Reading Time: 2 Mins
2 Mins
Nov 9, 2023

Storytelling คืออะไร? เทคนิคการสร้างแบรนด์ให้น่าติดตาม

Storytelling คือ

ทำความเข้าใจ Storytelling เมื่อเรื่องราวของคุณเปรียบเหมือนกับนิทานเล่มหนึ่งที่อ่านให้ผู้อื่นฟัง ทำไมการอ่านเรื่องราวในหนังสือนิทานถึงเพลิดเพลิน การฟังคนอื่นพูดคุยในหัวข้อต่าง ๆ ถึงได้น่าสนใจจนอยากฟังจนจบ นี่คือเสน่ห์ของเรื่องราวที่ถ่ายทอดออกมา ผู้ฟังเกิดความสนุกตื่นเต้น มีอารมณ์ร่วมกับเรื่องราวนั้น จนพัฒนามาเป็นกลยุทธ์สร้างคอนเทนต์ในปัจจุบัน

 

ทำความรู้จักกับ Storytelling

การเล่าเรื่องราว ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการสร้างคอนเทนต์ เพื่อดึงดูดความสนใจ ให้กลุ่มเป้าหมายอยากติดตาม โดยปัจจุบัน สามารถเห็นคอนเทนต์ที่ใช้ Storytelling เป็นกลยุทธ์ในการลงเรื่องราวผ่านรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเขียน, รูปภาพ, คลิปวิดีโอ ซึ่งนิยมใช้ช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางการเผยแพร่ ได้แก่ Facebook, Tiktok หรือสื่อโซเชียลมีเดียด้านอื่น ๆ เนื้อหาสำคัญคือบอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์ของแบรนด์ เรื่องราวระหว่างการทำธุรกิจตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นการติดตามว่าธุรกิจจะเป็นอย่างไรต่อไป

 

Storytelling และ Storydoing ต่างกันอย่างไร

Storytelling คือ ?

Storytelling คือ การนำเรื่องราว ประสบการณ์ที่เป็นภาพรวมของธุรกิจ มาบอกเล่าสู่ผู้ฟัง ด้วยคำกล่าวที่สวยงามชวนคล้อยตาม โดยมุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้สึกร่วม และอยากติดตาม 

Storydoing คือ ?

Storydoing คือ การแสดงตัวตนของธุรกิจออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้ถึงเจตนารมณ์ และแนวทางที่ธุรกิจจะทำแบรนด์ออกมา หรือบอกเล่าถึงเหตุผลที่ทำแบรนด์ตัวนี้ออกมาจำหน่าย การใช้คำพูดจะอยู่ในรูปแบบกึ่งทางการ มุ่งเน้นไปที่การสร้างการรับรู้สู่สาธารณะ

 

ทำไมธุรกิจต้องสนใจ Storytelling

ปัจจุบันกระแสการสร้างคอนเทนต์ โดยเฉพาะในโลกออนไลน์เป็นที่นิยม เพราะความน่าสนใจของกลยุทธ์ Storytelling สามารถดึงดูดความสนใจแก่กลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี และมีประโยชน์ต่อธุรกิจในด้านต่าง ๆ เช่น

  • การสร้างคุณค่าและตัวตนให้แบรนด์

Storytelling คือ

การบอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์สินค้าผ่านสื่อที่เป็นช่องทางการเผยแพร่ เป็นการแสดงตัวตนของแบรนด์ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้เกิดการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ เพราะ Storytelling มีเนื้อหาที่น่าสนใจ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ให้เกิดการติดตามได้มากขึ้น

  • ช่วยให้เกิดการจดจำแบรนด์ 

Storytelling คือ

Storytelling ที่ดีกลุ่มเป้าหมายจะเกิดภาพจำ และตัดสินใจซื้อสินค้าในที่สุด เพราะมีการรับรู้ถึงเรื่องราวของตัวสินค้าผ่านเนื้อหาที่แบรนด์สื่อสารออกมา

  • ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันกับแบรนด์

Storytelling คือ

เมื่อกลุ่มเป้าหมายได้รับรู้เรื่องราวที่แบรนด์นั้นลงบนสื่อ การได้รู้เรื่องราวบ่อยครั้ง เป็นการสร้างความผูกพัน รับรู้รายละเอียดของแบรนด์มากขึ้น กลุ่มเป้าหมายจะรู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์จากการติดตามที่ยาวนาน

 

องค์ประกอบของ Storytelling

Storytelling จะมีหลักการเขียนคล้ายกับการเขียนเรียงความ ที่มีบทนำ เนื้อเรื่อง และการกล่าวสรุป เนื้อเรื่องที่ดีควรเขียนเรื่องราวที่ไม่ซ้ำไปซ้ำมา มีพล็อตเรื่องที่ชัดเจนตามองค์ประกอบดังต่อไปนี้

  • Character (ตัวละคร)

ตัวละครในที่นี้ คือ ผู้ดำเนินเรื่องหลักอาจเป็นธุรกิจ หรือ เจ้าของแบรนด์ ที่เป็นผู้เขียนหรือผู้พูดอธิบายเนื้อเรื่องที่จะสื่อออกมา

  • Plot (โครงเรื่อง)

วางแนวทางเรื่องราวที่ต้องการจะสื่อ เช่น ใคร, ทำอะไร, ที่ไหน, อย่างไร เป็นการลำดับเหตุการณ์ก่อน-หลัง เพื่อความน่าสนใจของเนื้อเรื่องและการปรับอารมณ์ของผู้ฟัง

  • Conflict (จุดหักเห)

จุดหักเห หรือ จุดพีค ที่ใครหลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินกันมาบ้าง คือการที่เกิดเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาแบบกะทันหันกับตัวละคร เป็นการสร้างความน่าตื่นเต้น ผู้ฟังจะลุ้นไปเนื้อเรื่องว่าตัวละครจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

  • Theme (แนวคิด)

กลยุทธ์ของ Storytelling คือ การสร้างแนวคิดของเนื้อเรื่องที่ผู้เล่าต้องการจะสื่อออกมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตลกขบขันที่สอดแทรกสีสันของแบรนด์ หรือเรื่องราวของการพยายามสร้างแบรนด์ของเจ้าของธุรกิจเพื่อสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ฟัง ผู้เล่าจะเปรียบเหมือนกับผู้กำกับที่คอยกำกับเรื่องราวเป็นของตัวเอง

  • Setting (ฉาก)

ฉาก ในที่นี้ คือสถานที่ของเรื่องราว หรือการบอกวันและเวลา ในเรื่องราวของผู้เล่าเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

ประเภทของ Storytelling

Storytelling คือ กลยุทธ์ทางตลาดประเภทหนึ่ง จึงมีการแบ่งประเภทเพื่ออธิบายลักษณะการเล่าเรื่องและการสร้างคอนเทนต์ในเชิงธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป

  • Personal Storytelling

การใช้เรื่องราวที่เน้นไปกับ ตัวบุคคล เป็นผู้ดำเนินเรื่องหลัก โดยเรื่องอาจจะเป็นประสบการณ์ของบุคคลคนนั้นในการทำธุรกิจ หรือประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ไปเผชิญมาแล้วต้องการนำเรื่องราวมาถ่ายทอดให้กับทุกคน

  • Brand Storytelling

เน้นเรื่องราวของธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งต้องเป็นธุรกิจที่เป็นที่รู้จักพอสมควร ซึ่งเรื่องราวการประสบความสำเร็จของแบรนด์ ผู้เล่าเรื่องควรเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับแบรนด์อย่างละเอียด เพื่อข้อมูลที่ถูกต้องของแบรนด์เมื่อถูกเผยแพร่ออกไป

  • Business Storytelling

Business Storytelling คือ การเล่าเรื่องราวเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ โดยจะแตกต่างจาก Brand Storytelling ตรงที่ Business Storytelling จะกล่าวถึงเรื่องการทำงานภายในองค์กรเป็นหลัก กลุ่มผู้ฟังที่เป็นเป้าหมายของ Business Storytelling จะเป็นพาร์ตเนอร์ ผู้ร่วมลงทุน เป็นการสร้างความเชื่อมั่นที่ดีต่อผู้มีส่วนร่วมกับธุรกิจ

  • Digital Storytelling

การนำสื่อดิจิทัลรุ่นใหม่ มาผสมผสานกับการเล่าเรื่องและสร้างช่องทางการเผยแพร่แบบใหม่ด้วยการนำเสนอผ่านออนไลน์ เป็นการประหยัดต้นทุนการสร้างคอนเทนต์และเป็นช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

 

ขั้นตอนการสร้าง Storytelling

การสร้าง Storytelling เป็นการหารูปแบบการดำเนินเรื่องที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่รับชม สามารถทำให้แบรนด์เป็นที่น่าสนใจต่อกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมี 4 ขั้นตอน

  • วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าการดำเนินเรื่องที่ดี คือเนื้อเรื่องที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย (Target)ต้องรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของธุรกิจเป็นใคร เพื่อกำหนดทิศทางการสร้าง Story ได้อย่างตรงกลุ่ม

  • วางโครงเรื่องให้เป็นระบบและเข้าใจง่าย

การเรียบเรียงขั้นตอนการเล่าเรื่องไว้ จะทำให้ผู้เล่าสามารถพูดได้อย่าง Smooth เข้าใจง่าย ไม่รู้สึกติดขัด หรือเล่าเรื่องแบบวกไปวนมา

  • เลือกช่องทางการเผยแพร่

หากช่องทางที่คุณเผยแพร่สามารถรับชมได้ยาก การเข้าชม การติดตาม ก็จะมาได้ยากเช่นกัน ก่อนการลงคอนเทนต์ ธุรกิจควรศึกษาช่องทางแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมของกลุ่มเป้าหมาย แต่ด้วยช่องทางออนไลน์ในตอนนี้มีหลายแพลตฟอร์มให้เลือก ยิ่งลงหลายแพลตฟอร์มยิ่งมีโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้เจอคอนเทนต์ได้ง่าย

  • ปรับปรุงและพัฒนา Storytelling ให้ดึงดูดใจยิ่งขึ้น

เมื่อกระแสตอบกลับที่ได้มาไม่ดีเท่าที่ควร ธุรกิจต้องปรับปรุงพัฒนาไปเรื่อย ๆ รับความเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย หากมีการลงคอนเทนต์เป็นประจำ การเล่าเรื่องจะมีการพัฒนาจนได้รับการยอมรับในที่สุด

 

Storytelling เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สร้างความเพลิดเพลินให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยอาจมีการสอดแทรกบอกข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ ทั้งยังเป็นการความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายไปในตัว จนกลุ่มเป้าหมายรู้สึกผูกพัน และอาจนำไปสู่ยอดขายได้ในอนาคต

[wpdevart_facebook_comment curent_url="https://www.cotactic.com/" order_type="social" title_text="Facebook Comment" title_text_color="#000000" title_text_font_size="22" title_text_font_famely="Montserrat" title_text_position="left" width="100%" bg_color="#d4d4d4" animation_effect="random" count_of_comments="3" ]

บทความที่เกี่ยวข้อง

Customer Experience คืออะไร? สำคัญกับธุรกิจอย่างไร

ในการสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ หนึ่งในส่วนประกอบสำคัญที่นักการตลาดและเจ้าของกิจการต้องคิดถึงคือ ‘ประสบการณ์ของลูกค้า’ หรือ Customer Experience (CX) การสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้าคือหัวใจที่ทำให้ธุรกิจคุณเติบโตได้อย่างยั่งยืน เพราะจะทำให้ลูกค้าทุกคนที่ได้เข้ามาสัมผัสประสบการณ์ที่ดีจากธุรกิจเกิดการซื้อซ้ำและพัฒนาไปสู่ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องทำความเข้าใจว่าอะไรบ้างที่ทำให้ธุรกิจสามารถสร้าง Customer Experience ได้ และ Customer Experience แตกต่างจาก ‘ประสบการณ์ผู้ใช้’ หรือ User Experience (UX) อย่างไร   Customer Experience คือ อะไร ? Customer Experience (CX) คือการปฏิสัมพันธ์ทั้งหมดของลูกค้าที่มีกับแบรนด์ รวมถึงการค้นหาในเว็บไซต์, การซื้อสินค้าหรือบริการ, การให้บริการหลังการขาย ฯลฯ ซึ่งในการปฏิสัมพันธ์ทั้งหมดระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ของเรานั้น ช่วยสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ ซึ่งหลอมรวมกันกลายเป็นประสบการณ์และภาพจำทั้งหมดของแบรนด์ แตกต่างจาก User Experience (UX) อย่างไร หลายคนอาจสับสนระหว่าง ‘ประสบการณ์ของลูกค้า’ Customer Experience (CX) และ ‘ประสบการณ์ผู้ใช้งาน’ User Experience (UX) […]

Conversion คืออะไร? สำคัญกับธุรกิจออนไลน์อย่างไร พร้อมวิธีวัดผล

การทำ Digital Marketing ต้องอาศัยการวัดผลที่ตรงกับการดำเนินงานอย่างแม่นยำ จะเกิดอะไรขึ้นหากธุรกิจไม่มีการวัดผลการดำเนินงาน ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะสูญเสียงบประมาณไปโดยที่ไม่รู้ว่าจ่ายไปกับกิจกรรมการตลาดใดบ้าง มีใครมาสนใจสั่งซื้อสินค้าเท่าไหร่ Conversion Tracking จึงเข้ามามีบทบาทต่อการวัดผล เช่น วัดผลการซื้อสินค้า การสมัครสมาชิก การสมัครรับข้อมูลข่าวสารทางอีเมล การเข้ามาอ่านบทความ การดาวน์โหลด หรือการกระทำต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ การวัดผลเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจรู้ว่าสินค้าใดหรือ Landing Page หน้าไหนมีคนคลิกเข้ามาสนใจมากที่สุด Conversion คืออะไร? Conversion คือการกระทำใด ๆ ของกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ที่สนใจสินค้าบริการของเรา ที่เราได้วางเงื่อนไขในการเก็บข้อมูลของแต่ละ Conversion ไว้ เพื่อวัดผลลัพธ์ในการทำงาน เช่น การทำ Call to Action (CTA) เพื่อ Tracking, ข้อมูลในส่วนของ Purchase : จำนวนการสั่งซื้อ, Leads : ลูกค้าใหม่ที่เข้ามา, Sign up : จำนวนคนที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ หรือ Submit form […]