click
เจ้าของธุรกิจต้องอ่าน!
รวม 20 รายชื่อเอเจนซี่ สำหรับประกวดราคา
Table Of Contents
Table Of Contents
Table Of Contents

ถ้าพูดถึงการทำธุรกิจ เชื่อว่าเจ้าของธุรกิจทุกคน ไม่มีใครไม่เคยเจอปัญหานี้ ทั้งที่ทุ่มงบโฆษณาก็แล้ว จัดโปรโมชันแบบร้อนเเรง พยายามทุกวิธีเพื่อหาลูกค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่ยอดขายกลับไม่ขยับขึ้นตามคาดเลย ที่แย่กว่านั้นคือ ลูกค้าเก่าที่เคยซื้อซ้ำกลับค่อย ๆ หายไปแบบไม่รู้ตัว ซึ่งสิ่งนี้เอง เป็นสัญญาณของปัญหาใหญ่ที่เรียกว่า “Churn Rate” หรืออัตราการสูญเสียลูกค้าที่เคยใช้สินค้าหรือบริการไป ในธุรกิจจำนวนมากมักมองข้ามเรื่องนี้ เพราะมัวแต่มุ่งเน้นการหาคนใหม่ โดยลืมไปว่าการรักษาลูกค้าเก่านั้นง่ายกว่า ทั้งยังคุ้มค่าและช่วยให้ธุรกิจเติบโตในระยะยาวได้

ในบทความนี้ Cotactic Media จะพาคุณเจาะลึกว่า Churn Rate คืออะไร, ทำไมถึงสำคัญ, วิธีคำนวณ, ประเภทของ Churn และกลยุทธ์ลดอัตราการหายไปของลูกค้า เพื่อให้คุณอุดรูรั่วของธุรกิจ เพื่อพร้อมสร้างการเติบโตได้อย่างยั่งยืน

Churn Rate คืออะไร?

Churn Rate คืออะไร?

Churn Rate หรือที่เรียกว่า “อัตราการยกเลิกบริการ” คือ ตัวชี้วัดที่แสดงถึงสัดส่วนของลูกค้าที่เลิกใช้บริการหรือยกเลิกการเป็นสมาชิกในช่วงเวลาหนึ่ง โดยมักใช้ในธุรกิจที่มีรูปแบบการให้บริการแบบสมัครสมาชิก (Subscription) เช่น ธุรกิจ SaaS, OTT, หรือบริการสตรีมมิงต่าง ๆ 

การวัด Churn Rate ช่วยให้ธุรกิจสามารถประเมินความพึงพอใจของลูกค้า และวางแผนกลยุทธ์ในการรักษาลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีคำนวน Churn Rate

การคำนวณ Churn Rate มีสูตรพื้นฐานดังนี้

Churn Rate (%) = (จำนวนลูกค้าที่เลิกใช้บริการ ÷ จำนวนลูกค้าทั้งหมดในช่วงเริ่มต้น) × 100

ตัวอย่างเช่น หากในช่วงต้นเดือนมีลูกค้า 1,000 ราย และมีลูกค้าเลิกใช้บริการ 100 รายในช่วงสิ้นเดือน

Churn Rate = (100 ÷ 1,000) × 100 = 10% 

การคำนวณนี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถติดตามแนวโน้มการสูญเสียลูกค้าที่จะเกิดขึ้น ทำให้วางแผนกลยุทธ์ในการรักษาลูกค้าได้อย่างเหมาะสมเเละทันเวลา

Churn Rate ที่ดีควรเป็นเท่าไร?

ในปัจจุบันยังไม่มีค่ามาตรฐานที่แน่นอนสำหรับ Churn Rate ที่ดี เนื่องจากขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจและอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่มี Churn Rate ต่ำมักแสดงถึงความพึงพอใจของลูกค้าต่อสินค้าหรือบริการและความสามารถในการรักษาลูกค้าได้ดี

ในธุรกิจ SaaS หรือ Subscription-based การรักษา Churn Rate ให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 5% ถือว่าเป็นเป้าหมายที่ดี แต่ในบางอุตสาหกรรม เช่น โทรคมนาคม หรือบริการสตรีมมิง อาจมี Churn Rate ที่สูงกว่าเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรง

ประเภทของ Churn Rate 

ประเภทของ Churn Rate

การเข้าใจประเภทของ Churn Rate ช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์สาเหตุของการสูญเสียลูกค้าได้แบบเชิงลึก และสามารถวางแผนกลยุทธ์ในการลด Churn Rate ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้ 

1.Voluntary Churn (การยกเลิกโดยสมัครใจ)

เกิดขึ้นเมื่อลูกค้าตัดสินใจยกเลิกบริการด้วยตนเอง อาจเนื่องมาจากความไม่พึงพอใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการ, พบข้อเสนอที่ดีกว่าจากคู่แข่ง, หรือความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป การลด Voluntary Churn จำเป็นต้องเน้นที่การปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

2.Involuntary Churn (การยกเลิกโดยไม่ตั้งใจหรือจำเป็น)

เกิดจากปัจจัยที่ลูกค้าไม่ได้เป็นคนทำ แต่เกิดการขัดของจากระบบ  เช่น ปัญหาการชำระเงิน, บัตรเครดิตหมดอายุ, หรือปัญหาทางเทคนิคต่าง ๆ การป้องกัน Involuntary Churn สามารถทำได้โดยการใช้ระบบแจ้งเตือนการชำระเงินและการจัดการระบบการเรียกเก็บเงินที่มีมาตรฐาน

3.Active Churn (ลูกค้าแจ้งเลิกอย่างชัดเจน)

การที่ลูกค้า “แจ้งเลิกใช้บริการอย่างชัดเจน” ไม่ว่าจะเป็นการกดยกเลิกแพ็กเกจ ปิดบัญชี หรือแจ้งยุติสัญญาโดยตรงกับแบรนด์ ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งจากลูกค้าใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้งาน หรือจากลูกค้าเดิมที่เคยใช้บริการมาแล้วระยะหนึ่ง

4.Passive Churn (เลิกใช้แบบเงียบ ๆ)

เป็นการที่ลูกค้าเลิกใช้บริการแบบเงียบ ๆ โดยไม่แจ้งให้ทราบ มักเกิดจากความไม่พึงพอใจหรือขาดการมีส่วนร่วมต่อแบรนด์ ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการส่งเสริมการกลับมาใช้งานผ่านแคมเปญหรืออีเมลกระตุ้น

5.Revenue Churn (การสูญเสียรายได้โดยลูกค้ายังอยู่)

การที่ลูกค้ายังอยู่แต่ลดการใช้จ่ายลง เช่น ลดแพ็กเกจหรือเลิกซื้อ Add-on, ปรับ Plan ที่ใช้งานอยู่ลงจาก Standard ไป Basic ถึงแม้ลูกค้าไม่ได้หายไป แต่ก็ทำให้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ ซึ่งสามารถรับมือได้ด้วยกลยุทธ์ Upsell และ Cross-sell เพื่อกระตุ้นยอดขาย

ความสำคัญของ Churn Rate กับธุรกิจ

ความสำคัญของ Churn Rate กับธุรกิจ

การติดตามและวิเคราะห์ Churn Rate ไม่ใช่เพียงการวัดจำนวนลูกค้าที่หายไป แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง โดยมีความสำคัญในหลากหลายด้าน ดังนี้

1.ตัวชี้วัดความพึงพอใจของลูกค้า

Churn Rate ที่เพิ่มสูงขึ้นมักเป็นสัญญาณว่าลูกค้าอาจรู้สึกไม่พึงพอใจในสินค้า บริการ หรือประสบการณ์ที่ได้รับ เช่น หากลูกค้าร้านอาหารเริ่มไม่กลับมาใช้บริการ อาจบ่งชี้ว่าคุณภาพอาหารหรือการบริการมีปัญหา ทำให้ธุรกิจต้องพิจารณาปรับปรุงให้ดีขึ้นได้

2.ส่งผลโดยตรงต่อรายได้

ทุกครั้งที่เสียลูกค้าไป หมายถึงการสูญเสียรายได้ในระยะยาว โดยเฉพาะในธุรกิจแบบสมาชิกหรือบริการรายเดือน เช่น แพลตฟอร์มสตรีมมิง หากลูกค้าเลิกต่ออายุสมาชิก รายได้สะสมก็จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

3.ขัดขวางการเติบโตของธุรกิจ

หากธุรกิจสามารถหาลูกค้าใหม่ได้ 100 รายต่อเดือน แต่สูญเสียลูกค้าเก่าไป 80 ราย ธุรกิจก็แทบไม่โตเลย ทำให้ส่งผลต่อยอดการซื้อซ้ำรายเดือน ทำให้ยอดขายลดลงได้ ทั้งยังต้องพยายามอย่างหนักเพื่อรักษาจำนวนลูกค้าเดิมไว้ ทำให้ธุรกิจไม่เติบโตเท่าที่ควรจะเป็น

4.วางกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การวิเคราะห์ว่าทำไม ลูกค้าจึงยกเลิกบริการจะช่วยให้ธุรกิจปรับปรุงกระบวนการให้เหมาะสมมากขึ้น เช่น การออกแคมเปญรักษาลูกค้าเก่าหรือปรับบริการให้ตรงกับความต้องการมากขึ้น เช่น คูปองต้อนรับการกลับมา, ทำส่วนลดลูกค้าเก่า, สิทธิพิเศษอื่น ๆ เพื่อดึงดูดการใช้งาน

5.วิเคราะห์ความได้เปรียบทางการแข่งขัน

หากธุรกิจสามารถรักษาลูกค้าได้ยาวนานกว่าคู่แข่ง ย่อมสร้างความได้เปรียบทั้งในแง่รายได้และความภักดีของลูกค้า เช่น แบรนด์ที่มีฐานลูกค้าเหนียวแน่นมักไม่ต้องใช้ต้นทุนการตลาดมากในการแย่งลูกค้าคืนมา นี่คือ สิ่งที่ได้เปรียบในระยะยาว

เหตุผลที่ Churn Rate สูง

เหตุผลที่ Churn Rate สูง

การเข้าใจสาเหตุของการสูญเสียลูกค้าเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนากลยุทธ์ในการรักษาฐานลูกค้าไว้ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจัยที่พบบ่อยมีดังนี้

1.ลูกค้าไม่ได้รับประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานและบริการ

เมื่อลูกค้าได้รับความรู้สึกที่ไม่ดีพอ ไม่ราบรื่นจะทำให้ธุรกิจไม่สามารถสร้างฐานลูกค้าได้ เช่น แอปใช้งานยาก พนักงานพูดจาไม่ดี หรือการใช้งานบริการมีขั้นตอนซับซ้อนเกินไป ลูกค้าก็มีแนวโน้มที่จะเลิกใช้บริการไปหาทางเลือกที่ดีกว่า เช่น ผู้ใช้แอปสั่งอาหารที่เจอปัญหาสั่งแล้วร้านไม่ตอบซ้ำบ่อย ๆ, พนักงานพูดจาไม่ดี รวมถึงเจอประสบการณ์ด้านลบ อาจทำให้เปลี่ยนใจไปใช้แอปคู่แข่งได้ทันที

2.คุณภาพไม่คุ้มกับราคาที่จ่าย

หากลูกค้ารู้สึกว่าไม่ได้รับคุณภาพตามที่คาดหวังเมื่อเทียบกับราคาที่จ่ายไปส่งผลให้การใช้งานลดลงได้ เช่น สมัครฟิตเนสราคาแพงแต่เครื่องชำรุดบ่อย หรือคอร์สเรียนออนไลน์ที่เนื้อหาไม่ลึกและไม่มีความต่อเนื่อง ก็จะทำให้พวกเขาตัดสินใจเลิกใช้บริการ

3.พัฒนาแล้วประสิทธิภาพลดลง

การอัปเดตฟีเจอร์ใหม่หรือการปรับปรุงระบบที่ทำให้ประสบการณ์การใช้แย่ลง เช่น แอปที่เคยโหลดเร็วแต่พออัปเดตแล้วหน่วง หรือโปรแกรมที่ตัดฟังก์ชันสำคัญออกไป อาจสร้างความไม่พอใจให้กับลูกค้าเก่าและผลักไสให้ยกเลิกการใช้งาน

4.บริการช้าและไม่ใส่ใจลูกค้า

เมื่อลูกค้าต้องรอนานหรือไม่ได้รับการตอบกลับที่มีคุณภาพ เช่น การแจ้งปัญหาผ่านแชทแต่ไม่มีคนตอบภายใน 24 ชั่วโมง หรือคำถามที่ได้รับการตอบแบบขอไปที จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองไม่สำคัญ และเลือกหาทางเลือกใหม่ที่ให้การดูแลดีกว่า

5.จับกลุ่มลูกค้าไม่ถูกทาง

ธุรกิจส่งข้อความหรือโฆษณาไม่ตรงกับความสนใจของลูกค้า เช่น ส่งโปรโมชันสินค้าสำหรับวัยรุ่นให้กับกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้สูงอายุ หรือการนำเสนอแบบมืออาชีพเกินไปสำหรับกลุ่มวัยเริ่มทำงาน จะทำให้ลูกค้าไม่รู้สึกเชื่อมโยงกับแบรนด์และตัดสินใจออกจากระบบ

กลยุทธ์ลด Churn Rate

กลยุทธ์ลด Churn Rate

การลด Churn Rate ไม่ได้เป็นแค่การดึงลูกค้าให้อยู่ต่อ แต่เป็นการสร้างคุณค่าให้ลูกค้าอยากอยู่กับแบรนด์ในระยะยาว ซึ่งสามารถทำได้ผ่านหลากหลายกลยุทธ์

1.พัฒนาสินค้าและบริการอย่างสม่ำเสมอ

ธุรกิจควรปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป เช่น แอปส่งอาหารที่เพิ่มตัวเลือกเมนูสุขภาพ หรือแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ที่อัปเดตเนื้อหาใหม่ทุกเดือน เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายตลอดเวลา

2.วิเคราะห์ความเห็นลูกค้าเพื่อนำไปสู่การพัฒนา

การเปิดช่องทางให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็น เช่น แบบสอบถาม, รีวิว หรือคอมเมนต์ในโซเชียลมีเดีย แล้วนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์อย่างจริงจัง จะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจปัญหาและปรับปรุงได้ตรงจุด เช่น ร้านกาแฟที่นำคำติเรื่องความหวานไปปรับสูตรและกลายเป็นจุดเด่นใหม่

3.นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อดูแลกลุ่มลูกค้าที่สร้างรายได้สูง

การใช้ระบบ CRM หรือเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อระบุกลุ่มประเภทของลูกค้า เช่น ลูกค้าที่ซื้อซ้ำบ่อยหรือใช้บริการแบบพรีเมียม และให้การดูแลพิเศษ เช่น บริการด่วน, ส่วนลดเฉพาะ หรือสิทธิพิเศษต่าง ๆ เพื่อรักษาความภักดีต่อแบรนด์

4.มอบการบริการที่เหนือความคาดหวังเพื่อสร้างความประทับใจ

การให้บริการที่เกินความคาดหวังของลูกค้า เช่น การตอบกลับอย่างรวดเร็ว, ส่งของเร็วกว่ากำหนด, หรือมีของแถมเล็ก ๆ ที่ลูกค้าไม่ได้คาดหวัง สามารถสร้างความประทับใจและทำให้ลูกค้ารู้สึกอยากกลับมาใช้บริการซ้ำ

5.ให้ข้อมูลสินค้าและบริการที่เข้าใจง่าย

การสื่อสารข้อมูลอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย เช่น วิธีการใช้, เงื่อนไขบริการ, ราคา หรือคุณสมบัติพิเศษ จะช่วยลดความสับสนและเพิ่มความเชื่อมั่น เช่น การทำวิดีโอแนะนำผลิตภัณฑ์สั้น ๆ ที่เข้าใจง่ายแทนการใช้คู่มือยาว ๆ

6.ตรวจสอบพฤติกรรมลูกค้าที่เริ่มลดการใช้งาน

การติดตามพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อป้องกันการสูญเสีย รวมถึงสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น ลูกค้าที่เคยซื้อรายเดือนแต่เริ่มห่างหาย หรือผู้ใช้งานแอปที่ล็อกอินลดลง สามารถใช้ระบบแจ้งเตือนหรือเสนอโปรโมชันเพื่อกระตุ้นให้กลับมาใช้งาน เช่น ส่งอีเมลส่วนลดเฉพาะสำหรับลูกค้าเงียบหรือห่างหายไปนาน

7.เพิ่มมูลค่าให้สินค้าอย่างสม่ำเสมอ

การเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ ไม่ใช่แค่ลดราคา แต่ควรเพิ่มมูลค่าด้วยการเสริมบริการใหม่ ๆ หรือเพิ่มฟีเจอร์ให้ใช้งานฟรี เช่น บริการขนส่งฟรี, การเก็บคะแนนสะสม, หรือการเข้าถึงเนื้อหาพิเศษ จะทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่าและอยากอยู่กับแบรนด์ต่อ

8.สร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงให้ลูกค้า

การสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้าเพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกมีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น เช่น การส่งอีเมลขอบคุณ, จัดกิจกรรมให้ร่วมสนุก, หรือพูดคุยแบบเป็นกันเองในโซเชียลมีเดีย จะช่วยสร้างความผูกพันในระยะยาว ทำให้ลูกค้าไม่ใช่แค่ “ผู้ซื้อ” แต่กลายเป็น “สาวก”

ตัวชี้วัด (Metrics) ที่ควรติดตามร่วมกับ Churn Rate

ตัวชี้วัด (Metrics) ที่ควรติดตามร่วมกับ Churn Rate

การติดตามเฉพาะ Churn Rate อาจไม่เพียงพอสำหรับการเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าอย่างรอบด้าน ดังนั้นการใช้ตัวชี้วัดอื่น ๆ ร่วมกันจะช่วยให้ธุรกิจวิเคราะห์ภาพรวมได้แม่นยำยิ่งขึ้น และวางกลยุทธ์ได้ตรงจุดมากขึ้น ซึ่งตัวชี้วัดที่ควรพิจารณาควบคู่กัน

1.Customer Retention Rate (อัตราการรักษาลูกค้าเดิม)

เป็นตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นว่าธุรกิจสามารถรักษาลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์ได้ดีเพียงใด เช่น หากมีลูกค้า 100 คนในเดือนมกราคม และยังเหลืออยู่ 80 คนในเดือนมีนาคม แสดงว่าอัตราการรักษาลูกค้าคือ 80% ซึ่งเป็นตัวสะท้อนคุณภาพของประสบการณ์และความสัมพันธ์กับลูกค้า

2.Customer Lifetime Value (CLV)

 การประเมินว่า ลูกค้าหนึ่งคนจะสร้างรายได้ให้กับธุรกิจได้มากแค่ไหน ตลอดช่วงเวลาที่เขายังใช้สินค้า หรือบริการของเรา เช่น ถ้าลูกค้ารายหนึ่งใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 500 บาท นาน 2 ปี CLV จะเท่ากับ 12,000 บาท ซึ่งช่วยให้ธุรกิจตัดสินใจลงทุนในการรักษาลูกค้าได้อย่างคุ้มค่า

3.Net Promoter Score (NPS)

ใช้วัดระดับความภักดีของลูกค้าโดยให้ตอบคำถามว่า “คุณจะแนะนำบริการให้คนอื่นมากน้อยแค่ไหน” ในระดับ 0-10 ซึ่งคะแนนที่สูงแสดงถึงลูกค้าที่พอใจและพร้อมสนับสนุนแบรนด์ เช่น หากลูกค้าร้านกาแฟให้คะแนน 9–10 จำนวนมาก หมายความว่ามีโอกาสเกิดการบอกต่อสูง

4.Customer Satisfaction Score (CSAT)

วัดความพึงพอใจของลูกค้าในแต่ละจุดสัมผัส เช่น หลังจากซื้อสินค้าออนไลน์ ลูกค้าอาจให้คะแนนความพึงพอใจเรื่องความเร็วในการจัดส่งหรือการใช้งานเว็บไซต์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจรู้จุดที่ต้องปรับปรุงทันที

5.Monthly Recurring Revenue (MRR)

รายได้ประจำต่อเดือนที่ธุรกิจได้รับจากลูกค้าระบบสมาชิกหรือบริการแบบรายเดือน เช่น หากแพลตฟอร์มดูหนังมีรายได้จากค่าสมัครสมาชิก 300,000 บาทต่อเดือน นั่นคือ MRR เท่ากับ 300,000 บาท หาก MRR ลดลง อาจเป็นสัญญาณว่ามีลูกค้าเลิกใช้บริการ (Churn) เพิ่มขึ้น

6.Customer Acquisition Cost (CAC)

เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้เพื่อหาลูกค้าใหม่หนึ่งคน เช่น หากลงทุนโฆษณา 10,000 บาท แล้วได้ลูกค้าใหม่ 100 คน CAC เท่ากับ 100 บาท/คน ซึ่งช่วยให้ประเมินได้ว่าการหาลูกค้าใหม่คุ้มค่าหรือไม่เมื่อเทียบกับ CLV

7.Repeat Purchase Rate (RPR)

วัดว่าลูกค้ามีแนวโน้มกลับมาซื้อซ้ำมากน้อยแค่ไหน เช่น ร้านอาหารที่มีลูกค้าซื้อซ้ำ 60 จาก 100 คนในเดือนเดียวกัน จะมี RPR อยู่ที่ 60% ซึ่งบ่งบอกถึงความพึงพอใจและความจงรักภักดีในระดับหนึ่ง

8.Engagement Rate (อัตราการมีส่วนร่วม)

วัดว่าลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์มากแค่ไหน เช่น จำนวนการกดไลก์ คอมเมนต์ แชร์ หรือเปิดอีเมลโปรโมชันซึ่ง Engagement ที่สูงมักสะท้อนถึงความสนใจและมีแนวโน้มรักษาลูกค้าได้นานขึ้น

สรุป

Churn Rate เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการประเมินสุขภาพของธุรกิจ โดยเฉพาะในธุรกิจที่มีรูปแบบการให้บริการแบบสมัครสมาชิก การติดตามและวิเคราะห์ Churn Rate ช่วยให้ธุรกิจสามารถรักษาลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และวางแผนกลยุทธ์ในการเติบโตได้อย่างมั่นคง

หากธุรกิจของคุณกำลังเจอปัญหาเรื่อง Churn Rate และต้องการทางออกอย่างเป็นระบบ การมีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์และวางกลยุทธ์การตลาดก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ 

Cotactic Media พร้อมเป็น Digital Marketing Agency ส่วนตัวของคุณ ด้วยทีมงานมืออาชีพที่มากประสบการณ์ เพื่อช่วยให้คุณวิเคราะห์ปัญหาอย่างแม่นยำ วางแผนธุรกิจอย่างมีทิศทาง และขับเคลื่อนธุรกิจให้เดินหน้าได้อย่างราบรื่น พร้อมเติบโตอย่างมั่นคงไปด้วยกัน

Source

https://kpi-max.com/churn-rate/

https://www.shopify.com/blog/churn-rate-in-ecommerce

https://www.investopedia.com/terms/c/churnrate.asp

https://www.wallstreetmojo.com/churn-rate-formula/

https://ecommercefastlane.com/ecommerce-churn-rates-measure-and-reduce-lost-customers-and-revenue/

บทความที่เกี่ยวข้อง

User Generated Content (UGC)

User-Generated Content คืออะไร? คอนเทนต์จากลูกค้าที่แบรนด์ควรใช้ให้เป็น

TikTok Affiliate คืออะไร

TikTok Affiliate คืออะไร? วิธีทำเงินจาก TikTok แบบง่าย ๆ

ต้องการหาทีม DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?

ต้องการหาทีม
DIGITAL MARKETING
เพื่อชิงการเป็นเจ้าตลาด อยู่หรือไม่ ?