November 24, 2022

Digital Marketing Strategy คืออะไร และการวางกลยุทธ์ใน 5 ขั้นตอน

Reading Time: 4 minutes

ในยุคที่สื่อออนไลน์ครองเมือง Digital Marketing กลายเป็นเทคนิคทางการตลาดที่ทุกธุรกิจขาดไม่ได้ เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับช่องทางออนไลน์ ทั้งการติดตามข่าวสาร การรับชมสื่อบันเทิง หรือการสนทนากับกลุ่มเพื่อน ดังนั้น หากจะส่งสารไปให้ถึงกลุ่มเป้าหมายก็จำเป็นต้องอาศัยช่องทางเดียวกัน อย่างไรก็ดี เพื่อให้การตลาดแบบ Digital Marketing ประสบความสำเร็จ คุณจำเป็นต้องมีการวางแผนที่แน่นอน เรากำลังพูดถึงการวางกลยุทธ์เพื่อทำการตลาดออนไลน์ หรือ Digital Marketing Strategy ซึ่ง Marketing Strategy คือ? ตามมาดูกันเลย!

 

Digital Marketing Strategy คืออะไร?

Digital Marketing Strategy คือ การวางกลยุทธ์สำหรับทำการตลาดบนช่องทางออนไลน์ ที่จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งใจไว้ อาทิ สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เพิ่ม Lead Generation หรือเพิ่มยอดขาย ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่า นักการตลาดต้องประเมินสื่อออนไลน์ทุกประเภทที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อเตรียมจัดการงบประมาณให้เพียงพอ ก่อนจะเริ่มคิดแผนงานทั้งหมด

 

เริ่มประเมินสื่อที่จำเป็นต้องใช้ (POEM Framework)

การเริ่มทำ Digital Marketing Strategy โดยทั่วไป จะแบ่งสื่อออนไลน์ออกเป็น 3 ประเภท ตามทฤษฎี POEM Framework ได้แก่ Owned Media, Paid Media และ Earned Media 

 

POEM Framework

POEM Framework

ที่มา: oneupweb

 

  • Owned Media

สื่อที่บริษัทเป็นเจ้าของทั้งหมด เช่น Website, Facebook, Instagram, Tiktok, Podcast, Youtube ลองพิจารณาดูว่าปัจจุบันบริษัทของคุณมีสื่อประเภทใดในมือบ้าง และจำเป็นต้องมีสื่อใดเพิ่มเติมหรือไม่

  • Paid Media

สื่อประเภทใดก็ตามที่บริษัทต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้มา อาทิ การโปรโมทผ่านเพจของ Influencer หรือ การซื้อพื้นที่โฆษณาออนไลน์ เช่น GDN (Google Display Network) อาทิ Google Adwords คือ การทำโฆษณาออนไลน์ผ่านเครือข่ายของ Google ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Search Engine , Facebook Ads คือ การลงโฆษณาบนหน้าฟีด Facebook เพื่อโปรโมทสินค้าและบริการ

  • Earned Media

สื่อประเภทใดก็ตามที่ได้มาจากการพูดถึงของคนอื่น อาทิ การบอกต่อแบบ Face-to-face ระหว่างลูกค้า การที่มีคน Mension ถึงแบรนด์ของคุณผ่านคอมเมนต์ หรือแม้แต่คลิปรีวิวจากผู้ใช้จริงบน Tiktok หรือ Facebook เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า Owned Media และ Paid Media จัดอยู่ในสื่อที่องค์กรต้องลงทุน ในขณะที่ Earned Media คือสื่อที่เกิดขึ้นเองจากพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยวัดผลความพึงพอใจที่ลูกค้ามีต่อผลิตภัณฑ์ได้ ทั้งนี้ การประเมินสื่อทั้ง 3 ประเภทจะทำให้คุณมองเห็นภาพรวม ว่าควรเตรียมลงทุนในสื่อใดเพิ่มเติม และควรให้ความสำคัญกับสื่อใดมากเป็นพิเศษบ้าง

 

5 ขั้นตอนในการวาง Digital Marketing Strategy มีอะไรบ้าง?

1. รวบรวมข้อมูลสำคัญ 

ก่อนการวาง Digital Marketing Strategy คุณจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นก่อน โดยใช้ 4 ทฤษฎีทางการตลาด ดังนี้

 1.) ตีให้แตก! เป้าหมายคืออะไร ด้วยหลักการ SMART Goals 

SMART Goals คือ ตัวช่วยประมวลผลเป้าหมายของการทำธุรกิจ เพื่อให้คุณมีโอกาสทบทวนว่าแผนการตลาดที่กำลังจะสร้างขึ้นใหม่สอดคล้องกับตัวตนของธุรกิจหรือไม่ โดยประกอบไปด้วยหลักคิด 5 ข้อ ตามตัวอักษร S-M-A-R-T

 

Smart Goals - Digital Marketing Strategy

SMART Goals

ที่มา: paperlandmarketing

 

  • S (Specific): เป้าหมายที่แท้จริงคืออะไร? 

เช่น อยากให้แบรนด์เป็นรู้จักในวงกว้าง 

  • M (Measurable): จะมีวิธีการวัดผลอย่างไร?

เช่น พิจารณาจากยอด Follow ตามช่องทางต่าง ๆ หรือยอด VDO Views

  • A (Attainable): อะไรที่จะทำให้เป้าหมายที่วางไว้เป็นจริงได้?

เช่น ก่อตั้งทีมการตลาดเฉพาะกิจ หรือจ้าง Digital Agency 

  • R (Relevant): เป้าหมายที่วางไว้ตรงกับสิ่งที่ธุรกิจต้องการจริง ๆ หรือไม่?

เช่น อันที่จริงแบรนด์อาจจะเป็นที่รู้จักระดับหนึ่งแล้ว แต่คนจำนวนมากยังไม่เลือกซื้อ เพราะมีตัวเลือกที่ดีกว่า

  • T (Time-based): อยากให้เป้าหมายสัมฤทธิ์ผลเมื่อใด?

เช่น ภายในระยะเวลา 1 ปี

 

2.) วิเคราะห์หา “ลูกค้าตัวจริง” ด้วยชุดเครื่องมือ STP Marketing

STP Marketing คือ การรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หาผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นทฤษฎีที่ขาดไม่ได้สำหรับการวาง Digital Marketing Strategy ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

 

STP Marketing - Digital Marketing Strategy

STP Marketing

ที่มา: sender

 

  • Segmentation (การแบ่งกลุ่มทางการตลาด)

จัดระเบียบข้อมูลของลูกค้าตามเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น ลักษณะประชากรศาสตร์ ที่อยู่ หรือพฤติกรรมการบริโภค เป็นต้น

  • Targeting (การเลือกกลุ่มเป้าหมาย)

หลังจากจัดลูกค้าเป็นกลุ่ม ๆ (Segment) เรียบร้อยแล้วก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อว่า ควรเลือกลูกค้ากลุ่มใดเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก โดยพิจารณาจากการเติบโตในอนาคต โอกาสทำกำไร และโอกาสในการเข้าถึงลูกค้า 

  • Positioning (วางตำแหน่งของสินค้า)

วิเคราะห์ดูว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ขายสินค้าชนิดเดียวกันและโฟกัสลูกค้ากลุ่มเดียวกันแล้ว สินค้าของแบรนด์คุณจัดอยู่ในตำแหน่งใดในตลาด 

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ STP Marketing เพิ่มเติม >> คลิกที่นี่ 

 

3.) วิเคราะห์ “จุดแข็ง – จุดอ่อน” ของธุรกิจ ด้วย SWOT Analysis

อีกหนึ่งทฤษฎีที่สำคัญกับ Digital Marketing Strategy คือ SWOT Analysis ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจจุดอ่อนและจุดแข็งของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ทั้งที่เกิดจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ดังนี้

 

SWOT Analysis - Digital Marketing Strategy

SWOT Analysis

ที่มา: bscdesigner

 

  • S (Strength)

จุดแข็งของบริษัท เช่น มีพนักงานที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มีนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นเอง หรือมี Connection พิเศษกับองค์กรใหญ่ ๆ

  • W (Weakness)

จุดอ่อนที่อาจทำให้ประสิทธิภาพของบริษัทลดลง เช่น ไม่เคยทำ Branding Marketing อย่างจริงจัง หรือจำนวนพนักงานไม่เพียงพอ

  • O (Opportunity)

ปัจจัยภายนอกที่อาจทำให้บริษัทได้เปรียบ เช่น วิถีชีวิตแบบ New Normal หรือบางนโยบายของภาครัฐ

  • T (Threats)

ปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลเสียต่อบริษัท เช่น พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค หรือภาวะเงินเฟ้อ

 

4.) เข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ด้วย Buyer Persona

Buyer Persona คือ การจำลองกลุ่มลูกค้าสมมติ เพื่อให้คุณได้เห็นบุคลิกและการตัดสินใจที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละกลุ่ม และเตรียมวางกลยุทธ์เพื่อรับมือได้ถูกต้อง โดยคุณสามารถเลือกสมมติลูกค้าขึ้นมา 1 คน หรือมากกว่านั้น เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน ในที่นี้ ขอยกตัวอย่างการทำ Buyer Persona ของบริษัทรองเท้าแฟชันของสตรี ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงวัยทำงาน อายุ 35 – 45 ปี

Buyer Persona

ตัวอย่าง Buyer Persona

ที่มา: premio

 

  • Profile (ประวัติของลูกค้าสมมติ)

เช่น นางสาว A อายุ 35 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาโท สถานภาพโสด ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการบัญชีของบริษัทแห่งหนึ่งย่านพระโขนง

  • Priority Initiatives (ลูกค้าคนนี้สนใจอะไรในตัวสินค้า)

เช่น ชอบดีไซน์สวย ทันสมัย เน้นสี Earthtone แต่งตัวง่าย เรียบหรู ดูดี เข้ากับวัย

  • Success Factor (อะไรที่จะทำให้ลูกค้าคนนี้ประทับใจสินค้ายิ่งขึ้น)

เช่น ปัจจุบันนางสาว A ถูกใจเรื่องโทนสีเป็นหลัก ต้องหาวิธีให้นางสาว A เริ่มประทับใจคุณสมบัติของรองเท้า เช่น บุนวมนวดเท้า ป้องกันโรครองช้ำ

  • Perceived Barriers (อุปสรรคที่ขัดขวาง Success Factor)

เช่น มีแบรนด์คู่แข่งที่เน้นโปรโมทเรื่องนี้ ยิงแอดให้เห็นบน Facebook อยู่เป็นประจำ

  • Decision Criteria (ลูกค้าคนนี้มีลำดับความคิดในการตัดสินใจซื้ออย่างไร)

เช่น เห็นโฆษณาบน Facebook > เริ่มดูคลิปรีวิว > ไปดูของจริงหน้าช็อป > เปรียบเทียบราคากับแบรนด์อื่น > ตัดสินใจซื้อ

  • Customer Journey (สรุปการเดินทาง ตั้งแต่ลูกค้ารู้จักกับแบรนด์ครั้งแรก)

เช่น เดิมทีใส่รองเท้าแบรนด์อื่น แต่เห็นลูกน้องที่บริษัทใส่แบรนด์นี้ > ถามชื่อแบรนด์จากลูกน้อง > ตามดูสินค้าบนหน้าเพจ Facebook และ IG > เริ่มเห็นโฆษณาบนหน้าฟีดบ่อยขึ้น > ตามดูคลิปรีวิว > ไปดูของจริงหน้าช็อป > เปรียบเทียบราคากับแบรนด์อื่น > ตัดสินใจซื้อ > รู้สึกว่าใส่สบาย > ตัดสินใจซื้อซ้ำ

 

2. เข้าสู่ขั้นตอนการ Create Content 

เมื่อได้ข้อมูลสำคัญทั้งของบริษัทและกลุ่มเป้าหมายแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการวางแผนเพื่อสร้าง Content ที่มีคุณภาพ เหมาะกับสื่อแต่ละประเภทที่จำเป็นต้องใช้ เช่น เขียนบทความลงเว็บไซต์ ตัดต่อคลิปสั้นลง Youtube Shot และ Tiktok สร้างอัลบั้มโพสต์ลงบน Social Media หรืออัด Podcast เป็นต้น

 

Content Marketing Plan - Digital Marketing Strategy

ตัวอย่าง Content Marketing Plan

ที่มา: roadmunk

 

ในขั้นตอนนี้ แนะนำให้เริ่มจากการวาง Guideline ด้วย 5W1H ก่อนสร้าง Content Marketing Plan เพื่อวางแผนว่าจะทำ Content ลงในช่องทางใดและเวลาไหน ซึ่งคุณสามารถดูรายละเอียดทั้งหมดได้ในบทความ Content Marketing คืออะไร? วางกลยุทธ์แบบไหนจึงจะดีต่อธุรกิจคุณ

 

3. หาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของ Content ที่ทำ

สิ่งสำคัญของการวาง Digital Marketing Strategy คือ การประเมินสื่อที่จำเป็นต้องใช้ โดยแบ่งเป็น Owned Media, Paid Media และ Earned Media ดังที่กล่าวไปในตอนต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Paid Media ที่มีส่วนอย่างมากในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำ Content เช่น เมื่อทำ Content ลงบนช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Website หรือ Youtube คุณอาจพิจารณาซื้อโฆษณาเพิ่มเติม เพื่อช่วงชิงพื้นที่บนแพลตฟอร์ม ให้ผู้ชมมองเห็น Content ที่คุณทำมากขึ้น 

 

4. วิเคราะห์ผลลัพธ์ของการทำ Digital Marketing

เมื่อดำเนินการทำ Content ตาม Digital Marketing Strategy ที่วางไว้แล้ว ขั้นตอนที่ขาดไม่ได้คือการวัดผลว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่ โดยการวัดผลขึ้นอยู่กับประเภทของสื่อที่คุณเลือกใช้ เช่น หากมีการเขียนบทความลงเว็บไซต์ อาจดูผลการเข้าถึงเว็บไซต์ได้จาก Google Search Console หรือหากมีการยิงแอดบน Facebook ก็อาจเช็กผลจาก Facebook Ads Manager เป็นต้น

 

Social Media Insights

ตัวอย่าง Social Media Insights

ที่มา: dirbbble

 

5. สรุปผลและปรับปรุง Digital Marketing Strategy ใหม่ต่อไปเรื่อย ๆ

สรุปผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรมวัดผลต่าง ๆ และคุณจะเริ่มมองเห็นภาพว่า ในครั้งถัดไปควรเพิ่มเติมหรือลดทอนอะไร วิธีไหนจึงจะเหมาะสมกับธุรกิจของคุณมากที่สุด อย่าลืมบันทึกผลเก็บไว้ทั้งจุดที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว เพื่อเป็นฐานข้อมูลให้คุณพัฒนาแผนการตลาดฉบับใหม่ต่อไป

 

ประโยชน์ของการวาง Digital Marketing Strategy คืออะไร?

 

ประโยชน์ของ Marketing Strategy

 

สำหรับธุรกิจที่เคยลองชิมลางเรื่อง Digital Marketing มาก่อน คุณอาจรู้สึกว่า “การลงมือทำ” สำคัญกว่าการ “วางแผน” เพราะที่สุดแล้วสิ่งที่ทำไปจะได้ผลหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ เช่น ยอด VDO Views, Engagement หรือ Website Traffic แต่เชื่อเถิดว่า การวางแผนให้แน่นอนก่อนลงมือทำย่อมให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่ากว่าเสมอ เพราะคุณจะมองเห็นภาพรวมและแก้ไขสิ่งที่อาจผิดพลาดได้ก่อนสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นจริง นอกจากนี้ คุณยังสามารถวางแผนจัดการงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันปัญหางบบานปลายจนมีผลกับผลกำไรของบริษัทได้อีกด้วย 


หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

Reading Time: 4 minutes

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว

 

โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

——————————————————————–

ขอบคุณข้อมูลจาก:

 

Facebook Comment
บทความที่เกี่ยวข้อง

PBN คืออะไร จำเป็นต้องทำไหม และส่งผลดีอย่างไรบ้าง ?

Reading Time: 2 minutes การทำ SEO ถือเป็นกลยุทธ์ขั้นพื้นฐานของการทำการตลาดในยุคดิจิทัล ที่จะช่วยดันเว็บไซต์ของตัวธุรกิจให้ขึ้นไปติดอันดับต้น ๆ บนหน้าค้นหาของ Google ส่งผลให้ลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายมีโอกาสเจอเว็บไซต์หรือรู้จักธุรกิจของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งหนึ่งในเทคนิคยอดนิยมที่บริษัทรับทำ SEO ทั่วโลกต่างเลือกใช้คงหนีไม่พ้นการทำ PBN หรือ Private Blog Network ที่จะช่วยให้การทำ SEO มีประสิทธิภาพและได้ผลดีมากยิ่งขึ้น วันนี้ Cotactic จึงอยากพาผู้ประกอบการทุกท่านไปรู้จักกับ PBN กันครับว่ามันคืออะไร จำเป็นต้องทำไหม และส่งผลดีอย่างไรบ้าง   PBN คืออะไร Private Blog Network หรือ PBN คือ เครือข่ายบล็อกส่วนตัวที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำ Backlink (Off page) ให้กับเว็บไซต์หลักที่เราต้องการโดยเฉพาะ อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาอีกหนึ่งเว็บ จากนั้นก็ทำ Backlink ย้อนกลับไปยังหน้าเพจที่เราต้องการ เพื่อส่งค่าคะแนนความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์หลักของตัวธุรกิจ เพราะยิ่งเราได้ Backlink ที่มาจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องมากเท่าไหร่ ตัว Google ก็จะมองว่าเว็บไซต์หลักของเรามีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือมากเท่านั้น ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การทำ SEO […]

รู้จัก 9 เครื่องมือ SEO คุณภาพที่เอเจนซี่ชั้นนำเลือกใช้

Reading Time: 3 minutes อย่างที่ทราบกันดีว่าการทำ SEO จำเป็นต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ที่มากพอ ถึงจะสามารถทำให้ตัวเว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าค้นหาของ Google ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่นอกจากความรู้และประสบการณ์ที่เราต้องมีแล้ว การเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เราต้องให้ความสำคัญและไม่ควรมองข้าม วันนี้ Cotactic จึงอยากจะมาแนะนำ 9 เครื่องมือ SEO คุณภาพที่นักการตลาดและบริษัทรับทำ SEO ทั่วโลกต่างเลือกใช้   1. Google Search Console เครื่องมือ SEO ที่ได้รับความนิยมจากนักการตลาดออนไลน์ทั่วโลก มันเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เราตรวจสอบคุณภาพและหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ได้อย่างละเอียด ทำให้เราสามารถติดตามผลลัพธ์และดูรายงานการเข้าชมเว็บไซต์แบบ Organic ได้ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้คนทำ SEO สามารถปรับปรุงเว็บไซต์และวางกลยุทธ์ในการทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งตัวเครื่องมือยังเปิดให้ใช้งานได้ฟรีไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ   เริ่มต้นใช้งานได้ที่นี่ Google Search Console   2. Google Analytics Google Analytics คือเครื่องมือ SEO ที่ใช้ในการวิเคราะห์และเก็บสถิติต่าง ๆ ของตัวเว็บไซต์ ว่าคนที่กดคลิกเข้ามานั้นเป็นใคร เพศอะไร อายุเท่าไหร่ เข้ามาผ่านช่องทางไหน […]

404 not found คืออะไร ? ส่งผลแค่ไหนกับการทำ SEO

Reading Time: 3 minutes เชื่อว่าสำหรับผู้ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตหรือท่องเว็บไซต์เป็นประจำแล้ว ต้องเคยประสบปัญหาพบเจอหน้าเพจ 404 not found มาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งมันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหานี้สร้างความน่ารำคาญใจให้กับผู้ใช้งานมากมายขนาดไหน ดังนั้นถ้าหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง การสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดีให้กับลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม เราจึงควรหมั่นปรับปรุงและดูแลเว็บไซต์อยู่ตลอด เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาน่าปวดหัวนี้เกิดขึ้นครับ   วันนี้ Cotactic จึงอยากพาเจ้าของธุรกิจทุกท่านไปรู้จักกับปัญหา 404 not found กันว่ามันคืออะไร เกิดจากอะไร และทำไมเอเจนซี่ที่รับทำ SEO ถึงให้ความสำคัญ   404 not found คืออะไร ? เกิดจากอะไร ? 404 not found คือ หน้าเพจที่แสดงผลผิดพลาดจากการที่ Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูลแล้วไม่พบ URL ของหน้าเว็บไซต์ หรือไม่พบข้อมูลที่อยู่บน Server ของเว็บไซต์ จึงแสดงผลให้ผู้ใช้งานได้รู้ว่าหน้าเพจนี้ไม่มีอยู่ ลิงก์อาจเสียหรือหน้าเพจมีปัญหา ซึ่งสาเหตุของการเกิด 404 not found นั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายกรณีด้วยกัน เช่น  เปลี่ยนชื่อ […]

Reading Time: 3 minutes

Reading Time: 3 minutes