Reading Time: 3 Mins
3 Mins
Nov 14, 2022

Facebook Pixel คืออะไร? สอนวิธีใช้และติดตั้ง [อัปเดต 2023]

facebook Pixel คือ

Facebook คืออะไร คือ การทำโฆษณาบน Facebook เพื่อหากลุ่มเป้าหมาย โปรโมทสินค้าและบริการ ซึ่งการจะยิงโฆษณา Facebook ให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องและสนใจสินค้า ต้อมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการยิงโฆษณา โดยคุณสามารถสำรวจได้ว่าคนกลุ่มใดมีแนวโน้มที่จะสนใจสินค้าและบริการของคุณ ผ่านการใช้เครื่องมือพิเศษต่าง ๆ ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือเหล่านั้น คือ Facebook Pixel หรือชุดโค้ดพิเศษที่ Meta สร้างขึ้นมา เพื่อเก็บข้อมูลของผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณ เครื่องมือชนิดนี้ทำงานอย่างไร? มีประโยชน์มากแค่ไหน? มาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน!

Facebook Pixel คืออะไร? 

Facebook Pixel (หรือชื่อใหม่ว่า Meta Pixel) คือ ชุดโค้ดพิเศษสำหรับนำไปติดตั้งบนเว็บไซต์ เพื่อคอยติดตามพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน อาทิ เยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์ กดเลือกสินค้าใส่ตระกร้า กดสั่งซื้อสินค้า หรืออ่านบล็อก เป็นต้น โดย Facebook จะเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการทำ Custom Audience (กลุ่มเป้าหมายแบบกำหนดเอง) สำหรับยิงโฆษณาให้ได้ผลลัพธ์ที่ทรงพลัง

รู้จัก Facebook Pixel ให้มากขึ้น คลิกที่นี่

 

จำเป็นต้องติดตั้งมากแค่ไหน? 

เพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น ลองสมมติดูว่าคุณเปิดเว็บไซต์เพื่อขายสินค้าออนไลน์ และเปิดเพจบน Facebook ควบคู่กันไปด้วย หากคุณไม่ได้ติดตั้ง Facebook Pixel เอาไว้ เมื่อต้องการยิงโฆษณาบนเพจ คุณจะทำได้แค่เข้าไปที่หน้าตัวจัดการโฆษณา เลือกสร้าง Campaign  สร้าง Ad Set และกำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบกว้าง ๆ ในขั้นตอนนี้เท่านั้น 

ในทางกลับกัน หากคุณติดตั้ง Facebook Pixel ไว้ในเว็บไซต์ ระบบจะเก็บข้อมูลได้ว่าใครบ้างที่เคยเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ และในบรรดาทุกคนที่เยี่ยมชม มีคนที่กดสั่งซื้อสินค้า หรือเลือกสินค้าใส่ในตะกร้าทั้งหมดกี่คน จากนั้นจะเก็บข้อมูลของคนเหล่านี้ไว้ เพื่อให้คุณนำไปใช้กำหนดเป็นกลุ่มเป้าหมายในการยิงโฆษณาต่อไป

 

วิธีการสร้าง Facebook Pixel (อัปเดต 2022) 

เพื่อการนำ Facebook Pixel Code ไปใช้งาน คุณจำเป็นจะต้องสร้าง Facebook Pixel ขึ้นมาก่อน ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 

 

เข้าสู่หน้าตัวจัดการโฆษณา

 

1. เข้าสู่หน้าตัวจัดการโฆษณา โดยคลิกที่ลิงก์: https://business.facebook.com/adsmanager/ และเลือกบัญชีโฆษณาของธุรกิจคุณ

 

เลือกเมนู ตัวจัดการเหตุการณ์

 

2. คลิกที่สัญลักษณ์ 3 ขีดด้านซ้ายมือ เลือกเมนู ตัวจัดการเหตุการณ์ (Events Manager)

 

เลือกเมนู เชื่อมต่อแหล่งข้อมูล

 

3. มองหาสัญลักษณ์สีเขียว เลือกเมนู เชื่อมต่อแหล่งข้อมูล (Connect Data Sources)

 

จากนั้นคลิกเชื่อมต่อ

 

4. เลือก เชื่อมต่อแหล่งข้อมูลกับเว็บไซต์ จากนั้นคลิก เชื่อมต่อ (Connect)

 

คลิกสร้างพิกเซล

 

5. ตั้งชื่อ Pixel ของคุณ และคลิก สร้างพิกเซล (Create Pixel)

 

ใส่ชื่อ URL ของเว็บไซต์

 

6. ใส่ชื่อ URL ของเว็บไซต์ (ในบทความนี้เป็นเพียงการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง จึงขอละเว้นการใส่ URL) จากนั้นคลิก ดำเนินการต่อ (Next)

 

การใช้ API Conversion

 

7. เลือกวิธีเชื่อมต่อเว็บไซต์ของคุณ โดยในที่นี้จะด้วยกัน 2 ตัวเลือก คือ การใช้ API Conversion ควบคู่กับ Meta Pixel และการใช้ Meta Pixel เพียงอย่างเดียว 

 

ทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร?

โดยปกติแล้ว Pixel คือ โค้ดที่ฝังตัวอยู่ในเว็บไซต์ เพื่อเก็บข้อมูลของผู้เยี่ยมชม แต่เนื่องจากความเข้มข้นเรื่องนโยบายความเป็นส่วนตัวในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการที่ผู้ใช้งานเริ่มติดตั้งโปรแกรมปิดกั้นโฆษณาต่าง ๆ การติดตามข้อมูลของ Pixel จึงเริ่มมีประสิทธิภาพลดลง 

 

Facebook จึงต้องเฟ้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการเก็บข้อมูล จนเกิดเป็นเครื่องมือใหม่ เรียกว่า API Conversion ที่ทำงานโดยเป็นตัวกลางในการถ่ายโอนข้อมูลให้กับ Facebook ผ่านทาง Server โดยตรง ดังนั้น Facebook จึงแนะนำให้คุณเลือกใช้ API Conversion ควบคู่กับ Meta Pixel เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลนั่นเอง

 

ดังนั้น เราจึงแนะนำให้คุณเลือก ใช้ API Conversion ควบคู่กับ Meta Pixel จากนั้นคลิก ถัดไป (Next)

 

เลือกใช้ API Conversion

 

8. หากนี่เป็นครั้งแรกที่คุณเลือกใช้ API Conversion ระบบจะโชว์หน้าต่างแนะนำข้อมูล ให้คุณคลิก ถัดไป (Next)

 

ติดตั้ง Facebook Pixel

 

9. ขั้นตอนสุดท้าย คือขั้นตอนก่อนการติดตั้ง Facebook Pixel ลงบนเว็บไซต์ ซึ่งคุณมีทางเลือก 3 ทาง ดังนี้

 

ตั้งค่าด้วยการผสานการทำงานกับพาร์ทเนอร์ (Set up with partner integration) เพื่อติดตั้งผ่านพาร์ทเนอร์ ซึ่งมีให้เลือกหลายค่าย อาทิ Shopify, Eventbrite, Segment และ Jimdo 

 

ตั้งค่าด้วยเกตเวย์ API คอนเวอร์ชัน (Set up with Conversions API gateway) เพื่อตั้งค่าและโฮสต์ข้อมูลในคลาวด์ และ ตั้งค่าด้วยตนเอง (Set up manually) เพื่อนำ Pixel Code ไปติดตั้งบริเวณ Header ของ Website ด้วยตนเอง

 

Partner เพื่อการติดตั้ง Pixel

Partner เพื่อการติดตั้ง Pixel

ที่มา: madgricx

 

ประโยชน์ของการสร้าง Facebook Pixel คืออะไร?

  • เป็นข้อมูลในการสร้าง Custom Audience

เนื่องจาก Facebook Pixel Code สามารถติดตามพฤติกรรมของคนที่เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ และทำให้คุณเห็นว่าในแต่ละช่วงเวลามีคนตัดสินใจซื้อสินค้าของคุณมากน้อยแค่ไหน ใครที่มีแนวโน้มว่ายังลังเลใจ และใครที่ไม่เคยกดสั่งซื้อ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เหมาะแก่การนำมาทำการตลาดแบบ Remarketing หรือการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเก่า โดยการสร้าง Custom Audience (กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดเอง)

ศึกษาวิธีการสร้าง Custom Audience อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

  • ช่วยสร้าง Lookalike Audience ที่แม่นยำยิ่งขึ้น

นอกจากการสร้าง Custom Audience แล้ว ข้อมูลจาก Facebook Pixel ยังเป็นฐานข้อมูลตั้งต้นในการสร้าง Lookalike Audience หรือกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Custom Audience เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้นได้อีกด้วย

  • เก็บข้อมูล Conversion เพื่อประเมินประสิทธิภาพเว็บไซต์

Facebook Pixel คือเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้คุณทราบว่า การออกแบบหน้าต่าง ๆ ของเว็บไซต์ รวมถึงการยิงโฆษณาเพื่อโปรโมทเว็บไซต์ก่อนหน้านี้ได้ผลดีขนาดไหน โดยวัดจากยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ในหน้าต่าง ๆ รวมทั้งปริมาณการคลิกเพื่อทำรายการสั่งซื้อ เลือกสินค้าลงในตะกร้า ขอข้อมูลเพิ่มเติม หรือแม้กระทั่งอ่านบล็อคมากน้อยแค่ไหน และควรปรับปรุงไปในทิศทางใด

 

การติดตั้ง Facebook Pixel จะช่วยให้คุณทราบประสิทธิภาพของเว็บไซต์ และเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างโฆษณาได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ ยังช่วยให้คุณสามารถคาดการณ์แนวทางเพื่อเพิ่มยอดขายได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม การจะใช้เครื่องมือนี้จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้เรื่องการพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดเฉพาะทางที่อาจเกิดขึ้นได้ และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเว็บไซต์


หากคุณต้องการที่ปรึกษา หรือทีมงานมืออาชีพด้านการทำ Online Marketing มาช่วยจัดการแก้ไขปัญหาและวางรากฐานให้ธุรกิจ ติดต่อ Cotactic เลยวันนี้

ให้ COTACTIC ดูแลธุรกิจของคุณ

เหมือนทีมการตลาดส่วนตัว

โทร.065-095-9544

Inbox: m.me/cotactic  

Line: @cotactic

——————————————————————–

ขอบคุณข้อมูลจาก:

 

 

 

 

[wpdevart_facebook_comment curent_url="https://www.cotactic.com/" order_type="social" title_text="Facebook Comment" title_text_color="#000000" title_text_font_size="22" title_text_font_famely="Montserrat" title_text_position="left" width="100%" bg_color="#d4d4d4" animation_effect="random" count_of_comments="3" ]

บทความที่เกี่ยวข้อง

Hybrid Working คืออะไร? เทรนด์การทำงานยุคใหม่ ที่คุณควรรู้!

Hybrid Working คืออะไร การทำงานแบบไฮบริด (Hybrid working) คือการทำงานในออฟฟิศ ผสมผสานกับการทำงานระยะไกลจากสถานที่อื่น เช่น จากบ้าน ใน Co-Working Space หรือสถานที่อื่น ๆ ถือเป็นวิธีการทำงานที่ยืดหยุ่น ทำให้พนักงานเลือกการทำงานได้ ว่าจะทำงานอย่างไร เมื่อไร และที่ไหน ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความสมดุลในการทำงาน รวมถึงชีวิตส่วนตัวของพนักงานมากยิ่งขึ้น โดยการทำงานแบบไฮบริดจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กร และพนักงานของบริษัทนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น บางบริษัทอาจอนุญาตให้พนักงาน ทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) 2 วันต่อสัปดาห์ และมาทำงานที่ออฟฟิศ 3 วันต่อสัปดาห์ ทั้งนี้การทำงานแบบไฮบริดเป็นที่นิยมมากขึ้นในปีหลัง ๆ เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยี ที่ทำให้การทำงานจากระยะไกลเป็นไปได้ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการระบาดของโรค COVID-19 เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้การทำงานแบบ Hybrid Working เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย เนื่องจากบริษัทหลายแห่งต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรการที่สาธารณสุขกำหนดไว้   5 ประโยชน์สำคัญของ Hybrid Working 1.เพิ่มความยืดหยุ่น […]

Data Analysis คืออะไร? มีวิธีใช้และประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร?

Data Analysis คืออะไร   Data Analysis คือ กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกเก็บหรือบันทึกไว้ เพื่อค้นหาสิ่งที่มีประโยชน์มาต่อยอดการทำงานที่เราต้องการ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่มีการนำเอาข้อมูลและผลประกอบการทั้งหมด มาตรวจสอบ แยกแยะ และแจกแจงให้เข้าใจง่ายเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการวางแผนกลยุทธ์ หรือประกอบการตัดสินใจในเรื่องสำคัญ ถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่ช่วยให้เราเข้าใจภาพรวมของตัวธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถคาดเดาผลลัพธ์หรือจำลองความเป็นไปได้ต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุมมากที่สุด   ดังนั้น Data Analysis จึงถือเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์และจำเป็นอย่างมากในยุคดิจิทัล เพราะเราจะสามารถนำเอาข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์โฮมเพจและสื่อสังคมออนไลน์มาวิเคราะห์หรือตรวจสอบ เพื่อนำไปพัฒนาตัวธุรกิจให้สามารถสร้างผลลัพธ์ได้อย่างที่เราต้องการ นับเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่นักการตลาดและที่ปรึกษาการตลาดออนไลน์ทั่วโลกต่างเลือกใช้   หลักการทำงานของ Data Analysis   1.Market Analysis Market Analysis คือการวิเคราะห์ตลาดผ่านข้อมูลทั้งหมดที่ตัวธุรกิจได้เก็บหรือบันทึกไว้ เพื่อหาแนวโน้มการทำงานและความเป็นไปได้ของตลาดในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถวางแผนกลยุทธ์ แคมเปญ โปรโมชั่น หรือเลือกช่องทางการจำหน่ายสินค้าบริการได้อย่างเหมาะสม ทำให้เราสามารถเข้าถึงผู้บริโภคและกลุ่มลูกค้าได้อย่างตรงจุด ถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการทำงานที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในยุคดิจิทัล เพราะมันจะช่วยให้การทำการตลาดบนโลกออนไลน์มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นการทำ Market Analysis จึงจำเป็นต้องทำอย่างรอบคอบ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ ถึงจะวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำและมีความถูกต้องมากที่สุดนั่นเอง   2.Data Mining Data Mining […]