทำการตลาดแบบรู้ใจ แบรนด์ต่าง ๆ จำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถนำมาสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้ในการออกแบบกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม การตลาดแบบรู้ใจ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้

1. Segmentation

อย่างที่ได้กล่าวไปถึงการทำ Personalized Marketing จำเป็นต้องเริ่มจากการเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย และลูกค้า ซึ่งข้อมูลที่ได้จะต้องนำมาวิเคราะห์ และแบ่งกลุ่มเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของลูกค้า โดยสามารถทำการจัดกลุ่มได้หลากหลายหมวดหมู่ เช่น การแบ่งกลุ่มจากความถี่ในการซื้อสิ้นค้า การแบ่งกลุ่มจากประเภทสินค้าที่ชื่นชอบ การแบ่งกลุ่มประเภทสินค้าที่ซื้อ การแบ่งกลุ่มจากการใช้จ่ายซื้อสินค้า เป็นต้น และยิ่งแบรนด์แบ่งกลุ่มลูกค้าได้ละเอียดมากเท่าไร จะยิ่งทำให้กลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการแบ่งกลุ่มอย่างละเอียดถือเป็นการเพิ่มต้นทุนการทำงาน ดังนั้น แบรนด์จำเป็นต้องวางแผน และวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนในการแบ่งกลุ่มลูกค้า เพื่อช่วยให้การออกแบบกลยุทธ์การตลาดมีประสิทธิภาพมากที่สุด

2. 1-to-1 Personalization

สำหรับการทำ 1-to-1 Personalized คือการสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคล (Personal Experiences) โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น และข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ ซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลพฤติกรรมออนไลน์ล่าสุด เช่น ประวัติการค้นหา หน้าเว็บไซต์ที่เข้าชม สินค้าที่ดู สินค้าที่ซื้อ เป็นต้น รวมทั้งข้อมูลบริบทล่าสุด เช่น ตำแหน่งที่ตั้ง เวลา อุปกรณ์ที่ใช้ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ จะถูกนำมาวิเคราะห์ผ่านเครื่องมือทางการตลาด (MarTech) อาทิ ระบบ Customer Relationship Management (CRM), Data Analytics, Marketing Automation, Artificial Intelligence (AI) เพื่อให้สามารถได้ข้อมูลที่นำมาต่อยอด สร้างประสบการณ์แบบรู้ใจให้กับลูกค้าแต่ละบุคคล

3. Personalized Content Marketing

การทำการตลาดแบบรู้ใจด้วยการสร้างคอนเทนต์ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำสินค้าผ่านบทความ หน้าเว็บไซต์ หน้า Sale Page ให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละคน ตัวอย่างเช่น ลองจินตนาการว่าหากคุณเป็นเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้ากีฬา และมีลูกค้าชื่อนาย A อายุ 30 ปี ทำงานเป็นพนักงานออฟฟิศ ซื้อสินค้าของคุณเป็นประจำ ชื่นชอบการดูฟุตบอลพรีเมียร์ลีก และทีมโปรดคือ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

การทำ Personalized Content Marketing จะช่วยให้คุณเข้าถึงนาย A ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านคอนเทนต์ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การเขียนบทความเกี่ยวกับฟุตบอลพรีเมียร์ลีก แนะนำสินค้าเสื้อผ้ากีฬาหรือเสนอโปรโมชันพิเศษที่มีลายหรือสัญลักษณ์ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด โดยทำการส่งมอบคอนเทนต์ให้กับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์อย่าง อีเมล, ไลน์, SMS, โซเชียลมีเดีย หรือเว็บไซต์ ผลลัพธ์ปลายทางที่นาย A จะได้คือ รู้สึกประทับใจกับสินค้าและบริการ รู้สึกว่าแบรนด์เข้าใจความต้องการของเขา จนนำไปสู่การบอกต่อเพื่อนและครอบครัวเกี่ยวกับสินค้า และบริการของแบรนด์นั่นเอง

4. Personalized E-Mail Marketing

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันการทำการตลาดผ่านทางอีเมลเป็นเรื่องที่ท้าทายมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากลูกค้าแต่ละคนได้รับอีเมลวันละหลายฉบับ ซึ่งมีโอกาสสูงที่อีเมลของแบรนด์จะถูกปัดตก หรือถูกเพิกเฉยได้ การทำ Personalized Marketing ในการส่งอีเมลจึงถือเป็นโอกาสในการที่จะทำให้ลูกค้าสนใจอีเมล เพียงแค่แบรนด์ระบุชื่อของลูกค้าในอีเมล เพื่ออวยพรวันเกิด หรือขอบคุณในการซื้อสินค้า ตลอดจนการมอบส่วนลดในการซื้อสินค้าครั้งหน้า เท่านี้ก็ถือเป็นการเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะกดเข้ามาดูอีเมลของแบรนด์ได้

ประโยชน์จากทำ Personalized Marketing

Image4

ในยุคของ Customer Centric ที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง “การตลาดแบบรู้ใจ หรือ Personalized Marketing”  จึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่สร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม การทำการตลาดในลักษณะนี้ยังมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ ที่จะช่วยให้แบรนด์บรรลุเป้าหมายทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. ปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า

ในอดีตการแข่งขันด้านการตลาด แบรนด์ต่าง ๆ เลือกที่จะปรับลดราคาเพื่อดึงความสนใจจากลูกค้า แต่ในปัจจุบันราคาไม่ใช่จุดตัดสินใจเพียงอย่างเดียว แต่ “ประสบการณ์ของลูกค้า” กลายเป็นสิ่งที่ลูกค้าให้ความสำคัญ และพร้อมที่จ่ายเงินเพื่อ “ประสบการณ์ที่ดี” การทำการตลาดแบบรู้ใจ Personalized Marketing จึงได้กลายเป็นกลยุทธ์ที่จะเพิ่มโอกาสในการขายสินค้า และบริการ และแน่นอนว่าลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีกลับไปทุกครั้งที่ซื้อสินค้า

2. ความภักดีต่อแบรนด์

การทำการตลาดแบบรู้ใจ Personalized Marketing จำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าเชื่อว่าแบรนด์เข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะช่วยให้ลูกค้ามั่นใจในตัวแบรนด์ และมอบความภักดีให้กับแบรนด์ (Customer Loyalty) ทั้งนี้แบรนด์ยังสามารถเพิ่มระดับความท้าทายในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลให้ละเอียดมากขึ้น เพื่อยกระดับการทำการตลาดไปสู่การทำ Hyper-Personalization ได้ในอนาคต

3. เพิ่มยอดขาย

การทำการตลาดแบบรู้ใจเปรียบเสมือนกับสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ (Win-win Situation) เนื่องจากแบรนด์ได้มอบประสบการณ์ที่น่าประทับใจ และสินค้าที่ตรงใจให้ลูกค้า ในขณะที่ลูกค้าได้มอบความภักดีให้กับแบรนด์  เมื่อลูกค้ามีความภักดีก็จะกลับมาซื้อซ้ำ รวมทั้งใช้จ่ายมากขึ้น นอกจากนี้ Personalized Marketing ยังสามารถทำการรักษาฐานลูกค้าเก่า (Customer Lifetime Value) ได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ได้รับโอกาสในการสร้างยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

4. ช่องทางออนไลน์ที่หลากหลาย

การเติบโตของเทคโนโลยีทำให้เกิดช่องทางการติดต่อลูกค้าเพิ่มมากขึ้น เช่น Facebook, Instagram, Line, E-Mail, Website, E-Commerce Platform และ Youtube เป็นต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดแบบรู้ใจให้เข้าถึงลูกค้าได้อย่างทั่วถึงในทุกช่องทาง

ขั้นตอนการทำ Personalized Marketing

Image3

สำหรับขั้นตอนของการทำตลาดแบบรู้ใจ Personalized Marketing จะแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้

1. เก็บข้อมูลลูกค้า

สิ่งที่จะขาดไม่ได้ในการทำการตลาดแบบรู้ใจ Personalized Marketing คือการเก็บข้อมูล (Data Collection)  ซึ่งประเภทของข้อมูลจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) ที่เป็นตัวเลข จำนวน และข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) ที่เป็นการอธิบาย หรือในรูปแบบของความคิด ความชอบ ซึ่งแบรนด์สามารถเก็บข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งจากการทำแบบสอบถาม การใช้เครื่องมือการตลาด (Customer Relation Management) การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม เป็นต้น ในการเก็บข้อมูลจะทำให้แบรนด์ได้ข้อมูลสำคัญที่จะช่วยในการออกแบบกลยุทธ์การตลาด

2. วิเคราะห์ข้อมูล

ข้อมูลนับว่าเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามหาศาล เพราะสามารถนำไปต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์ได้ ดังนั้น ในขั้นตอนถัดไปของการทำการตลาดแบบรู้ใจ แบรนด์จำเป็นต้องนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อออกแบบกลยุทธ์ทางการตลาด โดยนำเครื่องมือการตลาดเข้ามาช่วย เช่น Google Analytics, Heap Analytics, Zoho Analytics และ Crazy Egg เป็นต้น เพื่อให้รู้ว่าลูกค้ามีพฤติกรรมอย่างไร ชื่นชอบสินค้าประเภทไหน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างแคมเปญการตลาดแบบรู้ใจ

3. Segmentation

การแบ่งกลุ่มลูกค้า (Customer Segmentation) ช่วยให้แบรนด์เข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น   โดยสามารถแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ตามลักษณะ พฤติกรรม และความต้องการที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งจะช่วยให้แบรนด์สามารถนำเสนอ Personalized Communication Message ที่ตรงใจกับความสนใจและตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ให้ข้อมูลตามลักษณะบุคคล

หลังจากที่รู้แล้วว่าลูกค้าแต่ละคนอยากได้สินค้าแบบไหน หรือมีความต้องการอย่างไร แบรนด์สามารถออกแบบคอนเทนต์ให้ตรงกับความสนใจของลูกค้าแต่ละคนได้ เช่น แบรนด์รู้ว่านาย A ชื่นชอบเครื่องดื่มผลไม้ ก็สามารถส่งข้อความแนะนำเมนูเครื่องดื่มผลไม้ตัวใหม่,  เสนอส่วนลดพิเศษสำหรับเครื่องดื่มผลไม้ หรือแจ้งโปรโมชันพิเศษสำหรับลูกค้า VIP โดยที่แบรนด์ต้องไม่ลืมที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเขาเป็นสำคัญ ผ่านการสร้างความรู้สึกที่พิเศษ นำเสนอเนื้อหาที่ตรงใจ ข้อเสนอที่ดึงดูดใจ และสื่อสารอย่างต่อเนื่อง

5. การวัดผล

ในการดำเนินงานด้านการตลาดทุกครั้ง แบรนด์จะต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน เช่นเดียวกับการทำ Personalized Marketing โดยแบรนด์อาจจะตั้งเป้าหมายในการเพิ่มยอดขาย เพิ่มจำนวนลูกค้าใหม่ สร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้า ตลอดจนการรักษาฐานลูกค้าเก่า (Customer Lifetime Value) เป็นต้น และหลังจากการดำเนินการให้แบรนด์นำผลลัพธ์ที่ได้มาวิเคราะห์เพิ่มเติม เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค รวมทั้งวัดผลแคมเปญทางการตลาด ซึ่งจะนำไปสู่ขั้นตอนในการปรับปรุงผลการทำงานในลำดับถัดไป

6. ปรับปรุง

จากการวัดผลในการทำ Personalized Marketing ว่าส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกค้าอย่างไร เช่น ยอดขาย จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ อัตราการคลิก อัตราการแปลง เพิ่มขึ้นหรือลดลง รวมทั้งมีนัยยะสำคัญอย่างไร จากจุดนี้แบรนด์ต้องนำข้อมูลที่ได้มาการวิเคราะห์ และพัฒนาต่อยอด ปรับปรุงให้สามารถสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อให้แบรนด์บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ Personalized Marketing

Image5

หลังจากที่ได้รู้กันไปแล้วว่าขั้นตอนการทำการตลาดแบบรู้ใจ Personalized Marketing ทำอย่างไร ในเนื้อหาส่วนนี้จะขอพาทุกคนไปดูกรณีศึกษาของแบรนด์ดังต่างประเทศว่าเขานำกลยุทธ์การตลาดนี้มาใช้อย่างไรบ้าง

1. Amazon

Amazon บริษัทอีคอมเมิร์ซอันดับต้น ๆ ของโลก ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า (Customer Experience) มุ่งเน้นใช้กลยุทธ์การทำการตลาดแบบรู้ใจ หรือ Personalized Marketing โดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาผสานการบริหารจัดการ เพื่อมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่เหนือระดับ ซึ่งระบบจะทำการประมวลผลข้อมูลการซื้อ พฤติกรรมการใช้งาน สินค้าที่ลูกค้าให้ความสนใจ และอื่น ๆ นำมาวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ว่าลูกค้าแต่ละรายมีแนวโน้มจะซื้อสินค้าประเภทใด รวมทั้งยังมีการแนะนำเสนอสินค้าที่คาดการณ์ว่าลูกค้ามีแนวโน้มที่จะซื้อ (Personalized Recommendations) จากข้อมูลที่วิเคราะห์ ระบบจะนำเสนอสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย บนหน้าจอสินค้า หน้าค้นหา หรืออีเมล รวมทั้งแนะนำสินค้าที่คล้ายคลึงกัน (Similar Products) สุดท้ายการให้โปรโมทชันกับสินค้าเฉพาะบุคคล (Personalized Promotions) ซึ่งการดำเนินการด้วยกลยุทธ์นี้ทำให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น โดย 35 % และ 56 % ของผู้ใช้งานมีแนวโน้มที่จะกลับมาซื้อซ้ำอีกครั้ง ในขณะที่ Amazon ก็ได้รับยอดขายที่เพิ่มขึ้น

2. Netflix

Netflix ผู้นำแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งวิดีโอระดับโลก ดำเนินการทางการตลาดผ่านการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และกลยุทธ์ Personalized Marketing  เพื่อสร้างประสบการณ์พิเศษแก่ผู้ใช้งานทั่วโลก ซึ่งระบบของ Netflix จะมีอัลกอริทึมที่ซับซ้อน ในการเข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ใช้งาน เช่น รายการที่รับชม ระยะเวลาการรับชม เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกวิเคราะห์ออกมาเพื่อสร้าง “โปรไฟล์ของผู้ใช้” ส่งต่อไปที่ระบบหลังบ้านในการแนะนำรายการที่ตรงใจผู้ใช้แต่ละบุคคล รวมทั้งทาง Netflix ยังมีระบบการเลือกโปสเตอร์ภาพหนังที่เหมาะกับผู้ใช้งานแต่ละคนอีกด้วย กลยุทธ์การตลาดที่รู้ใจผนวกกับเทคโนโลยี AI ทำให้ Netflix สามารถมอบประสบการณ์การรับชมที่เหนือระดับ และสามารถครองใจผู้ชมทั่วโลกได้จนถึงปัจจุบัน

3. Spotify

Spotify ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งเพลงและพอดแคสต์ชื่อดังจากสวีเดน ครองใจผู้ใช้งานทั่วโลก ด้วยจุดเด่นที่มากกว่าการเป็นแค่คลังเพลง แต่ Spotify มุ่งมั่นมอบประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป ผ่านกลยุทธ์ Personalized Marketing ด้วยการทำความเข้าใจผู้ใช้แต่ละบุคคล จากการเก็บข้อมูลประวัติการฟังเพลง การกดไลก์เพลงที่ชอบ เช่น ฟีเจอร์ Discover Weekly, ฟีเจอร์ Daily mix ซึ่งนำไปสู่การช่วยให้ผู้ใช้บริการได้ค้นพบเพลงใหม่ ๆ ที่ตรงใจ เสมือนมีดีเจส่วนตัวคอยจัดเพลย์ลิสต์ให้ นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบลูกเล่นให้น่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยฟีเจอร์ Wrapped สรุปเพลงโปรดของคุณในช่วงปีที่ผ่านมา นำเสนอในรูปแบบ Motion Graphic สุดคูล เพื่อให้ผู้ใช้งานแชร์เรื่องราวทางดนตรีบนโซเชียลมีเดียได้อย่างสนุกสนาน

4. Starbuck

Starbucks แบรนด์ร้านกาแฟที่โด่งดังไปทั่วโลก ได้ทำการตลาดผ่านกลยุทธ์ที่รู้ใจลูกค้า Personalized Marketing ด้วยการใช้พลังแห่ง AI และ Real-time Data วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละบุคคลอย่างรายละเอียด ทำให้ Starbucks สามารถส่งข้อความที่ถูกปรับแต่งตามเฉพาะบุคคลให้ลูกค้าได้มากกว่า 400,000 รูปแบบ ทั้งยังมีฟีเจอร์แจ้งเตือนลูกค้าที่อยู่ใกล้สาขาเชิญชวนให้เข้ามาสั่งกาแฟ และทำการจ่ายเงินผ่านมือถือได้อย่างสะดวก โดยที่ไม่ต้องเดินเข้าร้าน ซึ่งทำให้ได้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดี ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ ตลอดจนได้กลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ นอกจากเรื่องประสบการณ์ที่น่าประทับใจแล้ว ทาง Starbucks ยังได้สร้างสรรค์ความบันเทิง และความสนุกสนาม ผ่านการเล่มเกมส์ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมระหว่างลูกค้าและเแบรนด์

สรุป

ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันทางการตลาดที่สูงขึ้น การตลาดแบบรู้ใจ Personalized Marketing จึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยให้แบรนด์สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เพิ่มยอดขาย และบรรลุเป้าหมายทางแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์พฤติกรรม ความชอบ และความต้องการ เพื่อให้สามารถออกแบบแคมเปญการตลาดที่ตรงใจลูกค้าแต่ละบุคคล

สนใจปรึกษา Cotactic

หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่ยังไม่มีทีมการตลาด หรือเป็นนักการตลาดที่ต้องการผู้ช่วยทำโฆษณาให้ติดตลาดออนไลน์ ไม่อยากสูญเงินเปล่าให้แพลตฟอร์มโฆษณาจากการลองผิดลองถูกเองแล้วไม่ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ

ลองให้ Cotactic Media บริษัทรับทำการตลาดออนไลน์อย่างเรา ที่มีทีมผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์กว่า 8 ปี คอยเป็นผู้ช่วยคุณเพิ่มความมั่นใจในทุกความท้าทายทางธุรกิจ เราพร้อมให้คำปรึกษาด้านการวางกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดและสร้างยอดขายไปพร้อมกัน ช่วยคุณต่อสู้กับคู่แข่งในแบบฉบับของคุณ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้แบรนด์คุณเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว

ติดต่อขอรับคำปรึกษากลยุทธ์การตลาดออนไลน์กับ Cotactic ได้ก่อนตัดสินใจรับบริการ เพียงกรอกข้อมูลเพื่อให้เรารับทราบโจทย์ของคุณ คลิกที่นี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 065 095 9544

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic

Line: @cotactic

——————————————————————–

ขอบคุณข้อมูลจาก

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไม Evergreen Content ถึงดีต่อเว็บไซต์

ทำไม Evergreen Content ถึงดีต่อเว็บไซต์

What is brand character and How to a brand character

สร้างความโดดเด่นให้แบรนด์ด้วย Brand Character

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้

ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้ ต้องการทีมช่วยทำ Digital Marketing และสร้าง Real-Time Dashboard สำหรับแคมเปญของคุณหรือไม่? เริ่มเลยวันนี้