March 16, 2022 Reading Time: 3 minutes

 เจ้าของธุรกิจต้องรู้! มัดใจลูกค้าใหม่ด้วย Contextual Marketing

“ข้อมูล” คือสิ่งล้ำค่าที่สุดในการทำการตลาด ยิ่งเรามีข้อมูลลูกค้ามากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเข้าถึงตัวผู้บริโภคมากขึ้นเท่าไหร่ เพิ่มโอกาส และขยายฐานการตลาดในการค้นหาลูกค้าใหม่ได้ง่ายมากขึ้น นั่นจึงทำให้ข้อมูลเป็นสิ่งที่มีมูลค่ามากในแวดวงธุรกิจและการทำการตลาด ที่เจ้าของธุรกิจควรให้ความสำคัญและใส่ใจมากขึ้น

ซึ่งการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน อย่างเช่นกลยุทธ์การตลาดในวันนี้ ที่เราจะขอนำเสนอ นั่นก็คือ Contextual Marketing หรือการตลาดแบบใส่ใจ ตามคำนิยามของเพจการตลาดวันละตอนที่จะจับข้อมูลที่ลอยอยู่รอบตัวผู้บริโภคมาเป็นเสริมงานขายของทีม Sale ให้ดียิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสการหาลูกค้าใหม่ได้ง่ายนิดเดียว


ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว

 

Contextual Marketing คืออะไร?

Contextual Marketing คือ รูปแบบการตลาดออนไลน์แบบหนึ่งที่ใช้การพึ่งพาบริบทที่เกิดขึ้นรอบตัวของลูกค้าผสมผสานกับความต้องการของลูกค้าที่กำลังมองหาสินค้า/บริการแบบนี้อยู่พอดี ข้อดีของโฆษณาแบบนี้คือ ตัวโฆษณาที่เราเห็นเป็นสินค้า/บริการที่เรากำลังสนใจหรืออยากได้อยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยลดความน่ารำคาญของโฆษณาเวลาเด้งขึ้นมาให้เราเห็นได้ เพิ่มอัตรา Click Through Rate และค่า Conversion เพิ่ม Traffic ให้แบรนด์คุณหาลูกค้าใหม่ได้ดียิ่งขึ้น

ซึ่งฝั่งการตลาดจะต้องทำความเข้าใจ Buyer Personas ให้ดีก่อนถึงจะวางแผนการโฆษณาให้ตอบโจทย์สำหรับลูกค้าได้

 

หลักการทำงานของ Contextual Marketing 

Contextual Marketing จะเก็บข้อมูลจาก Cookies ที่ใช้ในการติดตามและเก็บข้อมูลกิจกรรมของผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต นำมาประกอบการสร้าง Buyer Personas แสดงพฤติกรรมการเลือกซื้อของผู้บริโภคสำหรับ ไว้ใช้ในการสร้างแคมเปญการตลาดภายหลัง ซึ่งหลังจากนี้จะเป็นหน้าที่ของนักการตลาดที่จะหยิบเอาข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคมาวิเคราะห์ เลือกหาความสนใจที่มีร่วมกันระหว่างผู้บริโภคกับสินค้า/บริการ ออกแบบคอนเทนต์ให้น่าสนใจและนำโฆษณาไปแสดงให้ผู้บริโภคเห็นแบบเนียน ๆ ซึ่งผู้บริโภคก็จะเข้าใจไปเองว่าเป็นโฆษณาที่บังเอิญปรากฏขึ้นตามความสนใจของพวกเขา แต่ความจริงเกิดจากการวิเคราะห์ความสนใจของลูกค้ามาเป็นอย่างดีแล้วนั่นเอง

 

บริบทใดบ้างที่สามารถนำมาทำ Contextual Marketing ในการหาลูกค้าใหม่

  • ระยะเวลาดูสินค้า
  • ภาษาที่ใช้
  • ช่องทางการติดต่อสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้งานมี
  • ประวัติการซื้อของ
  • ที่อยู่
  • พฤติกรรมการซื้อในช่วงเวลาก่อนหน้านี้
  • อุปกรณ์ที่ใช้ (มือถือ แท็บเล็ต คอม)
  • เทรนด์ หรือสถานการณ์ในสังคมนั้น ๆ ผู้บริโภคกำลังสนใจอะไรเป็นพิเศษอยู่
  • ข้อมูลติดต่อกลับ (เบอร์มือถือ เมล เฟซบุ๊ก)

และในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้เองธุรกิจหลายแห่งก็เริ่มใช้กลยุทธ์นี้ในการหาลูกค้าใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน เพราะสามารถสร้างคุณประโยชน์ให้ธุรกิจของคุณได้อีกมาก อาทิ

  • ใช้ในการเลือกเป้าหมายการตลาดและช่วงเวลาได้อย่างชัดเจน
  • สร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้ดี เหมือนรู้ใจลูกค้าอยู่ก่อนแล้ว
  • ลดการเกิดความสับสนจากการที่ลูกค้าต้องอ่านคอนเทนต์หลายหน้าในการเปรียบเทียบสินค้า ช่วยนำเสนอสินค้าที่ตรงใจลูกค้าได้มากที่สุด
  • ออกแคมเปญใหม่ที่ช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้
  • เพิ่มโอกาสการปิดการขายมากขึ้น เพราะลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาคือกลุ่มที่มีความสนใจในสินค้า/บริการนั้นอยู่แล้ว
  • หาลูกค้าใหม่ได้มากขึ้น นำเสนอสิ่งที่ตรงใจได้เร็วและตรงจุดมากที่สุด

 

ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ Contextual Marketing ในการหาลูกค้าใหม่

 

  1. IKEA Retail Therapy ที่เลือกจับคู่หรือปรับเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ให้เข้ากับความต้องการของลูกค้า ถ้าลูกค้าต้องนั่งโต๊ะร่วมกันกับเพื่อนร่วมงานที่น่ารำคาญ ก็ซื้อโต๊ะทำงานแบบคู่แต่มีที่กั้นโต๊ะเสริมเข้าไป หรือถ้าบ้านของคุณมีคนนอนกรนและบ้านไม่ได้มีห้องนอนหลายห้องก็ซื้อโซฟาเบดแยกไว้ในห้องนั่งเล่น เผื่อวันไหนรำคาญก็เดินออกมานอนข้างนอกแทนได้

contextual marketing

  1. Dunk in Dark ของ Oreo ในปี 2013 ในงานแข่ง Super Bowl เกิดเหตุไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ขึ้นใน Mercedes-Benz Superdome ในระหว่างการแข่งขัน แต่ Oreo ไม่รอช้ารีบตัดต่อรูปและเขียนแคปชันลงบนทวิตเตอร์ในวันนั้นว่า “Power out? No Problem.” แปลเป็นไทยว่า “ไฟดับเหรอ? ก็ไม่มีปัญหา” พร้อมแคปชันในภาพว่าคุณยังจุ่ม Oreo ได้ในความมืดนะ

 

contextual marketing


ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว


 

  1. M&M เองก็ได้หยิบยืมกลยุทธ์ Contextual Marketing มาช่วย Retargeting และหาลูกค้าใหม่ไปด้วยในเวลาเดียวกัน หลังจากที่พบว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมากลุ่มลูกค้าที่เป็น Millennials มีอัตราการซื้อ M&M ลดน้อยลงกว่าเดิม เลยออกแคมเปญสร้างโพลผ่านโซเชียลมีเดียให้ร่วมโหวตรสชาติ M&M ผ่านตัวเลือกรสชาติที่มีให้ 3 ตัว ได้แก่ Chili Nut, Honey Nut และ Coffee Nut ผลที่ได้คือแบรนด์ได้ยอด Engagement เพิ่มขึ้นมาก

หาลูกค้า

 

3 ข้อควรรู้ก่อนเริ่มทำ Contextual Marketing

 

1. Privacy Protection กำลังมาแรง ขอข้อมูลยังไงไม่ให้เป็นการล่วงละเมิด

ก่อนหน้านี้เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเทรนด์ที่กำลังมาในปี 2022 (อ่านที่นี่) หนึ่งในนั้นมีข้อหนึ่งที่ระบุว่า Privacy Protection จะกลายเป็นเทรนด์ที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างสูง ฉะนั้นฝ่ายการตลาดจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตัวเองใหม่เพื่อไม่ให้การเก็บข้อมูลรอบตัวลูกค้ากลายเป็นการล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลมากเกินไป ควรรู้ว่าข้อมูลแบบไหนที่ขอจากลูกค้าได้ อะไรที่ไม่ควรขอเป็นอย่างยิ่ง โดยที่การขอข้อมูลส่วนบุคคลบางอย่างจะไม่ย้อนกลับมาเล่นงานแบรนด์คุณในภายหลัง เพราะนอกจากจะผิดความหมายของ Contextual Marketing ที่ควรใช้ในการหาลูกค้าใหม่แล้ว ยังเสี่ยงที่จะเสียชื่อเสียงของแบรนด์คุณไปด้วยจากการฉวยเอาข้อมูลที่ลูกค้าไม่ได้ต้องการให้ออกไป

หาลูกค้าด้วย contextual marketing

 

2. หาลูกค้าด้วยการใช้ Contextual Marketing ไม่ใช่หา “ข้อมูลลูกค้า” เพียงอย่างเดียว

จริงอยู่ที่หลักการทำ Contextual Marketing คือการมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางแล้วต่อยอดข้อมูลแยกย่อยออกมาเพื่อนำไปทำโฆษณาได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าคุณกำลังทำการตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการหรือ Pain Point ของตัวลูกค้าเองโดยอ้างอิงจากข้อมูลรอบตัวของลูกค้ามาทำคอนเทนต์และนำเสนอออกมาตามสื่อที่ลูกค้าใช้อยู่เป็นประจำ 

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ คือ ถ้าคุณมีข้อมูลลูกค้ารายหนึ่ง คุณรู้ว่าลูกค้ารายนี้ไม่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง มีแค่มือถือเพียงเครื่องเดียว การทำการตลาดโดยใช้ Email Marketing คงไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่ เพราะคงไม่มีใครอยากเปิดอีเมลผ่านมือถือกันอยู่แล้ว ดังนั้นลองเปลี่ยนรูปแบบคอนเทนต์โดยอิงจากข้อมูลในมือ ยิงโฆษณาให้เข้าถึงอุปกรณ์ของลูกค้าได้ง่ายขึ้นอย่างการโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดีย คุณก็จะได้ใจลูกค้าไป โฆษณาไม่เกะกะสายตา ไม่ดูยากเกินไป

ถ้ายิ่งคุณคำนึงถึง ‘ตัว’ลูกค้ามากเท่าไหร่ คุณก็จะมีแนวทางการทำคอนเทนต์ได้มากขึ้น และในทางกลับกันลูกค้าก็จะเปิดใจยอมรับคุณมากขึ้น เพราะโฆษณาที่ไม่ได้โผล่มาแบบรกสายตามากเกินไปจนรำคาญนั่นเอง

 

3. 1 คอนเทนต์ + หลายแพลตฟอร์ม = ผลลัพธ์ที่หลากหลาย

ตอนนี้แอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียเรามีหลายแพลตฟอร์มให้เลือกใช้เยอะมาก ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มก็จะมีกลุ่มลูกค้าหลักที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานแบบเดียวกันอยู่ด้วยกันในแต่ละแอปฯ ฉะนั้นหากทำแคมเปญหาลูกค้าใหม่โดยใช้คอนเทนต์เดิมแต่ละกระจายลงไปในแพลตฟอร์มที่ต่างกันก็อาจจะได้ผลลัพธ์ที่ไม่ซ้ำกันก็เป็นได้ ฉะนั้นหลังจากที่ปล่อยแคมเปญออกไปแล้ว นักการตลาดควรคอยตรวจสอบ ROI ของแต่ละแพลตฟอร์มซ้ำ ๆ ภายใต้เงื่อนไขช่วงเวลาเดียวกัน พื้นที่ที่โฆษณาเดียวกัน ลูกค้ากลุ่มเดียวกัน จะได้กลุ่มที่เป็นลูกค้าจริง ๆ ที่มีคุณภาพกลับมากี่ราย และนำไปปรับใช้ลดการโฆษณาในช่องทางที่ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีพอ อัดฉีดค่าการตลาดในแพลตฟอร์มที่ใช่มากที่สุด จึงจะมีโอกาสที่จะได้ลูกค้าที่มีคุณภาพในงบคุ้มค่ามากที่สุด

หาลูกค้า

 

วิธีการสร้าง Contextual Marketing

1. ระบุกลุ่มลูกค้าของคุณให้ได้ก่อน แบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ เลือกกลุ่มนึงมาทำแคมเปญ

จะทำคอนเทนต์ที่ตรงใจลูกค้ามากที่สุดก็ต้องค้นหาข้อมูลลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยใช้การจัดแบ่งกลุ่มเพื่อเป็นตัวควบคุมการออกแบบแคมเปญให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละแบบ จัดแบ่งกลุ่มลูกค้าอิงตามความสนใจ ข้อมูลพื้นฐาน หรือเขตที่อยู่อาศัยแล้วยึดโยงกับสินค้าที่จะเข้ามาตอบโจทย์ Pain Point ให้ลูกค้าแต่ละกลุ่มได้  ในขั้นนี้จะใช้ขั้นตอนเดียวกันกับการทำ Buyer Personas ซึ่งลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ก็จะแยกย่อยออกไปได้ 2 กลุ่มใหญ่ได้อีก ดังนี้

1.1 ลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์เป็นครั้งแรก ให้จัดหมวดหมู่กลุ่มนี้ตามประเทศ ที่อยู่ เมือง/จังหวัด ภาษา อุปกรณ์ที่ใช้งาน เบราว์เซอร์ที่ใช้ในการค้นหา (Google, Yahoo, Firefox) เป็นต้น

1.2 ลูกค้าที่เคยเข้ามาในหน้าเว็บไซต์มาก่อนแล้ว เป็นกลุ่ม Lead ที่มีคุณภาพ เคยให้ข้อมูลเบื้องต้นกับแบรนด์มาก่อนแล้ว ลูกค้ากลุ่มนี้สามารถนำมาทำ Personas หาลูกค้าใหม่ได้ง่ายที่สุดอิงจากฐานข้อมูลลูกค้าเก่า และจัดหมวดหมู่ตามสถานะการซื้อขายของลูกค้า เช่น อยู่ในระหว่างตัดสินใจ อยู่ในระหว่างเลือกสินค้าที่เหมาะสม ประวัติการซื้อของก่อนหน้า พฤติกรรมการซื้อของก่อน ๆ เป็นต้น

 

2. ระบุช่องทางที่จะใช้ในการลงโฆษณา

การหาลูกค้าแต่ละแบบมักจะมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ต่างกัน ความเคยชินจากการใช้ชีวิตรูปแบบต่าง ๆ จะเป็นตัวกำหนดว่าแบรนด์ควรเข้าถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มด้วยช่องทางไหนมากที่สุด ยกตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ

กลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้สูงอายุ เมื่ออายุมาก สายตาก็เริ่มพร่ามัว มองใกล้ ๆ ไม่ชัด ดูมือถือซื้อสินค้าแต่ละครั้งก็ดูไม่รู้เรื่อง ประกอบกับกลุ่มคนวัยนี้เติบโตมาพร้อมกับทีวีตั้งแต่เด็ก ด้วยขนาดหน้าจอทีวีที่ใหญ่กว่ามือถือ ทำให้ดูสินค้าได้ชัดถนัดตามากกว่า ถ้าจะเจาะกลุ่มวัยผู้สูงอายุการทำโฆษณาผ่านทีวีก็คงเป็นอะไรที่ตอบโจทย์

หรือหากเปลี่ยนมาเป็นกลุ่มวัยรุ่นหน่อยที่เติบโตมาพร้อมเทคโนโลยีและสมาร์ตโฟนและเล่น TikTok นักการตลาดก็อาจจะกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นตามแต่ละแพลตฟอร์มที่เขาสนใจได้ไม่แพ้กัน

เพราะนี่คือสิ่งที่นักการตลาดควรวิเคราะห์และวางแผนล่วงหน้าให้ดีก่อนจะออกแบบแคมเปญในหัวข้อถัดไป


ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว

 

3. ตัดสินใจควรใช้คอนเทนต์รูปแบบไหนที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากที่สุด

ถึงขั้นนี้เราขอให้เจาะลึกด้านการใช้งานของลูกค้าเข้าไปอีก สืบหาให้ได้ว่าลูกค้าชอบเสพคอนเทนต์รูปแบบไหน ลูกค้าบางคนชอบการอ่านคอนเทนต์ผ่าน Blog Post ในขณะที่บางส่วนอาจจะเสพสื่อผ่านคลิปวิดีโอ เกมควิซ หรือคอนเทนต์ที่ให้ผู้ใช้งานเข้ามามีส่วนร่วมด้วย จะช่วยเพิ่มยอด Engagement สร้าง Brand Awareness ให้กลุ่มลูกค้าเข้าใจแบรนด์มากขึ้น เพิ่มฐานลูกค้าเก่า หาลูกค้าใหม่ได้โดยง่าย

ยิ่งไปกว่านั้นในขั้นตอนการตัดสินใจ ในหนึ่งคอนเทนต์สามารถออกแบบรูปแบบการนำเสนอออกไปได้หลากหลายแนวทาง สมมติว่าแบรนด์ของคุณเป็นบริษัทผลิตกระเป๋าหนัง ต้องการสร้างแคมเปญชู USP ของกระเป๋าหนัง สามารถแบ่งคอนเทนต์ออกได้ทำในแต่ละแบบได้ยกตัวอย่าง เช่น 

  1. เขียน SEO Storytelling กว่าจะมาเป็นกระเป๋าหนังแบรนด์ XXX จนถึงทุกวันนี้ 
  2. ทำคลิป Storytelling แนะนำกระเป๋าหนังลงบน Facebook หรือ Instagram 
  3. สร้างควิซเกมทายปัญหา Storytelling “กว่าจะมาเป็นแบรนด์ XXX คุณคิดว่ากระเป๋าหนังของเราทำมากจากหนังวัวสายพันธ์ุอะไร?” ผู้โชคดีได้กระเป๋าหนังพรีเมียมไปเลยฟรี ๆ เป็นต้น

 

4. วางกรอบ เส้นทางว่าลูกค้าจะต้องทำอะไรกับโฆษณาบ้าง

แน่นอนว่าลงโฆษณาแล้วก็ต้องมีหวังผลให้ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้า/บริการกันบ้าง แต่คำถามคือลูกค้าจะเข้ามายังไงผ่านแคมเปญโฆษณาล่ะ? ง่าย ๆ เลยคือการวาง CTA ไว้ การวางปุ่ม CTA หรือ Call-to-Action กระตุ้นให้ผู้ใช้งานกดเข้าไปกรอกแบบฟอร์มหลังการดูโฆษณาเสร็จ ทีม Sale ก็จะได้รายชื่อลูกค้าที่มีความสนใจรอการติดต่อกลับเพื่อเสนอขายอีกครั้งหนึ่ง

หากจะว่าไปการทำ CTA จริง ๆ แล้วไม่ได้หยุดอยู่แค่การสร้างปุ่มให้ลูกค้าอยากกดเข้ามาผ่านโฆษณาออนไลน์เท่านั้น CTA ในแพลตฟอร์มออฟไลน์ก็มีให้เห็นอยู่บ้างอย่างโฆษณาทางทีวีที่เป็นช่วงขายของ เราจะสังเกตได้ว่าช่วงที่พิธีกรขายของจะคอยพูดกระตุ้นย้ำเสมอว่า หากสนใจให้ติดต่อเบอร์โทรตามที่ปรากฏด้านล่างหรือแอดไลน์ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างการทำ CTA ออฟไลน์แบบที่ไม่ต้องมีปุ่มกด เพียงแค่ใช้คำพูดคนและมอบข้อมูลติดต่อไว้ให้ก็สร้าง Traffic ให้กับผู้ชมได้แล้ว

CTA

 

5. สร้างคอนเทนต์ได้เลย

การสร้างคอนเทนต์มีหลายแนวทางให้เลือกขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการเจาะตลาด แต่การผลิตคอนเทนต์ที่มีคุณภาพนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ทีมคอนเทนต์และการตลาดต้องค้นคว้าหาข้อมูล รวบรวม Pain Point และ Solution ที่ตอบโจทย์ ค้นหารูปแบบการทำคอนเทนต์ที่ดึงความสนใจกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้หากมีความคิดที่จะทำ SEO Content สามารถอ่านบทความอื่นของเราต่อได้ที่นี่ 

นอกจากนี้สิ่งที่สาย Content Creator ควรยึดมั่นในการสร้างแคมเปญโฆษณาคือ “สร้างสื่อคอนเทนต์ให้ดีราวกับว่ากำลังพูดโดยตรงกับลูกค้ากลุ่มนั้น” นำเสนอในมุมมองที่ลูกค้ารู้สึกว่า “แบรนด์เรากำลังนำเสนอสิ่งที่มีคุณประโยชน์และดีที่สุดให้กับลูกค้า ถ้าไม่ซื้อตอนนี้แล้ว จะไปหาได้จากที่ไหนอีก!” นี่จึงจะทำให้คอนเทนต์ของคุณมีพลังมากขึ้น ชักจูงลูกค้า หาลูกค้าหน้าใหม่ได้ง่ายขึ้น

ข้อนี้คือปัจจัยสำคัญสำหรับการทำ Contextual Marketing ที่คนทำการตลาดส่วนมากมักพลาดหรือลืมไป จนพลาดกลุ่มลูกค้ากลุ่มเล็ก ๆ แต่มีความต้องการซื้อสูงอยู่แล้วไปได้

 

6. หมั่นติดตาม วัดผลการทำงาน และปรับใช้กับโฆษณาตัวอื่น

คุณจะไม่มีวันรู้เลยว่าคอนเทนต์แคมเปญที่ปล่อยออกไปนั้นมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ถ้ายังไม่ปล่อยออกไปสู่สาธารณะ เพราะสิ่งที่เราวิเคราะห์มาบางครั้งก็อาจไม่ตรงกับความสนใจของลูกค้าขนาดนั้น ฉะนั้นการติดตามคอนเทนต์และแคมเปญทุกชิ้นที่ปล่อยออกมาจะช่วยให้คุณประเมินประสิทธิภาพของโฆษณาได้ และนำไปปรับปรุงในการทำแคมเปญต่อ ๆ ไป

ความสำคัญของการติดตามและวัดผลยังไม่ได้หมดแต่เพียงเท่านี้ เพราะหากแคมเปญหนึ่งมีประสิทธิภาพดีดึงดูดกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งได้ ก็เป็นไปได้ว่าอาจปรับใช้เพื่อดึงดูดกลุ่มอื่น ๆ ได้เช่นกัน เพียงแค่เปลี่ยนรายละเอียดการโฆษณาเพียงเล็กน้อยก็สามารถดึงดูดอีกกลุ่มนึงได้ไม่ต่างอะไรกับลูกค้ากลุ่มแรกเลย

 

และนี่คือนิยามของ Contextual Marketing ที่ฉวยโอกาสเอาเหตุการณ์หรือบริบทรอบตัวมาทำคอนเทนต์ดึงดูดลูกค้าแบบ Real-time เพิ่มโอกาสในการขาย หาลูกค้าใหม่ได้ง่ายขึ้น โดยอ้างอิงเอาข้อมูลของลูกค้ามาเป็นศูนย์กลางและคิดต่อยอดเข้าถึงใจลูกค้าให้มากที่สุดจนกลายมาเป็น Contextual Marketing อย่างแท้จริง

 

——————————————————————–

 

ร่วมงานกับทีม Cotactic Media หนึ่งในบริษัทโฆษณาออนไลน์ชั้นนำของเมืองไทย ที่จะช่วยให้คุณตอบโจทย์การ หาลูกค้า ให้คุณได้ตามเป้าหมายแบรนด์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Brand Awareness หรือ Lead Generation ก็ทำได้หมด ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกับทีม Cotactic เพื่อให้เราเป็น Collaborative Marketing Partner ทำงานเป็นทีมร่วมกันกับคุณ

 

——————————————————————–

 

ติดต่อ

โทร.065-095-9544

Inbox: https://m.me/cotactic

Line@: https://line.me/R/ti/p/@cotactic

 

ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล

https://searchcustomerexperience.techtarget.com/definition/contextual-marketing 

https://www.everydaymarketing.co/knowledge/the-power-of-contextual-marketing/  https://www.popticles.com/marketing/contextual-marketing/ 

https://rockcontent.com/blog/contextual-content/ 

 

Facebook Comment
บทความที่เกี่ยวข้อง

Hybrid Working คืออะไร ? ทำไมเจ้าของธุรกิจควรรู้จัก

การทำงานแบบไฮบริด (Hybrid working) คือการทำงานในออฟฟิศ ผสมผสานกับการทำงานระยะไกลจากสถานที่อื่น เช่น จากบ้าน ใน Co-Working Space หรือสถานที่อื่น ๆ ถือเป็นวิธีการทำงานที่ยืดหยุ่น ทำให้พนักงานเลือกการทำงานได้ ว่าจะทำงานอย่างไร เมื่อไร และที่ไหน ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความสมดุลในการทำงาน รวมถึงชีวิตส่วนตัวของพนักงานมากยิ่งขึ้น โดยการทำงานแบบไฮบริดจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กร และพนักงานของบริษัทนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น บางบริษัทอาจอนุญาตให้พนักงาน ทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) 2 วันต่อสัปดาห์ และมาทำงานที่ออฟฟิศ 3 วันต่อสัปดาห์ ทั้งนี้การทำงานแบบไฮบริดเป็นที่นิยมมากขึ้นในปีหลัง ๆ เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยี ที่ทำให้การทำงานจากระยะไกลเป็นไปได้ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการระบาดของโรค COVID-19 เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้การทำงานแบบ Hybrid Working เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย เนื่องจากบริษัทหลายแห่งต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรการที่สาธารณสุขกำหนดไว้   5 ประโยชน์สำคัญของ Hybrid Working 1.เพิ่มความยืดหยุ่น (Increased Flexibility) การทำงานแบบไฮบริดช่วยให้พนักงานสามารถเลือกได้ว่าจะทำงานได้อย่างไร […]

Data Analysis คืออะไร ทำไมเจ้าของธุรกิจไม่ควรมองข้าม

Data Analysis คืออะไร   Data Analysis คือ กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกเก็บหรือบันทึกไว้ เพื่อค้นหาสิ่งที่มีประโยชน์มาต่อยอดการทำงานที่เราต้องการ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่มีการนำเอาข้อมูลและผลประกอบการทั้งหมด มาตรวจสอบ แยกแยะ และแจกแจงให้เข้าใจง่ายเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวางแผนกลยุทธ์ หรือประกอบการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่ช่วยให้เราเข้าใจภาพรวมของตัวธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถคาดเดาผลลัพธ์หรือจำลองความเป็นไปได้ต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุมมากที่สุด   ดังนั้น Data Analysis จึงถือเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์และจำเป็นอย่างมากในยุคดิจิทัล เพราะเราจะสามารถนำเอาข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์โฮมเพจและสื่อสังคมออนไลน์มาวิเคราะห์หรือตรวจสอบ เพื่อนำไปพัฒนาตัวธุรกิจให้สามารถสร้างผลลัพธ์ได้อย่างที่เราต้องการ นับเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่นักการตลาดและที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ทั่วโลกต่างเลือกใช้   หลักการทำงานของ Data Analysis   1.Market Analysis Market Analysis คือการวิเคราะห์ตลาดผ่านข้อมูลทั้งหมดที่ตัวธุรกิจได้เก็บหรือบันทึกไว้ เพื่อหาแนวโน้มการทำงานและความเป็นไปได้ของตลาดในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถวางแผนกลยุทธ์ แคมเปญ โปรโมชั่น หรือเลือกช่องทางการจำหน่ายสินค้าบริการได้อย่างเหมาะสม ทำให้เราสามารถเข้าถึงผู้บริโภคและกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุด ถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในยุคดิจิทัล เพราะมันจะช่วยให้การทำการตลาดบนโลกออนไลน์มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นการทำ Market Analysis จึงจำเป็นต้องทำอย่างรอบคอบ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ ถึงจะวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำและมีความถูกต้องมากที่สุดนั่นเอง   2.Data Mining Data Mining […]

รวมขนาด Banner (Banner Sizes) ทั้งหมด ทุกแพลตฟอร์ม 2023

ในยุคปัจจุบันการทำโฆษณาลงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ถือเป็นกลยุทธ์การตลาดพื้นฐานที่หลายธุรกิจต่างเลือกใช้กันเป็นปกติ บรรดาที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ต่างพร้อมใจยกให้ อินเทอร์เน็ตเป็นอีกหนึ่งช่องทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างยอดเยี่ยม แต่คุณเคยสังเกตไหมว่าโฆษณามากมายที่ถูกใช้งานอยู่ในตอนนี้ ต่างมีรูปภาพหรือ Banner เป็นส่วนประกอบแทบทั้งสิ้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่าภาพ Banner นั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำโฆษณาบนโลกออนไลน์ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม   วันนี้ Cotactic จึงอยากจะพาเจ้าของธุรกิจและผู้ที่สนใจไปรู้จักกับความหมายของ Banner กันครับ ว่าในยุคปัจจุบันนี้ Banner ที่ดีควรเป็นอย่างไร และขนาด Banner ที่เหมาะสมต้องใหญ่ประมาณเท่าไหร่   แบนเนอร์ (Banner) คืออะไร แบนเนอร์ (Banner) หรือ เว็บไซต์แบนเนอร์ (Website Banner) คือภาพกราฟิกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อประกอบการทำโฆษณาออนไลน์บนเว็บไซต์หรือบน Social Media ต่าง ๆ มีจุดประสงค์เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งานให้อ่านสารที่อยู่บนภาพ มักถูกสร้างขึ้นเพื่อโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์เรื่องราวต่าง ๆ Banner ส่วนใหญ่จึงมีการฝังลิงค์ URL เข้าไป เพื่อเชื่อมต่อผู้ใช้งานที่คลิกเข้ามายังรูปให้ตรงไปยังหน้าเพจ เว็บไซต์ หรือปลายทางที่ผู้สร้างต้องการ ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบของโฆษณาออนไลน์ที่เราพบได้บ่อยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   Banner ที่ดีควรเป็นแบบไหน   1.มีสีสันและธีมที่กลมกลืนไปกับเว็บไซต์ […]