Reading Time: 2 Mins
2 Mins
Sep 18, 2023

Customer Segmentation คืออะไร? เข้าถึงลูกค้าอย่างไรให้ตรงจุด

Customer Segmentation

ถ้าเราอยากที่จะทำธุรกิจหรือเพิ่งเป็นน้องใหม่ในการทำตลาด สิ่งที่จะเป็นประโยชน์กับเราก็คือ การแบ่งกลุ่มลูกค้าเพื่อเราจะได้เข้าใจพฤติกรรมหรือความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงควรแบ่งกลุ่มลูกค้า หรือที่เรียกว่า Customer Segmentation เพื่อหาเพื่อนรู้ใจในตลาดให้เร็วที่สุดและตอบโจทย์ธุรกิจได้มากที่สุดก็จะยิ่งเป็นผลดีให้กับธุรกิจ

 

Customer Segmentation คืออะไร?

Customer Segmentation คือ การแบ่งฐานกลุ่มลูกค้าเพื่อให้รู้ว่าธุรกิจหรือองค์กรของเรา ต้องการลูกค้าในแนวไหนหรือมีพฤติกรรมการบริโภคเป็นอย่างไร เพื่อนำมาวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดในการมัดใจลูกค้าได้รวดเร็วกว่าคู่แข่ง

 

ประเภทของ Customer Segmentation

Customer Segmentation หรือการแบ่งฐานกลุ่มลูกค้า จะทำให้ธุรกิจหรือองค์กรวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าและจัดการตามแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถแบ่งได้หลายประเภทดังนี้

 

  • แบ่งตามหลักประชากรศาสตร์ (Demographic)

Customer Segmentation

หลักประชากรศาสตร์ (Demographic) คือ การแบ่ง Customer Segmentation ของลูกค้าโดยมีหลักการวิเคราะห์จากข้อมูลประชากรทั่วไป ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เช่น เพศ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ สัญชาติ สถานะทางสังคม เป็นต้น 

 โดยวิธีนี้จะทำให้ธุรกิจรู้ถึงจำนวนการใช้จ่ายของลูกค้าและวิธีการใช้จ่ายของลูกค้า

 

ตัวอย่างการแบ่งตาม Demographic เบื้องต้น

เพศ : เพศชาย/เพศหญิงและ เพศ LGBTQ+

อายุ : 20 – 25 ปี

อาชีพ : นักศึกษา

รายได้ : 5,000 – 15,000 บาท /เดือน

การศึกษา : ปริญญาตรี

 

  • Customer Segmentation แบ่งตามหลักข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ (Geographics)

Customer Segmentation

หลักข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ (Geographics) คือ การแบ่ง Customer Segmentation โดยมีหลักการวิเคราะห์จากข้อมูลทางภูมิศาสตร์  ที่ตั้ง หรือภูมิอากาศ โดยวิธีนี้จะทำให้ธุรกิจรู้ถึงตำแหน่งการทำแผนการตลาดหรือแคมเปญทางการตลาดได้ดีขึ้น

 

ตัวอย่างการแบ่งตาม Geographics เบื้องต้น

ประเทศ : ไทย

ภาค : กลาง

จังหวัด : กรุงเทพมหานคร / พิษณุโลก / สุพรรณบุรี / ลพบุรี / นครนายก

 

  • แบ่งตามหลักจิตวิทยา (Psychological)

Customer Segmentation

หลักจิตวิทยา (Psychological) คือ การแบ่ง Customer Segmentation ของลูกค้าโดยมีหลักการวิเคราะห์จากข้อมูลเชิงจิตวิทยา เช่น ทัศนคติ ไลฟ์สไตล์(Lifestyle) ความสนใจ ความคิดเห็น บุคลิกภาพ เป็นต้น โดยวิธีนี้จะทำให้ธุรกิจรู้หรือเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่สนใจในสินค้าหรือบริการ

 

ตัวอย่างการแบ่งตาม Psychological เบื้องต้น

ไลฟ์สไตล์ (Lifestyle) : ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม / สายสุขภาพ 

             ความสนใจ : การเกษตร / งานศิลปะ

             ทัศนคติ : วางตัวเป็นกลาง / รักตัวเอง 

             

  • แบ่งตามหลักข้อมูลด้านพฤติกรรมลูกค้า (Behavioral)

Customer Segmentation

หลักข้อมูลด้านพฤติกรรมลูกค้า (Behavioral) คือ การแบ่ง Customer Segmentation ของลูกค้าโดยมีหลักการวิเคราะห์จากกลุ่มพฤติกรรม หรือขั้นตอนการตัดสินใจของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น ปริมาณการใช้สินค้าหรือบริการ โอกาสพิเศษ ความอ่อนไหวในเรื่องราคา เป็นต้น โดยวิธีนี้จะทำให้ชาวการตลาดสามารถพัฒนาหรือต่อยอดกลยุทธ์หรือแผนการตลาดได้ดีขึ้น

 

ตัวอย่างการแบ่งตาม Behavioral เบื้องต้น

ปริมาณการใช้สินค้าหรือบริการ : ใช้ปริมาณมาก / ใช้ปริมาณค่อนข้างมาก / ใช้ปริมาณค่อนข้างน้อย / ใช้ปริมาณน้อย

ความอ่อนไหวในเรื่องราคา : อ่อนไหวต่อราคาสูง / อ่อนไหวต่อราคาค่อนข้างสูง / อ่อนไหวต่อราคาค่อนข้างต่ำ / อ่อนไหวต่อราคาต่ำ

โอกาสพิเศษ : วันครบรอบวันแต่งงาน / วันเกิด / เปิดกิจการหรือธุรกิจใหม่

 

ประโยชน์ของการทำ Customer Segmentation

  • เข้าใจพฤติกรรมลูกค้ามากขึ้น

การแบ่งฐานกลุ่มลูกค้าหรือการทำ Customer Segmentation คือ ผู้ช่วยที่จะทำให้ธุรกิจหรือองค์กรเข้าถึงหรือเข้าใจพฤติกรรมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายว่ามีพฤติกรรมการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการเป็นอย่างไร ซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจหรือองค์กรต่อยอดในด้านการทำแผนการตลาดหรือสื่อสารด้วยวิธีใดจึงจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วที่สุด

  • พัฒนากลยุทธ์การตลาดได้ตรงกับความต้องการลูกค้า

การทำ Customer Segmentation จะทำให้ช่วยในเรื่องของการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและจะทำให้รู้ว่าลูกค้ากำลังต้องการสินค้าหรือบริการแบบไหนในเวลานี้เพื่อให้ธุรกิจหรือองค์กรได้ผลตอบรับที่ดีที่สุด

  • สร้างความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty)

การทำ Customer Segmentation จะทำให้ช่วยในเรื่องของการเก็บหรือรวบรวมข้อมูลของลูกค้าเพื่อนำมาพัฒนา กำหนดแคมเปญทางการตลาดหรือเป็นจุดที่ดึงดูดลูกค้าให้กลับมาใช้สินค้าหรือบริการของธุรกิจหรือองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ

การทำ Customer Segmentation คือ ผู้ช่วยให้ธุรกิจหรือองค์กรได้เจอลูกค้าใหม่ ๆ และเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

  • เพิ่มยอดขายและกำไร

การทำ Customer Segmentation เป็นตัวช่วยที่ทำให้ธุรกิจหรือองค์กรเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าหรือบริการและยังสามารถสร้างกำไรให้กับธุรกิจหรือองค์กร

 

ขั้นตอนการทำ Customer Segmentation

การที่เราจัดทำขั้นตอนของการทำ Customer Segmentation คือ สิ่งที่จะทำให้เราใช้ข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ทำแผนการตลาดหรือกลยุทธ์ทางการตลาดได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ 

  • การรวบรวมข้อมูล (Data collection)

การรวบรวมข้อมูล (Data Collection) คือ การเก็บหรือรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆเพื่อนำมาวิเคราะห์สำหรับการวางแผนการตลาด โดยวิธีการสังเกต (Observation) เช่น สังเกตพฤติกรรมผู้บริโภคชานมไข่มุก ว่าชอบชานมแบบไหน เป็นต้น จะเป็นวิธีการที่สะดวกและรวดเร็วในการเก็บข้อมูล แต่ควรใช้ในกรณีการหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีขนาดเล็กเพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำ

  • การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis)

การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) คือ การวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลที่รวบรวมไว้ 

มาวิเคราะห์เพื่อทำเป็นกลยุทธ์หรือแผนการตลาดเพื่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจ เช่น การวิเคราะห์คู่แข่งทางธุรกิจ การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า เป็นต้น

  • การวางแผนกลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategies)

การวางแผนกลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategies) คือ การเลือกวิธีหรือการวางแผนเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของธุรกิจหรือเป้าหมายการตลาดที่ตั้งไว้

ตัวอย่างกลยุทธ์ทางการตลาดที่น่าสนใจ

กลยุทธ์การตลาดผ่านบทความ (Blogging) คือ การเขียนหรือสร้างบทความเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยมีจุดเด่นคือ เหมาะกับธุรกิจที่เป็นการตลาดแบบเฉพาะกลุ่ม (Niche Marketing) และยังเป็นจุดที่ทำให้ไปสู่ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของลูกค้า (Sales Funnel) 

 

สรุป

โดยสรุปแล้ว Customer Segmentation คือ การแบ่งฐานกลุ่มลูกค้าซึ่งเป็นวิธีการที่เป็นประโยชน์กับธุรกิจ ในด้านการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายซึ่งถ้าธุรกิจไหนได้วิธีการที่รวดเร็วกว่าคู่แข่งและเข้าถึงลูกค้าได้ดีที่สุดก็จะทำให้ธุรกิจนั้นเกิดกำไรทางธุรกิจและได้ลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์หรือธุรกิจ

 

(แหล่งอ้างอิงข้อมูล)

https://www.rocket.in.th/blog/what-is-marketing-segmentation/

https://www.thumbsup.in.th/customer-segmentation-101

https://stepstraining.co/strategy/6-types-of-customer-behavioral-segmentation

https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=6066&pageid=7&read=true&count=true

https://thewisdom.co/content/what-is-data-analytics/

https://thedigitaltips.com/blog/marketing/marketing-strategy/

https://www.dittothailand.com/dittonews/gov-what-is-data-collection/

[wpdevart_facebook_comment curent_url="https://www.cotactic.com/" order_type="social" title_text="Facebook Comment" title_text_color="#000000" title_text_font_size="22" title_text_font_famely="Montserrat" title_text_position="left" width="100%" bg_color="#d4d4d4" animation_effect="random" count_of_comments="3" ]

บทความที่เกี่ยวข้อง

Engagement คืออะไร? มีประโยชน์และส่งผลต่อธุรกิจอย่างไร

Engagement คำนี้มีความหมายอย่างไร Engagement คืออะไร ทำไมนักเจ้าของธุรกิจจึงต้องให้ความสนใจ และมีเทคนิคให้กลุ่มเป้าหมายหันมาสนใจได้ยังไง Topic เรารวบรวมข้อมูลมาไว้ให้หมดแล้ว   Engagement คืออะไร? คำว่า Engagement คือ การมีส่วนร่วมโต้ตอบของผู้ที่เห็นโพสต์บนออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น ผู้เห็นโพสต์ทั่วไปที่เลื่อนฟีดเห็นโพสต์ กลุ่มเป้าหมายที่กดติดตามได้เห็นโพสต์กิจกรรมที่ผู้โพสต์หรือเจ้าของแบรนด์สินค้าได้โพสต์สินค้าหรือทำการโฆษณาลงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ช่องทางต่าง ๆ    การมีส่วนร่วมจะมี 2 แบบด้วยกัน การมีส่วนร่วมที่เป็นผลดีต่อกิจกรรม เช่น การกดไลก์ คอมเมนต์ กดแชร์ กดปุ่มอิโมจิแสดงอารมณ์ต่างๆ  การมีส่วนร่วมที่เป็นผลเสียต่อกิจกรรม เช่น การสแปมแอ็กเคานต์ของผู้โพสต์ รีพอร์ทโพสต์ รายงานปัญหา   การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายในออนไลน์จะมีหลายแพลตฟอร์มด้วยกัน เช่น Facebook เป็นแพลตฟอร์มช่องทางหนึ่งที่ผู้เล่นเยอะมากที่สุด ผู้โพสต์นิยมโพสต์รูปภาพ เขียนแคปชัน มีฟีเจอร์ที่หลากหลาย ใช้งานง่าย เทรนด์ใหม่ที่นิยมคือการลงReelsสั้นๆบนแพลตฟอร์ม Instagram / IG แพลตฟอร์มที่นิยมในวัยรุ่น วัยทำงาน นิยมโพสต์รูปภาพใส่แคปชันสั้นๆ กระชับ เข้าใจง่าย เป็นช่องทางที่ใส่ใจการแต่งรูปภาพให้มีความโดดเด่น สวยงาม สะดุดตา Twitter […]

UX/UI คืออะไร? ทำไมการออกแบบถึงส่งผลต่อธุรกิจ (อัพเดท 2023)

UX UI สายงานหลักที่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ หรือแอปพลิเคชันให้กับธุรกิจ ตลอดจนถึงสร้างการประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน แต่หากยังไม่แน่ใจว่า UX UI คืออะไร 2 คำนี้แตกต่างกันอย่างไร แล้วมีความสำคัญ หรือทักษะไหนบ้างที่จำเป็นสำหรับสายงานนี้ เลื่อนลงไปอ่านกันได้เลย   UX UI แตกต่างกันอย่างไร UX UI คือ ส่วนสำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์, แอปพลิเคชัน, เว็บไซต์, แพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการใช้งานได้อย่างง่ายดายที่สุด โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ   UX (User Experience) UX คือ ประสบการณ์โดยรวมของผู้ใช้งาน เป็นกระบวนการออกแบบ ที่ต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาของมนุษย์ และความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เพื่อให้ผู้ใช้งานมีความรู้สึกพึงพอใจมากที่สุด และมีโอกาสที่จะกลายเป็นลูกค้ามากขึ้น   UI (User Interface) UI คือ การสร้างสรรค์ความสวยงามให้กับเว็บไซต์ ที่ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ได้ด้วยการมองเห็น เช่น ตัวอักษร สีตกแต่ง ไอคอน […]